13 ต.ค. 2567
สัมมนา/อบรม
สัมมนาวิชาการ/วิจัย
โครงการจัดประชุม สัมมนาเพื่อกำหนด Research Agenda Setting “รัฐศาสตร์กับวิกฤตการเมืองไทย (Political Science and Thai’s political Crisis)”
15 ธันวาคม 2558
ความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยที่ปรากฏเป็นการเผชิญหน้ากันระหว่างหลากหลายกลุ่มตลอดระยะเวลาเกือบ 7-8 ปีที่ผ่านมาก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (กลุ่มเสื้อเหลือง) กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. (กลุ่มเสื้อแดง) กลุ่ม กปปส. และพันธมิตรของตน กับรัฐบาลพรรคเพื่อไทยและพันธมิตร ดำเนินมาอย่างยาวนาน แม้การต่อสู้ของทุกฝ่ายจะพยายามใช้สันติวิธีในการเผชิญหน้ากัน แต่ก็ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก สื่อมวลชนมักอธิบายความขัดแย้งนี้ว่า เป็นการต่อสู้ระหว่างทักษิณ ชินวัตร และกลุ่มผลประโยชน์ที่หนุนหลังเขา กับฝ่ายต่อต้านทักษิณที่ก็มีกลุ่มผลประโยชน์ใหญ่หนุนอยู่เช่นกัน ฝ่าย กปปส. ก็มุ่งต่อสู้กับสิ่งที่ตนเรียกว่า
“ระบอบทักษิณ”
ขณะที่ นปช. ก็มองการต่อสู้ของตนว่าเป็นการเผชิญกับ
“ฝ่ายอำมาตย์”
แต่ถ้าอธิบายความขัดแย้งทางการเมืองไทยในปัจจุบันเชิงประวัติศาสตร์ อาจเห็นภาพการปะทะกันระหว่าง “วิสัยทัศน์ว่าด้วยเป้าประสงค์แห่งรัฐ” สองกระแส คือ กระแสรัฐเข้มแข็งเป็นหนึ่งเดียว กับกระแสความหลากหลายของสังคมและต้านอภิสิทธิ์ของรัฐเข้มแข็ง คำถามสำคัญคือ ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองชาติครั้งใหญ่ (ที่สุด)
“วิชารัฐศาสตร์”
มีวิธีอธิบายวิกฤติที่กำลังเกิดขึ้นอย่างไรบ้าง ตลอดจนมีช่องทางนำเสนอหนทางที่ต้องอยู่กับความขัดแย้งเช่นนี้ต่อสังคมไทยอย่างไร?
ในการศึกษาประเด็นทางรัฐศาสตร์กับวิกฤตการเมืองไทย ตลอดจนการปฏิรูปการศึกษาชั้นสูงทางด้านรัฐศาสตร์ ที่ให้สอดคล้องกับยุคสมัยนั้น จะมีประเด็นหลักที่สำคัญและน่าสนใจ อาทิเช่น วิกฤตประชาธิปไตย ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย และ การสร้างความเป็นสถาบันขององค์กรอิสระ ดังนั้น ศูนย์วิจัย ดิเรก ชัยนาม จึงได้กำหนดจัดกิจกรรมเพื่อกำหนดประเด็นวิจัยในอนาคต โดยเป็นการระดมสมองของนักวิจัยรุ่นใหญ่ที่มีความรู้ประสบการณ์ต่างๆ หรือนักวิชาการที่มีประสบการณ์สูงทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ ทั้งในการทำงานวิจัยและการครุ่นคิดปัญหาประชาธิปไตยมาอย่างยาวนาน พร้อมทั้งมีประสบการณ์ในการเมืองไทย ทั้งในฐานะนักเคลื่อนไหวทางสังคม และนักวิชาการสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มาร่วมกันถกเถียง อภิปรายถึงประเด็นต่างๆของรัฐศาสตร์กับวิกฤตการเมืองไทยในปัจจุบันร่วมกับกับนักวิจัยรุ่นใหม่ทั่วประเทศ (อาจารย์ทางด้านรัฐศาสตร์และศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง) หรือนักวิชาการที่มีบทบาทเชื่อมโยงกับภาคประชาชนอันหลากหลาย เพื่อเป็นการกำหนดโจทย์หรือประเด็นในการศึกษาวิจัยที่องค์ความรู้ทางด้านรัฐศาสตร์ของไทยยังขาด และไม่สามารถตอบรับกับปัญหาวิกฤติทางการเมืองที่เกิดขึ้นในสังคมไทยได้ โดยผลผลิตที่ได้จะเป็นรายงานที่เป็นการกำหนดโจทย์ประเด็นในการศึกษาวิจัยในอนาคตต่อไป
รูปแบบ/ลักษณะการจัดกิจกรรม ได้แก่ การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในประเด็นที่สนใจร่วมกัน (Close session (Speech Dating)) การนำเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องทางรัฐศาสตร์กับวิกฤตการเมืองไทย จำนวน 3 ประเด็น การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) การแสดงความคิดเห็น นำเสนอประเด็นที่เป็นปัญหา และแบ่งกลุ่มตามความสนใจ เพื่อพัฒนาโจทย์วิจัยร่วมกัน และกำหนด Research Agenda
โดยจัดขึ้นระหว่างวันเสาร์ที่ 12 ถึงวันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2558 ณ ห้องศุภมิตร ชั้น 7 โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส หลานหลวง กรุงเทพมหานคร และมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย อาจารย์ นักวิจัยทางรัฐศาสตร์ และศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้องจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศ วิทยากร/ผู้ทรงคุณวุฒิทางรัฐศาสตร์ และศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมจำนวนทั้งสิ้น 35 คน
บทความอื่น ๆ ในหมวด
โครงการรับฟังและแสดงความคิดเห็น “การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. 2551 และร่างแผนพัฒนาการเมือง ฉบับที่ 2 (เวทีระดับประเทศ)”
โครงการรับฟังและแสดงความคิดเห็น “การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. 2551 และ (ร่าง) แผนพัฒนาการเมือง ฉบับที่ 2 (เวทีระดับภูมิภาค พื้นที่ภาคกลางตอนบนและตอนล่าง)”
ย้อนพินิจชีวิตลิขิต ธีรเวคิน กับคุณูปการต่อวงการวิชาการและวิจัยไทย
ดิเรกเสวนา เรื่อง "มรดกยุคไล่กวด: ยุทธศาสตร์การพัฒนากับวิถีประชาธิปไตยในเกาหลีใต้ ไต้หวัน และสิงคโปร์"
จัดประชุมสัมมนาเพื่อกำหนดประเด็นวิจัย หัวข้อเรื่อง “การเสริมสร้างบทบาทของหมู่บ้านในการพัฒนาประเทศ”
จำนวนคนอ่าน 2960 คน
ยังไม่มีผู้โหวต
คุณคิดอย่างไรกับการนำเสนอบทความนี้
ควรปรับปรุง
ดีมาก
1
2
3
4
5
1
2
3
4
5