คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พยายามตอบสนองต่อความต้องการในการแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ๆ ด้วยการเปิดหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก) เมื่อปี พ.ศ. 2546 โดยวัตถุประสงค์หลักของหลักสูตรคือ การฝึกนักศึกษาให้มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ สามารถสร้างสรรค์งานวิจัยที่ได้มาตรฐานด้วยตนเอง นอกจากนี้ หลักสูตรยังมุ่งสอนให้นักศึกษามีจรรยาบรรณของการเป็นนักวิชาการที่ดี สามารถถ่ายทอดความรู้ และแนวคิดเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม
ด้วยการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง และคณาจารย์ผู้มากประสบการณ์จากนานาสาขาวิชา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตของคณะรัฐศาสตร์ได้กลายเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในวงวิชาการไทย ตลอดร่วม 10 ปีที่ผ่านมา ทางหลักสูตรได้ผลิตศิษย์เก่าที่มีคุณภาพออกไปเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่ ศิษย์เก่าเหล่านี้จะไปประกอบอาชีพเป็นนักวิชาการ นักวิจัย และอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยต่างๆ
รับสมัครนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2566 (ปริญญาเอก) คลิกที่นี่
รายละเอียดหลักสูตร
การเรียนการสอน:
เป็นหลักสูตรภาคปกติ จัดการเรียนการสอนเต็มเวลา โดยนักศึกษาต้องใช้เวลาศึกษาไม่เกิน 6 ปีการศึกษา (12 ภาคการศึกษาปกติ)
สถานที่เรียน:
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ระบบการศึกษา:
หลักสูตรมีการเรียนการสอนเป็นรายวิชา ควบคู่ไปกับการเขียนวิทยานิพนธ์
ค่าใช้จ่ายในการศึกษา:
เหมาจ่ายเทอมละ 19,800 บาท
การสำเร็จการศึกษา:
นักศึกษาต้องศึกษารายวิชาครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในหลักสูตร โดยมีค่าระดับเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 นอกจากนี้ ยังต้องสอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิขอทำวิทยานิพนธ์ และเสนอวิทยานิพนธ์
ในส่วนวิทยานิพนธ์จะมีการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่ทางคณะแต่งตั้ง และผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยดำเนินการให้ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่มีกรรมการกลั่นกรอง (Peer Review)
จำนวนนักศึกษา:
ปีละไม่เกิน 5 คน
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษา:
ผู้เข้าศึกษาในแผนการศึกษาแบบ 1.1
1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาโทสาขารัฐศาสตร์ ทั้งในหรือต่างประเทศจากสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ
2. มีค่าระดับเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาโทไม่ต่ำกว่า 3.25 และจบการศึกษาด้วยการทำวิทยานิพนธ์
3. เป็นผู้มีวิชาชีพเกี่ยวข้องกับงานวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์ และมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพด้านนี้ไม่น้อยกว่า 10 ปี นับถึงวันที่สมัคร
4. มีผลงานวิจัยหรือผลงานที่สามารถเทียบเคียงได้ ไม่น้อยกว่า 3 ชิ้นงานในช่วงเวลา
5. 5 ปีก่อนวันประกาศรับสมัคร ซึ่งจะต้องผ่านการประเมินผลงานได้ระดับดีมากขึ้นไป (ระดับ A ลบ หรือเทียบเท่า) จากผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับดุษฎีบัณฑิตไม่น้อยกว่า 2 ท่าน
6. มีผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษ TU-GET (Paper-based) 550 คะแนนขึ้นไป, TU-GET (Computer-based) 79 คะแนนขึ้นไป, TOEFL (Internet – based) 79 คะแนนขึ้นไป หรือ IELTS ระดับ 6.5 ขึ้นไป
7. มีจดหมายรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษาและ/หรือผู้บังคับบัญชา 3 ฉบับ
8. เงื่อนไขอื่น ๆ ให้เป็นไปตามประกาศรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ/หรือคณะรัฐศาสตร์กำหนด และการพิจารณาผลสอบคัดเลือกให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะรัฐศาสตร์
ผู้เข้าศึกษาในแผนการศึกษาแบบ 2.1
1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาโท ได้รับคุณวุฒิระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโททางด้านสังคมศาสตร์ และ/หรือมนุษย์ศาสตร์ ทั้งในหรือต่างประเทศ จากสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ
2. มีค่าระดับเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาโท ไม่น้อยกว่า 3.25
3. ผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิตของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 และศึกษารายวิชาบังคับร่วม วิชาบังคับสาขา และวิชาเลือก โดยมีหน่วยกิตสะสมไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิตค่าระดับเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาโท ไม่น้อยกว่า 3.25
4. สามารถยื่นหนังสือแสดงความจำนงเข้าศึกษาต่อหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต โดยกระบวนการสมัครเข้าศึกษาจะต้องดำเนินการผ่านระบบการรับสมัครของมหาวิทยาลัย และผ่านกระบวนการรับเข้าตามที่หลักสูตรกำหนด
5. มีผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษ TU-GET (Paper-based) 550 คะแนนขึ้นไป, TU-GET (Computer-based) 79 คะแนนขึ้นไป, TOEFL (Internet – based) 79 คะแนนขึ้นไป หรือ IELTS ระดับ 6.5 ขึ้นไป
6. เงื่อนไขอื่น ๆ ให้เป็นไปตามประกาศรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ/หรือคณะรัฐศาสตร์กำหนด และการพิจารณาผลสอบคัดเลือกให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะรัฐศาสตร์
ผู้เข้าศึกษาในแผนการศึกษาแบบ 2.2
1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีทางด้านรัฐศาสตร์ ทั้งในหรือต่างประเทศจากสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ มีผลการศึกษาดีมาก ค่าระดับเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาตรี ไม่น้อยกว่า 3.50
2. มีผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษ TU-GET (Paper-based) 550 คะแนนขึ้นไป, TU-GET (Computer-based) 79 คะแนนขึ้นไป, TOEFL (Internet – based) 79 คะแนนขึ้นไปหรือ IELTS ระดับ 6.5 ขึ้นไป
3. เงื่อนไขอื่น ๆ ให้เป็นไปตามประกาศรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ/หรือคณะรัฐศาสตร์กำหนด และการพิจารณาผลสอบคัดเลือกให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะรัฐศาสตร์
วิธีการคัดเลือก:
สอบสัมภาษณ์
กรอบเวลากระบวนการรับสมัคร:
ระยะเวลาการสมัครและสอบคัดเลือก | |
---|---|
จำหน่ายใบสมัครและรับสมัคร | ประมาณเดือนมกราคม - มีนาคม |
สอบสัมภาษณ์ | ประมาณเดือนเมษายน |
เปิดการศึกษาภาคฤดูร้อน | ประมาณเดือนมิถุนายน |
เปิดการศึกษาที่ 1 | ประมาณเดือนสิงหาคม |
เอกสารสำหรับการรับสมัครและเผยแพร่
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
ข้อมูลการติดต่อ
งานวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หมายเลขโทรศัพท์: 02-613-2303