สิ่งพิมพ์ สิ่งพิมพ์
 
อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 กับการดำเนินงานของประเทศไทย (United Nations Convention on the Law of the Sea (1982) And Its Implementation in Thailand)

6 กุมภาพันธ์ 2560

       อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 กับการดำเนินงานของประเทศไทย (United Nations Convention on the Law of the Sea (1982) and Its Implementation in Thailand ) มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาลักษณะภารกิจหน้าที่ วิธีการและรูปแบบการดำเนินนโยบายและมาตรการต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐไทยที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญาฯ รวมทั้งวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคและเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐให้สอดคล้องกับกรอบกติกาของอนุสัญญาฯ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Methodology) ในการศึกษา คือ การศึกษาทบทวนเอกสารและงานวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเอกสารของหน่วยงานภาครัฐ และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth interview) จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
       ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญาฯ ของประเทศไทยถือว่ายังไม่มีความก้าวหน้าเท่าที่ควร โดยมีปัญหาอุปสรรคที่สำคัญ ได้แก่ (1) การขาดการให้ความสำคัญในระดับนโยบาย (2) ความไม่จริงจังในการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (3) ข้อจำกัดในการดำเนินงานของคณะกรรมการ (4) ข้อจำกัดด้านจำนวนและความรู้ความสามารถของบุคลากร (5) ปัญหาด้านการอนุวัติการกฎหมายให้เป็นไปตามพันธกรณี (6) การขาดงบประมาณและทรัพยากรสนับสนุนอย่างเพียงพอ และ (7) การขาดการบูรณาการในการดำเนินงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญาฯ ของประเทศไทยมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น ประเทศไทยจำเป็นต้องปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ทางทะเลภายใต้อนุสัญญาฯ ใน 3 ส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนของนโยบาย (Policy Framework) ส่วนของกฎหมาย (Legal Framework) และส่วนขององค์กร (Institutional Framework) โดยควรแบ่งแนวทางในการดำเนินงานออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ (1) การพัฒนาศักยภาพและความเข้าใจของบุคลากรเกี่ยวกับ UNCLOS (2) การพัฒนาและปรับปรุงกฎหมายภายในประเทศให้เป็นไปตามพันธกรณีอย่างจริงจัง (3) การเพิ่มงบประมาณและทรัพยากรอื่นๆ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปต่อเนื่อง และ (4) การดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างบูรณาการ

                                                                                                                                       รศ.ดร.โสภารัตน์ จารุสมบัติ
                                                                                                                                 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

click image


 
 
บทความอื่น ๆ ในหมวด
ทบทวนแนวโน้มสถานการณ์ความมั่นคงของโลก สิ่งที่ไทยควรตระหนักและเตรียมการรับมือ
สายรุ้งที่ฉันฝันหา: ขบวนการนักศึกษา Rhodes Must Fall ที่แอฟริกาใต้
ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมในวาทกรรม “โง่ จน เจ็บ” ต่อผู้เลือกตั้งชนบท
Digital Transformation กับนวัตกรรมการจัดบริการสาธารณะ : บทเรียนจากเอสโตเนีย เกาหลีใต้ และสหราชอาณาจักร
ปฏิบัติการไร้ความรุนแรง รัฐ และขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองร่วมสมัย
 

จำนวนคนอ่าน 2820 คน ยังไม่มีผู้โหวต
 
คุณคิดอย่างไรกับการนำเสนอบทความนี้
ควรปรับปรุง ดีมาก
  1 2 3 4 5  
1 2 3 4 5
 


 
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม นับตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2555