DJ-Menu

โครงการปริญญาโทสาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ สำหรับนักบริหาร  (EPA)

            ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นักบริหารที่ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องทำงานเชิงรุกและแสวงหาข้อมูลให้ทันกับสถานการณ์เสมอ การมีความรู้ด้านการบริหารจัดการจึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง เพราะมันทำให้นักบริหารสามารถปรับตัวและแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

              โครงการปริญญาโทสาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ สำหรับนักบริหาร (EPA) มุ่งตอบสนองความจำเป็นที่เกิดขึ้นตามข้างต้น มุ่งพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาให้เป็นผู้นำในยุคโลกาภิวัตน์ที่รอบรู้ศาสตร์การบริหาร และบริบทของสังคมยุคปัจจุบัน ซึ่งมีความสลับซับซ้อน และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ลักษณะการเรียนการสอนของโครงการจะเป็นการผสมผสานระหว่างการบรรยาย กับการจัดกลุ่มอภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ช่วยให้นักศึกษาได้มีความรู้ทั้งในทางทฤษฎี และในทางปฏิบัติ แต่ละวิชามีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญมาบรรยายให้ความรู้อย่างใกล้ชิด ด้วยลักษณะของการเรียนการสอนเช่นนี้ โครงการจึงได้รับความนิยมอย่างสูง ดังเห็นได้จากจำนวนมหาบัณฑิตกว่า 1,000 คนที่สำเร็จการศึกษาไปจากโครงการฯ มหาบัณฑิตเหล่านี้มาจากหลากหลายสาขาอาชีพ มีตั้งแต่รัฐมนตรี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ นักการเมือง สื่อมวลชน นายธนาคาร นักธุรกิจ ตลอดจนผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ

 

รายละเอียดหลักสูตร


 

วันเวลาจัดการเรียนการสอน:

วันศุกร์ เวลา 17.00 - 20.00 และวันเสาร์ เวลา 09.00 - 16.00 (วิชาภาษาอังกฤษจะเรียนวันเสาร์ เวลา 17.00 - 20.00 ยกเว้นผู้ที่สอบ TU-GET ผ่าน)

ระยะเวลาการศึกษา:

โครงการฯ จัดการสอนปีการศึกษาละ 40 สัปดาห์ โดยคาดว่านักศึกษาจะสำเร็จการศึกษาได้ภายใน 2 ปี

ภาคการศึกษา:

ภาคเรียนที่ 1        สิงหาคม - ธันวาคม
ภาคเรียนที่ 2        มกราคม - เมษายน
ภาคฤดูร้อน          พฤษภาคม - มิถุนายน

การศึกษาดูงาน:

การศึกษาดูงานเป็นการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ของนักศึกษาจากสถานที่และเหตุการณ์จริง นำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่ดียิ่งขึ้น

จำนวนนักศึกษาแต่ละรุ่น:

ประมาณ 50 - 60 คน

ค่าใช้จ่าย:

ประมาณ 85,000 บาทต่อปีการศึกษา หรือประมาณ 170,000 บาทตลอดหลักสูตร

กำหนดการรับสมัคร:

เดือนกุมภาพันธ์ - เมษายนของแต่ละปี

การสอบคัดเลือก:

การสอบข้อเขียนเพื่อทดสอบความสามารถในการใช้เหตุผล และการสอบสัมภาษณ์

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษา:

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชา มีประสบการณ์การทำงานไม่น้อยกว่า 1 ปี (กรณีเป็น หรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ผู้บริหารสภาท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่น ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์) เป็นผู้มีคุณสมบัติตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หลักฐานการสมัคร:

รูปถ่ายสี ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 3 รูป
ประวัติของผู้สมัครเข้าศึกษา และหนังสือให้คำรับรอง (ดาวน์โหลดได้จากเอกสารเผยแพร่ด้านล่าง)
ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ 500 บาท

 

โครงสร้างหลักสูตร


 

นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนศึกษารายวิชารวมไม่น้อยกว่า 39 หน่วยกิต โดยศึกษารายวิชาต่าง ๆ ครบตามโครงสร้างองค์ประกอบและข้อกำหนดของหลักสูตร ดังนี้

                        แผน ก แบบ ก 2 (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)                    

                                                1) หมวดวิชาบังคับ 21 หน่วยกิต       

                                                2) หมวดวิชาเลือก 6 หน่วยกิต  

                                                3) วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต          

                                                จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 39 หน่วยกิต          

                        แผน ข (ไม่ทำวิทยานิพนธ์)                    

                                                1) หมวดวิชาบังคับ 21 หน่วยกิต       

                                                2) หมวดวิชาเลือก 15 หน่วยกิต  

                                                3) การค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิต          

                                                จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 39 หน่วยกิต

                        วิชาบังคับ            นักศึกษาทั้งสองแผนการศึกษา ต้องศึกษาวิชาบังคับ 7 วิชา  21 หน่วยกิต ดังนี้

                                                - รบ.640 การวิจัยสำหรับนักบริหาร

                                                - รบ.641 การออกแบบการบริหารจัดการยุทธศาสตร์ ความเสี่ยง และโครงการ            

                                                - รบ.642 ขอบข่ายและพลวัตการบริหารรัฐกิจ

                                                - รบ.650 การบริหารองค์การสาธารณะ

                                                - รบ.651 การจัดการและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

                                                - รบ.652 นโยบายสาธารณะและการจัดการปกครอง

                                                - รบ.660 การบริหารการคลังและงบประมาณ

                        วิชาเลือก            1) นักศึกษา แผน ก แบบ ก2 ให้เลือกศึกษาวิชาเลือก 2 วิชา รวม 6 หน่วยกิต

                                                2) นักศึกษาแผน ข ให้เลือกศึกษา 5 วิชา รวม 15 หน่วยกิต

                                                - รบ.644 สัมมนาภาวะผู้นำและจริยธรรม

                                                - รบ.646 สัมมนาการบริหารจัดการงานเมืองและองค์กรปกครองท้องถิ่น            

                                                - รบ.647 การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและความเสี่ยงภัยพิบัติ

                                                - รบ.648 กฎหมายมหาชนสำหรับนักบริหาร

                                                - รบ.653 สัมมนาประเด็นร่วมสมัยการเปลี่ยนแปลงในบริบทโลกและการบริหารจัดการประเทศไทย

                                                - รบ.663 นวัตกรรมการบริหารภาครัฐและกิจการสาธารณะ

                                                - รบ.664 เครื่องมือการจัดการข้อมูลยุคดิจิตอล

                        การค้นคว้าอิสระ (สำหรับนักศึกษา แผน ข)   

                                                - รบ.700 การค้นคว้าอิสระ

                        วิทยานิพนธ์ (สำหรับนักศึกษาแผน ก แบบ ก2)   

                                                - รบ.800 วิทยานิพนธ์

 

เอกสารเผยแพร่


 

  • ใบสมัครเข้าศึกษา
  • หนังสือให้คำรับรองผู้สมัครเข้าศึกษา
  • คณะกรรมการบริหารโครงการฯ
  • แบบฟอร์มคำร้องนักศึกษาโครงการ EPA
  •  

    ข้อมูลการติดต่อ


     

    โครงการปริญญาโท สำหรับนักบริหาร (EPA) คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ พระนคร กรุงเทพฯ 10200

    หมายเลขโทรศัพท์: 02-613-2325, 02-613-2343

    อีเมล์: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

    Facebook: www.facebook.com/Epa.PolSc.TU

     

    ภาพกิจกรรมที่น่าสนใจ


     

    • epa1
    • ศ.(พิเศษ) นรนิติ เศรษฐบุตร วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
    • นักศึกษาของโครงการเดินทางไปศึกษาดูงาน
    • วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกมาให้ความรู้แก่นักศึกษา
    • บรรยากาศการเรียนการสอนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
    • การจัดสัมมนาวิชาการในวิชาของนักศึกษา
    • ศ.(พิเศษ) วุฒิสาร ตันไชย วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
    • งานถ่ายรูปหมู่ของมหาบัณฑิต EPA