โครงการ BIR เป็นหลักสูตรปริญญาตรี สาขาการเมืองและการระหว่างประเทศ (ภาคภาษาอังกฤษ) ซึ่งก่อตั้งโดยคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2552 เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไป และพัฒนาการทางความรู้ใหม่ๆ ทางคณะเล็งเห็นความสำคัญของหลักสูตรนานาชาติด้านการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในฐานะแหล่งผลิตบุคลากรที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ โครงการ BIR เริ่มดำเนินงานเป็นหลักสูตรแรก และหลักสูตรเดียวในประเทศไทยที่จัดการเรียนการสอนวิชารัฐศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ
ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา โครงการ BIR มีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง มีการหาอาจารย์ประจำจากมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ มีการเชิญวิทยากรผู้มีชื่อเสียงจากภายนอก ตั้งแต่ระดับรัฐมนตรี นักการทูต นายทหารระดับสูง นักสิทธิมนุษยชน ไปจนถึงผู้มีประสบการณ์ในองค์กรระหว่างประเทศ นอกจากนี้ นักศึกษา BIR ยังมีโอกาสฝึกงาน และเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศต่างๆ อาทิ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น อังกฤษ เยอรมนี จีน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ ฯลฯ ที่ผ่านมา ศิษย์เก่าของโครงการ BIR ล้วนประสบความสำเร็จในด้านการศึกษาต่อ หรือการประกอบอาชีพ โดยเรามีศิษย์เก่าอยู่ตามสาขาอาชีพที่หลากหลาย ทั้งทางด้านการทูต สื่อสารมวลชน สถาบันวิจัย รัฐวิสาหกิจ บริษัทมหาชน องค์กรระหว่างประเทศ เป็นต้น
รายละเอียดหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร:
127 หน่วยกิต
ปฏิทินการศึกษา:
ภาคการศึกษาที่ 1 สิงหาคม - ธันวาคม
ภาคการศึกษาที่ 2 มกราคม - พฤษภาคม
ภาคการศึกษาฤดูร้อน มิถุนายน - กรกฎาคม
สถานที่เรียน:
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร:
นักศึกษาปริญญาตรี (ชาวไทย) 476,000 บาท
นักศึกษาปริญญาตรี (ชาวต่างชาติ) 557,000 บาท
ระยะเวลา:
4 ปี (ปริญญาตรี)
วิธีจัดการเรียนการสอน:
เป็นวิชาบรรยายในชั้นปีแรกๆ ต่อมาจึงเริ่มมีวิชาสัมมนา ขนาดห้องเรียนถูกจัดให้ได้สัดส่วนนักศึกษาต่ออาจารย์ที่เหมาะสม เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ ฝึกการคิดวิเคราะห์ และการนำเสนอในสถานการณ์จริง
จำนวนนักศึกษา:
รับไม่เกิน 100 คน ต่อรุ่น
คุณสมบัติผู้สมัคร: (รอบ Portfolio)
1. ผู้สมัครต้องเป็นผู้ที่กําลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
2. ผู้สมัครต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือระดับผลคะแนนเฉลี่ย 5 ภาคเรียน ไม่น้อยกว่า 3.75
3. มีผลคะแนนความรู้ภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยผลสอบจะต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันรับสมัครสอบ
- TOEFL มีคะแนนรวมอย่างน้อย 500 คะแนน จาก PBT หรือ 61 คะแนนจาก IBT
- IELTS มีคะแนนรวมเฉลี่ยอย่างน้อย 6.0 คะแนน
- TU-GET มีคะแนนรวมอย่างน้อย 500 คะแนน จาก PBT หรือ 61 คะแนนจาก CBT
- SAT: มีคะแนนอย่างน้อย 50% ในภาค Evidence-Based Reading and Writing
- GSAT: มีคะแนนอย่างน้อย 400 คะแนนในภาค Reading, Writing and Language
เกณฑ์การคัดเลือก:
1. ได้รับรางวัลแข่งขันด้านสังคมศาสตร์ระดับประเทศหรือนานาชาติ หรือ
2. เป็นตัวแทนประเทศในกิจกรรมด้านสังคมศาสตร์ระดับนานาชาติ หรือ
3. เป็นตัวแทนโรงเรียนในกิจกรรมด้านสังคมศาสตร์ระดับประเทศ หรือ
4. เป็นผู้นํากิจกรรมเพื่อสังคมหรือบําเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชนซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับพื้นที่
*สอบสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการ
**การพิจารณาและการตัดสินผลการคัดเลือกของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
เอกสารประกอบการรับสมัคร:
ส่งผ่านระบบรับสมัครในรูปแบบไฟล์ PDFจํานวน 1 ไฟล์ ประกอบด้วยเอกสาร ดังนี้
1. ผลการเรียน
2. ผลคะแนนภาษาอังกฤษ
3. ใบประกาศนียบัตรหรือใบประกาศรางวัลการแข่งขัน
คุณสมบัติผู้สมัคร: (รอบรับตรงร่วมกัน)
1. สําเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที 6 หรือเทียบเท่า
2. มีคะแนนเฉลี่ยสะสมชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ไม่น้อยกว่า 2.80
- หรือ มีผลสอบ GED อย่างต่ำเทียบเท่า 2,800 คะแนน
- หรือ มีผลสอบ New GED 660 คะแนนขึ้นไป โดยแต่ละวิชาต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่า 165 คะแนน
- หรือ มีผลสอบ IGCSE หรือ GCSE หรือ GCE ‘O’ Level, อย่างต่ำเทียบเท่า C จำนวน 5 วิชาขึ้นไป และต้องมีผลสอบ AS จำนวนอย่าง
น้อย 5 วิชา เกรด A-E หรือ GCE ‘A’ Level จำนวนอย่างน้อย 3 วิชา เกรด A-E
- หรือ มีผลสอบ IB ระดับ/คะแนน อย่างต่ำเท่ากับ 4 ในจำนวน 5 วิชาขึ้นไปมีผลคะแนนความรู้ภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
3. มีผลคะแนนภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยผลการสอบต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันรับสมัครสอบ
- TOEFL มีคะแนนรวมอย่างน้อย 500 คะแนน จาก PBT หรือ 61 คะแนนจาก IBT
- IELTS มีคะแนนรวมเฉลี่ยอย่างน้อย 6.0 คะแนน
- TU-GET มีคะแนนรวมอย่างน้อย 500 คะแนน จาก PBT หรือ 61 คะแนนจาก CBT
- SAT: มีคะแนนอย่างน้อย 50% ในภาค Evidence-Based Reading and Writing
- GSAT: มีคะแนนอย่างน้อย 400 คะแนนในภาค Reading, Writing and Language
หมายเหตุ การเทียบวุฒิฯ เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่องแนวทางการเทียบวุฒิการศึกษาเท่ากับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2562
4. มีผลคะแนนสอบวิชาเฉพาะของโครงการ BIR คณะรัฐศาสตร์
5. คุณสมบัติเฉพาะสําหรับผู้สมัครที่สําเร็จการศึกษาจากโรงรียนนานาชาติในประเทศไทยซี่งเป็นโรงเรียนที่ยังไม่ได้รับการรับรองหลักสูตร จากกระทรวงศึกษาธิการ หรือสําเร็จการศึกษาจากต่างประเทศต้องยื่นใบเทียบวุฒิหรือใบรับพิจารณาเทียบวุฒิอ้างอิงตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการฯ หรือส่งใบสําคัญแสดงวุฒิการศึกษาให้คณะและมหาวิทยาลัยพิจารณา
* ทั้งนี้ กรณียังไม่ได้หลักฐานการเทียบวุฒิ ทางมหาวิทยาลัยจะอนุโลมการยื่นหลักฐาน หากพ้นกําหนดนี้จะถูกถอนชื่อจากทะเบียนนักศึกษา
เกณฑ์การคัดเลือก:
1. วิชาความรู้ทั่วไปทางรัฐศาสตร์ 50% และ วิชาเรียงความ 50%
2. สอบสัมภาษณ์
โครงสร้างหลักสูตร BIR
A: ศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ตลอดหลักสูตร ชั้นปี 1-4
นักศึกษาต้องจดทะเบียนรายวิชารวมไม่น้อยกว่า 127 หน่วยกิต ดังนี้
1. วิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
2. วิชาเฉพาะ 91 หน่วยกิต
2.1. วิชาบังคับคณะ 30 หน่วยกิต
2.2. วิชาบังคับเฉพาะ 19 หน่วยกิต
2.3. วิชาบังคับนอกคณะ 3 หน่วยกิต
2.4. วิชาเลือก 18 หน่วยกิต
2.5. วิชาโท 21 หน่วยกิต
2.5.1. วิชาบังคับ 9 หน่วยกิต
2.5.2. วิชาเลือกในกลุ่มวิชา 6 หน่วยกิต
2.5.3. วิชาเลือกนอกกลุ่มวิชา 6 หน่วยกิต
3. วิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
B: ศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ชั้นปีที่ 1-2 และมหาวิทยาลัยเมจิ ชั้นปีที่ 3-4
นักศึกษาต้องจดทะเบียนรายวิชารวมไม่น้อยกว่า 140 หน่วยกิต ดังนี้
1. วิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
2. วิชาเฉพาะ 46 หน่วยกิต
3. รายวิชาจากมหาวิทยาลัยเมจิ 64 หน่วยกิต
รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.birpolsci.com/doubledegree-meiji
เอกสารเผยแพร่
ข้อมูลการติดต่อ
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 2 ถนนพระจันทร์ พระนคร กรุงเทพฯ 10200
หมายเลขโทรศัพท์: 02-613-2304
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
เว็บไซต์ (หลักสูตรปริญญาตรี): www.birpolsci.com
ภาพกิจกรรมที่น่าสนใจ