สัมมนา/อบรม สัมมนาวิชาการ/วิจัย
 
จัดประชุมสัมมนาเพื่อกำหนดประเด็นวิจัย หัวข้อเรื่อง “การเสริมสร้างบทบาทของหมู่บ้านในการพัฒนาประเทศ”

27 กรกฎาคม 2560

          หมู่บ้านถือเป็นโครงสร้างทางการปกครองส่วนท้องที่ของไทยที่มีขนาดเล็กที่สุดและมีความใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด จึงนับเป็นรากฐานสำคัญของประเทศและมีศักยภาพในการเป็นกลไกส่งเสริมสนับสนุนการแก้ปัญหาและการพัฒนาประเทศ อันครอบคลุมหลากหลายมิติในเชิงบูรณาการ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ท้องถิ่น ชุมชน ตลอดจนวัฒนธรรม ทั้งยังรองรับกลไกการปกครองของประเทศทั้งในระดับส่วนกลาง ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่น และนอกจากโครงสร้างทางการปกครองส่วนท้องที่จะได้มีการกำหนดให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีบทบาทหน้าที่ในการปกครอง บริหารงานและดูแล “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านหรือในเขตท้องที่การปกครองแล้ว กฎหมายยังได้กำหนดให้มีการจัดตั้งหน่วยงานต่างๆ ภายในหมู่บ้านขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมศักยภาพและเพิ่มประสิทธิภาพของกลไกการปกครองและดูแลประชาชน เช่น การกำหนดให้มีคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) ในทุกหมู่บ้าน ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 28 ตรี มีหน้าที่ในการช่วยเหลือ แนะนำและให้คำปรึกษาแก่ผู้ใหญ่บ้าน บูรณาการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน ทำงานตามที่นายอำเภอมอบหมาย ตลอดจนดำเนินภารกิจต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด เป็นต้น

         ดังนั้น หน่วยงานและกลไกการดำเนินงานต่างๆ ของหมู่บ้านจึงถือเป็นกลไกและช่องทางที่มีความสำคัญยิ่งภายใต้โครงสร้างการปกครองส่วนท้องที่ เนื่องจากช่องทางและกลไกต่างๆ ดังกล่าวนี้ สามารถที่จะเข้าถึงและรับทราบปัญหาความต้องการของประชาชนในแต่ละท้องที่อย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะสามารถนำเสียงสะท้อนถึงปัญหาและความต้องการต่างๆ ของประชาชน มากำหนดเป็นนโยบายในการพัฒนาตั้งแต่ในระดับหมู่บ้านเอง และในระดับโครงสร้างการปกครองที่สูงขึ้นจนกระทั่งถึงในระดับประเทศ และนอกจากนั้น หมู่บ้านยังสามารถมีบทบาทในการสนับสนุนการขับเคลื่อนภารกิจต่างๆ ของรัฐบาลให้สำเร็จลุล่วงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปัจจุบันที่รัฐบาลได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ในการปฏิรูปและการพัฒนาประเทศที่ถือเป็นวาระแห่งชาติ (National Agenda) โดยมีความจำเป็นต้องอาศัยกลไกและกระบวนการที่ต้องการพลังสนับสนุนจากการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน ทั้งรัฐบาล หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน

         ด้วยความสำคัญดังกล่าว การเสริมสร้างบทบาทของหมู่บ้านจึงถือว่ามีความจำเป็นยิ่ง เพราะการเสริมสร้างบทบาทของหมู่บ้าน คือการเสริมสร้างรากฐานของประเทศให้มีความแข็งแกร่ง และมีศักยภาพเพียงพอที่จะรองรับการดำเนินนโยบายของภาครัฐ และเพื่อให้ประชาชนร่วมมีบทบาทในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาในด้านต่างๆ รองรับยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการพัฒนาประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคตระยะยาว ที่มีความครอบคลุมบทบาทพื้นฐานที่เป็นรากฐานสำคัญของประเทศ ทั้งในมิติทางพื้นที่ (Area Based) มิติทางโครงสร้างหน้าที่ (Structural-functional Based) และมิติทางกำลังอำนาจและการมีส่วนร่วม (Power & Participation Based) อย่างเป็นองค์รวมและบูรณาการร่วมกันทั้งองคาพยพของการเมืองการปกครอง

         รูปแบบ/ลักษณะการจัดกิจกรรม จะเป็นการนำเสนอข้อมูลเบื้องต้นจากการศึกษาสถานะ องค์ประกอบ อำนาจ หน้าที่ และบทบาทของโครงสร้างทางการปกครองส่วนท้องที่ในระดับหมู่บ้าน การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ของผู้เข้าร่วมสัมมนา การนำเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างบทบาทของหมู่บ้านในการพัฒนาประเทศรองรับบทบาทในการขับเคลื่อนประชารัฐตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการพัฒนาประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคต

         ทั้งนี้ โดยมีกำหนดสัมมนาระยะเวลา 1 วัน คือ วันพุธที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ณ ห้อง ร.402 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต มีผู้เข้าร่วมสัมมนา ประกอบด้วย กรรมการหมู่บ้านโดยตำแหน่ง และกรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิ ที่เป็นตัวแทนจาก 4 ภูมิภาค 8 จังหวัด รวมจำนวนทั้งสิ้น 27 คน
 

          

 
 
บทความอื่น ๆ ในหมวด
โครงการจัดประชุม สัมมนาเพื่อกำหนด Research Agenda Setting “รัฐศาสตร์กับวิกฤตการเมืองไทย (Political Science and Thai’s political Crisis)”
โครงการรับฟังและแสดงความคิดเห็น “การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. 2551 และร่างแผนพัฒนาการเมือง ฉบับที่ 2 (เวทีระดับประเทศ)”
โครงการรับฟังและแสดงความคิดเห็น “การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. 2551 และ (ร่าง) แผนพัฒนาการเมือง ฉบับที่ 2 (เวทีระดับภูมิภาค พื้นที่ภาคกลางตอนบนและตอนล่าง)”
ย้อนพินิจชีวิตลิขิต ธีรเวคิน กับคุณูปการต่อวงการวิชาการและวิจัยไทย
ดิเรกเสวนา เรื่อง "มรดกยุคไล่กวด: ยุทธศาสตร์การพัฒนากับวิถีประชาธิปไตยในเกาหลีใต้ ไต้หวัน และสิงคโปร์"
 

จำนวนคนอ่าน 2059 คน ยังไม่มีผู้โหวต
 
คุณคิดอย่างไรกับการนำเสนอบทความนี้
ควรปรับปรุง ดีมาก
  1 2 3 4 5  
1 2 3 4 5
 


 
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม นับตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2555