DJ-Menu

ปริญญาโท

               หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Political Science) ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มุ่งเน้นการสร้างมหาบัณฑิตที่มีความรอบรู้ด้านการเมืองการปกครอง การระหว่างประเทศ และการบริหารรัฐกิจ ให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับแนวความคิด ทฤษฎี กระบวนการ และการบริหารจัดการต่างๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศ และการต่อยอดทางวิชาการอย่างมีคุณภาพ

                นับตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2514 ทางหลักสูตรฯ พัฒนาการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง มีการเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกเข้ามาให้ความรู้ และมีการปรับปรุงสาธารณูปโภคทางวิชาการสำหรับนักศึกษา แต่ละปีจะมีมหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาไปราว 30 คน ศิษย์เก่าเหล่านี้ได้มีโอกาสประกอบอาชีพในสาขาที่หลากหลาย มีทั้งที่เป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ สื่อสารมวลชน สมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานระหว่างประเทศ

รับสมัครนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2566 (ปริญญาโท) คลิกที่นี่

 

รายละเอียดหลักสูตร


 

วันเวลาจัดการเรียนการสอน:

หลักสูตรเต็มเวลา จัดการเรียนการสอนเต็มเวลา เรียนในเวลาราชการ

วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 9.00 - 12.00 น. และ 13.00 - 16.00 น. วันเสาร์ เวลา 09.00 - 16.00 น.

สถานที่เรียน:

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

แผนการเรียน:

แผน ก. แบบ ก 2 (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)

ระยะเวลาการศึกษา:

ประมาณ 2 ปีในการสำเร็จการศึกษา

จำนวนรับนักศึกษา:

รับสาขาละไม่เกิน 10 คนต่อแต่ละปีการศึกษา

ค่าใช้จ่าย:

เหมาจ่ายเทอมละ 16,500 บาท

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษา:

สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รับรองวิทยฐานะ หากเป็นกรณีนักศึกษาที่จบการศึกษาในปีที่สมัครจะต้องจบการศึกษาในภาค 1 หรือภาค 2 ของปีการศึกษาที่สมัครสอบเท่านั้น

วิธีการคัดเลือกผู้เข้าศึกษา:

1. ผู้สมัครสอบจะต้องผ่านการสอบ TU-GET หรือ TOEFL หรือ IELTS ก่อน โดยได้ผลคะแนนอย่างน้อยดังนี้

ผลคะแนน TU-GET ไม่น้อยกว่า 400 คะแนน

ผลคะแนน TOEFL(iBT) ไม่น้อยกว่า 60 คะแนน

ผลคะแนน IELTS ไม่น้อยกว่า 4.5 คะแนน

* ทั้งนี้ผลคะแนนจะต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสมัคร
2. สอบข้อเขียน ดังนี้
          - ความสามารถในการวิเคราะห์และการใช้เหตุผลในการจับประเด็นและวิชาเฉพาะสาขา
3. สอบสัมภาษณ์

กรอบเวลากระบวนการรับสมัคร:

   ระยะเวลาการสมัครและสอบคัดเลือก
จำหน่ายใบสมัครและรับสมัคร ประมาณเดือนมกราคม - มีนาคม
สอบข้อเขียน ประมาณเดือนมีนาคม
สอบสัมภาษณ์ ประมาณเดือนเมษายน
เปิดการศึกษาภาคฤดูร้อน ประมาณเดือนมิถุนายน
เปิดการศึกษาที่ 1 ประมาณเดือนสิงหาคม

 

ตัวอย่างหัวข้อวิทยานิพนธ์ในอดีต:

1. ประชาธิปไตยมองต่างมุม: การมองการเลือกตั้งของชนชั้นกลางกับชนชั้นล่างไทย (น.ส.เกวลี ศรีหะมงคล)
2. การสร้างความหมายของท้องถิ่นในสังคมไทย: พ.ศ. 2535 - 2544 (นายธีรพงษ์ พรหมวิชัย)
3. พัฒนาการของรัฐธรรมนูญไทย: กรณีศึกษาศาลรัฐธรรมนูญ (นายธนัย เกตุวงกต)
4. อิทธิพลของแนวคิดเสรีนิยมใหม่ (Neoliberalism) กับมหาวิทยาลัยในกำกับ (รัฐ) (น.ส.กฤติกมา อินทะกูล)
5. การก้าวขึ้นสู่ฐานะมหาอำนาจใหม่ของอินเดีย (น.ส.นพรัตน์ ทองอุไร)
6. การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 9 ของประเทศญี่ปุ่น (น.ส.รุ่งลาวรรณ รุ่งวัฒนภัทร)
7. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสถานะเงินกองทุนประกันสังคมของประเทศไทย (น.ส.ศรีสัจจา เนียมสุวรรณ)
8. กระบวนการกำหนดนโยบายเด็กในสังคมไทย: การก่อตัวและพัฒนาการ (น.ส.อลิศรา พรหมโชติชัย)

 

เอกสารเผยแพร่


 

  • รายละเอียดของหลักสูตรการศึกษา (มคอ. 2)
  • แผ่นพับประชาสัมพันธ์โครงการปริญญาโท
  • ข้อมูลอาจารย์ประจำหลักสูตร
  • ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม


     

  • คำร้องทั่วไปนักศึกษาปริญญาโท/เอก
  • คำร้องขอสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์/สอบวิทยานิพนธ์
  • แบบฟอร์มเสนอหัวข้อวิชา ร.700
  • แบบฟอร์มรักษาสถานภาพการศึกษา
  • แบบฟอร์มลาพักการศึกษา
  • ข้อมูลการติดต่อ


     

    งานวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    หมายเลขโทรศัพท์: 02-613-2303