สาขาการระหว่างประเทศ

จาก คลังข้อมูลด้านรัฐศาสตร์

ความหมายและตัวแสดงในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ[แก้ไข]

1.1.นิยามความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ได้มีผู้ให้นิยามและความหมายของ “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” (International Relation) ไว้มากมายต่าง ๆ กัน พอที่จะยกตัวอย่างได้ดังนี้

สแตนลีย์ ฮอฟมานน์ (Stanley Haffmann) ให้คำนิยามว่า “วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมุ่งศึกษา ปัจจัย และกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อนโยบายต่างประเทศและอำนาจของหน่วยพื้นฐานต่าง ๆ ในโลก”

แมตธิเสน (Matthiesen) กล่าวว่า “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้นเหมือนคำว่า กิจกรรมระหว่างประเทศ และกลุ่มของความสัมพันธ์ทุกชนิดที่ข้ามเขตแดนรัฐ ไม่ว่าจะเป็นทางกฎหมาย การเมือง ที่มีลักษณะเป็นส่วนบุคคลหรือเป็นทางการหรืออย่างอื่นใดก็ตาม ตลอดจน พฤติกรรมของมนุษย์ทุกอย่างที่มีต้นกำเนิดอยู่ในพรมแดนข้างหนึ่งของรัฐ โดยมีผลกระทบต่อพฤติกรรมของมนุษย์ที่อยู่อีกด้านหนึ่งของพรมแดน”

ศาสตราจารย์ คาร์ล ดับเบิลยู ดอยทช์ (Karl W. Deutsch) กล่าวว่า “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นคำที่บ่งถึงพฤติกรรมทั้งหลายของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในข้างหนึ่งของเส้นเขตแดนของประเทศ และมีผลสะท้อนต่อพฤติกรรมของมนุษย์ในอีกข้างหนึ่งของเส้นเขตแดนนั้น”

จากหนังสือ Webster’s third New International Dictionary กล่าวว่า International Relations a branch of political science concerned with relations between political units of national rank and dealing primarily with foreign policies, the organization and function of governmental agencies concerned with foreign policy, and factors as geography and economics underlying foreign policy

จากความหมายของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าโดยรวมแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็น “การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามพรมแดนของประเทศในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยที่การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นโดยรัฐหรือตัวแสดงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่รัฐและการกระทำดังกล่าวส่งผลถึงความร่วมมือ หรือความขัดแย้งระหว่างประเทศต่าง ๆ ในโลก” ดังนั้น อาจสรุปได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะพิจารณากิจกรรมดังกล่าวในประเด็นต่อไปนี้

1. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยน เช่น แลกเปลี่ยนสินค้า เทคโนโลยี บุคลากร บริการ ฯลฯ หรือปฏิสัมพันธ์ คือการประพฤติปฏิบัติต่อกันในลักษณะต่าง ๆ เช่น การโฆษณาโจมตีซึ่งกันและกัน การปะทะกันด้วยกำลังอาวุธ การร่วมมือกันพัฒนา เป็นต้น

2. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเกิดขึ้นข้ามพรมแดนของรัฐ ในแง่นี้เป็นการพิจารณากิจกรรมระหว่างประเทศในปัจจุบัน คือ ในสมัยที่รัฐชาติ (หรือประเทศอธิปไตย) เป็นตัวแสดงสำคัญในเวทีระหว่างประเทศ แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า ผู้สนใจความสัมพันธ์ระหว่างประเทศละเลยความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามกลุ่มสังคมซึ่งมิใช่รัฐอธิปไตย เพียงแต่ความสนใจในกิจกรรมปัจจุบันมีประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาของโลกมากกว่าความสนใจเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมาเป็นระยะเวลายาวนาน

3. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอาจเป็นเรื่องที่กระทำโดยบุคคล กลุ่มบุคคล รัฐ องค์การระหว่างประเทศ หรือตัวแสดงอื่น ๆ ในเวทีระหว่างประเทศก็ได้ แต่ผู้สนใจความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะมุ่งความสนใจเฉพาะความสัมพันธ์ซึ่งมีผลกระทบต่อกิจการของโลกหรือของรัฐต่าง ๆ เป็นสำคัญ ตัวอย่างเช่น คนไทยยิงคนลาวตายด้วยสาเหตุส่วนตัว หรือรัฐบาลสหรัฐอเมริกาจับกุมคนต่างชาติซึ่งลอบค้ายาเสพติด เป็นต้น เป็นตัวอย่างความสัมพันธ์ซึ่งเกิดขึ้นข้ามขอบเขตพรมแดนรัฐ แต่เนื่องจากตัวอย่างดังกล่าวนี้เป็นเหตุการณ์ซึ่งมิได้ก่อผลกระทบกระเทือนต่อรัฐอื่น ๆ หรือมิได้กระทบกระเทือนกิจการของโลกอย่างมาก จึงมิใช่ประเด็นที่สนใจนัก ในทางตรงกันข้าม หากการกระทำที่เกิดข้ามเขตพรมแดนรัฐมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หรือต่อสังคมโลกโดยทั่วไป ก็เป็นเรื่องที่นักวิชาการให้ความสนใจศึกษา ตัวอย่างเช่น กรณีที่มีการยิงปืนจากสถานทูตลิเบียในกรุงลอนดอนจนทำให้ตำรวจหญิงอังกฤษผู้หนึ่งเสียชีวิตตอนต้นปี ค.ศ.๑๙๘๔ นับเป็นกรณีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศซึ่งพึงสนใจ เพราะกระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ (จนถึงกับมีการตัดความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่าง๒ ประเทศในระยะเวลาต่อมา) นอกจากนี้ยังมีกรณีตัวอย่างอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก เช่น กรณีนักก่อวินาศกรรมเกาหลีเหนือวางระเบิดสังหารเจ้าหน้าที่เกาหลีใต้ในประเทศพม่า เมื่อต้นปี ค.ศ.๑๙๘๔ หรือกรณีกลุ่มชนในอิหร่านจับนักการทูตสหรัฐอเมริกาในอิหร่านเป็นตัวประกัน เป็นต้น

4. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือและความขัดแย้งระหว่างประเทศ ประเด็นความขัดแย้งและความร่วมมือระหว่างประเทศนี้เป็นเรื่องที่ผู้สนใจความสัมพันธ์ระหว่างประเทศพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ เพราะเป็นเรื่องที่กระทบกระเทือนการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นปกติสุขในสังคมโลก

ดังนั้น ถึงแม้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะเกิดขึ้นมากมาย และครอบคลุมเหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง แต่ในทางปฏิบัติ นักวิชาการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมักจะเลือกสนใจเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นข้ามขอบเขตพรมแดนรัฐซึ่งมีความสำคัญ คือที่กระทบต่อความร่วมมือและความขัดแย้งเป็นหลัก

อ้างอิง http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:WFVsRPvmaPIJ:58.97.114.34:8881/academic/images/stories/1_kwarm_mun_kong/3_politic/1_inter/21311-4.doc+&cd=4&hl=th&ct=clnk&gl=th(หน้า 1-3)

1.2. ตัวแสดงในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

1.2.1. ตัวแสดงที่เป็นรัฐ

เมื่อจักรวรรดิโรมันเสื่อมสลาย ดินแดนในทวีปยุโรปแยกออกเป็นแว่นแคว้นต่างๆ ที่เป็นอิสระต่อกัน เช่น อิตาลีแบ่งออกเป็นรัฐลอมบาร์ดี โรมานญา ทัสคานี เนเปิล ซีซีลี รัฐสันตะปาปา ฯลฯ เยอรมนีแยกออกเป็นรัฐแซกซอน ฟรังโกเนีย บาวาเรีย ชวาเบน ไมเซน ฯลฯ ฝรั่งเศสแยกออกเป็นรัฐบูร์กอญ กาสกอญ ตูลูส โพรวองส์ ฯลฯ เช่นเดียวกับสเปนและยุโรปตะวันออก เป็นสภาพที่อำนาจการเมืองกระจัดกระจายไม่รวมศูนย์ดังสมัยจักรวรรดิโรมัน

จากนั้นการปกครองค่อยๆ พัฒนาเป็นระบบฟิลดัล (Feudal system) กับศาสนจักรโรมันคาทอลิก

ศาสนจักรโรมันคาทอลิกเป็นองค์กรเดียวที่มีโครงสร้างทางอำนาจเข้มแข็ง บาทหลวงกระจายอยู่ทุกหนแห่ง ทุกแว่นแคว้น เป็นที่พึ่งของประชาชนท่ามกลางสภาวะสงคราม ความทุกข์ยากลำบากต่างๆ

ในปี ค.ศ.800 เกิดเหตุการณ์สำคัญคือ หลังจากพระเจ้าชาร์เลอมาญแห่งชนชาติฟรังก์ชนะสงครามสามารถรวมดินแดนฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลีภาคเหนือและยุโรปตะวันตกทั้งหมด กลายเป็นอาณาจักรใหญ่ พระเจ้าชาร์เลอมาญได้ให้สันตะปาปาเลโอที่ 3 สวมมงกุฎจักรพรรดิ เป็นการยอมรับสิทธิอำนาจของประมุขศาสนาเหนือประมุขอาณาจักรฝ่ายโลก

ค.ศ.962 สันตะปาปาโยอันเนสที่ 12 สวมมุงกุฎให้พระเจ้าออตโตที่ 1 และประกาศให้อาณาจักรของพระเจ้าออตโตที่ 1 เป็น “จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์” อำนาจของศาสนจักรจึงครอบคลุมสูงสุดทั้งทางธรรมกับทางโลก ประมุขคนใดที่ไม่เชื่อฟังหรือไม่ยอมรับอำนาจของสันตะปาปา อาจถูกประกาศบัพพาชนียกรรม (excommunication) ไล่ออกจากการเป็นศาสนิกชน ทำให้ประมุขขาดความน่าเชื่อถือ ขุนนางอาจก่อการยึดอำนาจ

ในระดับรากหญ้า บาทหลวงกระจายอยู่ในทุกเมือง มีอิทธิพลต่อประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย มีบทบาทด้านการศึกษา กิจกรรทางสังคม โบสถ์และธรณีสงฆ์เป็นอิสระจากอำนาจเจ้าเมือง ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี มีข้าพระหรือผู้ใช้แรงงานในบังคับบัญชาของโบสถ์ เมื่อเวลาผ่านไปโบสถ์ร่ำรวย มีอิทธิพลมากขึ้นทุกที

ดังนั้น ในยุคกลาง (ค.ศ.500-1500) ศาสนจักรโรมันคาทอลิกมีอิทธิพลอำนาจทั้งฝ่ายโลกและทางธรรม บาทหลวงทั้งหมดขึ้นตรงต่อสันตะปาปา กษัตริย์บางองค์เมื่อขึ้นครองราชย์ต้องได้รับการสวมมงกุฎจากสันตะปาปา ในบางแง่อาจตีความว่าเกิดสภาพอำนาจซ้อนอำนาจ


แต่อำนาจของศาสนจักรโรมันคาทอลิกเริ่มเสื่อมด้วยเหตุผลหลายประการ ได้แก่ มีการซื้อขายใบไถ่บาป เป็นความเชื่อที่ว่าการซื้อใบไถ่บาปจะช่วยให้ผู้ตายได้ขึ้นสวรรค์ บาทหลวงเท่านั้นที่สามารถเป็นคนกลางเชื่อมระหว่างผู้เชื่อกับพระเจ้า ศาสนิกชนบางส่วนต้องการฟื้นฟูศาสนา เมื่อได้ศึกษาพระคริสต์ธรรมคัมภีร์ (Bible) ก็ยิ่งรู้ว่าหลักข้อเชื่อ แนวประพฤติปฏิบัติหลายอย่างไม่ถูกต้อง ตีความพระคัมภีร์ผิดเพี้ยน การประดิษฐ์เครื่องพิมพ์สมัยใหม่และแปลเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย เป็นอีกเหตุที่ทำให้หลายคนได้อ่านพระคัมภีร์โดยตรง (เดิมนั้นผู้เชื่อจะฟังคำสอนผ่านบาทหลวงเป็นหลัก) พระคริสต์ธรรมคัมภีร์แพร่กระจายอย่างกว้างขวาง (ทุกวันนี้พระคัมภีร์ยังเป็นหนังสือที่ตีพิมพ์มากที่สุดในโลก) บาทหลวงไม่เป็นผู้ผูกขาดตีความอีกต่อไป


ความเจริญก้าวหน้าของศิลปะวิทยาการแขนงต่างๆ เป็นอีกเหตุผลสำคัญ นักวิทยาศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักคิดหลายคนค้นพบความรู้และแนวคิดที่ขัดแย้งกับคำสอนของศาสนจักร เช่น นักดาราศาสตร์ค้นพบว่าพระเจ้าไม่ได้สร้างโลกให้เป็นศูนย์กลางจักรวาล โลกเป็นเพียงดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะ

นักปรัชญาการเมือง นิกโคโล มาเคียเวลลี (Niccolo Machiavelli, 1469-1527) โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes, 1588-1679) สนับสนุนให้เจ้าผู้ปกครองมีอำนาจเหนือทุกฝ่าย รวมทั้งศาสนจักร

ความเจริญก้าวหน้าของศิลปะวิทยาการที่ขัดแย้งกับหลักศาสนา เป็นอีกเหตุที่สั่นคลอนสิทธิอำนาจของศาสนจักร

ความขัดแย้งอันเนื่องจากความเชื่องทางศาสนา ความต้องการปฏิรูป ได้ขยายตัวและเชื่อมโยงกับอาณาจักรฝ่ายโลก เกิดสงครามระหว่างแว่นแคว้นที่ยังยึดมั่นศาสนาจักรกับฝ่ายต่อต้านหลายครั้ง สงครามครั้งสุดท้ายคือ สงคราม 30 ปี (Thirty Years War, 1618-1648) จบลงด้วยการลงนามสนธิสัญญาเวสฟาเลีย (Treaty of Westphalia) ในปี 1648 พร้อมกับเกิด “รัฐสมัยใหม่” (modern state) ผู้ครองรัฐต่างๆ สามารถกำหนดนิกายศาสนาด้วยตนเอง ไม่จำต้องขึ้นกับศาสนจักรอีกต่อไป เป็นการยุติอำนาจฝ่ายโลกของคริสตจักรโรมันคาทอลิกที่มีมาตั้งแต่ยุโรปสมัยกลาง

ผู้ปกครองหรือศูนย์กลางอำนาจของรัฐ จึงมี/ใช้อำนาจสูงสุดภายในขอบเขตรัฐหรือดินแดนของอิทธิพลของตน คำว่าอธิปไตย (Sovereignty) ในสมัยนั้นจึงมีความมุ่งหมายสำคัญที่ว่าผู้ปกครองฝ่ายโลกหรือกษัตริย์ได้แยกตัวตนออกจากอำนาจของสันตะปาปา รัฐที่ยึดมั่นหลักการนี้จะไม่มีระบบ 2 ผู้นำ คือ ผู้นำศาสนากับผู้ปกครองฝ่ายโลกที่ทับซ้อนกัน ผู้ปกครองฝ่ายโลกมีอำนาจสูงสุดในขอบเขตอิทธิพลทางการเมืองของตน (หรือขอบเขตประเทศหรือดินแดนของตนนั่นเอง) เว้นแต่บางเมืองบางรัฐที่ยังคงอยู่ใต้อิทธิพลของศาสนจักรต่ออีกระยะหนึ่ง

ข้อตกลงสันติภาพเวสฟาเลียยังเป็นที่มาของหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของอีกฝ่าย เขตแดนกลายเป็นเรื่องสำคัญยิ่งกว่าอดีต เพราะผู้ปกครองแต่ละคนมีอำนาจสูงสุดเหนือดินแดน รวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างในดินแดนนั้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นประชากร ทรัพยากรต่างๆ

อ้างอิงจาก http://www.chanchaivision.com/2014/12/Modern-State-Primary-Actor-141228.html

1.2.2.ตัวแสดงที่มิใช่รัฐ (Non State Actor)

ตัวแสดงที่มิใช่รัฐ (non-state actor) ที่มีบทบาทเด่นในปัจจุบัน

o “องค์การระหว่างประเทศ” เช่น สหประชาชาติ

o บรรษัทข้ามชาติ (Multinational Corporations: MNCs)

อำนาจของ MNCs บางครั้ง บางแห่ง มีมากกว่าที่คิด เช่น บรรษัทยาของสหรัฐฯ มีอิทธิพลต่อนโยบายต่างประเทศสหรัฐฯ ด้วยการบีบให้ประเทศกำลังพัฒนาลงนามป้องกันสิทธิบัตรยา หรือบรรษัทข้ามชาติสหรัฐฯ บีบให้ประเทศต่างหันมาสนับสนุนเปิดประเทศเพื่อการค้าเสรี

ดังนั้น เท่ากับว่า MNCs เหล่านี้ชักใยประเทศสหรัฐฯ ให้มีนโยบายหรือดำเนินนโยบายต่างประเทศต่อประเทศอื่นๆ เพื่อเอื้อประโยชน์ของ “MNCs”

เท่ากับว่า ในบางแง่มุม MNCs เหล่านี้มีอำนาจมากกว่าประเทศสหรัฐฯ เสียอีก

• กรณีตัวอย่าง บรรษัทน้ำมัน

เจ้าพ่อในวงการน้ำมันมีท่าทีใคร่จะย้อน เวลากลับไปก่อนที่จะมีกระแสคลื่นยึดกิจการน้ำมันมาเป็นของชาติ ในปี ค.ศ.๑๙๗๐ เมื่อบรรดายักษ์ใหญ่ในวงการน้ำมันโลกอันได้รับขนานนามว่า"เจ็ดศรีพี่น้อง (Seven Sisters) ถูกขับออกจาก ตะวันออกกลางและ ละตินอเมริกา "เจ็ดศรีพี่น้อง" นี้ได้แก่ เอ็กซ์ซอน (Exxon), กัล์ฟ (Gulf), เท็กซาโก้ (Texaco), โมบิล (Mobil), โซคอล (Socal) หรือเชฟรอน (Chevron), บี.พี. (B.P.), และเชลล์ (Shell), ๕ บริษัทแรกเป็นบริษัทใหญ่ของสหรัฐ ฯ ถัดมาก็เป็นบริษัทของจักรภพอังกฤษ สุดท้ายก็ได้แก่แองโกล-ดัทช์ (Anglo - Dutch) "เจ็ดศรีพี่น้อง" นี้แหละครอบงำกิจการน้ำมัน ของโลกที่พวกเราทั้งหลายอยู่ภายใต้การครอบงำ ของน้ำมันด้วยกันทั้งนั้น

การที่ประเทศสหรัฐฯ ที่มีนโยบายเข้มงวดในการรักษาการมีอิทธิพลเหนือดินแดนตะวันออกกลางที่อุดมด้วยน้ำมัน ถ้ามองในแง่ตัวแสดงรัฐคือสหรัฐฯต้องการผลประโยชน์ด้านพลังงานจากตะวันออกลาง และถ้ามองในแง่ตัวแสดงบรรษัทข้ามชาติ การที่รัฐอเมริกันใช้นโยบายและใช้ทรัพยากรมหาศาลเพื่อรักษาอิทธิพลเหนือตะวันออกลางก็คือเพื่อให้บรรษัทน้ำมันข้ามชาติสามารถประกอบกิจการต่อไปโดยราบรื่น


Non State Actor ที่เป็นองค์การนอกภาครัฐที่ทำงานไม่แสวงผลกำไร (non-governmental organisations - NGOs) ปัจจุบันส่วนใหญ่ทำงานส่งเสริมสิทธิมนุษยชน การศึกษาวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และหลายแห่งเกี่ยวข้องกับศาสนา ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับเงินสนับสนุนส่วนหนึ่งจากภาคเอกชน

ในปี 2007 มีเอ็นจีโอในสหรัฐฯ กว่า 2 ล้านองค์กร อินเดียราว 1 ล้านองค์กร ในรัสเซีย 4 แสน

เอ็นจีโอบางแห่งไม่ได้ทำงานเพื่อประชาชนจริง แต่เป็นเอ็นจีโอของรัฐบาลหรือบริษัทเอกชน เอ็นจีโอที่ส่งเสริมประชาธิปไตยบางแห่งของสหรัฐฯ ถูกบางประเทศมองว่าเป็นเครื่องมือของรัฐบาลอเมริกันเพื่อล้มล้างหรือบ่อนทำลายรัฐบาลของประเทศเหล่านั้น เอ็นจีโอส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีผลต่อนโยบายของรัฐบาล แต่บางเอ็นจีโอมีผลต่อนโยบายของรัฐบาลค่อนข้างมาก เช่น องค์การเฝ้าระวังปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน (Human Rights Watch), องค์การนิรโทษกรรมสากล (Amnesty International) and Oxfam กลุ่มกรีนพีซ (Greenpeace) ทำหน้าที่รณรงค์ เรียกร้อง ประท้วงและกดดันรัฐบาลประเทศต่างๆในเรื่องของสันติภาพและสิ่งแวดล้อม กลุ่มแพทย์ไร้พรมแดน (Doctors Without Borders)


Non State Actor ที่เป็นกลุ่มแนวคิดหรือองค์กรศาสนา

เช่น Al Qaeda, Hezbollah ซึ่งบางครั้งถูกชาติตะวันตกระบุว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการก่อการร้ายระหว่างประเทศ (Terrorist) โดยเฉพาะภายหลังเหตุการณ์เครื่องบินชนอาคารแฝดเวิร์ลเทรด เซ็นเตอร์ ประเทศสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 หรือเรียกว่าเหตุการณ์ 911


1.2.3. ตัวแสดงที่มิใช่รัฐอื่นๆ

เช่น ปัจเจกบุคคล อดีตรองประธานาธิบดี อัล กอร์ แห่งสหรัฐฯ แสดงบทบาท คือ การรณรงค์เรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมโลก โดยเฉพาะภาวะโลกร้อน

ข้อสังเกต คือ อัล กอร์ รณรงค์กับคนส่วนใหญ่ทั่วโลก ไม่เฉพาะกับคนอเมริกัน มีกิจกรรมต่อเนื่อง เป็นที่โดดเด่นในสื่อกับวิชาวิชาการ สาขาการระหว่างประเทศ อัล กอร์ ไม่ได้ไปในนามของอดีตรองประธานาธิบดี แต่ไปในนามบุคคลธรรมดาที่สนใจรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อม เหมือนนักเคลื่อนไหว (activist) คนหนึ่ง นายอัล กอร์ ได้สร้างภาพยนตร์สารคดี "An Inconvenient Truth”นำเสนอความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติเอาไว้อย่างน่าสนใจ

ผลการสำรวจของ “Pew” พบว่า คนส่วนใหญ่จาก 47 ประเทศทั่วโลก เป็นว่า ปัญหามลภาวะ (pollution) และปัญหาสิ่งแวดล้อม (environmental problems) เป็นภัยคุกคามที่สำคัญที่สุดของโลก ไม่ใช่เรื่องการก่อการร้าย หรืออาวุธนิวเคลียร์

อินเตอร์เน็ตที่เชื่อมโยงผู้ใช้ทั่วโลก ส่งผลทำให้แต่ละปัจเจกบุคคลมีอิทธิพล ปัจเจกบุคคลสามารถส่งผ่านความคิดความเห็นของเขาแก่ทุกคนที่เข้าไปสัมพันธ์ด้วยผ่านอินเตอร์เน็ต

อ้างอิง : http://www.chanchaivision.com/2012/06/3.html

ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ[แก้ไข]

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในอดีต

การศึกษาและทำความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในอดีตอาจพิจารณาแบ่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศออกเป็นช่วงระยะเวลาต่าง ๆ ตามลำดับ ได้แก่ ในสมัยโบราณ ในระยะก่อนมหาสงครามโลก ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ และในระยะหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งสามารถแยกพิจารณาได้ดังนี้


2.1. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยโบราณ

เพื่อความสะดวกในการศึกษาและการเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยโบราณ จึงได้แบ่งการศึกษาออกเป็น ๕ สมัย คือ สมัยดึกดำบรรพ์ สมัยนครรัฐกรีก สมัยจักรวรรดิโรมัน สมัยฟิวดัล และสมัยรัฐปัจจุบัน ซึ่งอธิบายได้ดังนี้

2.1.1. สมัยดึกดำบรรพ์

ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มหรือรัฐในสมัยดึกดำบรรพ์ มีลักษณะเป็นการใช้กำลังต่อกันระหว่างรัฐ โดยกลุ่มชนใดมีกำลังและอาวุธมากกว่าก็มักจะบงการให้รัฐอื่นหรือชนเผ่าอื่นตกลงตามข้อเสนอของตน หากรัฐอื่นไม่ยอมตกลงด้วยก็มีการทำสงครามกันขึ้น ส่วนสันติภาพนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน ซึ่งอาจมีได้จากการทำสนธิสัญญาหรือข้อตกลงเท่านั้น ผู้ชนะสงครามย่อมมีสิทธิ์เหนือผู้แพ้ ทั้งในตัวบุคลและทรัพย์สิน

2.1.2. สมัยนครรัฐกรีก

ในสมัยนครรัฐกรีก มีนครรัฐหลายร้อยนครรัฐ ซึ่งต่างก็มีเอกราชไม่ขึ้นต่อกัน และต่างก็ไม่คิดจะรวมเข้าด้วยกันแม้จะมีวัฒนธรรม ภาษา และศาสนาเดียวกันก็ตาม ดังนั้นบางครั้งจึงมีการรบพุ่งเกิดขึ้นระหว่างรัฐ แต่ก็ไม่รุนแรงเท่าใดนัก โดยมากแล้วมักจะตกลงกันว่าจะไม่รบจนกว่าจะได้ประกาศสงครามให้ทราบล่วงหน้าก่อน ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างนครรัฐต่าง ๆ ดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่มีการแต่งตั้งทูตประจำ แต่ก็มีการส่งคณะทูตไปเยี่ยมเยือนกันอย่างต่อเนื่อง โดยมีข้อตกลงทางประเพณีว่า ห้ามทำร้ายหรือละเมิดแก่ตัวทูต

ในสมัยนครรัฐกรีก ชาวกรีกจะไม่ชอบคนต่างด้าว ซึ่งหมายถึงคนที่เป็นพลเมืองของนครอื่น ๆ ยกเว้นบุคคลซึ่งทางศาสนาให้มีหน้าที่เอื้อเฟื้อ หรือบุคคลซึ่งชาวกรีกมีหน้าที่ต้องเอื้อเฟื้อตามสนธิสัญญา ทั้งนี้ชาวกรีกมักถือว่าไม่มีพันธกรณีกับคนต่างด้าว และคนต่างด้าวก็ไม่สิทธิอันใด รัฐจะเป็นศูนย์กลางทำการค้าและได้มีการทำสนธิสัญญาตกลงใช้หลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกันระหว่างนครรัฐในเรื่องความเสมอภาค สิทธิทางแพ่งของคน และวิธีตกลงในกรณีพิพาททางการพาณิชย์

ในสมัยนี้มีความพยายามอย่างยิ่งยวดในการที่จะป้องกันการรบพุ่งกันระหว่างนครรัฐ โดยมีการตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้น อันเป็นความพยายามในการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ซึ่งได้มีการทำสัญญากันไว้หลายฉบับ โดยระบุให้มีอนุญาโตตุลาการชี้ขาด หากเกิดกรณีพิพาทขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นกรณีพิพาทในทางศาสนา การพาณิชย์ และเรื่องเขตแดนหรือดินแดน


2.1.3. สมัยจักรวรรดิโรมัน

โรมันเป็นนครรัฐหนึ่งเช่นเดียวกับนครรัฐกรีก ซึ่งในเวลาต่อมาโรมันสามารถยึดเอาดินแดนต่าง ๆ ที่เป็นอิตาลีในปัจจุบันมาขึ้นกับตนทั้งหมด ซึ่งทำให้โรมันมีกำลังมากขึ้น จนกระทั่งสามารถแผ่จักรวรรดิออกไปเหนือดินแดนทั้งหมดในคาบสมุทรเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนความสัมพันธ์กับรัฐอื่น ๆ นั้น โรมันปฏิบัติในลักษณะคล้ายกันกับนครรัฐต่าง ๆ ของกรีก เช่น ในเรื่องการทำสงครามและการปฏิบัติต่อคนต่างชาติ แต่โรมันดำเนินนโยบายต่างประเทศที่ฉลาดกว่ากรีก เพราะชาวโรมันชำนาญในการปกครองและมีความรู้ทางด้านกฎหมายมากกว่าชาวกรีก

กฎหมายโรมันที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐมีอยู่ ๒ สาขา คือ Jus Fetiale ซึ่งเป็นกฎหมายที่วางกฎเกณฑ์ในเรื่องการประกาศสงคราม การให้สัตยาบันสันติภาพ และ Jus Gentium ซึ่งเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างโรมันกับคนต่างด้าว รวมทั้งบัญญัติถึงเรื่องทางแพ่ง เช่น สัญญาหุ้นส่วนกู้ยืม และการได้มาซึ่งสิทธิต่าง ๆ เป็นต้น โดยที่กฎหมายเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ ต่อมาได้รวมในกฎหมายแห่งโรมัน ซึ่งกลายเป็นรากฐานของระบบกฎหมายของประเทศยุโรปหลายประเทศ

2.1.4. สมัยกลาง

ระบบฟิวดัลเกิดขึ้นในฝรั่งเศสช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๕ ในอิตาลีประมาณคริสต์ศตวรรษที่ ๖ และในอังกฤษช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๙ ซึ่งตามระบบฟิวดัลนี้ได้มีการตกลงวางระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างพวกเจ้าขุนมูลนาย (Lords) กับพวก Vassals โดยพวกเจ้าขุนมูลนายจะเป็นหัวหน้าปกครองแคว้นต่าง ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าขุนมูลนายเป็นไปโดยไม่มีหลักเกณฑ์แน่นอน แคว้นใดมีกำลังและอำนาจมากก็มักใช้อำนาจตามความพอใจของตน สันติภาพจึงเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน

2.1.5. สมัยรัฐปัจจุบัน

รัฐปัจจุบัน (Modern States) เกิดขึ้นได้เพราะการเลิกล้มระบบฟิวดัล การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางศาสนากับฝ่ายบ้านเมือง ชีวิตเศรษฐกิจทางการค้า และการขยายตัวทางการเมือง โดยเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้เกิดรัฐปัจจุบันก็คือ สงครามครูเสด การพบเส้นเดินทางการค้าใหม่ การค้นพบดินแดนนอกยุโรป การปฏิวัติในทางการค้า การสถาปนาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การปฏิรูปคริสต์ศาสนา ระบอบประชาธิปไตย และการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งระบบรัฐได้เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๐ จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ (ค.ศ.๑๖๘๔) จากนั้นระบบรัฐปัจจุบันได้แพร่ขยายไปจนทั่วโลก

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในช่วงระยะเวลานี้มีมากกว่าในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากมีการติดต่อระหว่างรัฐในทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น ขณะที่มีความขัดแย้งระหว่างรัฐเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง อำนาจของพวกเจ้าขุนมูลนายลดน้อยลงไป ส่วนพวกนายทุนรุ่นใหม่เกิดมีอำนาจทางการเมืองขึ้น โดยรวมกำลังกับกษัตริย์เพื่อลดอำนาจพวกขุนนาง

2.2. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยใหม่

2.2.1 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหลังสมัยกลาง

รัฐปัจจุบัน (Modern States) เกิดขึ้นได้เพราะการเลิกล้มระบบฟิวดัล การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางศาสนากับฝ่ายบ้านเมือง ชีวิตเศรษฐกิจทางการค้า และการขยายตัวทางการเมือง โดยเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้เกิดรัฐปัจจุบันก็คือ สงครามครูเสด การพบเส้นเดินทางการค้าใหม่ การค้นพบดินแดนนอกยุโรป การปฏิวัติในทางการค้า การสถาปนาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การปฏิรูปคริสต์ศาสนา ระบอบประชาธิปไตย และการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งระบบรัฐได้เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๐ จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ (ค.ศ.๑๖๘๔) จากนั้นระบบรัฐปัจจุบันได้แพร่ขยายไปจนทั่วโลก

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในช่วงระยะเวลานี้มีมากกว่าในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากมีการติดต่อระหว่างรัฐในทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น ขณะที่มีความขัดแย้งระหว่างรัฐเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง อำนาจของพวกเจ้าขุนมูลนายลดน้อยลงไป ส่วนพวกนายทุนรุ่นใหม่เกิดมีอำนาจทางการเมืองขึ้น โดยรวมกำลังกับกษัตริย์เพื่อลดอำนาจพวกขุนนาง

2.2.2. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1

ก่อนมหาสงครามโลกเกิดขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีจุดศูนย์กลางอยู่ในยุโรปนับตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ (ค.ศ.๑๖๘๔) จนถึงการปฏิวัติในฝรั่งเศส (ค.ศ.๑๗๘๙-๑๗๙๙) และสงคราม นโปเลียนในปี ค.ศ.๑๘๑๕ ซึ่งในช่วงระยะเวลานี้ รัฐมหาอำนาจต่างมุ่งที่จะสร้างอาณาจักรและจักรวรรดิของตนขึ้นมา อันเป็นการคุกคามต่อระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ขณะที่สงครามถือว่าเป็นสิ่งที่เป็นอันตรายต่อระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเช่นกัน

2.2.2.1. บทบาทของรัฐ

รัฐที่มีบทบาทสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศส่วนมาก ได้แก่ รัฐที่อยู่ในภาคพื้นยุโรป ซึ่งมหาอำนาจในยุโรปจะไม่ให้ความสนใจกับรัฐอื่น ๆ ที่อยู่ภายนอกยุโรป เพราะรัฐที่อยู่บริเวณภายนอกดินแดนยุโรปไม่มีการพัฒนาทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและเทคโนโลยีอย่างเพียงพอจนถึงขนาดที่ทำให้มีกำลังอำนาจโจมตีรัฐมหาอำนาจในยุโรปได้ โดยที่รัฐมหาอำนาจในยุโรปขณะนั้น คือ ฝรั่งเศส รัสเซีย ออสเตรียและอังกฤษ จะเป็นผู้ควบคุมระบบความสัมพันธ์และการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งรัฐเหล่านี้นอกจากจะคุกคามรัฐอื่น ๆ นอกดินแดนยุโรปแล้ว ยังคุกคามรัฐเล็ก ๆ ในยุโรปอีกเป็นจำนวนมาก

ในช่วงเวลานี้ รัฐมหาอำนาจต่างมีความหวาดกลัวและหวาดระแวงซึ่งกันและกันเป็นส่วนใหญ่และพยายามที่จะกระทำการใด ๆ อันเป็นการรักษาความมั่นคงและปลอดภัยของตนไว้ ทั้งนี้จากโครงสร้างภายในของรัฐทำให้ผู้นำของรัฐแต่ละรัฐจะมีอิสระในการจัดการเกี่ยวกับภารกิจต่างประเทศของตนได้โดยเสรี โดยผู้นำของรัฐซึ่งเป็นผู้ตัดสินใจเลือกนโยบายต่างประเทศจะมีอำนาจและความเป็นอิสระมากกว่าผู้ตัดสินใจทางด้านนโยบายในสมัยปัจจุบัน เพราะมีผู้ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกนโยบายจำนวนน้อยและมีอำนาจต่อผู้นำของรัฐในลักษณะที่ค่อนข้างจำกัด

2.2.2.2. การรักษาดุลแห่งอำนาจ

ระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในช่วงระยะเวลานี้ ประกอบด้วย ผู้แสดงบทบาทซึ่งเป็นรัฐยุโรป โดยที่รัฐยุโรปเหล่านี้มีความผูกพันต่อกันในรูปของการร่วมมือกันระหว่างผู้นำของรัฐต่าง ๆ ซึ่งต่างก็มีความปรารถนาที่จะหลีกเลี่ยงสงครามที่ยืดเยื้อมาก่อนหน้านี้ คือ สงครามเจ็ดปี ระหว่างปี ค.ศ.๑๗๕๖-๑๗๖๓ ซึ่งเป็นการต่อสู้ระหว่างปรัสเซียและอังกฤษกับออสเตรีย ฝรั่งเศสและรัสเซีย นอกจากนี้ผู้นำของรัฐในยุโรปต่างก็พยายามที่จะไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นอันตรายต่อระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ประกอบกับการขาดความก้าวหน้าในด้านเครื่องมือที่ใช้เพื่อทำลายในการทำสงคราม ทำให้สงครามที่เกิดขึ้นในสมัยนี้มีลักษณะไม่รุนแรงเหมือนอย่างสงครามในปัจจุบันที่มีการทำลายชีวิตมนุษย์เป็นจำนวนมาก

ในระยะนี้ รัฐต่าง ๆ มักจะรวมตัวกันเพื่อการอยู่รอด และเพื่อมีอำนาจเข้มแข็งเพียงพอที่จะยึดดินแดนของรัฐอื่นมาเป็นของตน รัฐที่มีอำนาจในสมัยนี้และมีความทะเยอทะยานดังกล่าวมักจะถูกขัดขวางจากพวกรัฐที่รวมตัวกันเพื่อทำหน้าที่คุ้มครองบรรดารัฐเล็ก ๆ จึงทำให้มีดุลแห่งอำนาจ (Balance of Power) เกิดขึ้นในยุโรป ซึ่งทั้งรัฐมหาอำนาจและบรรดารัฐที่รวมตัวเข้าด้วยกันเพื่อพิทักษ์รักษารัฐเล็ก ๆ ต่างก็มีอำนาจพอ ๆ กัน ทำให้เป็นการป้องกันมิให้รัฐใดรัฐหนึ่งเข้ายึดครองดินแดนทั้งหมดในยุโรปแต่เพียงผู้เดียว ทั้งนี้ผลจากการมีดุลแห่งอำนาจทำให้ระบบการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไม่ได้รับผลกระทบจากพฤติกรรมของรัฐแต่อย่างใด

ในช่วงระยะเวลานี้ ฝรั่งเศสมุ่งที่จะสร้างจักรวรรดินของตนให้ยิ่งใหญ่โดยการแผ่ขยายอาณาเขตของตนเข้าไปในดินแดนต่าง ๆ ซึ่งเป็นการคุกคามต่อความมั่นคงของระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยมีอังกฤษเป็นหัวหน้าของกลุ่มรัฐที่ถ่วงดุลอำนาจ พร้อมทั้งชักชวนรัฐต่าง ๆ ให้ร่วมมือกันต่อต้านการแผ่อำนาจและอาณาเขตของฝรั่งเศส ต่อมาในกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ อังกฤษได้ประสบความสำเร็จในการยึดครองดินแดนต่าง ๆ ในโพ้นทะเล ทำให้รัฐต่าง ๆ เริ่มเห็นพ้องกันว่าผู้ที่เป็นอันตรายและคุกคามต่อระบบการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็คือ อังกฤษไม่ใช่ฝรั่งเศส ฝรั่งเศสได้จัดให้มีการร่วมมือกันระหว่างรัฐขึ้นเพื่อยับยั้งการขยายดินแดนของอังกฤษ ซึ่งลักษณะดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงการถ่วงดุลอำนาจระหว่างกัน และรัฐที่ทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ (Protector) ก็อาจต้องการเป็นผู้ครองโลก (Conqueror) ได้ ดังนั้นบทบาทของรัฐในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยนี้จึงไม่ค่อยมีความแน่นอน อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้นำของรัฐ ทั้งนี้การมีระบบดุลอำนาจเกิดขึ้นสามารถช่วยได้อย่างมากในการรักษาระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไม่ให้ถูกทำลายลงไป

2.2.3. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของการเมืองโลก

2.2.3.1. ระยะแห่งการเปลี่ยนแปลง

ช่วงระยะเวลานี้อาจเริ่มนับตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๘๑๕ ถึง ๑๙๔๕ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ โดยชนชั้นกลางมีความสำคัญเพิ่มขึ้นในกิจการของรัฐ รวมทั้งมีการปฏิวัติและการเปลี่ยนแปลงในด้านอุตสาหกรรม เช่น การใช้เครื่องจักร เครื่องกล อาวุธใหม่ ๆ เป็นต้น และยังมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องอิทธิพลภายในรัฐที่มีต่อการสร้างนโยบาย โดยเกิดมีกลุ่มชนขึ้นหลายกลุ่มภายในรัฐ คือ กลุ่มผลประโยชน์ซึ่งมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกแนวนโยบายของผู้นำรัฐ นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ความซื่อสัตย์ที่รัฐเคยมีต่อกันมาในอดีตได้เสื่อมคลายลง โดยผู้นำของรัฐหันไปซื่อสัตย์ต่อประชาชนแทน เกิดแนวความคิดเกี่ยวกับชาตินิยมขึ้น ดังนั้นเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นจึงมักมีความรุนแรงและอาจนำไปสู่สงคราม อย่างไรก็ตาม การคมนาคมและการขนส่งที่มีความเจริญก้าวหน้าขึ้นทำให้รัฐต่าง ๆ ได้ทำการติดต่อซึ่งกันและกันได้โดยสะดวก ซึ่งมีส่วนช่วยทำให้เกิดความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างรัฐมากขึ้น ส่งผลให้ความขัดแย้งและการเข้าใจผิดต่อกันระหว่างรัฐลดน้อยลงไป

อย่างไรก็ตาม ในสมัยนี้ความเจริญก้าวหน้าในด้านวิทยาศาสตร์และกำลังทหารได้เพิ่มมากขึ้น ทำให้รัฐมีอำนาจในการทำลายฝ่ายศัตรูในยามสงครามได้เป็นอย่างสูง อาจกล่าวได้ว่าผลจากความก้าวหน้าในสมัยนี้เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านอุตสาหกรรม ซึ่งนำไปสู่การประดิษฐ์คิดค้นอาวุธใหม่ ๆ ตลอดจนอุปกรณ์และเครื่องมือที่ต้องใช้ในการทำสงคราม

2.2.3.2. ความล้มเหลวในการป้องกันสงคราม

เนื่องจากมีข้อจำกัดน้อยมากเกี่ยวกับการใช้กำลัง จึงนำไปสู่การเกิดสงครามที่มีลักษณะรุนแรงขึ้นสองครั้ง คือ สงครามโลกครั้งที่ ๑ และสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายขึ้นอย่างมากในหลายพื้นที่ รวมทั้งก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมากในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมไปทั่วทุกมุมโลก ความกลัวในเรื่องสงครามเริ่มต้นแพร่หลายออกไปมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๑ สิ้นสุดลง ซึ่งความกลัวดังกล่าวได้มีส่วนเกี่ยวพันอย่างสำคัญต่อการกำหนดนโยบายต่างประเทศของรัฐในเวลาต่อมา โดยรัฐพยายามหาทางออกเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการทำสงครามระหว่างกัน เช่น มีการจัดตั้งสันนิบาตชาติขึ้น เพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทระหว่างรัฐ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความพยายามในการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดสงคราม แต่ในที่สุดก็ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ขึ้น เนื่องจากกลุ่มสัมพันธมิตรที่ทำหน้าที่ถ่วงดุลอำนาจอยู่ในขณะนั้นมีกำลังอำนาจไม่ทัดเทียมกับรัฐที่ชอบรุกราน เช่น เยอรมันและญี่ปุ่น ทำให้รัฐที่ชอบรุกรานเหล่านี้ไม่เกรงกลัวและกล้าตัดสินใจ ประกาศทำสงครามกับประเทศพันธมิตรอีก ส่งผลให้ระบบดุลอำนาจที่เคยใช้ได้ผลต้องถูกทำลายไป แม้ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลง จะได้มีการจัดตั้งสหประชาชาติขึ้นทดแทนสันนิบาติชาติ ทำหน้าที่ในการต่อต้านการกระทำของรัฐที่เป็นอันตรายต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นวิธีการถ่วงดุลอำนาจอีกแบบหนึ่ง แต่ส่วนมากจะใช้ได้กับประเทศเล็ก ๆ เท่านั้น ไม่อาจใช้ได้กับรัฐที่มีกำลังอำนาจมากได้

2.2.4 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในระยะหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

2.2.4.1. บทบาทและความเคลื่อนไหวของรัฐหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

สาเหตุสงครามโลกครั้งที่ 2

1.ความไม่เป็นธรรมของสนธิสัญญาแวร์ซายส์และสัญญาสันติภาพฉบับอื่นๆ ซึ่งทำภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เยอรมันและชาติผู้แพ้สงคราม ถูกบังคับให้ลงนามในสัญญาที่ตนเสียเปรียบ

2.การเติบโตของลัทธิทางทหาร หรือระบบเผด็จการ มีผู้นำหลายประเทศสร้างความเข้มแข็งทางทหาร และสะสมอาวุธร้ายแรงต่างๆ

3.ความล้มเหลวขององค์การสันนิบาตชาติ การทำหน้าที่รักษาสันติภาพไม่ประสบผลสำเร็จ

4.ความขัดแย้งในอุดมการณ์ทางการเมือง แนวความคิดของผู้นำประเทศที่นิยมลัทธิทางทหาร ได้แก่ ฮิตเลอร์ ผู้นำลัทธินาซีของเยอรมนี และเบนนิโต มุสโสลินี ผู้นำลัทธิฟาสซีสม์ ของอิตาลี ทั้งสองต่อต้านแนวความคิดเสรีนิยม และระบบการเมืองแบบรัฐสภาของชาติยุโรป แต่ให้ความสำคัญกับพลังของลัทธิชาตินิยม ความเข้มแข็งทางทหาร และอำนาจผู้นำมากกว่า

เหตุการณ์ที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2

1.ญี่ปุ่นรุกรานแมนจูเรีย แล้วตั้งเป็นรัฐแมนจูกัว เพื่อเป็นแหล่งอุตสาหกรรมและแหล่งทำทุนใหม่สำหรับตลาดการค้าของญี่ปุ่น

2.การเพิ่มกำลังอาวุธของเยอรมัน และฉีกสนธิสัญญาแวร์ซายส์

3.กรณีพิพาทระหว่างอิตาลีกับอังกฤษ ในกรณีที่อิตาลีบุกเอธิโอเปีย

4.เยอรมันผนวกออสเตรีย ทำให้เกิดสนธิสัญญา แกนเบอร์ลิน – โรม (เยอรมัน &อิตาลี) ต่อมาประเทศญี่ปุ่น เข้ามาทำสนธิสัญญาด้วย กลายเป็นสนธิสัญญา แกนเบอร์ลิน – โรม – โตเกียว เอ็กซิส

5.สงครามกลางเมืองในสเปน

6.เยอรมันเข้ายึดครองเชคโกสโลวเกีย

7.การแบ่งกลุ่มประเทศในยุโรป

ชนวนของสงครามโลกครั้งที่ 2

เกิดจากเยอรมนีโจมตีโปแลนด์ และเรียกร้องขอดินแดนฉนวน ดานซิก คืนทำให้อังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งสนับสนุนโปแลนด์ ประกาศสงครามกับเยอรมนีทันที ต่อมาเมื่อการรบขยายตัว ทำให้นานาประเทศที่เกี่ยวข้องถูกดึงเข้าร่วมสงครามเพิ่มขึ้น ( 1 กันยายน ค.ศ.1339)

ประเทศคู่สงครามในสงครามโลกครั้งที่ 2

แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ดังนี้

(1) กลุ่มประเทศฝ่ายพันธมิตร ชาติผู้นำที่สำคัญ ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต รวมทั้งยังมีประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ เข้าร่วมสมทบด้วยอีกจำนวนมาก

(2) กลุ่มประเทศฝ่ายอักษะ ชาติผู้นำที่สำคัญได้แก่ เยอรมนี ญี่ปุ่น และอิตาลี อาวุธที่ใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2

สงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลงด้วยชีวิตมนุษย์มากกว่า ๕๐ ล้านคน และความเสียหายมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิม โดยประเทศที่เคยเป็นพันธมิตรกันมาก็กลายเป็นศัตรูต่อกัน ยกตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต ซึ่งมีอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน มีการแข่งขันกันสะสมอาวุธที่ร้ายแรง และก่อให้เกิดการทำสงครามเย็นต่อกัน ต่างฝ่ายต่างคุมเชิงเพื่อป้องกันไม่ให้อีกฝ่ายหนึ่งแผ่ขยายอิทธิพลและอำนาจของตนออกไป ขณะเดียวกันก็พยายาม ชักจูงรัฐอื่น ๆ เข้ามาเป็นพวกฝ่ายตน

ในช่วงเวลาระยะนี้ มีประเทศเข้ามาเป็นสมาชิกของระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศเกิดใหม่ในทวีปแอฟริกา และแนวความคิดที่รัฐเพียงรัฐเดียวสามารถที่จะควบคุมดินแดนรัฐทั้งหมดในโลกหรือครองโลกแต่เพียงรัฐเดียวไม่สามารถจะเป็นไปได้ ดังนั้นความกลัวที่ว่าความคิดที่จะครองโลกของรัฐมหาอำนาจบางรัฐจะเป็นภัยอันตรายต่อระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจึงไม่มีอีกต่อไป คงมีแต่ความกลัวว่ารัฐมหาอำนาจบางรัฐอาจสร้างอิทธิพลและอำนาจของตนในส่วนภูมิภาคขึ้นมาโดยตนเป็นผู้ควบคุมปกครองแต่ผู้เดียว ซึ่งได้นำไปสู่การร่วมมือป้องกันตนเองในส่วนภูมิภาคโดยจัดตั้งองค์การป้องกันระหว่างประเทศขึ้น เช่น SEATO และ NATO เป็นต้น อย่างไรก็ตาม รัฐบางรัฐในภูมิภาคเดียวกัน ซึ่งมีผลประโยชน์ขัดแย้งกันก็มักจะมีการต่อสู้กันเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ยกตัวอย่างเช่น อินเดียกับปากีสถาน และอิสราเอลกับอาหรับเป็นต้น แต่สงคราม และการต่อสู้ดังกล่าวจะเป็นไปในลักษณะที่จำกัดไม่ใหญ่โตและรุนแรงถึงขนาดเป็นอันตรายต่อระบบ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งนี้อาจมีบางครั้งที่สงครามหรือการต่อสู้ใด ๆ ในส่วนภูมิภาคทำให้ ประเทศมหาอำนาจต้องตัดสินใจเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพื่อรักษาสถานะเดิมของรัฐบางรัฐและเพื่อ รักษาดุลยภาพในภูมิภาคนั้นไม่ให้สูญไป เช่น สงครามเกาหลี เป็นต้น นอกจากนี้ ประเทศมหาอำนาจ ของโลกได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการของส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดตั้งและพัฒนา องค์การที่เกี่ยวกับความมั่นคงและปลอดภัยระหว่างประเทศในภูมิภาค การให้ความช่วยเหลือทางด้านการทหารแก่ฝ่ายที่มีการต่อสู้ระหว่างรัฐในภูมิภาค การเข้าไปแทรกแซงหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองและสงครามภายในรัฐที่อยู่ในส่วนภูมิภาค

อย่างไรก็ตาม ความยุ่งยากหรือเหตุการณ์อันไม่สงบเรียบร้อยที่เกิดขึ้นภายในรัฐในส่วนภูมิภาคบ่อยครั้งที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดความไม่ลงรอยและการขัดแย้งระหว่างประเทศมหาอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต เช่น กรณีคองโก ในปี ค.ศ.๑๙๖๐ กรณีกรีกและตุรกีในปี ค.ศ.๑๙๔๙ และ ๑๙๕๐ รวมทั้งกรณีเวียดนามในปี ค.ศ.๑๙๖๐ สิ่งที่ตามมาก็คือหากมีการขัดแย้งเกิดขึ้นในส่วนภูมิภาคซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับสหรัฐอเมริกาหรือสหภาพโซเวียต ประสิทธิภาพในการจัดการกับกรณีข้อขัดแย้งดังกล่าวของสหประชาชาติที่จะลดน้อยลงไป เพราะประสิทธิภาพในการดำเนินงานเกี่ยวกับการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติจะขึ้นอยู่กับการสนับสนุนของประเทศมหาอำนาจทั้งสอง

หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศจะค่อนข้างแตกต่างกับในสมัยก่อนหน้านี้ เพราะนโยบายต่างประเทศในยุคสมัยนี้จะเกี่ยวพันกับคนเป็นจำนวนมากและเงินเป็นจำนวนหลายล้านดอลลาร์ ดังนั้นเมื่อจะมีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย ผู้ตัดสินใจมักจะหนีไม่พ้นอิทธิพลของกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งมีส่วนได้ส่วนเสียในนโยบาย และยังต้องคำนึงถึงสภาวะทางเศรษฐกิจและการทหารภายในประเทศ ก่อนที่จะตัดสินใจกำหนดนโยบายในเรื่องใด ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ยากและยุ่งยากซับซ้อน ไม่มีความยืดหยุ่นมากเหมือนในสมัยก่อน

2.2.4.2. สัมพันธภาพระหว่างประเทศมหาอำนาจ

ในช่วงเวลานี้ประเทศมหาอำนาจที่สำคัญได้แก่ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ซึ่งนับเป็นคู่แข่งสำคัญในสงครามเย็น มีการดึงเอาประเทศต่าง ๆ เข้ามาเป็นแนวร่วมทางอุดมการณ์ของตน ประการสำคัญได้มีการแข่งขันกันสะสมอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งอาจนำไปสู่การเผชิญหน้ากันทางทหารระหว่างกันได้ทำให้มีการพยายามปรับปรุงความสามารถของตนให้เหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ขณะเดียวกันก็ได้มีการจัดตั้ง “ระบบการป้องกันตัวเอง”(Self – Defense System) เพื่อป้องกันไม่ให้อีกฝ่ายสามารถทำลายฝ่ายตนได้อย่างไรก็ตามประเทศมหาอำนาจทั้งสองต่างก็ได้พยายามหลีกเลี่ยงในการทำสงครามต่อกันโดยตรงมาโดยตลอด และมีการดำเนินนโยบายต่างประเทศด้วยความระมัดระวังที่จะไม่ให้เกิดการขัดแย้งหรือกระทบกระทั่งต่อกัน ทั้งนี้แม้จะมีสงครามเกิดขึ้นในภูมิภาคหลายครั้ง แต่ก็ไม่เคยลุกลามขยายกลายเป็นสงครามโลกขึ้นมาอีก เนื่องจากประเทศมหาอำนาจทั้งสองมักจะจำกัดขอบเขตของอาณาบริเวณที่ทำการต่อสู้กันไม่ให้กว้างขวางมากเกินไปจนกระทั่งส่งผลกระทบต่อประเทศอื่น ๆ ที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน

2.2.4.3. พฤติกรรมในระบบการเมืองระหว่างประเทศ

ในช่วงระยะเวลานี้ มีพฤติกรรมบางอย่างในระบบการเมืองระหว่างประเทศที่มหาอำนาจไม่สามารถควบคุมได้ ยกตัวอย่างเช่น การที่อาวุธนิวเคลียร์ได้แพร่หลายและเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาความยุ่งยากในการควบคุม ซึ่งเกรงกันว่าอาจมีโอกาสที่จะเกิดสงครามนิวเคลียร์โดยอุบัติเหตุขึ้นได้ และก่อให้เกิดความตึงเครียดระหว่างประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ เนื่องจากมีความหวาดระแวงและไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน อย่างไรก็ตาม การแพร่หลายของอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Proliferation) ได้นำไปสู่แนวความคิดของรัฐมหาอำนาจในเรื่องการลดกำลังอาวุธและการควบคุมอาวุธ เพราะเป็นวิธีการที่จะช่วยให้โอกาสที่สงครามจะเกิดขึ้นลดน้อยลง เช่น สนธิสัญญาห้ามการทดลองอาวุธปรมาณู ทั้งในอวกาศและใต้ดิน ค.ศ.๑๙๖๓ และสนธิสัญญาป้องกันการแพร่หลายของอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อต้นปี ค.ศ.๑๙๗๐

นอกจากนี้ยังมีลักษณะของระบบการร่วมกันเป็นสัมพันธมิตร โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นหัวหน้าของกลุ่มประเทศฝ่ายตะวันตก และสหภาพโซเวียตเป็นหัวหน้าของกลุ่มประเทศฝ่ายตะวันออก ซึ่งประเทศสมาชิกของแต่ละกลุ่มต่างก็เต็มใจที่จะให้ประเทศมหาอำนาจซึ่งเป็นหัวหน้าของกลุ่มตนเป็นผู้กำหนดนโยบาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายที่เกี่ยวกับสัมพันธภาพระหว่างกลุ่ม ซึ่งต่อมาภายหลังจากปี ค.ศ.๑๙๖๐ การรวมตัวอย่างเหนียวแน่นและความสามัคคีภายในกลุ่มรัฐได้หมดไป เนื่องจากเกิดความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันภายในกลุ่ม และรัฐสมาชิกภายในของแต่ละกลุ่มก็มีแนวโน้มที่จะดำเนินนโยบายของตนอย่างเป็นอิสระโดยไม่ขึ้นกับใคร ขณะเดียวกันยังมีรัฐที่ยึดถือแนวนโยบายเป็นกลางไม่เข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

อ้างอิงhttp://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:WFVsRPvmaPIJ:58.97.114.34:8881/academic/images/stories/1_kwarm_mun_kong/3_politic/1_inter/21311-4.doc+&cd=4&hl=th&ct=clnk&gl=th(หน้า 30-36)

2.2.5. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยสงครามเย็น

การปรับตัวของไทยในยุคสงครามเย็น หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดภาวะสงครามเย็นอันเป็นผลมาจากการแข่งขันด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และกำลังอาวุธ ระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก โลกถูกแบ่งออกเป็น 2 ค่าย คือ ค่ายเสรี และค่ายคอมมิวนิสต์ มหาอำนาจทั้ง 2 ฝ่าย พยายามเข้ามาแทรกแซงการเมืองในภูมิภาคต่าง ๆ จนนำไปสู่วิกฤตการณ์การต่อสู้อันเนื่องมาจากความขัดแย้งเรื่องอุดมการณ์ทางการเมือง และเนื่องจากสหรัฐอเมริกาให้ความช่วยเหลือประเทศไทย จนเปลี่ยนสถานะเป็นผู้ชนะสงคราม ไทยจึงเลือกให้การสนับสนุนสหรัฐอเมริกาในสภาวะสงครามเย็น อันเป็นผลให้สหรัฐอเมริกาเข้ามามีอิทธิพลต่อไทยทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

2.2.5.1 การเข้าเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศ

ภายหลังจากที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์นำโดย โฮจิมินห์ได้รับชัยชนะในสงครามกอบกู้เอกราชของเวียดนาม ทำให้สงครามเย็นแผ่เข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อสหรัฐอเมริกาขยายบทบาททางทหารเข้ามาด้วยการจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Treaty Organization : SEATO ) โดยมีสมาชิก 8 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ไทย ฟิลิปปินส์ และ ปากีสถาน ต่อมาในช่วงที่สหรัฐอเมริกาเริ่มถอนตัวออกจากสงครามเวียดนาม ในขณะที่จีนยังให้การสนับสนุนคอมมิวนิสต์ในประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทยเกรงว่าจะเกิดช่องว่างอำนาจ จึงร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านก่อตั้งสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือสมาคมอาเซียนขึ้นใน พ.ศ.2510

ปัจจุบันไทยได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก นับว่าเป็นการเสริมสร้างบทบาทและปกป้องผลประโยชน์ของไทยในระดับนานาชาติ


2.2.5.2 นโยบายอยู่ร่วมกันอย่างสันติกับประเทศอินโดจีน

เมื่อคอมมิวนิสต์ประสบชัยชนะใน เวียดนาม ลาว และกัมพูชา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 ไทยต้องปรับเปลี่ยนนโยบายอยู่ร่วมกันอย่างสันติกับประเทศเพื่อนบ้านอินโดจีน ภายหลังที่เวียดนามรุกรานกัมพูชาโดยสนับสนุนให้ เฮง สัมริน ขึ้นปกครองกัมพูชา และขับไล่เขมรแดงหลบหนีมาอยู่ป่าตามแนวชายแดนไทยกัมพูชา ระยะนี้ไทยปรับตัวโดยร่วมมือกับอาเซียน เพื่อเรียกร้องและกดดันให้เวียดนามถอนทหารออกไปจากกัมพูชา โดยไทยและอาเซียนได้สร้างแนวร่วม กับประเทศมหาอำนาจ เช่น สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และยุโรปตะวันตก เพื่อสกัดกั้นการขยายอำนาจของเวียดนามที่ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต และประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก

2.2.5.3 นโยบายผูกมิตรกับประเทศตะวันตก

ในยุคสงครามเย็นไทยได้ผูกมิตรกับประเทศตะวันตกโดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ นโยบายต่างประเทศของไทยในระยะนี้คือการต่อต้านคอมมิวนิสต์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ต่อมาเมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างจีนกับรัสเซีย และจีนหันมาปรับความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา ไทยจำเป็นต้องปรับนโยบายโดยงดความใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกา และเรียกร้องให้สหรัฐอเมริกา ถอนฐานทัพจากไทย และหันไปสถาปนาความสัมพันธ์กับจีนและเริ่มให้ความสำคัญกับ สหภาพโซเวียต ขณะเดียวกันมีการสถาปนาความสัมพันธ์กับลาว กัมพูชา และเวียดนาม ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 การเมืองไทยได้ปรับเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ประชาชนและพรรคการเมืองได้เข้ามามีบทบาทในการบริหารประเทศ และได้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศของไทยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ระหว่างประเทศ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญคือ นายกรัฐมนตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2518 โดยหวังจะได้รับผลประโยชน์ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม และขณะเดียวกันความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา ก็เริ่มห่างเหินกันมากขึ้น

2.2.5.4 นโยบายการทูตเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ

หรือการทูตรอบทิศทาง ในปี พ.ศ. 2528 ประเทศไทยได้ปรับตัวโดยนำการทูตเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจชักชวนให้นักธุรกิจมาลงทุนในประเทศ และประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ชาวต่างประเทศมาท่องเที่ยว และลงทุนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนของญี่ปุ่น ขณะเดียวกันไทยได้เปรียบดุลการค้าจากสหรัฐอเมริกา จึงถูกสหรัฐอเมริกา ใช้มาตรการกีดกันการค้า

2.2.5.5 นโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า

หรือนโยบายอนุภูมิภาคนิยม (Sub-regionalism) ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต สงครามเย็นยุติลง ไทยหันมาร่วมมือกับประเทศอินโดจีน โดยประกาศนโยบาย “เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า” เพราะเห็นโอกาสที่จะพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ ในรูปของความร่วมมืออนุภูมิภาค หรือความร่วมมือ สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ทางภาคเหนือ มี ไทย พม่า จีน และลาว ต่อมาขยายเป็น ห้าเหลี่ยมเศรษฐกิจมี ไทย พม่า บังคลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา และหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ มี จีน พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ส่วนทางใต้คือความร่วมมือสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ มี ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ในขณะเดียวกัน ไทยพยายามจะใช้โอกาสในการเปิดประตูสู่อินโดจีน โดยมีเป้าหมายหลักคือ อินโดจีน พม่า และอาเซียนในปี พ.ศ. 2535 ไทยได้ผลักดันให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)

2.2.6.ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยหลังสงครามเย็น

การปรับตัวของไทยในยุคโลกาภิวัตน์

ภายหลังสงครามเย็นยุติลง สหรัฐอเมริกากลายเป็นผู้นำเพียงผู้เดียว และสหรัฐอเมริกาได้ประกาศระเบียบโลกใหม่ คือ ระบอบประชาธิปไตย การค้าเสรี การเคารพสิทธิมนุษยชน และการปกป้องสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เปลี่ยนจากระบบสองศูนย์อำนาจไปสู่หลายศูนย์อำนาจ เกิดการแข่งขันด้านเศรษฐกิจ การกีดกันการค้า การรวมกลุ่มกันด้านเศรษฐกิจตามภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อสร้างอำนาจต่อรองและถ่วงดุลกันด้านเศรษฐกิจ เช่น การรวมตัวเป็นตลาดเดียวของประชาคมยุโรป การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) และเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เป็นต้น สถานการณ์เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในภูมิภาคและในโลกและการแข่งขันที่ไร้พรมแดน เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไทยต้องมีการปรับตัวเพื่อกอบกู้วิกฤตเศรษฐกิจและเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขัน การปรับตัวที่สำคัญมีดังนี้

1. การปรับตัวของไทยทางด้านสังคม

กระแสโลกาภิวัตน์และระเบียบโลกใหม่ที่เน้นเรื่องการค้าเสรี ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจโลกมีความเชื่อมโยงกันการแพร่ขยายอิทธิพลทางการค้าของบริษัทข้ามชาติได้เข้ามาทำลายธุรกิจขนาดย่อมภายในประเทศสภาวการณ์ดังกล่าวทำให้ไทยต้องปรับตัวเพื่อเพิ่มศักยภาพแห่งการแข่งขัน การปรับตัวทางสังคมที่สำคัญมีดังนี้

1.1 การปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8

แสดงให้เห็นจุดเปลี่ยนของยุทธศาสตร์การพัฒนาที่หันมาให้ความสนใจเรื่องการพัฒนาแบบยั่งยืน และมียุทธศาสตร์ที่สำคัญคือ เน้นการพัฒนาคนโดยถือว่า คนคือทรัพยากรที่สำคัญของชาติที่เรียกว่า “ทรัพยากรมนุษย์” การรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมระบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม การกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น โครงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรท้องถิ่น การสร้างประชารัฐ โดยมุ่งประสานรัฐกับประชาชนให้เป็นหนึ่งเดียวกัน การสร้างสังคมที่ร่วมกันแก้ปัญหาทุกอย่างแบบบูรณาการในรูปเบญจภาคี ประกอบด้วยชุมชน รัฐ นักวิชาการ องค์กรเอกชน และองค์กรธุรกิจ

1.2 ปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น

โดยให้ความสำคัญกับคนในท้องถิ่น การพัฒนาจะต้องเกิดจากความต้องการของชาวบ้าน เพื่อประโยชน์ของชาวบ้านเอง ดังคำพูดที่ว่า “คำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน” ยุทธศาสตร์การพัฒนานี้มีหลักการสำคัญ 5 ประการ คือ

1.2.1 หลักการพึ่งตนเอง ซึ่งมีหลักการสำคัญ คือ “การพออยู่พอกิน”

1.2.2 ปรับเปลี่ยนวิธีการผลิต จากเพื่อการพาณิชย์ เป็นการผลิตเพื่อยังชีพ โดยมี เป้าหมายเพื่อกินเพื่อใช้ เมื่อมีส่วนเกินจึงนำออกขาย และต้องกระจายการผลิตในครัวเรือนเพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มความมั่นคงแห่งชีวิต

1.2.3 พัฒนาบนพื้นฐานของวัฒนธรรมชุมชน

1.2.4 ให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาชาวบ้าน

1.2.5 รวมกลุ่มเพื่อจัดตั้งองค์กรชุมชนหรือองค์กรชาวบ้าน เพื่อสร้างความเข้มแข็งและอำนาจต่อรองของภาคประชาชน

1.3 การปรับตัวของไทยตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549)

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ที่นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญานำทางที่มีจุดเน้นคือการดำเนินการในทางสายกลางให้ก้าวทันโลก ความพอเพียงที่เน้นการผลิตและการบริโภคบนความ พอประมาณและความมีเหตุผล ความสมดุลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นการผลิตอย่างเป็นองค์รวมมีความสมดุลย์ระหว่างการแข่งขันจากกระแสโลกาภิวัตน์ และกระแสท้องถิ่นนิยม มีความหลากหลายในโครงสร้างการผลิต มีการใช้ทุนที่มีอยู่ในสังคมให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่ดี มีภูมิคุ้มกันที่ดี รู้เท่าทัน ผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มีความยืดหยุ่นในการปรับตัว และเสริมสร้างจิตใจให้เป็นคนดี มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ สุจริต มีสติปัญญา ความเพียร ความอดทน และรอบคอบ

1.4 การปฏิรูปการศึกษา

การศึกษาเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มี คุณภาพ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างรู้เท่าทันโลก การปรับตัวทางด้านการศึกษาที่สำคัญคือ

1.4.1 การกำหนดสิทธิ

ด้านการได้รับการศึกษาของประชาชน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 43 ได้กำหนดสาระเกี่ยวกับการศึกษาว่า บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐบาลจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย

1.4.2 การออกพระราชบัญญัติการศึกษาชาติ พ.ศ.2542

ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อปฏิรูป การศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตคนให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ผลิตคนให้มีความรู้และมีทักษะเฉพาะด้าน ที่สำคัญคือ ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาษาอังกฤษ ปฏิรูปวิธีการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ฝึกให้คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข สามารถปรับตัวเข้ากับสังคม สิ่งแวดล้อม รู้เท่าทันโลก และอยู่ได้อย่างมีความสุข

2. การปรับตัวของไทยทางด้านเศรษฐกิจ

กระแสโลกาภิวัฒน์อันเป็นผลมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ ระเบียบทางด้านเศรษฐกิจที่เน้นเรื่องการค้าเสรี ทำให้ระบบเศรษฐกิจเชื่อมโยงกัน การเคลื่อนย้ายการผลิต และการลงทุนข้ามชาติทำให้ธุรกิจขนาดใหญ่และมีความพร้อมในการแข่งขันสูงเข้ามาแข่งขันกับธุรกิจภายในประเทศ ส่งผลให้ธุรกิจภายในประเทศที่มีทุนน้อยไม่สามารถแข่งขันได้ ปัจจุบันการแข่งขันทางการค้าได้ทวีความรุนแรง ประเทศต่าง ๆ มีการกีดกันการค้าโดยใช้ มาตราการต่าง ๆ เช่น การกำหนดมาตรฐานสินค้า มาตรฐานแรงงาน การรวมกลุ่มเศรษฐกิจตามภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกเพื่ออำนาจต่อรองและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสังคมไทยที่สำคัญคือ การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ.2540 และลุกลามจนกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจแห่งเอเชีย วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ไทยต้องปรับตัวทางด้านเศรษฐกิจ ด้วยการปฏิรูปครั้งสำคัญ ทั้งด้านการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ โดยการปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อกอบกู้วิกฤตเศรษฐกิจเน้นการพัฒนาบนพื้นฐานการพึ่งตนเอง และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน การปรับตัวทางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญมีดังนี้

2.1 การปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การพัฒนา

จากการพึ่งพิงต่างประเทศมาเป็นการพัฒนาที่เน้นการพึ่งตนเอง โดยการนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน โดยมีหลักการพัฒนาทางความคิดดังนี้

เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง เศรษฐกิจที่พึ่งตัวเองได้ ทั้งการพึ่งตนเองทางจิตใจ สังคม ทรัพยากร เทคโนโลยี และเศรษฐกิจ โดยมีฐานการคิดในการพัฒนาเป็นลำดับ ดังนี้

1) พัฒนาตามขั้นตอนทฤษฎีใหม่ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การผลิตเพื่อบริโภคในครอบครัว ขั้นที่ 2 รวมกลุ่มเพื่อการผลิต การตลาด สวัสดิการ และขั้นที่ 3 ร่วมมือกับองค์กรภายนอกในการทำธุรกิจและพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยทุกฝ่ายได้รับประโยชน์

2) สร้างพลังทางสังคม โดยประสานความร่วมมือทั้งภาครัฐ และเอกชน สื่อมวลชน เพื่อขับเคลื่อนขบวนการพัฒนาธุรกิจชุมชน

3) ยึดพื้นที่เป็นหลัก และใช้องค์กรชุมชนเป็นศูนย์กลาง

4) ใช้กิจกรรมชุมชนเป็นเครื่องมือสร้างการเรียนรู้และการจัดการ

5) เสริมสร้างการรวมกลุ่ม และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ

6) วิจัยและพัฒนาธุรกิจชุมชนครบวงจร (ผลิต แปรรูป ขาย และบริโภค)

7) พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนที่มีศักยภาพสูงแต่ละเครือข่ายเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ชุมชน

ปัจจุบันได้มีการนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่นทั่วประเทศ โดยเฉพาะในโครงการตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลชุดปัจจุบัน เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนในชนบทและชุมชนเมือง ได้แก่ โครงการกองทุนหมู่บ้าน โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

2.2 การพัฒนาตามแนวทางการพัฒนาแบบยั่งยืน

การพัฒนาแบบยั่งยืนเป็นแนวคิดที่ผสมผสานระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจและการอนุรักษ์ทรัพยากร การพัฒนาแบบยั่งยืนจะมีความสัมพันธ์กันทั้งระบบการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ปัจจุบันได้มีการนำแนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืนไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาด้านต่าง ๆ เช่น การเกษตรแบบยั่งยืน การจัดการพลังงานอย่างยั่งยืน การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน เป็นต้น

2.3 เสริมสร้างความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจระหว่างกลุ่มประเทศในเอเชีย

ในระดับที่กว้างขึ้น เช่น แนวความคิดการจัดตั้งเวทีหารือสำหรับประเทศในทวีปเอเชียที่เรียกชื่อว่า Asia Cooperation Dialogue : ACD ซึ่งมีขอบข่ายครอบคลุมทวีปเอเชียทั้งทวีป อันได้แก่ สมาชิกกลุ่มอาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ปากีสถาน กาตาร์ บาเรนห์ ความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นการเสริมสร้างสมรรถนะและจุดแข็ง แก้ไขจุดอ่อนของแต่ละประเทศเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และเสถียรภาพความมั่นคง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ร่วมกันในเอเชียมากขึ้น

2.4 การปฏิรูปภาคธุรกิจเอกชนให้เกิดความเข้มแข็งและสุจริต

โดยการสร้างธรรมาภิบาลด้านเอกชนให้เกิดขึ้น ธรรมาภิบาลคือ การบริหารจัดการที่ดี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดกับนักลงทุนชาวต่างชาติ หลักธรรมาภิบาลที่สำคัญคือ การบริหารมีความรับผิดชอบ มีความโปร่งใส เสมอภาค และการมีส่วนร่วม ได้แก่ การรับรู้ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ และร่วมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ

3. การปรับตัวของไทยทางด้านการเมืองจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกในยุคโลกาภิวัตน์

ซึ่งเป็นด้านการปกครองแบบประชาธิปไตย ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง การส่งเสริมการค้าเสรี การเคารพสิทธิมนุษยชน การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้จะเป็นแรงบีบคั้นให้ประเทศไทยต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับกระแสโลกาภิวัตน์ การปรับตัวทางการเมืองที่สำคัญ คือ การประกาศใช้ รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 (รัฐธรรมูญฉบับประชาชน) และการปฏิรูประบบราชการ ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

3.1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ปีพ.ศ.2540 ถือเป็นการปรับตัวทางการเมืองครั้งใหญ่ สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีข้อกำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ การปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพ ประสิทธิภาพ และคุณภาพ โดยกำหนดให้มีมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อป้องกันการประพฤติมิชอบ โดยการกำหนดให้มีองค์กรอิสระทำหน้าที่ควบคุม กำกับ และตรวจสอบการทำงานของ นักการเมืองและข้าราชการประจำ ได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ศาลรัฐธรมนูญ ศาลปกครองและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน การกระจายอำนาจ และส่งเสริมให้ท้องถิ่นมีความเป็นอิสระในเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้ท้องถิ่นบริหารงานบุคคล เก็บภาษีอากร มีอำนาจจัดการศึกษา และบริหารด้านสาธารณสุข ตลอดจนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่น ข้อกำหนดว่าด้วยการรักษาสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน ที่จะใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อม

3.2 การปฏิรูประบบราชการ วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ในปี พ.ศ.2540

เป็นผลมาจากการสะสมปัญหาต่าง ๆ ที่มีมานานกว่า 30 ปี ปัญหาที่สำคัญประการหนึ่ง ได้แก่ ภาครัฐขาดความสามารถในการบริหารจัดการ และปรับตัวเองได้อย่างทันการ จึงจำเป็นที่จะต้องปฏิรูประบบบริหารภาครัฐ โดยปรับปรุงระบบราชการให้มีขนาดเล็กลงและมีประสิทธิภาพ ปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารให้มีลักษณะอย่างภาคเอกชน มุ่งเน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหาร โดยใช้มาตรการต่าง ๆ เช่น การปรับลดกำลังคนของภาครัฐ การจัดกลุ่มภารกิจส่วนราชการ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เอกชนดำเนินการแทน การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเป็นเครือข่าย และร่วมมือกับภาคธุรกิจ เอกชน และประชาสังคมมากขึ้น ปรับรูปแบบบริหารจัดการภาครัฐใหม่ เน้นการทำงานโดยยึดผลลัพธ์เป็นหลัก มีการวัดผลลัพธ์และค่าใช้จ่ายอย่างเป็นรูปธรรม ปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณเป็นแบบมุ่งเน้นผลงานและผลลัพธ์ โดยเปลี่ยนกระบวนการงบประมาณจากควบคุมการใช้ทรัพยากรเป็นระบบงบประมาณที่มุ่งเน้นผลผลิตและผลลัพธ์ของงาน เสริมสร้างระบบการทำงานอย่างเป็นระบบ โดยการกำหนดเป้าหมายของการทำงานเป็นรูปธรรมโดยมีแผนกลยุทธ์ที่ชัดเจน มีดัชนีวัดผลสัมฤทธิ์ของงานและสามารถประเมินผลงานได้ เน้นความรับผิดชอบของผู้บริหาร รวมทั้งการปรับเปลี่ยนระบบการเงินและการพัสดุให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยมีเป้าหมายที่สำคัญเพื่อประชาชนเป็นหลัก

เป้าหมายสำคัญของการปฏิรูปการเมืองคือ เพื่อให้ได้มาซึ่งผู้นำที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ โดยการยอมรับของประชาชน ทั้งนี้เพราะศักยภาพของการแข่งขันของไทยในอนาคตขึ้นอยู่กับระบบบริหารที่มีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม ความโปร่งใส และการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นสำคัญ


ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยและการเมืองระหว่างประเทศ[แก้ไข]

3.1.ความสัมพันธ์กับชาติในเอเชียตะวันออก

3.1.1. จีน

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน

ไทยกับจีนมีความผูกพันและติดต่อกันมาอย่างยาวนานนับแต่โบราณกาล โดยสามารถย้อนไปได้ถึงสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (จักรพรรดิฮั่นอู่ตี้) ของจีนซึ่งมีบันทึกประวัติศาสตร์เกี่ยวกับชนชาติไทย และที่เด่นชัดก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับจีน ซึ่งมีการติดต่อค้าขายระหว่างกัน และไทยได้รับเทคโนโลยีเครื่องปั้นดินเผามาจากจีนในช่วงเวลาดังกล่าว ความสัมพันธ์ทางสายเลือดระหว่างไทยกับจีน น่าจะเริ่มมีขึ้นในช่วงนี้ด้วยจากการอพยพของชาวจีนในช่วงสงครามสมัยราชวงศ์หยวนและในช่วงต้นราชวงศ์ หมิง และนับจากนั้นมา ก็ได้มีการติดต่อค้าขายกันมาโดยตลอดและมีชาวจีนจำนวนมากเข้ามาตั้งรกราก ในไทย โดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกและสงครามกลางเมืองของจีนในทศวรรษที่ 1930-1950 มีชาวจีนจำนวนมากจากมณฑลทางใต้ของจีน อาทิ กวางตุ้ง ไห่หนาน ฝูเจี้ยน และกวางสี หลบหนีภัยสงครามและความ อดอยากเข้ามาสร้างชีวิตใหม่ในประเทศไทย จึงอาจกล่าวได้ว่าความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดดุจพี่น้องระหว่างไทย กับจีนได้มีมาอย่างยาวนาน เหมือนคำกล่าวที่ว่า “ไทยจีนใช่อื่นไกล พี่น้องกัน”

แม้กระแสทางการเมืองโลกในยุคสงครามเย็นจะทำให้ไทยกับจีนขาดการติดต่อกันในระดับทางการอยู่ระยะหนึ่ง แต่กระแสการเมืองโลกดังกล่าวก็ไม่อาจจะตัดความผูกพันและความใกล้ชิดทางวัฒนธรรมที่มีอยู่อย่างแนบแน่นระหว่างประชาชนไทย-จีน ได้ ดังนั้น นับตั้งแต่ที่ทั้งสองประเทศสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม 2518 เป็นต้นมา ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและราบรื่น และเป็นแบบอย่างหนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มี ระบบการปกครองแตกต่างกัน โดยมีพัฒนาการที่เป็นรูปธรรม ดังนี้

ก). ด้านการเมือง

ในทศวรรษแรกหลังจากที่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน ไทยและจีนประสบความสำเร็จในการเสริมสร้างความเข้าใจและความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกันอันนำไปสู่การเป็นหุ้นส่วนในการแก้ไขปัญหาความไม่มั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคนั้น ซึ่งได้ช่วยสนับสนุน การพัฒนาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากสนามรบกลายเป็นตลาดการค้า นอกจากนี้ พื้นฐานความเข้าใจและความใกล้ชิดดังกล่าวยังมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างจีนกับประเทศอาเซียนอีกด้วย

การที่พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ต่างก็ทรงให้ความสำคัญและทรงใส่พระทัยต่อความสัมพันธ์ฉันมิตรที่มีต่อจีนส่งผลสำคัญต่อการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศให้ยิ่งใกล้ชิด แน่นแฟ้น โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงระหว่างสองประเทศ ทั้งนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จฯ เยือนจีนอย่างเป็นทางการในฐานะผู้แทนพระองค์ฯ ซึ่งถือเป็นการเสด็จฯ เยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการในรอบหลายสิบปี ระหว่างวันที่ 16-31 ตุลาคม 2543 เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 25 ปีของความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เยือนจีนแล้วหลายครั้ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนจีนครบทั้ง 31 มณฑลและมหานคร ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลในฐานะทูตสันถวไมตรีจากหน่วยงานของจีนหลายรางวัล และเป็นเจ้าฟ้าพระองค์แรกของโลกที่ทรงศึกษาภาษาจีนในมหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็นระยะเวลา 1 เดือน ในปีนี้ พระองค์ท่านยังได้เสด็จฯ มาทอดพระเนตรพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ปักกิ่ง 2008 ในฐานะผู้แทนพระองค์ด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ก็เสด็จเยือนจีนบ่อยครั้ง เป็น เจ้าฟ้าพระองค์แรกที่ทรงแสดงดนตรี “สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน” ในจีน นอกจากนี้ พระราชวงศ์พระองค์อื่นๆ ก็ได้เสด็จฯ เยือนจีนอยู่เสมอ ในขณะเดียวกัน ผู้นำของจีนนับแต่อดีตจนถึงปัจุบันได้เยือนประเทศไทยอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องนับตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นต้นมา นายเติ้ง เสี่ยวผิง ได้เยือนไทยเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1978 นับจากนั้นประธานาธิบดีจีนทุกสมัยก็ได้เยือนประเทศไทยอย่างต่อเนื่องในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังเช่น นายหลี่ เซียนเนี่ยน นายหยาง ซ่างคุน และนายเจียง เจ๋อหมิน จนถึงประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นายหู จิ่นเทา ซึ่งได้เยือนประเทศไทยในฐานะประธานาธิบดีเมื่อเดือนตุลาคม 2003 ในระดับนายกรัฐมนตรีนั้น นับตั้งแต่ พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เยือนจีนในฐานะแขกของนายเติ้ง เสี่ยวผิง เป็นต้นมา นายกรัฐมนตรีของไทยทุกยุคทุกสมัยล้วนแต่เคยเยือนจีนทั้งสิ้น ในปีนี้ นายกรัฐมนตรีไทยได้เดินทางเยือนจีนถึง 3 ครั้ง รวมทั้งได้เข้าร่วมในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ปักกิ่ง 2008 ด้วย ขณะที่นายกรัฐมนตรีจีนทุกสมัยก็เยือนไทยอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่นายหลี่ เผิง ซึ่งเยือนไทยรวม 4 ครั้ง นายจู หรงจี ซึ่งเยือนไทยเมื่อปี 2001 และนายเวิน เจียเป่า ซึ่งเคยเยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมเมื่อเดือนเมษายน 2003 ด้วย

ข).ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ

หลังจากทศวรรษแรกของการสถาปนาความสัมพันธ์ที่ทั้งสองประเทศได้ประสบผลในการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกันแล้วนั้น ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าได้กลายเป็นองค์ประกอบที่นับวันยิ่งมีความสำคัญต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสอง โดยเฉพาะหลังจากที่จีนได้เริ่มดำเนินนโยบายเปิดประเทศและปฏิรูปเศรษฐกิจภายใต้การนำของนายเติ้ง เสี่ยวผิง เมื่อปี 1978 ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศได้พัฒนาและขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว ในด้านการค้า มูลค่าการค้าระหว่างไทย-จีน เพิ่มขึ้นจากปีแรกที่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตที่ 25 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 31,062 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2007 ในด้านการลงทุน ไทยนับเป็นประเทศแรกๆ ที่เข้าไปลงทุนในจีนตั้งแต่เมื่อปี 1979 และก่อนเกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจในเอเชียเมื่อปี 1997 ไทยเป็นประเทศที่อยู่ใน 10 อันดับแรก ที่มีการลงทุนในจีน ปัจจุบันตัวเลขของทางการจีนก็ยังระบุว่า ไทยยังคงมีการลงทุนในจีนนับพันโครงการ โดยมีมูลค่าการลงทุนรวมนับพันล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่จีนมีการลงทุนในไทยมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน ในด้านการท่องเที่ยว ไทยและจีนต่างเป็นจุดหมายการท่องเที่ยวยอดนิยมของประชาชนทั้งสองประเทศ ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางมาไทยประมาณ 8 แสนคนต่อปี ขณะที่ชาวไทยเดินทางไปท่องเที่ยวในจีนประมาณ 7-8 แสนคนต่อปี


ปัจจุบัน รัฐบาลไทยและจีนยังได้ร่วมกันตั้งเป้าหมายทางเศรษฐกิจร่วมกัน กล่าวคือ ภายในปี 2010 จะมีมูลค่าการค้าทวิภาคีสูงถึง 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าการลงทุนสองฝ่ายสูง 6,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการแลกเปลี่ยนนักท่องเที่ยวร่วมกัน 4 ล้านคนต่อปี

ค). ความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรม

ด้วยความผูกพันยาวนานและวัฒนธรรมที่ใกล้ชิดทำให้ความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรมระหว่างไทย-จีนพัฒนาไปอย่างใกล้ชิดและแนบแน่นมาโดยตลอด ประชาชนของทั้งสองประเทศมีการไปมาหาสู่เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การแลกเปลี่ยนการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านประจำชาติ ซึ่งประสบผลสำเร็จอย่างดีและได้รับการต้อนรับอย่างดียิ่งจากประชาชนของแต่ละฝ่าย ไปจนถึงความร่วมมือทางด้านศาสนาจากการที่ไทยเป็นเมืองพุทธและจีนได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีคนนับถือศาสนาพุทธมากที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง คือ ประมาณ 100 ล้านคน นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ในด้านนี้ยังได้รับการส่งเสริมโดยพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ของไทย โดยเฉพาะสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งทรงสนพระทัยในภาษา วัฒนธรรรม และประวัติศาสตร์ของจีน ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชน รวมทั้งเยาวชนของไทยในการศึกษาเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมจีน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ซึ่งทรงริเริ่มการแสดงดนตรี “สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน” ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการส่งเสริมความร่วมมือด้านวัฒนธรรมระหว่างกัน ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรมนับวันจะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากเกี่ยวพันอย่างลึกซึ้งต่อการส่งเสริมความสัมพันธ์ในระดับประชาชน ซึ่งถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนในด้านอื่นๆ


กล่าวโดยสรุป ในปัจจุบันไทยกับจีนมีความสัมพันธ์และความร่วมมือที่เจริญรุดหน้าในทุกด้าน และนับวันจะยิ่งพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่องและลึกซึ้ง ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนของทั้งสองประเทศ ตลอดจนเป็นประโยชน์ต่อสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค ดังนั้น ในช่วงศตวรรษที่ 21 ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการแสดงบทบาทที่สร้างสรรค์ของจีน ไทยและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคหวังว่าจะความร่วมมือกับจีนมากยิ่งทั้งในด้านเศรษฐกิจการค้าและการลงทุน โดยจีนจะเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียและโลกโดยรวม

อ้างอิงโดย http://www.thaibizchina.com/thaibizchina/th/thai-china/


3.1.2. ญี่ปุ่น

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยโดยสังเขป

(1) ประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย ธำรงสัมพันธภาพ อันอบอุ่นมานานยาวกว่า 600 ปี มิตรภาพระหว่างประเทศทั้งสอง แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นในระยะหลัง ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2550 ประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยได้จัดงานฉลองครบรอบ 120 ปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต

(2) ประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยดำรงความสัมพันธ์ฉันมิตรมาเป็นเวลายาวนานโดยมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างพระราชวงศ์ของทั้งสองประเทศเป็นพื้นฐาน นอกจากนั้นความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศก็เติบโตแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นอย่างรวดเร็วจากการขยายตัวกิจการของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทยนับแต่ทศวรรษ 60 และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกระแสการลงทุนโดยตรงจากประเทศญี่ปุ่นที่เข้ามามากสืบเนื่องจากพื้นฐานอัตราแลกเงินเยนที่แข็งขึ้นในตอนปลายทศวรรษ 80

(3) ก่อนเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นมียอดมูลค่าการค้า การลงทุน และความช่วยเหลือกับประเทศไทยสูงเป็นอันดับแรก แม้ว่ามีวิกฤตทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น แต่ปริมาณการค้าก็ยังคงอยู่ในอันดับที่สอง นอกจากนี้จำนวนบริษัทซึ่งเป็นสมาชิกของหอการค้าญี่ปุ่นประจำกรุงเทพฯ ก็มีมากกว่า 1,100 แห่ง และการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นยังคงสูงถึงร้อยละ 40 ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมดในประเทศไทย ตลอดจน ประมาณครึ่งหนึ่งของยอดเงินกู้ที่บริษัทต่าง ๆ ในประเทศไทยกู้นั้นเป็นเงินกู้จากธนาคารของญี่ปุ่นทั้งหมด ซึ่งสรุปได้ว่าความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจก็มีการพึ่งพาซึ่งกันและกันเป็นอย่างมาก

(4) ประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยกำลังสร้างสรรค์ความเป็นหุ้นส่วนในด้านการทูตทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ตัวอย่างเช่น ในระดับภูมิภาค ประเทศญี่ปุ่นให้ความช่วยเหลือแก่โครงการลุ่มแม่น้ำโขง ส่วนในระดับโลกยังให้การสนับสนุน ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อำนวยการคนใหม่ในการเลือกตั้งผู้อำนวยการองค์การค้าโลกหรือ WTO

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจ

(1) ทั้งฝ่ายญี่ปุ่นและไทยได้ตระหนักใหม่ว่าทั้งสองประเทศมีการพึ่งพาซึ่งกันและกันในด้านเศรษฐกิจ ตามประสบการณ์วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี 2540 บริษัทญี่ปุ่นไม่ลดและถอยตัวอย่างขนานใหญ่ท่ามกลางภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ตรงกันข้าม บริษัทจากยุโรปหรือสหรัฐฯ ถอยการลงทุนระยะสั้นอย่างรวดเร็ว บริษัทญี่ปุ่นได้รักษาการให้กู้เงินและอัดฉีดเงินทุนให้บริษัทเครือข่ายหรือสาขาต่าง ๆ ในประเทศไทย ทั้งนี้มีส่วนช่วยทำให้สภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

(2) โดยคำนึงถึงความสัมพันธฉันมิตรอันยั่งยืนและการพึ่งพาซึ่งกันและกันระหว่างสองประเทศ เมื่อประเทศไทยประสบวิกฤตเศรษฐกิจ ประเทศญี่ปุ่นจึงให้การสนับสนุนแก่ประเทศไทยอย่างกว้างขวาง อาทิเช่น ความช่วยเหลือด้านการเงินจำนวน 4 พันล้านดอลล่าร์ผ่าน IMF การให้กู้เงินเยนรวมถึงโครงการมิยะซะวะ การให้เงินสินเชื่อของธนาคารส่งออกและนำเข้าแห่งญี่ปุ่น (ปัจจุบันคือ JBIC จากการรวมกันระหว่างธนาคารส่งออกและนำเข้าแห่งญี่ปุ่นกับ OECF) การให้การรับประกันการค้า ความช่วยเหลือแบบให้เปล่า และความร่วมมือด้านวิชาการ เป็นต้น ความช่วยเหลือเหล่านี้มีมูลค่าสูงมากกว่า 14,000 ล้านดอลล่าร์ ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศอันดับแรกในหมู่ประเทศต่าง ๆ ที่ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศไทย

การแลกเปลี่ยนการเยี่ยมเยือนของบุคคลสำคัญ

(1) วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2543 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงร่วมพระราชพิธีศพสมเด็จพระราชชนนีในสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตแห่งญี่ปุ่น และทรงเป็นพระราชอาคันตุกะพระองค์เดียวจากต่างประเทศที่ทรงได้เข้าร่วมงานพิธี ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2544 เจ้าชายอากิชิโนและเจ้าหญิงคิโกะ เสด็จมาประเทศไทยเพื่อทรงรับการถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยของประเทศไทย ในเดือนกันยายนปีเดียวกัน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศญี่ปุ่นเพื่อทรงรับการถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยกักคุชูอิน และในเดือนตุลาคม สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จเยือนประเทศญี่ปุ่นด้วย

(2) ในด้านการแลกเปลี่ยนการเยือนของระดับผู้นำประเทศ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี เดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการในเดือนตุลาคม พ.ศ.2542 นายเคอิโซ โอบุชิ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในโอกาสการมาเยือนประเทศอาเซียน นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี โอบุชิ ยังได้เดินทางมาประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุม UNCTAD ครั้งที่ 10 ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2543 ต่อจากนั้น นายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย และดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางไปประเทศญี่ปุ่นเพื่อเข้าร่วมงานศพอดีตนายกรัฐมนตรี เคอิโซ โอบุชิ ในเดือนมิถุนายน ปีเดียวกัน และยังเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่นอีกครั้งก่อนการประชุมสุดยอด Kyusu-Okinawa Summit ในฐานะเจ้าภาพการประชุม UCTAD X และประธาน ASEAN การเยี่ยมเยือนกันและกันของผู้นำของสองประเทศดังกล่าวนี้ ได้กระชับสัมพันธภาพไทย-ญี่ปุ่นให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

(3) พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2544 ในโอกาสนี้ ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระจักรพรรดิ จากนั้นได้เข้าหารือกับนายกรัฐมนตรี จุนอิชิโร โคะอิซุมิ และเข้าร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำอย่างเป็นทางการที่นายกรัฐมนตรี จุนอิชิโร โคะอิซุมิ เป็นเจ้าภาพ นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวสุนทรพรจน์ในงานสัมมนาว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย และยังได้เดินทางเยือนจังหวัดโออิตะเพื่อเยี่ยมชมโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในประเทศญี่ปุ่นด้วย

การเยี่ยมเยือนกันและกันของผู้นำระดับสูง ได้กระชับสัมพันธภาพไทย-ญี่ปุ่น ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นตลอดมา ในด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ก็มีการขยายตัวของการลงทุนของญี่ปุ่น ในประเทศไทยมากขึ้น เนื่องจากประเทศไทย มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างยิ่ง ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าแก่ประเทศไทย โดยมากจึงได้ยุติลง อย่างไรก็ดีประเทศไทย ยังคงเป็นประเทศ ผู้รับสำคัญที่สุดรายหนึ่ง ของความช่วยเหลือ เพื่อพัฒนาทางการ (โอดีเอ) (Official Development Assistance - ODA) ของรัฐบาลญี่ปุ่น ในด้านความช่วยเหลือทางเทคนิค และความช่วยเหลือ เกี่ยวกับเงินกู้เงินเยน

โดยรวมแล้ว คนไทยมีความรู้สึกที่ดีกับญี่ปุ่นจากการสำรวจความคิดเห็นในกลุ่มประเทศอาเซียน 5 ประเทศ ("ASEAN Study V") ที่จัดทำในเดือนเมษายน พ.ศ.2540 โดยกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น ปรากฎว่า คนไทยร้อยละ 98 เห็นว่าญี่ปุ่นคือมิตรประเทศ ความเห็นเช่นนี้ ส่งให้ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่หนึ่งของประเทศ ที่มีทัศนะที่ดีต่อญี่ปุ่น นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2540 ประเทศญี่ปุ่นให้การสนับสนุนประเทศไทย ทั้งในระดับรัฐบาลและภาคธุรกิจ และก็ประจักษ์ชัดว่าคนไทยชื่นชมการสนับสนุนของญี่ปุ่น ที่ผ่านมา แทบจะไม่มีคนญี่ปุ่นหรือนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเดินทางมาประเทศไทยเข้าไปพัวพันในคดีอาชญากรรมใด ๆ แต่เมื่อจำนวนคนญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย รวมทั้งนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น คดีความที่มีชาวญี่ปุ่นเป็นผู้เสียหายรวมถึงคดีมโนสาเร่ เช่น การถูกลักขโมย การถูกฉ้อโกง เป็นต้น ก็เพิ่ม ประมาณงานของแผนกกงสุล สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ในการดูแลคนญี่ปุ่นที่ประสบปัญหาในประเทศไทย เช่น อุบัติเหตุ การตาย และเจ็บป่วยก็มีมากขึ้น

ความสัมพันธ์ทางการทูตและสนธิสัญญา

(ก) สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2430

(ข) สนธิสัญญา ข้อตกลงทวิภาคี (ในวงเล็บคือวันเดือนปีที่มีผลบังคับใช้)

ข้อตกลงทางการบิน (วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2496)

ข้อตกลงทางวัฒนธรรม (วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2498)

ข้อตกลงทางการพาณิชย์ (วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501)


ข้อตกลงทางภาษี (วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 แก้ไขปรับปรุงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2533)

ข้อตกลงในการส่งอาสาสมัครร่วมมือเยาวชน (วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2524)

ข้อตกลงความร่วมมือทางเทคโนโลยี (วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524)

ข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น(JTEPA:Japan-Thailand Economic Partnership Agreement) (วันที่1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550)

อ้างอิงโดย http://www.th.emb-japan.go.jp/th/relation/index.htm


3.1.3.ไต้หวัน

ก). ด้านการเมือง

ตามแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2518 ไทยยอมรับว่า สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องเพียงรัฐบาลเดียวของจีน และไต้หวันเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ของจีน หรือสิ่งที่เรียกว่า "นโยบายจีนเดียว" ประเทศไทยจึงยุติการติดต่อที่เป็นทางการกับไต้หวัน แต่ยังคงมีการติดต่อเป็นปกติในด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การศึกษาวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และแรงงาน โดยมีช่องทางการติดต่ออย่างไม่เป็นทางการผ่านสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป (Taipei Economic and Cultural Office) ซึ่งเป็นตัวแทนของไต้หวัน ตั้งอยู่ที่ชั้น 20 เอ็มไพร์ทาวเวอร์ 195 ถนนสาธรใต้ และสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย (Thailand Trade and Economic Office) ไทเป เลขที่ 168, 12th Floor, Sung Chiang Road, Chungshan District, Taipei 104

ข).ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ

สินค้าไทยส่งออกไปไต้หวัน เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์กระดาษ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ยางพารา เป็นต้น

สินค้านำเข้าจากไต้หวัน

เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เคมีภัณฑ์ แผงวงจรไฟฟ้า ผ้าผืน เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์โลหะ เหล็กและเหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์พลาสติก เป็นต้น


ปัญหาและอุปสรรคทางการค้า

ไต้หวันกำหนดมาตรการด้านสุขอนามัย เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค และเป็นการปกป้องผู้ผลิตภายใน โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่ไต้หวันสามารถผลิตเองได้ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อเป็ด พืชผักบางชนิด (มันฝรั่ง มันเทศ ข้าว) ผลไม้เมืองร้อน (มะม่วง ลำไย มะละกอ แตงโม สับปะรด ฯลฯ) ถั่วลิสง ถั่วแดง

นับตั้งแต่การระบาดของโรคไข้หวัดนก เมื่อปี 2547 ไต้หวันได้สั่งห้ามนำเข้าเนื้อไก่สดและไก่ต้มสุกจากประเทศไทย

ไต้หวันอนุญาตให้นำเข้าอาหารสุนัข/แมวชนิดแห้งได้ โดยผู้ส่งออกจะต้องผ่านการตรวจรับรองโรงงานผู้ผลิตอาหารสุนัขและแมวจาก Bureau of Animal and Plant Health Inspection and Quarantine - BAHIQ ของไต้หวันก่อน เพื่อเป็นการป้องกันโรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย และโรค Newcastle (ตั้งแต่ 8 ตุลาคม 2544)

Bureau of Animal and Plant Health Inspection and Quarantine - BAHIQ ของไต้หวันได้แก้ไขระเบียบว่าด้วยการตรวจสอบกักกันโรคพืชของไต้หวัน ซึ่งได้ระบุว่า ไทยเป็นแหล่งแพร่ระบาดของหนอนแมลงในพืช ไต้หวันจึงห้ามนำเข้าผักและผลไม้จากไทย 7 ชนิด ได้แก่ ลำไย มังคุด เงาะ ถั่วฝักยาว พริก หมาก และมะเขือเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2546 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์อยู่ระหว่างเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ล่าสุดเมื่อวันที่ 29 พ.ค.49 ไต้หวันได้ประกาศยกเลิกการห้ามนำเข้าหมากจากไทย

การลงทุน

ปี 2548 ไต้หวันลงทุนในไทยมูลค่า 16,456 ล้านบาท มูลค่าการลงทุนสูงเป็นอันดับที่ 3 รองจากญี่ปุ่นและมาเลเซีย ประเภทธุรกิจที่ไต้หวันมาลงทุนมากในไทย ได้แก่ อุตสาหกรรมโลหะและเครื่องจักร ผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร และสนใจในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ ชิ้นส่วน รถยนต์และสิ่งทอ

ปัจจุบันมีภาคเอกชนไทยเข้าไปลงทุนในไต้หวันจำนวนประมาณ 46 บริษัท เกี่ยวกับด้านการเกษตร การขนส่งทางอากาศ ภัตตาคารไทย และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งไทยมีโอกาสที่จะเข้าไปลงทุนในภาคบริการในไต้หวันเพิ่มขึ้นได้อีก เนื่องจากประเทศไทยมีศักยภาพและไต้หวันไม่มีข้อจำกัดการลงทุนของชาวต่างชาติ หรือข้อจำกัดการลงทุนที่ได้รับการผ่อนคลายในภาคดังกล่าว เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการท่องเที่ยว ด้านบริการก่อสร้าง เป็นต้น ไทยและไต้หวันได้ลงนามความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2539 การท่องเที่ยว ประเทศไทยและคนไทยเป็นที่ชื่นชอบของชาวไต้หวันในทุกระดับ เนื่องจากความใกล้ชิดในด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรมและศาสนาพุทธ ปัจจุบันคนไต้หวันเดินทางมาท่องเที่ยวที่ประเทศไทย ปีละประมาณ 700,000 คน มีชุมชนชาวไต้หวันที่เดินทางมาติดต่อค้าขายและลงทุนในประเทศไทย ประมาณ 150,000 คน http://apecthai.org/index.php/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2/586-%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99.html

3.1.4. เกาหลีใต้

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี

ภาพรวมความสัมพันธ์ทั่วไป

ไทยและเกาหลีใต้ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระดับอัครราชทูตเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2501 และยกระดับขึ้นเป็นระดับเอกอัครราชทูตเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2503 เมี่อปี 2551 ไทยและเกาหลีใต้ได้ฉลองครบรอบ 50 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน มีการจัดกิจกรรมที่ครอบคลุมทุกมิติของความสัมพันธ์ภายใต้คำขวัญว่า สานสายใยไทย-เกาหลี 50 ปีสู่อนาคต หรือ 50 YearsFriendship for the Future กิจกรรมที่สำคัญได้แก่ งานเลี้ยงรับรอง (วันที่ 1 ตุลาคมที่กรุงโซล และ 2 ตุลาคม ที่กรุงเทพฯ) การแลกเปลี่ยนการแสดงทางวัฒนธรรม การสัมมนาทางวิชาการ การออกตราไปรษณียากรร่วม การเยือนของทหารผ่านศึกและการจัดสร้างอนุสาวรีย์ทหารไทยในสงครามเกาหลีที่นครปูซาน

ก). ความสัมพันธ์ด้านการเมือง

เกาหลีใต้มีกลไกความร่วมมือกับไทยทั้งในระดับทวิภาคีและระดับภูมิภาค ที่สำคัญ ได้แก่ การประชุมคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Commission - JC) ระดับรัฐมนตรี ซึ่งเป็นกลไกหารือภาพรวมความร่วมมือ และการประชุม Policy Consultation (PC) เป็นกลไกการหารือในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส เพื่อสนับสนุนและเสริมการหารือในกรอบ JC และความร่วมมือในระดับภูมิภาค เช่น ASEAN+1 กับเกาหลีใต้ และ ASEAN+3 (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้)

มีการเสด็จฯ เยือนเกาหลีใต้ของพระบรมวงศานุวงศ์ของไทย และการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับผู้นำรัฐบาลและรัฐมนตรีระหว่างไทยและเกาหลีใต้อย่างต่อเนื่อง และมีการลงนามสนธิสัญญาและความตกลงความร่วมมือในหลายสาขา เช่น ด้านวิทยาศาสตร์ แรงงาน วัฒนธรรม การลงทุน ฯลฯ

ข). ความสัมพันธ์ด้านความมั่นคง

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเกาหลีใต้เริ่มขึ้นจากความร่วมมือด้านการทหารและความมั่นคง โดยในช่วงสงครามเกาหลีระหว่างปี 2493 - 2496 ไทยได้ส่งทหารเข้าร่วมกองกำลังสหประชาชาติ (ประกอบด้วยทหารจาก 16 ประเทศ) เพื่อป้องกันเกาหลีใต้จากการรุกรานของเกาหลีเหนือ เหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้ประชาชนของสองประเทศรู้สึกผูกพันใกล้ชิด โดยเฉพาะคนเกาหลีใต้ที่ยังคงระลึกถึงบุญคุณของกองกำลังทหารไทยที่รู้จักกันในนาม “พยัคฆ์น้อย” อยู่เสมอ ปัจจุบันไทยยังคงส่งนายทหารติดต่อประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ (United Nations Command - UNC) และเจ้าหน้าที่หน่วยแยกกองทัพบกไทยประจำกองร้อยทหารเกียรติยศ (Honour Guard Company) จำนวน 6 นายเพื่อปฏิบัติหน้าที่เชิญธงไทยและปฏิบัติหน้าที่ด้านพิธีการเกี่ยวกับสงครามเกาหลีใน UNC เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าไทยยังคงยึดมั่นในพันธกรณีในการรักษาสันติภาพบนคาบสมุทรเกาหลี นอกจากด้านการทหารแล้ว ไทยและเกาหลีใต้ยังมีความร่วมมือด้านความมั่นคงในด้านอื่นๆ ได้แก่ การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ ยาเสพติด และอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงอย่างต่อเนื่อง แต่เป็นความร่วมมือภายใต้กรอบพหุภาคี เช่นสหประชาชาติ อาเซียน และการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum ARF)

ค). ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับเกาหลีใต้ดำเนินไปอย่างราบรื่น โดยมีการจัดทำความตกลงด้านเศรษซกิจด้วยกันหลายฉบับ ได้แก่ 1) ความตกลงทางการค้าซึ่งลงนามเมื่อปี 2504 2) ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน ลงนามเมื่อปี 2532 เป็นต้น นอกจากนี้ ไทยและเกาหลีใต้มีกลไกความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ คณะกรรมาธิการร่วมทางการค้า (Joint Trade Commissionหรือ JTC) เพื่อเป็นกลไกทางการค้าที่เปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายร่วมมือกันในการแสวงหาลู่ทางขยายการค้า รวมทั้งแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางการค้าที่มีอยู่ระหว่างกัน และในส่วนของภาคเอกชน ทั้งสองประเทศได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-เกาหลี ( Korea-Thai Economic Cooperation Committee) ระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกับสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเกาหลีใต้

-การค้า

ก่อนปี 2532 การค้าระหว่างไทยและเกาหลีใต้มีมูลค่าไม่มากนัก แต่ได้ขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะ 10 กว่าปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้ามาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา ในปี 2555 เกาหลีใต้เป็นประเทศคู่ค้าสำคัญอันดับ 10 ของไทย มีมูลค่าการค้ารวม 13,748.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออกไปเกาหลีใต้ 4,778.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้าจากเกาหลีใต้ 8,979.73 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยเสียดุลการค้าเกาหลีใต้ 4,200.83 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา แผงวงจรไฟฟ้า น้ำตาลทราย เคมีภัณฑ์ น้ำมันปิโตรเลียม สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์

-การลงทุน

ในปี 2555 เกาหลีใต้ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีมูลค่า 6,101 ล้านบาท จำนวน 55 โครงการ นับเป็นอันดับที่ 14 ของการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติในประเทศไทย โดยสาขาที่มีการลงทุนมากที่สุด ได้แก่ สาขาโลหะและเครื่องจักร อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์และกระดาษ

-แรงงานไทย

แรงงานไทยเริ่มเดินทางเข้าไปทำงานในเกาหลีใต้มากขึ้นนับตั้งแต่ปี 2531 ประมาณการว่า ปัจจุบันมีแรงงานไทยในเกาหลีใต้ 40,000 คน โดยในจำนวนนี้เป็นแรงงานที่เข้าไปทำงานอย่างผิดกฎหมาย 12,000 คน ตั้งแต่ปลายปี 2546 รัฐบาลเกาหลีใต้ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายการนำเข้าแรงงานต่างชาติจากที่ใช้ระบบผู้ฝึกงานอย่างเดียวเป็นการใช้ควบคู่กับระบบใบอนุญาตทำงานด้วย (ระบบ Employment Permit System: EPS) ซึ่งระบบใบอนุญาตทำงานนั้นได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2546 และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 17 ส.ค. 2547 โดยกระทรวงแรงงานเกาหลีใต้ได้คัดเลือกประเทศที่จะสามารถส่งคนงานไปทำงานในเกาหลีใต้ภายใต้ระบบใหม่นี้จำนวน 8 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา คาซัคสถาน และมองโกเลีย โดยไทยและเกาหลีใต้ได้จัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดส่งแรงงานไปเกาหลีใต้ ภายใต้ระบบ EPS ครั้งแรกเมื่อปี 2547 และต่ออายุบันทึกความเข้าใจดังกล่าวอีก 2 ครั้งคือเมื่อปี 2549 และปี 2552 การจัดทำบันทึกความเข้าใจดังกล่าวทำให้แรงงานไทยได้รับโควต้าให้ทำงานในภาคอุตสาหกรรม ก่อสร้าง และภาคเกษตร และทำให้แรงงานไทยมีโอกาสไปทำงานในเกาหลีใต้มากขึ้นและเสียค่าใช้จ่ายน้อยลง

-การท่องเที่ยว

ไทยเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศที่ชาวเกาหลีใต้นิยมเดินทางไปท่องเที่ยว รองจากจีนและญี่ปุ่น นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้เดินทางมาไทยในอัตราเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ โดยในช่วงระหว่างปี 2544 - 2547 เฉลี่ยประมาณปีละ 7 แสนคน และเพิ่มเป็นประมาณ 1.1 ล้านคน ในปี 2550 โดยล่าสุดในปี 2555 มีจำนวน 1,169,131 คน กลุ่มสำคัญได้แก่ คู่สมรสใหม่ (ดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์) และนักกอล์ฟ แหล่งท่องเที่ยวซึ่งเป็นที่นิยม ได้แก่ กรุงเทพฯ พัทยา และภูเก็ต ทั้งนี้ ภูเก็ตเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คู่แต่งงานชาวเกาหลีใต้นิยมเดินทางมาดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์เป็นลำดับที่ 1 ในปี 2555 มีจำนวนนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปเกาหลีใต้ จำนวน 387,441 คน

ง. ความสัมพันธ์ด้านอื่นๆ

ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไทยและเกาหลีใต้ได้จัดทำ MOU ว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประเทศไทย กับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกาหลีใต้ (ลงนามเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2549) โดย MOU ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือในด้าน Solar Cells, Advanced Materials, Biotechnology, Nanotechnology, Electronic Computer, Nuclear Energy, Space Technology และ Meteorology สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ได้มีการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับ KIST โดย ศ.ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ ได้ทรงลงพระนามข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าวเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2548 ณ กรุงโซล กรอบข้อตกลงครอบคลุมการแลกเปลี่ยนบุคลากร การสนับสนุนการทำวิจัยร่วมกัน และการร่วมมือทางด้านวิชาการซึ่งรวมถึงการให้ปริญญาร่วมกัน นอกจากนี้ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ยังมีการจัดทำความตกลงความร่วมมือกับศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ (IERC) สถาบัน Gwangju Institute of Science and Technology (GIST) ซึ่ง ศ.ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ ได้ทรงลงพระนามข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าวเมื่อเดือนสิงหาคม 2550 สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติแห่งราชอาณาจักรไทยและสำนักงานพลังงานปรมาณู กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เกาหลีใต้ ได้จัดทำ MOU เพื่อความร่วมมือด้านพลังงานปรมาณู เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2547 ณ กรุงเทพฯ


การประชุมคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Commission-JC)

ไทยและเกาหลีใต้ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Commission-JC) เพื่อเป็นกลไกและติดตามการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกัน เมื่อกรกฎาคม 2541 และได้มีการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมครั้งที่ 1 ระหว่าง 20-21 มิถุนายน 2546 ที่จ.เชียงใหม่ โดยทั้งสองได้หารือกันเกี่ยวกับความร่วมมือในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านการค้า โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับการลดอุปสรรคการเข้าสู่ตลาดของกันและกัน ด้านความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวด้านแรงงานไทย ความร่วมมือด้านวัฒนธรรม ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการหารือในประเด็นปัญหาภูมิภาคต่างๆ เช่น สถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี การบูรณะฟื้นฟูอิรักภายหลังสงคราม และการต่อต้านการก่อการร้าย เป็นต้น

ความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรม

ไทยและเกาหลีใต้ได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันอย่างใกล้ชิด ความร่วมมือทางวัฒนธรรมส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับการแสดงทางวัฒนธรรม การประชุมสัมมนาทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนบุคลากรทางวัฒนธรรม และการเยือนของผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรมกำหนดกรอบการให้ความร่วมมือทางวัฒนธรรมด้านต่างๆ ระหว่างไทย-สาธารณรัฐเกาหลี ประกอบด้วย 1) การแลกเปลี่ยนการเยือน เพื่อศึกษาดูงานของผู้บริหารงานวัฒนธรรมทั้งระดับสูงและระดับกลาง 2) การสร้างและส่งเสริมความสัมพันธ์ระดับประชาชนกับประชาชน 3) การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านทัศนศิลป์ ศิลปะการแสดง ด้านภูมิปัญญาชาวบ้าน การจัดนิทรรศการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม 4) ความร่วมมือด้านวัฒนธรรม อาทิ วรรณคดี ห้องสมุด หอจดหมายเหตุ โบราณคดี จิตรกรรม หัตถกรรม และความร่วมมือด้านพิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน 5) ความร่วมมือเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยด้านความร่วมมือในการจัดโครงการนิทรรศการด้านศิลป์ ภาพยนตร์ แฟชั่น หรือดนตรี ความร่วมมือในการจัดอบรม สัมมนาปฏิบัติการเชิงวิชาการด้านการบริหารจัดการ ทางด้านวัฒนธรรม การจัดการพิพิธภัณฑ์ ศิลปะสมัยใหม่ งานออกแบบเชิงพาณิชย์สำหรับเครื่องแต่งกาย อบรมด้านนาฏศิลป์ ดนตรีร่วมสมัย และ 6) กิจกรรมอื่น ๆ อันมีลักษณะทางวัฒนธรรม ในระหว่างการเยือนไทยของประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ระหว่างวันที่ 9-11 พฤศจิกายน 2555 ผู้นำทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องส่งเสริมความร่วมมือในการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมแระหว่างกัน

อ้างอิงโดย http://www.thaiembassy.org/seoul/th/relation

3.2.ความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ

3.2.1. ภูมิหลังhttp://uswatch.mfa.go.th/uswatch/th/relationship/history/หน้า1-5 จาก สนธิสัญญาไมตรีและการพาณิชย์ถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยและสหรัฐฯ มีความสัมพันธ์มายาวนาน โดยเริ่มต้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2376 จากที่ทั้งสองฝ่ายมีสนธิสัญญาไมตรีและการพาณิชย์ (Treaty of Amity and Commerce) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ โดยในปีดังกล่าว ประธานาธิบดี Andrew Jackson ของสหรัฐฯ (ดำรงตำแหน่งปี 2372-2380) ได้ส่งนาย Edmund Roberts เป็นเอกอัครราชทูตเดินทางมายังกรุงเทพฯ พร้อมทั้งนำสิ่งของมาทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ซึ่งรวมถึงดาบฝักทองคำที่ด้ามสลักเป็นรูปนกอินทรีและช้าง และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ได้พระราชทานสิ่งของตอบแทนซึ่งเป็นของพื้นเมือง เช่น งาช้าง ดีบุก เนื้อไม้ และกำยาน เป็นต้นโดยภารกิจสำคัญของนาย Robert คือการเจรจาจัดทำสนธิสัญญาทางการค้ากับไทย เช่นเดียวกับที่ไทยได้ทำสนธิสัญญาและข้อตกลงทางการค้ากับสหราชอาณาจักรเมื่อ ปี 2369

การจัดส่งคณะทูตสหรัฐฯ มายังไทยแสดงให้เห็นถึงความสนใจของสหรัฐฯ ที่จะติดต่อค้าขายกับไทยตั้งแต่ในช่วงต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ หลังจากที่ได้มีชาติตะวันตกอื่นๆ เช่น โปรตุเกส และสหราชอาณาจักร ได้เข้ามาค้าขายกับไทยอยู่ก่อนแล้ว ทั้งนี้ ไทยและสหรัฐฯ ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการในปี 2399

อย่างไรก็ดี ในช่วงก่อนหน้านั้นปรากฏหลักฐานการติดต่อระหว่างทั้งสองประเทศตั้งแต่ต้น สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่มีเรือกำปั่นของชาวสหรัฐฯ ลำแรก โดยมีกัปตันแฮน (Captain Han) เป็นนายเรือได้แล่นเรือบรรทุกสินค้าผ่านลำน้ำเจ้าพระยาเข้ามาถึงกรุงเทพฯ เมื่อปี 2364 หรือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่ไม่มีความต่อเนื่องเพราะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ห่างไกลกัน และสหรัฐฯ ไม่ค่อยความสนใจหรือมีผลประโยชน์ในภูมิภาคนี้ โดยสหรัฐฯ มีสถานกงสุลเพียงแห่งเดียวในภูมิภาคนี้ที่ปัตตาเวีย (กรุงจาการ์ตาในปัจจุบัน)

แม้ว่าทั้งสองฝ่ายจะมีสนธิสัญญาไมตรีและการพาณิชย์ความสัมพันธ์กันอย่างเป็นทางการ รวมทั้งเรือสินค้าสหรัฐฯ ได้เริ่มต้นเดินทางมาถึงไทยแล้วก็ตาม แต่ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศก็ยังไม่ขยายตัว เนื่องจากไม่มีการติดต่อที่ใกล้ชิด รวมทั้งการค้ากับต่างประเทศของไทยโดยเฉพาะกับประเทศตะวันตกก็ยังไม่ขยายตัว เนื่องจากฝ่ายไทยยังคงบังคับใช้กฎเกณฑ์ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการค้ากับต่าง ประเทศ และยังคงมีการผูกขาดกิจการต่างๆ แต่ในช่วงต้นของความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ คณะบาทหลวงสหรัฐฯ มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในระดับประชาชนสู่ประชาชน ในขณะที่ความสัมพันธ์ในระดับรัฐต่อรัฐยังไม่เป็นรูปธรรมนัก โดยเมื่อปี 2374 บาทหลวง David Abeel, M.D. มิชชันนารีชาวสหรัฐฯ ได้เดินทางมาไทยและพำนักอยู่ในกรุงเทพฯหลังจากนั้น คณะบาทหลวงอีกหลายคณะได้เดินทางและมาพำนักในไทย อย่างไรก็ดี คณะบาทหลวงสหรัฐฯ ไม่ประสบความสำเร็จในภารกิจการเผยแพร่ศาสนาเท่าใดนัก แม้ว่าพระมหากษัตริย์ไทยไม่ได้ทรงขัดขวางการเผยแพร่ศาสนา "มีผู้กล่าวไว้ว่า ไม่มีประเทศใดที่มิชชันนารีจะได้รับการต่อต้านการเผยแพร่ศาสนาน้อยที่สุด หรือเกือบไม่มีเลยเท่าประเทศไทย และก็ไม่มีประเทศใดที่คณะมิชชันนารีได้รับผลสำเร็จน้อยที่สุดเท่าประเทศไทย เช่นเดียวกัน" แต่คณะบาทหลวงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาในหลายด้าน เช่น การศึกษาโดยเฉพาะการสอนภาษาอังกฤษ การจัดตั้งสถาบันการศึกษาที่สำคัญๆ ได้แก่ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ โรงเรียนปรินส์รอยัล และโรงเรียนดาราวิทยาลัยที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น ด้านการแพทย์และสาธารณสุข คณะบาทหลวงสหรัฐฯ มีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาการแพทย์สมัยใหม่ในไทย โดยเฉพาะนายแพทย์ Danial B. Bradley ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกการรักษาไข้ทรพิษและอหิวาตกโรค รวมทั้งเป็นผู้จัดตั้งโรงพิมพ์หนังสือพิมพ์แห่งแรกในไทย และพำนักอยู่ในไทยเป็นเวลาเกือบ 40 ปี นอกจากนี้ คณะบาทหลวงสหรัฐฯ ยังมีส่วนในการจัดตั้งโรงพยาบาลแห่งแรกที่จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดอื่นๆ เช่น ลำปาง ตรัง นครศรีธรรมราช รวมทั้งโรงพยาบาลแมคคอมิกส์ที่จังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งมีส่วนสำคัญในการพัฒนาการเรียนการสอนของโรงเรียนแพทย์โรงพยาบาลศิริราชด้วย

ในส่วนของไทย พระมหากษัตริย์ทรงมีบทบาทอย่างมากในการส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์กับ สหรัฐฯ โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้ทรงมีพระราชสาส์นไปถึงประธานาธิบดีสหรัฐฯ หลายครั้ง โดยครั้งแรกทรงมีพระราชสาส์นไปถึงประธานาธิบดี Franklin Pierce (ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2396 -2400) เมื่อปี 2399 รวมทั้งในปี 2404 หลังจากทรงได้รับสารตอบรับจากประธานาธิบดี James Buchanan (ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2400 - 2404) พร้อมสิ่งของทูลเกล้าฯ ถวาย ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าทรงมีพระราชสาส์นถึงประธานาธิบดี Buchanan เสนอที่จะพระราชทานช้างให้กับสหรัฐฯ โดยทรงอธิบายเป็นภาษาอังกฤษด้วยพระองค์เองถึงพระราชประสงค์ที่จะให้สหรัฐฯ นำช้างไปเลี้ยงและขยายพันธุ์ เพื่อใช้ประโยชน์ในการขนส่ง นอกจากนี้ ได้พระราชทานดาบเหล็กกล้าแบบญี่ปุ่นฝักลงรักปิดทอง พร้อมพระบรมฉายาลักษณ์ให้กับประธานาธิบดี Buchanan ด้วย ในปี 2405 ประธานาธิบดี Abraham Lincoln (ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2404 - 2408) ได้มีสารตอบแสดงความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ โดยจะมอบพระแสงดาบไว้ให้เป็นสมบัติของชาติ และกราบบังคมทูลเกี่ยวกับพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานช้างแก่สหรัฐฯ ว่าสภาพอากาศในสหรัฐฯ ไม่เหมาะสมกับช้าง รวมทั้งมีเครื่องจักรไอน้ำที่มีประสิทธิภาพสำหรับการขนส่งภายในประเทศอยู่แล้ว

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้อดีตประธานาธิบดี Ulysses S. Grant เข้าเฝ้าฯ เมื่อครั้งที่ประธานาธิบดี Grant เดินทางเที่ยวรอบโลกและแวะผ่านไทยเมื่อปี 2422 ซึ่งทรงให้การต้อนรับอย่างสมเกียรติ รวมทั้งอดีตประธานาธิบดี Grant ได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จฯ เยือนสหรัฐฯ ด้วย นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้ทรงเผยแพร่ชื่อเสียงประเทศไทยด้วยการพระราชทานเครื่องดนตรีไทยหลายชนิด ให้กับสถาบัน Smithsonian และพระราชทานสิ่งของเข้าร่วมในงานแสดงสินค้าระดับโลกในโอกาสต่างๆ เช่น เมื่อปี 2419 ในงานนิทรรศการในวาระครบรอบ 100 ปี ของสหรัฐฯ ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย มลรัฐเพนซิลเวเนีย เมื่อปี 2436 ในงานมหกรรมโลกที่นครชิคาโก มลรัฐอิลลินอยส์ และเมื่อปี 2447 ในงานออกร้านในวาระเฉลิมฉลองการซื้อดินแดนหลุยเซียนา ที่เมืองเซนต์หลุยซ์ มลรัฐมิสซูรี ด้วย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เสด็จฯ เยือนสหรัฐฯ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อปี 2445 และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ได้เสด็จฯ เยือนสหรัฐฯ ครั้งแรกเมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกฯ ในปี 2467 เพื่อทรงรักษาพระเนตร และเมื่อขึ้นครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ พร้อมด้วยพระนางเจ้ารำไพพรรณี เสด็จฯ เยือนสหรัฐฯ อีกครั้งในปี 2473 ซึ่งในการเสด็จฯ ครั้งนั้น ได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ประธานาธิบดี Herbert Hoover (ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2472 - 2476) เข้าเฝ้าฯ และพระราชทานสัมภาษณ์หนังสือพิมพ์สหรัฐฯ หลายฉบับ รวมทั้งเสด็จฯ เยือนเมืองสำคัญๆ ในมลรัฐต่าง ๆ ของสหรัฐฯ หลายแห่งด้วย

นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เคยประทับอยู่ในสหรัฐฯ เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดชประสูติในสหรัฐฯ เมื่อครั้งที่สมเด็จพระราชบิดาของทั้งสองพระองค์ ทรงศึกษาวิชาแพทย์ที่สหรัฐฯ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จฯ เยือนสหรัฐฯ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อปี 2503 ซึ่งได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ประธานาธิบดี Dwight D. Eisenhower (ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2496 -2504) เข้าเฝ้าฯ ทรงมีกระแสพระราชดำรัสต่อที่ประชุมร่วมรัฐสภาสหรัฐฯ รวมทั้งได้เสด็จฯ เยือนเมืองสำคัญในมลรัฐต่างๆ ของสหรัฐฯ การเสด็จฯ เยือนสหรัฐฯ ครั้งที่ 2 เมื่อปี 2510 ทรงประกอบพิธีเปิดศาลาไทยในบริเวณ East- West Center มหาวิทยาลัยฮาวาย เมืองโฮโนลูลู มลรัฐฮาวาย พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้วิทยาลัย William College มลรัฐแมสซาซูเซตส์ ทูลเกล้าถวายปริญญญาดุษฎีบัณทิตกิตติมศักดิ์ ด้านนิติศาสตร์ และพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ประธานาธิบดี Lyndon B. Johnson (ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2506 - 2512) เข้าเฝ้าฯ ด้วย นอกจากนี้ รัฐสภาสหรัฐฯ ได้ออกข้อมติเทอดพระเกียรติและถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสต่างๆ อันเป็นการแสดงถึงการยอมรับอย่างสูงของสหรัฐฯ ต่อพระมหากษัตริย์ไทยและการที่สหรัฐฯ ให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์อันใกล้ชิดของไทยกับสหรัฐฯ

ในช่วงที่ไทยจำเป็นต้องดำเนินนโยบายให้พ้นภัยคุกคามจากลัทธิอาณานิคมของ ประเทศมหาอำนาจยุโรป ที่ปรึกษาชาวสหรัฐฯ ซึ่งเป็นชาติที่มีความเป็นกลาง และไม่ได้แข่งขันทางผลประโยชน์ต่างๆ โดยเฉพาะการแสวงหาอาณานิคมกับประเทศยุโรปในภูมิภาค ได้เข้ามีบทบาทในการเป็นที่ปรึกษาด้านการต่างประเทศ การศาล การพัฒนา และคำปรึกษาทั่วไปให้กับไทยโดยที่ปรึกษาชาวสหรัฐฯ คนแรก ได้แก่ นาย Edward H. Strobel ซึ่งมีส่วนสำคัญในการคลี่คลายปัญหาข้อพิพาทด้านพรมแดนฝั่งตะวันออกระหว่าง ไทยกับฝรั่งเศส รวมทั้งช่วยเจรจากับฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรให้ผ่อนผันในเรื่องสิทธิสภาพ นอกอาณาเขต นอกจากนี้ นาย Jen I. Westengard ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาราชการแผ่นดินระหว่างปี 2450-2458 มีบทบาทในเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ต่อมาได้รับพระราชทานพระราชบรรดาศักดิ์เป็นพระยากัลยาณไมตรีในสมัยรัชกาลพระ บาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ และในปี 2468 นาย Francis B. Sayre (ซึ่งได้รับพระราชทานพระราชบรรดาศักดิ์เป็นพระยากัลยาณไมตรีด้วยเช่นกัน) มีบทบาทสำคัญในการแก้ไขสนธิสัญญาระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะด้านศุลกากรและกฎหมาย รวมทั้งมีบทบาทในการช่วยเหลือไทยภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อนาย Sayre ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาสหประชาชาติเพื่อการบรรเทาทุกข์ และบูรณะความเสียหายของประเทศ (The United Nations Relief and Rehabilitation Administration -UNRRA)

การที่ไทยไม่ได้รับความช่วยเหลือจากฝ่ายพันธมิตรในการป้องกันประเทศจากการ ที่ญี่ปุ่นเดินทางทัพเข้ามาในดินแดนไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ไทยจำเป็นต้องประกาศสงครามกับสหราชอาณาจักรและสหรัฐฯ ในปี 2485 อย่างไรก็ดี รัฐบาลสหรัฐฯ ในขณะนั้น ไม่ได้ประกาศสงครามกับไทย เนื่องจากมีการจัดตั้งเสรีไทยในสหรัฐฯ และรัฐบาลสหรัฐฯ ให้การสนับสนุน รวมทั้งการจัดตั้งขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นในไทย ซึ่งมีผลอย่างมากต่อสถานการณ์ภายหลังสงครามของไทยที่สหรัฐฯ สนับสนุนท่าทีที่ผ่านมาของไทย โดยถือว่าไทยไม่ได้เป็นคู่สงครามแต่เป็นดินแดนที่ถูกยึดครอง (occupied territory) ในระหว่างสงคราม ภายหลังสงครามสหรัฐฯ ได้ฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทยในทันที รวมทั้งช่วยเหลือไทยในการเจรจาให้สหราชอาณาจักรลดข้อเรียกร้องและการตั้ง เงื่อนไขต่างๆ จำนวน 21 ข้อ ที่กำหนดขึ้นภายหลังสงครามกับไทย โดยสหรัฐฯ มีบทบาทสำคัญในการเจรจากับสหราชอาณาจักรให้กับไทย รวมทั้งสนับสนุนและให้คำปรึกษาการกับไทยในการเจรจากับฝรั่งเศสและรัสเซีย เพื่อเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติในปี 2489

3.2.2.ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

สถานการณ์หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ความร่วมมือด้านการทหารและความมั่นคง และสงครามเวียดนาม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทย-สหรัฐฯ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมากขึ้น และปรับเปลี่ยนจากความสัมพันธ์ฉันท์มิตรประเทศธรรมดา (ordinary friendship) เป็นการมีความสัมพันธ์พิเศษ (special relationship) ระหว่างกัน เนื่องจากการที่สหรัฐฯ ก้าวขึ้นเป็นประเทศมหาอำนาจที่สำคัญภายหลังสงคราม มีปัจจัยภายในที่สนับสนุนให้สหรัฐฯ กำหนดนโยบายทางการทูตและเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่เปิดกว้างมากขึ้น เช่น การขยายตัวทางเศรษฐกิจภายในประเทศและความต้องการวัถตุดิบเพื่อรองรับการขยาย ตัวดังกล่าว ตลอดจนกระแสการผลักดันอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยของสหรัฐฯ ให้กับประเทศต่างๆ ทั่วโลก ประกอบกับปัจจัยภายนอกที่สำคัญ ได้แก่ การที่ประเทศมหาอำนาจเดิม อาทิ สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส เริ่มต้นลดบทบาทในภูมิภาคลง ในขณะที่ภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะความวิตกกังวลต่อการรุกคืบหน้าของระบอบคอมมิวนิสต์จากเหตุการณ์ สงครามเกาหลีและการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีนมีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสหรัฐฯ เห็นว่า เป็นภัยคุกคามโดยตรงต่อความมั่นคงและผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้ในช่วงภายหลังสงครามโลก สหรัฐฯ ยังลังเลที่จะเข้ามามีบทบาทในภูมิภาคโดยตรง แต่พยายามสนับสนุนให้มหาอำนาจยุโรปที่เคยมีอาณานิคมกลับเข้ามามีบทบาทเพื่อ สร้างความมั่นคงให้กับภูมิภาค โดยเห็นว่าการสนับสนุนกระบวนการชาตินิยม (nationalism) เพื่อเรียกร้องเอกราชของประเทศในภูมิภาค อาจเป็นช่องทางการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ได้

อย่างไรก็ดี จากสถานการณ์ความขัดแย้งทางอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศที่เป็นผลให้ ความสัมพันธ์ภายหลังสงครามโลกระหว่างสหรัฐฯ กับสหภาพโซเวียตเสื่อมทรามลง การรุกคืบหน้าของลัทธิคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคต่างๆ ของโลก ทำให้สหรัฐฯ ซึ่งมีแนวทางการดำเนินนโยบายต่อต้าน (anti) และปิดล้อม (containment) การแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องเข้ามามีบทบาทโดยตรงในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ โดยเริ่มจากการศึกษาประเมินความต้องการความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจและการ พัฒนา ความมั่นคง การทหารและการป้องกันประเทศของประเทศในภูมิภาค รวมทั้งประเทศไทยด้วย ในขณะเดียวกัน ไทยก็มีแนวทางการดำเนินนโยบายด้านความมั่นคงที่สอดคล้องกับสหรัฐฯ โดยเมื่อสงครามเกาหลีเกิดขึ้น (2493) ไทยได้มีการดำเนินการในแนวทางที่สอดคล้องกับสหรัฐฯ และประสงค์จะเห็นสหรัฐฯ เข้ามามีบทบาทในการรักษาเสถียรภาพทางการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค โดยเฉพาะความห่วงกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศเพื่อนบ้านของไทย โดยเมื่อสงครามเกาหลีเกิดขึ้นไทยได้ประกาศส่งข้าวจำนวน 20,000 ตัน และทหารจำนวน 4,000 นาย ไปช่วยเหลือสหประชาชาติในสงครามเกาหลี และให้การรับรองรัฐบาลเบาได๋ของเวียดนามที่สหรัฐฯ ให้การสนับสนุน ในขณะที่สหรัฐฯ ได้เริ่มต้นจัดส่งคณะผู้แทนทางทหารมาไทย เพื่อประเมินความต้องการด้านการป้องกันประเทศ และต่อมาทั้งสองฝ่ายได้ลงนามความตกลงช่วยเหลือทางการทหาร โดยสหรัฐฯ ได้จัดยุทโธปกรณ์และฝึกอบรมให้กับกองทัพไทย รวมทั้งเริ่มให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการในสาขาต่างๆ แก่ไทย อาทิ การสนับสนุนการจัดตั้งสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การพัฒนาการเกษตร การพัฒนาชนบท สาธารณสุข การศึกษา การก่อสร้างเส้นทางคมนาคมขนส่ง สนามบิน และท่าเรือ การศึกษา โดยสถาบันการศึกษาของสหรัฐฯ มีส่วนสนับสนุนการจัดตั้งมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค การฝึกอบรมบุคลากรทางการศึกษา การให้ทุนการศึกษาและฝึกอบรม เป็นต้น รวมทั้งจัดตั้งหน่วยงานและจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาปฏิบัติงานให้ความช่วย เหลือแก่ไทย เช่น U.S. Agency for International Development (USAID), The Joint U.S. Military Assistance Group (JUSMAG) เป็นต้น

โดยที่ในช่วงทศวรรษที่ 1960 - 1970 ความร่วมมือด้านการทหารและความมั่นคงเป็นพื้นฐานสำคัญของภาพรวมความสัมพันธ์ ไทย-สหรัฐฯ โดยเฉพาะในช่วงที่ฝรั่งเศสเริ่มต้นเจรจากับฝ่ายต่อต้านคอมมิวนิสต์ใน เวียดนาม ฝ่ายคอมมิวนิสต์เข้าครอบครองพื้นที่ทางตอนเหนือของเวียดนามได้ ในขณะที่ประธานาธิบดี Eisenhower มีนโยบายที่เด่นชัดมากขึ้นในการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ในเอเชีย และได้เป็นแกนนำหลักในการชักชวนให้ประเทศในเอเชียรวมตัวกันเพื่อป้องกัน ประเทศจากภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์ โดยสหรัฐฯ ได้ร่วมกับไทย ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน อิตาลี ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักร ลงนามในสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Southeast Asia Collective Defense Treaty หรือ Manila Pact) ที่กรุงมะนิลา เมื่อปี 2497 ซึ่งได้นำไปสู่การก่อตั้งองค์การสนธิสัญญาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Southeast Asia Treaty Organization – SEATO) นอกจากนี้ ไทยและสหรัฐฯ ยังมีความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงและการป้องกันประเทศระหว่างกันใน กรอบทวิภาคี ตามแถลงการณ์ร่วมของนายถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนาย Dean Rusk รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ (Rusk-Thanat Communique') เมื่อปี 2505 ที่ย้ำถึงการเป็นพันธมิตรทางสนธิสัญญาระหว่างกันของไทยและสหรัฐฯ โดยสหรัฐฯ ถือว่าเอกราชและ บูรณภาพของไทย มีความสำคัญยิ่งต่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯ และสันติภาพของโลก และจะให้การปกป้องไทยจากการรุกรานตามวิถีทางของรัฐธรรมนูญ

เมื่อสถานการณ์ความขัดแย้งในอินโดจีนขยายตัวออกไปจนกระทั่งสหรัฐฯ ต้องเข้ามามีบทบาทในการรักษาเสถียรภาพของรัฐบาลเวียดนามใต้ ไทยได้ให้ความร่วมมือตามคำร้องขอของสหรัฐฯ โดยให้ใช้สนามบิน และฐานทัพในไทย รวมทั้งจัดส่งทหารจำนวนประมาณ 12,000 นายไปร่วมรบในเวียดนามด้วย โดยสหรัฐฯ ให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายของกำลังพล ซึ่งในช่วงดังกล่าว ความช่วยเหลือด้านการทหารของสหรัฐฯ ต่อไทยมีจำนวนสูงขึ้นถึง 75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2511 และระหว่าง 2508 - 2513 สหรัฐฯ ได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 370 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อปรับปรุงฐานทัพในไทย ในขณะเดียวกันความช่วยเหลือด้านอื่นๆ ได้เพิ่มขึ้นถึง 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยส่วนใหญ่เป็นความช่วยเหลือแก่รัฐบาลไทยในการต่อสู้เพื่อเอาชนะผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท ผ่านโครงการส่งเสริมความมั่นคง การพัฒนาชนบท การสาธารณสุข การเกษตร และการศึกษา เป็นต้น อย่างไรก็ดี ในช่วงทศวรรษที่ 1970 – 1980 สหรัฐฯ ได้ลดบทบาทการมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับความขัดแย้งในอินโดจีน ซึ่งการปรับเปลี่ยนท่าทีทางนโยบายดังกล่าว เป็นผลจากกระแสการต่อต้านสงครามในสหรัฐฯ การเปลี่ยนแปลงนโยบายของสหรัฐฯ หลังจากที่ประธานาธิบดี Richard Nixon (ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2512 – 2517)ได้ประกาศนโยบาย Nixon Doctrine ซึ่งระบุว่า สหรัฐฯ จะไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งในภูมิภาคเอเชียด้วยการส่งทหารสหรัฐฯ เข้าไปโดยตรง แต่ประเทศในเอเชียต้องรับภาระการป้องกันประเทศด้วยตนเอง โดยสหรัฐฯ จะสนับสนุนความช่วยเหลือทางทหารและเศรษฐกิจด้านอื่นๆ แก่ประเทศเหล่านั้น ประกอบกับปัญหาเศรษฐกิจและสังคมภายในของสหรัฐฯ ที่ขยายตัวจากช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เป็นส่วนสนับสนุนกระแสต่อต้านสงครามมากยิ่งขึ้น ทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ ลดบทบาทและการใช้จ่ายงบประมาณสำหรับกิจการต่างประเทศลง และหันมาให้ความสำคัญกับนโยบายภายในประเทศ และตัดทอนงบประมาณการต่างประเทศมาสนับสนุนการแก้ไขปัญหาภายในประเทศ นอกจากนี้ การเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนโดยประธานาธิบดี Nixon เดินทางไปเยือนกรุงปักกิ่งในปี 2514 เป็นสัญญาณที่สำคัญต่อการปรับเปลี่ยนนโยบายการต่างประเทศในแนวทางที่สหรัฐฯ จะลดบทบาททางความมั่นคงและทางทหารในภูมิภาคลง

การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางการเมืองระหว่างประเทศหลังสหรัฐฯ สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน และการถอนทหารของสหรัฐฯ จากอินโดจีน ทำให้ไทยจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินนโยบายต่างประเทศ และหลังการลงนามข้อตกลงสันติภาพเพื่อยุติสงครามเวียดนามอย่างเป็นทางการ เมื่อปี 2516 กระแสต่อต้านสหรัฐฯ ในไทยเพิ่มมากขึ้น การเรียกร้องประชาธิปไตยของนักศึกษา ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทย ยิ่งมีส่วนส่งเสริมให้กระแสต่อต้านสหรัฐฯ เพิ่มมากขึ้น มีการเรียกร้องให้สหรัฐฯ ถอนทหารออกจากประเทศไทย และเมื่อเกิดเหตุการณ์เรือสินค้า Mayaguez เมื่อปี 2518 ซึ่งทหารสหรัฐฯ ได้พยายามช่วยเหลือลูกเรือจากฝ่ายเขมรแดง โดยใช้ฐานทัพในไทยโดยไม่ได้ขออนุญาต รัฐบาลไทยได้ดำเนินการประท้วง และแจ้งให้ฝ่ายสหรัฐฯ ดำเนินการถอนทหารออกจากไทยทั้งหมดภายในปี 251

3.2.3. ช่วงสงครามเวียดนาม

ในช่วงสงครามเวียดนาม-ไทยได้ให้ความร่วมมืออย่างมากกับสหรัฐฯ ในขณะที่ สหรัฐฯ ได้ให้ความช่วยเหลือทางด้านความมั่นคงเป็นจำนวนมากแก่ไทยด้วยเช่นกัน นับได้ว่าทั้งสองฝ่ายได้พึ่งพาอาศัยกันบนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกันมาโดย ตลอด อย่างไรก็ตาม แม้ว่าหลังจากที่สหรัฐฯ ถอนกำลังทางทหารออกจากเวียดนาม และปรับเปลี่ยนนโยบายโดยลดบทบาทด้านการเมือง การทหารในภูมิภาคลง แต่สหรัฐฯ ยังคงให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินการของไทยในการแก้ไขปัญหาความขัด แย้งในภูมิภาคอินโดจีน โดยสหรัฐฯ สนับสนุนทางความพยายามของไทยและสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of Southeast Asian Nations – ASEAN) ในการแก้ไขปัญหากัมพูชาโดยวิถีทางการเมือง และสนับสนุนการจัดตั้งเวทีประชุมความมั่นคงภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Regional Forum – ARF) ด้วย

3.2.4.ช่วงหลังสงครามเวียดนาม

ความสัมพันธ์ทางด้านความมั่นคงและการทหารระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แต่มิได้อยู่ในระดับที่ใกล้ชิดเท่ากับในช่วงสงครามเย็น สหรัฐฯ เห็นว่าไทยเป็นพันธมิตรทางทหารที่สำคัญ การฝึกร่วมผสม Cobra Gold ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ซึ่งมีเป็นประจำทุกปี ถือเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นพันธมิตรทางทหาร และเป็นการฝึกร่วมผสมที่ใหญ่ที่สุดที่สหรัฐฯ มีอยู่กับประเทศต่างๆ โดยในระยะหลัง เป็นการฝึกร่วมผสมไทย-สหรัฐฯ มีประเทศอื่นๆ เข้าร่วมฝึกในบางสาขา เช่น ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และมองโกเลีย และอีก 16 ประเทศเข้าร่วมสังเกตการณ์ นอกจากนี้ การที่สหรัฐฯ มอบสถานะพันธมิตรสำคัญนอกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (Major Non NATO Ally - MNNA) ให้แก่ไทยเมื่อปี 2546 เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นพันธมิตรในด้านการทหารและความมั่นคงของทั้ง สองฝ่ายอีกระดับหนึ่งด้วย

3.2.5.ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐในด้านต่างๆ

ด้านการเมือง

ไทยและสหรัฐฯ ได้สถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการเมื่อปี 2376 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้มีการลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและการพาณิชย์ (Treaty of Amity and Commerce) ระหว่างกันเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2376 (ค.ศ. 1833) ประธานาธิบดีแอนดรูว์ แจ็คสัน (Andrew Jackson) ได้ส่งนายเอ็ดมันด์ รอเบิร์ตส์ (Edmund Roberts) ทูตสหรัฐฯ มายังกรุงเทพฯ โดยมีภารกิจสำคัญคือ การเจรจาจัดทำสนธิสัญญาไมตรีและการพาณิชย์กับไทย ส่วนในด้านการแลกเปลี่ยนผู้แทนทางการทูตนั้น สหรัฐฯ ได้แต่งตั้ง สาธุคุณสตีเฟน แมตตูน (Reverend Stephen Mattoon) เป็นกงสุลประจำสยามคนแรกในเดือนพฤษภาคม 2399 และได้แต่งตั้งนายจอห์น เอ. ฮัลเดอร์แมน (John A. Halderman) เป็นผู้แทนสหรัฐฯ ประจำสยามคนแรก ในตำแหน่งกงสุลใหญ่ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2424 สยามได้แต่งตั้งพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ชุมสาย เป็นราชทูตไทยประจำสหรัฐฯ พระองค์แรกในปี 2430 โดยพระองค์ทรงพำนักอยู่ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ไทยได้เปิดสถานทูตในสหรัฐอเมริกาในปี 2444 ที่อาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย และได้ย้ายสำนักงานมายังกรุงวอชิงตัน ในปี 2456 ไทยและสหรัฐฯ ได้ยกสถานะความสัมพันธ์เป็นระดับเอกอัครราชทูตในปี 2490 ปัจจุบัน ไทยมีสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน และมีสถานกงสุลใหญ่ 3 แห่ง คือ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครชิคาโก สถานกงสุลใหญ่ ณ นครนิวยอร์ก และสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส ในส่วนของสหรัฐฯ มีสถานเอกอัครราชทูต ที่กรุงเทพฯ และสถานกงสุลใหญ่ ที่จังหวัดเชียงใหม่ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยคนปัจจุบัน คือ นางคริสตี แอนน์ เคนนี (Kristie Anne Kenney)(เข้ารับหน้าที่เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2554)

การแลกเปลี่ยนการเยือนที่สำคัญระหว่างกัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยือนสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการระหว่าง 14 มิถุนายน - 14 กรกฎาคม 2503 ในสมัยประธานาธิบดี ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ (Dwight D. Eisenhower) และเสด็จฯ เยือนสหรัฐฯ เป็นครั้งที่ 2 ระหว่าง 6-20 มิถุนายน และ 24-29 มิถุนายน 2510 ในสมัยประธานาธิบดี ลินดอน บี จอห์นสัน (Lyndon B. Johnson) นาย William Jefferson Clinton ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เคยเยือนไทยพร้อมภริยาในฐานะพระราชอาคันตุกะ ระหว่างวันที่ 26-27 พฤศจิกายน 2539 นาย George W. Bush ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และภริยาเคยเยือนไทย 2 ครั้ง ครั้งแรกเยือนไทยในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2546 ก่อนที่จะเข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 11 ระหว่างวันที่ 20-21 ตุลาคม 2546 และครั้งที่ 2 ประธานาธิบดีบุชและภริยาเยือนไทยในฐานะแขกของรัฐบาลระหว่างวันที่ 6-7 สิงหาคม 2551 ซึ่งเป็นปีที่ครบรอบ 175 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-สหรัฐฯ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยือนสหรัฐฯ เพื่อเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ สมัยที่ 67 วันที่ 23-29 กันยายน 2555 นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางเยือนสหรัฐฯ เพื่อเข้าร่วมการประชุมหารือเชิงยุทธศาสตร์ไทย-สหรัฐฯ (Thai-U.S. Strategic Dialogue) ครั้งที่ 4 วันที่ 12-15 มิถุนายน 2555 นางฮิลลารี รอดแฮม คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เยือนไทยในฐานะแขกของกระทรวง การต่างประเทศระหว่างวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2554 และประธานาธิบดีบารัค โอบามา เยือนไทยในฐานะแขกของรัฐบาลไทยเมื่อวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2555

ในการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2555 ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และมีการหารือทวิภาคีกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ซึ่งก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรีได้มีการหารือทวิภาคีกับนายบารัค โอบามา เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2554 ก่อนการประชุม EAS ที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี เคยพบหารือทวิภาคีกับนางฮิลลารี รอดแฮม คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ สองครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2554 ในโอกาสที่นางคลินตันเยือนไทยก่อนเดินทางไปบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อเข้าร่วมการประชุม EAS และครั้งที่สองเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2555 ในโอกาสที่นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมเป็นแขกพิเศษและเป็นผู้กล่าวสุนทรพจน์หลักในหัวข้อ Commitment to Connectivity ในงานเลี้ยงอาหารค่ำแก่นักธุรกิจสหรัฐฯ ในการประชุม US-ASEAN Business Forum ที่เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา

เมื่อวันที่ 4 – 8 พฤษภาคม 2556 นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเดินทางเยือนสหรัฐฯ เพื่อหารือทวิภาคีกับนายจอห์น เคอรร์รี่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ และเยี่ยมชมการดำเนินงานของศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการพิเศษ (Special Event Command Center) ของสถานีตำรวจนครบาลกรุงวอชิงตัน (DC Metropolitan Police Department) ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2555 พันโทหญิงลัดดา แทมมี่ ดักเวิร์ธ (Lieutenant Colonel Ladda Tammy Duckworth) ชาวอเมริกันเชื้อสายไทยและเป็นผู้สมัคร จากพรรคเดโมเครตได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งเป็น ส.ส.เขต 8 ของมลรัฐอิลลินอยส์ โดยชนะนาย Joe Walsh ผู้สมัครจากพรรครีพับลิกัน ด้วยคะแนนสนับสนุนจำนวน 121,298 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 55 ในขณะที่นาย Walsh ได้คะแนน 100,360 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 45 โดยเมื่อปี 2547 พันโทหญิงดักเวิร์ธ ได้รับบาดเจ็บระหว่างทำการบินในสงครามอิรัก ทำให้สูญเสียขาทั้ง 2 ข้าง บาดเจ็บที่แขนขวา และได้รับเหรียญกล้าหาญ Purple Heart และเหรียญประดับเกียรติอีก 2 เหรียญ ต่อมา ได้รับการเสนอชื่อจากประธานาธิบดีโอบามาให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีด้าน Public and Intergovernmental Affairs ของกระทรวงกิจการทหารผ่านศึกของสหรัฐฯ ระหว่างปี 2552-2554 และเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2553 พันโทหญิงดักเวิร์ธได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประถมาภรณ์มงกุฎไทย และเครื่องหมายแสดงความสามารถในการบินของนักบินทหารบก ชั้นที่ 1 จากนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี ที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ในฐานะเป็นผู้สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยและมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกา และเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม – 3 กันยายน 2556 พันโทหญิงดักเวิร์ธ ได้เดินทางมาเยือนประเทศไทยโดยได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี และคณะกรรมาธิการการของสภาผู้แทนราษฎร การจัดตั้ง Friends of Thailand Caucus (FoTC) ที่รัฐสภาสหรัฐฯ

กระทรวงการต่างประเทศ โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตันได้ทาบทามสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ ให้จัดตั้งและเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม Friends of Thailand Caucus โดยได้มีการจัดตั้งอย่างเป็นทางการขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2552 โดยมี Rep. Earl Blumenauer (D-OR) และ Rep. Donald Manzullo (R-IL) เป็นประธานร่วมของกลุ่ม ปัจจุบันมีสมาชิกรัฐสภาเข้าร่วม 24 คน มีจุดประสงค์เพื่อช่วยเป็นกลไกประสานผลประโยชน์และพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสหรัฐฯ ให้ใกล้ชิดขึ้น และสร้างเข้าใจที่ดีต่อไทยในหมู่สมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ โดยการเป็นเวทีในการรับฟังและตอบข้อสงสัยในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของไทยที่สหรัฐฯ สนใจหรือมีความห่วงกังวล และยังสามารถเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ และความเห็นในเรื่องที่เกี่ยวกับประเทศไทย อ้างอิงโดย http://uswatch.mfa.go.th/uswatch/th/relationship/politics/

ด้านเศรษฐกิจ

ไทยและสหรัฐฯ มีสนธิสัญญาไมตรีและการพาณิชย์ตั้งแต่ปี 2376 นับถึงปัจจุบันมีทั้งสิ้น 5 ฉบับ ฉบับปัจจุบันได้ลงนามเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2509 มีขอบเขตความร่วมมือครอบคลุมกว้างขวางทางด้านมิตรภาพ การพาณิชย์ และการเดินเรือ โดยมีการกำหนดให้คนชาติและนิติบุคคลของแต่ละประเทศได้รับการประติบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment) โดยครอบคลุมธุรกิจบริการทั้งหมด ยกเว้นธุรกิจ 6 ประเภท ได้แก่ การสื่อสาร การขนส่ง การดูแลทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น การธนาคารที่เกี่ยวข้องกับการรับฝากเงิน การค้าภายในที่เกี่ยวกับผลิตผลทางการเกษตรพื้นเมือง และการแสวงหาผลประโยชน์จากที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ไทยและสหรัฐฯ ได้ลงนามกรอบความตกลงด้านการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Framework Agreement : TIFA) เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2545 ในระหว่างการประชุมเอเปคที่ประเทศเม็กซิโก และได้มี การจัดตั้ง Joint Council (JC) เพื่อติดตามการดำเนินงานของความตกลง TIFA โดยผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (US Trade Representative - USTR) เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายสหรัฐฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทย ที่ผ่านมามีการประชุม TIFA JC รวม 3 ครั้ง ได้แก่ 1) การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2546 ที่กรุงเทพฯ โดยมีนางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทย และนาย Ralph Ives ผู้ช่วยผู้แทนการค้าสหรัฐฯ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนสหรัฐฯ 2) ระดับรัฐมนตรี เมื่อ 3 มิถุนายน 2546 ณ จังหวัดขอนแก่น โดยฝ่ายไทยมีนายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นหัวหน้าคณะ และนาย Robert B. Zoellick ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายสหรัฐฯ 3) การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส เมื่อวันที่ 15-16 มกราคม 2556 ที่กรุงวอชิงตัน โดยมีนางพีรมล เจริญเผ่า อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทย และนาง Barbara Weissel ผู้ช่วยผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนสหรัฐฯ

ไทยและสหรัฐฯ ได้เริ่มการเจรจาความตกลงการค้าเสรีในปี 2547 แต่ได้ระงับไปตั้งแต่ปี 2549 เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมือง ขณะนี้ สหรัฐฯ มีท่าทีที่จะให้ความสำคัญกับการเข้าร่วมความตกลงแบบพหุภาคี เช่น ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจข้ามแปซิฟิก (Trans-Pacific Agreement : TPP) มากกว่า ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2555 นายกรัฐมนตรีได้แจ้งต่อประธานาธิบดีโอบามาว่า ไทยมีความสนใจในการเข้าร่วมการเจรจา TPP โดยจะเริ่มกระบวนการตามกฎหมายภายในประเทศก่อน และให้การประชุม Trade and Investment Framework Agreement (TIFA) Council ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ในวันที่ 15-16 มกราคม 2556 เป็นช่องทางหารือเรื่องการเสริมสร้างศักยภาพในการค้า การลงทุน และการอำนวยความสะดวกในการค้า ตลอดจนเตรียมความพร้อมของไทยสำหรับการเข้าร่วมเจรจา TPP ซึ่งต่อมา ในการประชุม TIFA Council ดังกล่าว ฝ่ายสหรัฐฯ ได้จัดให้ผู้ที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการเจรจา TPP ของสหรัฐฯ มาพบและให้ข้อมูลเกี่ยวกับ TPP แก่คณะผู้แทนไทย

ในปี 2556 (มกราคม – กันยายน) การค้ารวมไทยกับสหรัฐฯ มีมูลค่า 857,727.4 ล้านบาท โดยไทยส่งออกมูลค่า 513,397.1 ล้านบาท นำเข้า 344,330.3ล้านบาท ได้ดุลการค้ากับสหรัฐฯ 169,066.8 ล้านบาท และสหรัฐฯ เป็นคู่ค้าอันดับที่ 3 (ที่เป็นรายประเทศ) ของไทย และจากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สหรัฐฯ ยังคงเป็นผู้ลงทุนในประเทศไทยมากเป็นอันดับ 3 รองจากญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักร โดยมูลค่าเงินลงทุนโดยตรงจากสหรัฐฯ สุทธิมีมูลค่ารวม 32,014.3 ล้านบาท (ระหว่าง มกราคม – กันยายน 2556)

3.2.6.แนวนโยบายของไทยต่อสหรัฐฯ

•ไทยต้องการแสวงหาช่องทางใหม่ๆ ในการส่งเสริม/ผลักดันการส่งออกกับคู่ค้าหลักและตลาดสำคัญในภูมิภาค เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันการค้าให้แก่ภาคเอกชนไทย โดยเน้นเรื่องคุณภาพและมาตรฐาน รวมทั้งภาพลักษณ์ (CSR, safety, environment) การเข้าถึงแหล่งกระจายสินค้า supermarket chain และการพัฒนาด้านโลจิสติกส์

•ไทยยังคงต้องการสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน โดยเฉพาะในเรื่องเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ รวมทั้งพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค เพื่อเพิ่มความน่าสนใจและศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางทางการค้า การลงทุน การคมนาคมในภูมิภาค

•ส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจบริการในสหรัฐฯ โดยเฉพาะในด้านร้านอาหารไทย ธุรกิจสุขภาพ/สปา และส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมเชิงวัฒนธรรม เพื่อสร้างทัศนคติและความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศไทย อันจะมีส่วนช่วยสนับสนุนผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ ทั้งในด้านการท่องเที่ยวและอาหารไทย

•การสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ และการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่างๆ แสวงหา niche knowledge เพื่อช่วยพัฒนาและเสริมสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สหรัฐฯ ได้ออกกฏหมายคว่ำบาตรพม่า Tom Lantos Block Burmese JADE (Junta's Anti-Democratic Efforts) Act of 2008 ซึ่งมีเนื้อหาห้ามนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่ใช้หยกและทับทิมจากพม่าเป็นส่วนประกอบ ส่งผลให้มีการปลดคนงานถึงประมาณ 60,000 ตำแหน่ง อีกทั้ง เป็นที่ชัดเจนว่ากฏหมายดังกล่าวยังอำนวยประโยชน์ต่อรัฐบาลพม่าและอุตสาหกรรมอัญมณีของจีนอีกด้วย ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้มีการหารือกับฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติสหรัฐฯ อย่างสม่ำเสมอ กฏหมายคว่ำบาตรพม่าดังกล่าว ได้กำหนดให้ Government Accountability Office (GAO) ทำการประเมินผล ซึ่งภายหลังจากที่ GAO ได้เดินทางเยือนไทยและกรุงย่างกุ้งเมื่อเดือน พ.ค.2552 ซึ่งต่อมา ในเดือน ก.ย. 2552 GAO ได้นำเสนอรายงานผลการศึกษา พบว่ายังไม่มีหลักฐานบ่งชัดได้ว่ามาตรการห้ามการนำเข้าหยก ทับทิม และอัญมณีที่มีแหล่งกำเนิดมาจากพม่าจะสามารถจำกัดการนำเข้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง GAO ได้เสนอให้ DHS และ กต.สหรัฐฯ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดให้มีมาตรฐานในการตรวจสอบแหล่งกำเนิดหยก ทับทิมและอัญมณี และศึกษาสิ่งท้าทายต่อการดำเนินการมาตรการคว่ำบาตร เพื่อนำเสนอต่อรัฐสภาสหรัฐฯ ต่อไป

การจัดทำ FTA ซึ่งไทยและสหรัฐฯ ได้ยุติการเจรจาลงตั้งแต่ปี 2549 นั้น ขณะนี้ ยังไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ จากทั้งสองฝ่าย โดยในส่วนของไทยนั้น รัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ได้กำหนดให้การจัดทำสนธิสัญญาใดๆ ที่ส่งผลกระทบต่อประเทศ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา รวมทั้งจะต้องมีการจัดทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความเห็นก่อน ในขณะที่สหรัฐฯ ก็ยังไม่สามารถระบุแนวทางที่ชัดเจนได้ เพราะรัฐสภาสหรัฐฯ ยังไม่ต่ออายุ Trade Promotion Authority เพื่อให้อำนาจในการเจรจาแก่ฝ่ายบริหาร ทั้งนี้ ดูเหมือนว่า สหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามข้อตกลงการค้าเสรีที่สหรัฐฯ มีกับประเทศต่างๆ อยู่แล้ว มากกว่าการเปิดเจรจาความตกลงกับประเทศใหม่ รวมทั้งยังมี FTA ที่การเจรจาเสร็จสิ้นไปแล้วกับเกาหลีใต้ ปานามา และโคลอมเบีย ยังรอการได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา การเข้าร่วมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Strategic Economic Partnership-TPP) ซึ่งเป็นกรอบความตกลงการค้าเสรี มีผลบังคับใช้เมื่อปี 2549 มีสมาชิกประกอบด้วยนิวซีแลนด์ สิงคโปร์ ชิลี และบรูไน ต่อมาในเดือน ก.ย.2551 สหรัฐฯ (สมัย ปธน.บุช) ออสเตรเลีย เวียดนามและเปรูได้ประกาศเข้าร่วมเพิ่มเติม โดยสหรัฐฯ เห็นว่า TPP เป็นความตกลงที่มีมาตรฐานสูง และครอบคลุมในหลายประเด็นทั้งการเข้าถึงตลาด การกีดกันการค้าที่ไม่ใช่ภาษี การค้าสินค้า การค้าบริการ ทรัพย์สินทางปัญญา นโนบายการแข่งขัน การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ การลงทุนและการบริหารทางการเงิน อย่างไรก็ตาม ในช่วงของ ปธน.บุช สหรัฐฯ ยังไม่ได้ดำเนินการเข้า TPP อย่างชัดเจน ต่อมา ในช่วงการเยือนเอเชียและการเข้าร่วมประชุม APEC ในเดือน พ.ย. 2552 ประธานาธิบดีโอบามาได้ประกาศว่าจะเข้าร่วม TPP อย่างเป็นทางการ และต่อมาในเดือน ธ.ค.2552 สำนักผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ได้แสดงความจำนงค์อย่างเป็นทางการในการเข้าร่วม TPP ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกได้จัดการเจรจา TPP เพื่อจัดทำข้อตกลงฉบับใหม่แล้ว 2 ครั้ง คือ ในเดือน มี.ค. 2553 ณ ออสเตรเลีย และในเดือน มิ.ย.2553 ณ สหรัฐฯ ครั้งที่ 3 จะมีขึ้นในเดือน ต.ค. 2553 ณ บรูไน

สหรัฐฯ ให้สิทธิพิเศษตามระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (Generalized System of Preferences: GSP) โดยพิจารณาจาก GNP per capita การเปิดตลาดสินค้าและบริการ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การคุ้มครองสิทธิแรงงานของประเทศต่างๆ โดยจะยุติการให้สิทธิแก่สินค้าของประเทศเหล่านั้น เมื่อพบว่า มีความสามารถในการแข่งขันที่สูงมากพอแล้ว ซึ่งจะพิจารณาจากมูลค่าการส่งออกที่เกินระดับเพดาน หรือมีส่วนแบ่งในตลาดสหรัฐฯ เกินกว่าร้อยละ 50 หรือไม่ ทั้งนี้ ในวันที่ 22 ธ.ค. 2552 วุฒิสภาสหรัฐฯ ได้เห็นชอบในการต่ออายุกฏหมาย GSP ออกไปอีกเป็นเวลา 1 ปีจนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2553 ทั้งนี้ ผลการทบทวน GSP เมื่อเดือน มิ.ย. 2553 ไทยได้รับการผ่อนผันไม่ให้ระงับสิทธิ GSP สินค้า 10 รายการ ซึ่งรวมถึงเครื่องประดับเงินที่มีมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯ เกินเพดาน CNL (Competitive Need Limitations) แต่ไม่ได้รับคืนสิทธิ GSP ที่เคยถูกตัดสิทธิไปแล้ว 7 รายการ และถูกตัดสิทธิเพิ่มอีก 2 รายการ คือ ยางเรเดียลรถยนต์และกุ้งปรุงแต่ง อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ มีนโยบายจะปฏิรูประบบการให้สิทธิ GSP เพื่อให้เอื้อประโยชน์เป็นกลไกที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศกำลังพัฒนาอย่างแท้จริง ซึ่งไทยสนใจที่จะมีส่วนร่วมในการให้ความเห็นต่อสาระของกฏหมาย GSP ฉบับใหม่นี้ด้วย

อ้างอิงโดยhttp://uswatch.mfa.go.th/uswatch/th/relationship/economy/

ด้านสังคมและวัฒนธรรม

ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับไทยด้านสังคมและวัฒนธรรมมีลักษณะพิเศษ ปัจจุบันมีชาวไทยอาศัยอยู่ในสหรัฐฯ รวมกว่า 3 แสนคน ซึ่งอาศัยกระจายอยู่ตามมลรัฐต่างๆ โดยเมืองที่มีชาวไทยอาศัยอยู่มากที่สุด ได้แก่ นครลอสแอนเจลิส นครซานฟรานซิสโก กรุงวอชิงตัน นครซีแอตเติล นครนิวยอร์ก นครชิคาโก ไทยและสหรัฐฯ มีความร่วมมือทางสังคม การศึกษา และวัฒนธรรมที่ดำเนินการสืบเนื่องมาเป็นเวลานาน โดยมีทั้งโครงการที่ขับเคลื่อนโดยภาครัฐและภาคเอกชน ตัวอย่างความร่วมมือที่สำคัญ เช่น มูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2489 นอกจากนี้ ยังมีโครงการส่งอาสาสมัครสันติภาพ (Peace Corps) ของสหรัฐฯ เข้ามาในไทยทุกปี เริ่มตั้งแต่ ปี 2505 เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระดับประชาชน รวมทั้งพัฒนาการศึกษาและคุณภาพชีวิตของประชาชน ในเขตชนบทด้วย โดยในปี 2555 จะครบรอบ 50 ปี การดำเนินงานของ Peace Corps ในประเทศไทย

ในส่วนของไทย ได้สนับสนุนการจัดตั้งโครงการไทยศึกษา (Thai Studies) ในมหาวิทยาลัยสหรัฐฯ ชั้นนำของสหรัฐฯ เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ ไทย – สหรัฐฯ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับประเทศไทย และยังได้สนับสนุนการจัดตั้งโครงการสหรัฐอเมริกาศึกษา ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อปี 2551 ด้วย

นอกจากนี้ นับตั้งแต่ปี 2549 ไทยได้ส่งเสริมให้มีการจัดตั้ง Thai Club/Society ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ของสหรัฐฯ เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับประเทศไทยในหมู่นักศึกษาสหรัฐฯ และมุ่งพัฒนาเครือข่ายความสัมพันธ์ในระดับประชาชนต่อประชาชน ระหว่างเยาวชนของทั้งสองประเทศ ขณะนี้ สามารถตั้ง Thai Club ในมหาวิทยาลัยของสหรัฐฯ สำเร็จแล้ว 7 แห่ง ปัจจุบัน มีนักเรียน/นักศึกษาไทยในสหรัฐฯ ประมาณ 9,000 คน (ตัวเลขล่าสุดปี 2551) เป็นประเทศที่ส่งนักเรียนนักศึกษาไปยังสหรัฐฯ มากเป็นลำดับที่ 10

อ้างอิงโดยhttp://uswatch.mfa.go.th/uswatch/th/relationship/social/detail.php?ID=353

http://uswatch.mfa.go.th/uswatch/th/relationship/social/

ด้านการทหาร

ความร่วมมือทางทหารเป็นกรอบความร่วมมือที่สำคัญ โดยผ่านโครงการ IMET และ FMS นอกจากนี้ยังมีการฝึกซ้อมทางทหาร Cobra Gold ซึ่งเป็นการฝึกร่วมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย และขยายเป็นการฝึกแบบพหุภาคีที่มีประเทศในภูมิภาคเข้าร่วมและสังเกตการณ์จำนวนมาก กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เคยแจ้งความประสงค์ของสหรัฐฯ ต่อสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ในเรื่องการพัฒนาไทยให้เป็นที่ตั้งของศูนย์ปฏิบัติการบรรเทาภัยพิบัติและมนุษยธรรมระดับภูมิภาค เนื่องจากไทยมีความพร้อมในเชิงภูมิศาสตร์และโครงสร้างพื้นฐาน เช่น มีท่าอากาศยานอู่ตะเภาที่มีความพร้อม มีขนาดใหญ่ และตั้งอยู่ในจุดที่สะดวกต่อการเป็นศูนย์กลาง พลโท Wallace Gregson, Assistant Secretary of Defense, Asian and Pacific Security Affairs เสนอต่อ ปลัด กต. ให้ร่วมกันจัดตั้ง Disaster Survey Team เป็น stand-by unit ผสมระหว่างทหารและพลเรือนเพื่อเข้าไปประเมินพื้นที่ภัยพิบัติ เสนอแนะวิธีการช่วยเหลือทีเหมาะสม

อ้างอิงโดย http://uswatch.mfa.go.th/uswatch/th/relationship/tactics/

3.3. ยุโรป

3.3.1.ความสัมพันธ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ

ความตกลงระหว่างอาเซียนและประชาคมยุโรป พ.ศ. 2523 เป็นกรอบกฎหมายสำหรับความสัมพันธ์กับประเทศไทย ส่วนในระดับทวิภาคีนั้นได้มีการเจรจาอย่างไม่เป็นทางการอย่างต่อเนื่องผ่านการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสประชาคมยุโรป-ไืทย ซึ่งนำโดยคณะกรรมาธิการจากฝั่งประชาคมยุโรป การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสครั้งแรกจัดขึ้นในวันที่ 6 มีนาคม 2535 และการประชุมครั้งล่าสุด (ครั้งที่ 10) จัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2553 ณ กรุงบรัสเซลส์ เนื่องจากความความตกลงระหว่างอาเซียนและประชาคมยุโรป พ.ศ. 2523 นั้นล้าสมัยและไม่สอดคล้องกับพื้นฐานความสัมพันธ์ ยุทธศาสตร์สำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปีพ.ศ. 2546 ของคณะกรรมาธิการยุโรป (2003 Commission Strategy for Southeast Asia) จึงเสนอความความตกลงแบบทวิภาคีแก่ประเทศในภูมิภาคที่สนใจ ความตกลงทวิภาคีเช่นนี้จะส่งเสริมความสัมพันธ์ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของนโยบายสมัยใหม่ด้วยกรอบเชิงสถาบันที่เหมาะสมและเอื้อให้เกิดการเจรจาเชิงนโยบายในประเด็นที่กว้างมากขึ้น

ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2547 คณะมนตรียุโรปจึงได้อนุมัติระเบียบการเจรจาความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือ (Partnership and Co-operation Agreement) แบบทวิภาคีกับบางประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังไม่มีความตกลงทวิภาคีกับประชาคมยุโรป ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศดังกล่าว และได้มีการประกาศเจตนารมณ์เพื่อเริ่มต้นการเจรจากับประเทศไทย ระหว่างนายโปรดี ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปและอดีตนายกรัฐมันตรี ทักษิณ ชินวัตร ในการประชุมระดับผู้นำอาเซม (ASEM Summit) เมื่อเดือนตุลาคม 2547 ณ กรุงฮานอย การริเริ่มเช่นนี้ย้ำให้เห็นถึงความตั้งใจของสหภาพยุโรปในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในระดับทวิภาคีและพันธกรณีในการกระชับความสัมพันธ์กับประเทศไทย ทั้งนี้ทั้งสองฝ่ายยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการเจรจา

การค้าระหว่างสหภาพยุโรปและประเทศไทยมีมูลค่ามหาศาลถึงประมาณ 2.7 หมื่นล้านยูโร (1.15 แสนล้านบาท) ในปี 2553 ทั้งนี้ สหภาพยุโรปเป็นตลาดส่งออกอันดับสองของประเทศไทยรองจากอาเซียน การส่งออกของประเทศไทยไปยังสหภาพยุโรปมีมูลค่ารวม 1.7 หมื่นล้านยูโร (ประมาณ 7.25 แสนล้านบาท) ความเข้มแข็งของภาคการส่งออกของไทยทำให้ไทยได้เปรียบดุลการค้ามหาศาลกับสหภาพยุโรป โดยในช่วงปีพ.ศ. 2550-2553 ไทยได้เปรียบดุลการค้ากับสหภาพยุโรปเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 5.5 พันล้านยูโรต่อปี (ประมาณ 2.2 แสนล้านบาท) มากกว่าครึ่งหนึ่งของสินค้าไทยที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรปได้รับสิทธิพิเศษทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นทั้งจากการปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most Favoured Nation - MFN) และการยกเว้นภาษีทั้งหมดหรือเสียภาษีเพียงบางส่วนภายใต้ระบบการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไปหรือจีเอสพี (Generalized Scheme of Preferences - GSP) ทั้งนี้ ในบรรดาประเทศคู่ค้าของสหภาพยุโรป ประเทศไทยเป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์จากจีเอสพีเป็นอันดับสองรองจากอินเดีย

อ้างอิงโดย http://eeas.europa.eu/delegations/thailand/eu_thailand/chronology/index_th.htm

การค้า

การค้าระหว่างสหภาพยุโรปและประเทศไทยมีมูลค่ามหาศาลถึงประมาณ 2.7 หมื่นล้านยูโร (1.15 แสนล้านบาท) ในปี 2553 ทั้งนี้ สหภาพยุโรปเป็นตลาดส่งออกอันดับสองของประเทศไทยรองจากอาเซียน การส่งออกของประเทศไทยไปยังสหภาพยุโรปมีมูลค่ารวม 1.7 หมื่นล้านยูโร (ประมาณ 7.25 แสนล้านบาท) ความเข้มแข็งของภาคการส่งออกของไทยทำให้ไทยได้เปรียบดุลการค้ามหาศาลกับสหภาพยุโรป โดยในช่วงปีพ.ศ. 2550-2553 ไทยได้เปรียบดุลการค้ากับสหภาพยุโรปเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 5.5 พันล้านยูโรต่อปี (ประมาณ 2.2 แสนล้านบาท) มากกว่าครึ่งหนึ่งของสินค้าไทยที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรปได้รับสิทธิพิเศษทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นทั้งจากการปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most Favoured Nation - MFN) และการยกเว้นภาษีทั้งหมดหรือเสียภาษีเพียงบางส่วนภายใต้ระบบการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไปหรือจีเอสพี เป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์จากจีเอสพีเป็นอันดับสองรองจากอินเดีย

อ้างอิงโดยhttp://eeas.europa.eu/delegations/thailand/eu_thailand/trade_relation/index_th.htm


ความร่วมมือทางวิชาการและการเงิน

ความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรปและประเทศไทยเริ่มต้นในช่วงปีพ.ศ. 2513-2523 โดยระยะแรกเน้นไปที่การช่วยเหลือรัฐบาลไทยเพื่อสนับสนุนการปลูกพืชแบบผสมผสานและการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร จากนั้น สหภาพยุโรปได้เริ่มพัฒนาและเปลี่ยนทิศทางมาสู่การให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจโดยสอดคล้องกับการเติบโตอย่างรวดเร็วของประเทศไทย ปัจจุบันสหภาพยุโรปไม่ได้เห็นว่าตัวเองอยู่ในฐานะผู้บริจาคสำหรับความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอีกต่อไป หากแต่มีบทบาทในการเอื้ออำนวยการแบ่งปันองค์ความรู้และเป็นภาคีเพื่อการหารือทางการเมืองในประเด็นการพัฒนาที่สำคัญ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือบนพื้นฐาน ความช่วยเหลือทางวิชาการ ที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาของประเทศไทยและผลประโยชน์ร่วมของทั้งสองฝ่าย ปัจจุบันเราดูแลโครงการความร่วมมือในประเทศไทย ซึ่งครอบคลุมประเด็นสิ่งแวดล้อม สุขภาพ การอุดมศึกษา เทคโนโลยี และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ในช่วงปีพ.ศ. 2550–2556 ความเป็นหุ้นส่วนแบบใหม่ที่สร้างสรรค์ ระหว่างประเทศไทยและสหภาพยุโรปได้ให้ความสำคัญกับประเด็นเหล่านี้ รวมทั้งการพัฒนาขีดความสามารถเพื่อสนับสนุนวาระการพัฒนาแห่งชาติของประเทศไทยในการต่อสู้กับอาชญากรรมข้ามชาติและการก่อการร้าย รวมทั้งส่งเสริมธรรมาภิบาลและสิทธิมนุษยชน

อ้างอิงโดยhttp://eeas.europa.eu/delegations/thailand/eu_thailand/tech_financial_cooperation/index_th.htm

การหารือกับภาคประชาสังคม

การหารือกับภาคประชาสังคมเป็นส่วนสำคัญของความสัมพันธ์สหภาพยุโรป-ไทย โดยมีการปรึกษาหารือในรูปแบบต่างๆ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานภาคประชาสังคม อย่างเช่น องค์กรพัฒนาเอกชน สื่อมวลชน นักวิชาการ และองค์กรในระดับรากหญ้า เพื่อนำมาใช้ประกอบการการตัดสินใจเกี่ยวกับทิศทางความสัมพันธ์สหภาพยุโรป-ไทย คณะผู้แทนสหภาพยุโรปจะหารือกับองค์กรภาคประชาสังคมในระหว่างการจัดทำยุทธศาสตร์ประเทศ และการปรับปรุงแก้ไข รวมทั้งก่อนเริ่มดำเนินโครงการความร่วมมือ นอกจากนั้น ยังเชิญหน่วยงานภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดเตรียมแนวทางสำหรับการจัดทำข้อเสนอโครงการพัฒนาต่างๆ

คณะผู้แทนฯยังส่งเสริมการหารือกับภาคประชาสังคม โดยนอกเหนือจากเงินช่วยเหลือที่มาจากโครงการในด้านต่างๆ และโครงการระดับภูมิภาคแล้ว ยังมีโครงการส่งเสริมความร่วมมือไทย-สหภาพยุโรป หรือ Thailand-EU Co-operation Facility ซึ่งมีงบประมาณถึง 8 ล้านยูโร

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการส่งเสริมความร่วมมือไทย-สหภาพยุโรป หรือ Thailand-EU Co-operation Facility ตลอดจนโครงการอื่นๆที่ส่งเสริมการหารือกับภาคประชาสังคม สามารถดูได้จากเอกสารต่างๆ ที่ปรากฏในหน้านี้

อ้างอิงโดยhttp://eeas.europa.eu/delegations/thailand/eu_thailand/civil_society_dialogue/index_th.htm


นโยบายต่างประเทศของไทย[แก้ไข]

นโยบายต่างประเทศของประเทศไทย

กล่าวโดยภาพรวม ประเทศไทย มีประสบการณ์มากกว่าประเทศเพื่อนบ้านอื่นใด ในการปรับตัวทางการเมืองต่อโลกภายนอก เมื่อคนไทยอพยพจากภาคใต้ของจีนในคริสต์ศตวรรษที่ 9 เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในดินแดนที่ในอดีตเรียกว่าสยามนั้น คนไทยได้เอาชนะอาณาจักรเขมรที่ยิ่งใหญ่และเกรียงไกรมากในภูมิภาคนี้ได้ และในที่สุดก็ได้รวมชนเผ่าไทยตามเมืองต่างๆสถาปนาเป็นประเทศไทยได้สำเร็จอย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน ในการดำเนินความสัมพันธ์ต่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้านนั้น ผู้นำไทยชอบที่จะใช้วิธีการทางทหารมากกว่าวิธีการทางการทูต จึงปรากฏในประวัติศาสตร์ว่าประเทศไทยต้องพ่ายแพ้ต่อประเทศเพื่อนบ้านหลายต่อหลายครั้ง แต่ทุกครั้งก็สามารถกอบกู้เอกราชและอธิปไตยคืนมาในภายหลังได้ พอถึงยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก บรรดาประเทศเพื่อนบ้านของประเทศไทยต่างตกเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติ แต่ประเทศไทยสามารถยืนหยัดดำรงเอกราชของชาติและดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศต่างๆในฐานะเป็นประเทศเอกราชและมีอธิปไตยอยู่ได้อย่างต่อเนื่อง หลักนิยม 2 อย่างในยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของประเทศไทย ในการดำเนินกิจการระหว่างประเทศนั้น ผู้นำไทยได้พัฒนายุทธศาสตร์และยุทธวิธีอันเป็นของตนเองโดยเฉพาะ การดำรงเอกราชของชาติและบูรณภาพแห่งดินแดนของราชอาณาจักร เป็นเป้าหมายอันดับแรกของนโยบายความมั่นคงของประเทศไทย ในการดำรงเอกราชของชาตินั้นผู้นำไทยพยายามจะมีอิสรภาพทางการเมืองให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และในขณะเดียวกันก็พยายามที่จะลดอิทธิพลของมหาอำนาจต่างชาติในประเทศไทยให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

ในการใช้ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีดังกล่าว ผู้นำไทยได้ใช้หลักนิยมพื้นฐาน 2 อย่างในการดำรงเอกราชและอธิปไตยของชาติ หลักนิยมอย่างแรก ได้แก่ หากมีมหาอำนาจโดดเด่นอยู่เพียงมหาอำนาจเดียวในภูมิภาคนี้ ผู้นำไทยจะใช้วิธีโอนอ่อนผ่อนตามมหาอำนาจนั้น เพราะคนไทยมีความเชื่อว่าไม่มีประโยชน์อะไรที่จะพายเรือทวนกระแสน้ำที่เชี่ยวกราก และว่า ไม่ควรแข็งทื่อต้านแรงลม เพราะต้นไม้ที่ลู่ลมย่อมไม่หักโค่นเพราะลมแรง อย่างนี้เป็นต้น ความเชื่อของคนไทยนี้ได้ถูกนำมาใช้ในการดำเนินกิจการต่างประเทศของประเทศไทย ผู้นำไทยจะใช้การทูตลู่ตามลมเช่นนี้เมื่อเห็นว่ามีความจำเป็นเพื่อความอยู่รอดของราชอาณาจักไทย ยกตัวอย่างเช่น ผู้นำไทยได้อ้างถึงความชอบธรรมในการที่ประเทศไทยประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษและในขณะเดียวกันก็ได้ให้ความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่นในระหว่างสงครามแปซิฟิกว่า เราคนไทยโอนอ่อนเหมือนต้นไผ่แต่เราไม่หักโค่น หลักนิยมอย่างที่ 2 ที่นำมาใช้เพื่อดำรงเอกราชและอธิปไตยของชาตินั้น ได้แก่ หากในภูมิภาคนี้มีสองมหาอำนาจหรือมากกว่า ผู้นำไทยจะพยายามกระจายการติดต่อทางการเมืองและการทูตให้มีลักษณะหลากหลาย นโยบายสร้างดุลภาพและดึงมหาอำนาจหนึ่งมาคานกับอีกมหาอำนาจหนี่งในความสัมพันธ์กับต่างประเทศเช่นนี้ได้ถูกนำมาใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการพึ่งพาประเทศใดประเทศหนึ่งหรือกลุ่มประเทศใดกลุ่มประเทศหนึ่งเป็นการเฉพาะ เพราะฉะนั้น ยุทธิวิธีอันเป็นหลักนิยมอย่างแรกคือการลู่ตามลมและการไม่พายเรือทวนกระแสน้ำที่เชี่ยวกราก ก็จะถูกแทนที่โดยยุทธวิธีการนำมหาอำนาจหนึ่งมาคานและดุลอีกมหาอำนาจหนึ่ง รากเหง้าของแบบแผนทางการทูตเช่นนี้ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อจะดึงมหาอำนาจมาช่วยปกป้องผลประโยชน์ของประเทศไทยนี้ เป็นสิ่งที่ได้มาจากหลักปฏิบัติในการเมืองภายในของประเทศไทย กล่าวคือ โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่-ผู้น้อยของการเมืองภายในของประเทศไทยได้ถูกนำมาใช้กับความสัมพันธ์แบบผู้ใหญ่-ผู้น้อยในกิจการระหว่างประเทศด้วย

อ้างอิงโดย http://thailandsforeignpolicy.blogspot.com/

4.1. นโยบายต่างประเทศของไทยแบ่งตามยุค

4.1.1. ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1

ไทยเป็นรัฐหนึ่งของสังคมโลก ที่มีความเป็นมาคล้ายคลึงกับรัฐอื่น คือ เริ่มจากสังคมขนาดย่อม ในลักษณะแบบครอบครัวหรือแบบเผ่าชน ต่อมาเจริญขึ้น รู้จักการเพาะปลูก การค้าขาย และรู้จักนำ โลหะมาทำเครื่องมือเครื่องใช้ จึงเริ่มตั้งเป็นเมือง และขยายเป็นรัฐหรืออาณาจักร ก่อนสมัยสุโขทัย ลักษณะการดำรงอยู่ของรัฐต่าง ๆ ในแว่นแคว้นสยามเป็นสังคมอันเนื่องมาจากการประสมประสานทางวัฒนธรรมของชนเผ่าต่าง ๆที่อยู่รวมกันแต่มีอำนาจทางการเมืองเป็นอิสระ ความสัมพันธ์ของคนในสังคม จึงเป็นการเคลื่อนไหวเปิดเส้นทางติดต่อกันระหว่างรัฐภายในภูมิภาคกับหัวเมืองใกล้ทะเลที่มีเส้นทางการคมนาคมติดต่อกันได้ทั้งทางบกและทางเรือ

นโยบายด้านการต่างประเทศของไทย


ในคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 เมื่อศึกษาดูการขยายตัวของยุโรปแล้วจะเห็นว่ายังไม่มีผลต่อประเทศไทยเพราะสมัยนั้นความสนใจของยุโรป คือ ตลาดสินค้าที่มีราคาสูง เช่น เครื่องเทศในหมู่เกาะอินโดนีเซีย ผ้าไหมหรือสินค้าฟุ่มเฟือยจากจีน แร่ทองและเงินจากอเมริกาใต้ สมัยสุโขทัยจึงได้ติดต่อกับประเทศต่าง ๆ เฉพาะในเอเชีย เช่น จีน ลังกา เปอร์เซีย อินเดีย การสร้างความสัมพันธ์ในต่างประเทศ มีเพียง 2 รูปแบบคือ การค้าขายและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยก็ยังอยู่ในภูมิภาค ที่ชาวยุโรปอยากเข้ามาครอบงำทางเศรษฐกิจเพื่อจะให้การค้าของตนเอเชียเจริญขึ้น จนสามารถผูกขาดการค้าสินค้าราคาสูงต่าง ๆ ได้ สมัยอยุธยา ประเทศยุโรป จึงได้เริ่มเข้ามาติดต่อกับไทย พระมหากษัตริย์ไทยทรงสนับสนุนการค้ากับต่างชาติ เพื่อเพิ่มรายได้ของรัฐ และหวังจะได้รับประโยชน์ทางด้านเทคโนโลยีจากยุโรป จึงอนุญาตให้ชาวยุโรปเข้ามาค้าขายได้แต่ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับตะวันตกไม่ราบรื่น เพราะฮอลันดาได้ข่มขู่ประเทศไทยให้ลงนามในสนธิสัญญา ค.ศ. 1664 ยอมให้ฮอลันดามีสิทธิผูกขาด การค้าหนังสัตว์ ยอมให้ฮอลันดามีสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและห้ามใช้ลูกเรือชาวจีนทำงานในเรือสินค้าไทยทั้งนี้เพื่อจุดประสงค์มิให้เรือสำเภาของไทยไปค้าขายกับญี่ปุ่นสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงสนพระทัยที่จะติดต่อกับฝรั่งเศส เพราะอยากให้ฝรั่งเศสเข้ามาค้าขายมาก ๆแต่ด้วยความเข้าใจผิดของฝรั่งเศสที่คิดว่าไทยต้องการพึ่งพาฝรั่งเศสเพื่อถ่วงดุลอำนาจฮอลันดา ฝรั่งเศสจึงส่งกองทหารจำนวนหนึ่งเข้ามาในเมืองไทย พระเพทราชาจึงได้วางแผนกำจัดจึงเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองขึ้นในค.ศ. 1688 เมื่อพระนารายณ์สวรรคต พระเพทราชาขึ้นครองราชย์ ความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตกจึงสิ้นสุดลง

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อการแข่งขันเชิงการค้า เพื่อครอบครองดินแดนต่าง ๆไว้เป็นอาณานิคมระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศสรุนแรงขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และได้แผ่มาจนถึงบริเวณที่ใกล้เคียงกับประเทศไทย พระมหากษัตริย์ไทยทรงตระหนักถึงภัยลัทธิจักรวรรดินิยม รัชกาลที่ 4 จึงยอมลงนามในสนธิสัญญาเบาริงกับอังกฤษ ในค.ศ. 1855 สนธิสัญญาดังกล่าวจึงทำให้ไทยต้องเสียเปรียบด้านการค้า การศาล และภาษีอากร สมัยรัชการที่ 5 ต้องเสียดินแดนให้ฝรั่งเศสและอังกฤษหลายครั้งและพร้อมกับการดำเนินวิเทโศบายผ่อนปรนต่อชาติมหาอำนาจ ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา ประเทศไทยก็ได้เร่งดำเนินการปรับปรุงบ้านเมืองอย่างเร่งรีบและมีระบบมากขึ้น ส่วนทางด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ พระองค์ได้เสด็จไปสร้างสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆเช่น รัสเซีย เพื่อจะบรรเทาแรงขับจากอิทธิพลของประเทศอาณานิคมซึ่งอยู่ใกล้ตัว การหันไปหาพลังอำนาจชาติอื่นเพื่อมาลดอิทธิพลของบางชาตินับเป็นวิเทโศบายอันชาญฉลาดที่ทำให้ไทยดำรงความเป็นเอกราชอยู่ได้

4.1.2. หลังสงครามโลกครั้งที่ 1- ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 แนวนโยบายต่างประเทศของประเทศไทยได้เกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อประเทศญี่ปุ่นก้าวขึ้นสู่ฐานะของมหาอำนาจเอเชีย ผู้นำไทยให้การยอมรับโดยพฤตินัยว่าประเทศญี่ปุ่นเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของเอเชีย ส่วนประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศสถูกมองว่าเป็นมหาอำนาจอันดับสอง ผู้นำไทยได้ใช้ปัจจัยของการเปลี่ยนแปลงทางดุลอำนาจของมหาอำนาจนี้ทำการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศของประเทศไทยที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน เพราะก่อนหน้านี้นโยบายต่างประเทศเดิมของประเทศไทยถูกสร้างและดำเนินมาโดยอาศัยสมมติฐานว่าประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศสเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของเอเชีย เมื่อปัจจัยทางดุลอำนาจของมหาอำนาจเปลี่ยนแปลงไป นโยบายต่างประเทศของไทยก็ต้องเปลี่ยนแปลงตามไปเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงฐานะของประเทศญี่ปุ่นด้วย

การปรับแต่งนโยบายต่างประเทศของประเทศไทยในทิศทางข้างต้นได้เริ่มบังเกิดขึ้นในระหว่างกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ถึง ค.ศ. ๑๙๓๓ ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวในการเมืองระดับโลกและในระดับภูมิภาคประเทศอังกฤษกลายเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งส่วนประเทศฝรั่งเศสเป็นมหาอำนาจอันดับสอง ประเทศไทยซึ่งสามารถดำรงเอกราชของชาติไว้ได้เพราะความสามารถในการสร้างดุลอำนาจระหว่างมหาอำนาจทั้งสองนี้ ก็ได้เปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศเพื่อให้เป็นไปในทิศทางของประเทศมหาอำนาจอันดับหนึ่งคือประเทศอังกฤษ โดยทางรัฐบาลไทยได้ส่งนักเรียนไทยไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ระบบการศึกษาของประเทศไทยเป็นแบบเดียวกับของประเทศอังกฤษ การขาดแคลนตำราในภาษาไทยทำให้นักเรียนไทยใช้ตำราภาษาอังกฤษทั้งในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัย ภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษาที่สองที่ผู้มีการศึกษานำมาใช้ นอกจากนั้นแล้วนโยบายทางการคลังและผลประโยชน์ทางการค้าของประเทศไทยก็ยังเอนเอียงไปทางประเทศอังกฤษ

ก่อน ค.ศ. ๑๙๔๐รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในตอนแรกก็ได้ดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบดุลอำนาจระหว่างประเทศเพื่อนบ้านคือประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศสที่เป็นมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน แต่พอหลังเดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๙๔๐ ได้เปลี่ยนแปลงมาดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบดุลอำนาจระหว่างประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส และประเทศญี่ปุ่น โดยมีประเทศญี่ปุ่นถูกนำเข้ามาเป็นประเทศที่สาม การลงนามในสนธิสัญญา ๓ ฉบับเมื่อปีวันที่ ๑๒ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๔๐ อาจจะนำมาอ้างอิงถึงการเปลี่ยนแปลงในนโยบายต่างประเทศของประเทศไทยนี้ได้ แต่เพื่อให้การดำเนินนโยบายเรียกร้องดินแดนในอินโดจีนคืนของประเทศไทยบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้นำไทยในรัฐบาลจอมพล ป. ได้ตกลงใจว่าในบรรดา ๓ ชาติมหาอำนาจดังกล่าว การมีความเข้าใจอันดีกับประเทศญี่ปุ่นจะเกิดผลประโยชน์แก่ประเทศไทยมากที่สุด ด้วยเหตุนี้ทางผู้นำไทยจึงยอมรับข้อเรียกร้องทุกอย่างของญี่ปุ่นก่อนที่จะได้ลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพไทย-ญี่ปุ่น ในวันเดียวกันประเทศไทยก็ได้ลงนามในสัญญาไม่รุกรานกัน(Non-aggression Pact) กับทั้งอังกฤษและฝรั่งเศส ยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของผู้นำไทยภายใต้การนำของจอมพล ป. พิบูลสงคราม

ในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยต่ออินโดจีนในช่วงเวลาระหว่างปี ค.ศ. ๑๙๓๘ ถึงปี ค.ศ.๑๙๔๔ ผู้นำในรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีแนวความคิดเรื่องผลประโยชน์ทางการเมืองและผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในอินจีนเช่นเดียวกับของผู้นำไทยในรุ่นก่อนหน้า ยิ่งไปกว่านั้นในการมีความสัมพันธ์กับประเทศที่อยู่ในภูมิภาคและประเทศที่อยู่ภายนอกภูมิภาครัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงครามก็ได้สืบสานแนวปฏิบัติดั้งเดิมของไทยในเรื่องการดุลอำนาจ ซึ่งในแง่ของนโยบายต่างประเทศก็หมายถึงการป้องกันมิให้ประเทศหนึ่งประเทศใดที่เข้ามาแข่งขันแสวงหาอำนาจในภูมิภาคนี้มีอำนาจครอบงำประเทศไทยโดยใช้วิธีการสร้างดุลอำนาจ ยุทธวิธีดุลอำนาจนี้ก็ยังหมายถึงการพยายามดึงประเทศหนึ่งมาคานและดุลอำนาจของอีกประเทศหนึ่งเพื่อเป้าหมายสำคัญคือการดำรงเอกราชและอธิปไตยของประเทศไทยและในขณะเดียวกันก็สามารถปกป้องผลประโยชน์ทางด้านยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในอินโดจีนไปพร้อมๆกันด้วย


ความสำเร็จของไทยในการเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส

ที่ประเทศไทยประสบความสำเร็จในนโยบายต่างประเทศในอินโดจีนครั้งนี้ส่วนใหญ่ก็เนื่องมาจากความพยายามของรัฐบาลจอมพลป.พิบูลสงครามที่ได้ดึงเอาประเทศญี่ปุ่นให้มาสนับสนุนนโยบายเรียกร้องดินแดนคืนนั่นเอง ดังนั้นนโยบายต่างประเทศของไทยที่เคยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศสสองเจ้าอาณานิคมเพื่อนบ้านก็ได้เปลี่ยนแปลงโดยนำเอาประเทศที่สามคือญี่ปุ่นมาใช้ในยุทธวิธีคานและดุลอำนาจด้วย จากการศึกษาได้พบว่าผู้นำไทยของรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงครามได้ดำเนินการใช้มหาอำนาจทั้งสามคานและดุลกันอย่างชาญฉลาดเป็นอย่างยิ่ง รัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงครามสามารถแสวงหาผลประโยชน์ในอินโดจีนจากการเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจในภูมิภาคโดยประเทศที่สูญเสียผลประโยชน์ให้ประเทศไทยมากที่สุดคือประเทศฝรั่งเศส

ผลดีของการดำเนินยุทธศาสตร์และยุทธวิธีดุลอำนาจ

เมื่อมีการลงนามในสนธิสัญญาไม่รุกรานกัน(Non-aggression Pact) กับประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ค.ศ.๑๙๔๐ และสนธิสัญญามิตรภาพ(Treaty of Friendship) ในวันเดียวกันกับประเทศญี่ปุ่น รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามสามารถสร้างดุลอำนาจระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศสได้สำเร็จ แต่ในขณะเดียวกันรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงครามก็ฉกฉวยโอกาสในช่วงที่ประเทศฝรั่งเศสอ่อนแอแสวงหาประโยชน์เรียกร้องดินแดนที่เคยสูญเสียในอินโดจีนคืนจากประเทศ ในการเจรจาสนธิสัญญาการไม่รุกรานกันกับประเทศฝรั่งเศสนั้น รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามได้หาประโยชน์จากท่าทีมิตรภาพของประเทศอังกฤษโดยนำมาใช้เป็นเครื่องมือบีบประเทศฝรั่งเศสให้ยินยอมผ่อนปรนตามข้อเรียกร้องของประเทศไทยอีกทอดหนึ่ง รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามได้ใช้กลยุทธ์ดึงศัตรูสองประเทศมาคานและดุลอำนาจกัน ความสำเร็จของกลยุทธ์นี้มีความเป็นไปได้อย่างสูงก็เนื่องจากญี่ปุ่นในขณะนั้นกำลังดำเนินนโยบายรุกรานดินแดนทางด้านใต้ของประเทศจีน สอดประสานกับการเกิดขบวนการชาตินิยมและขบวนการเรียกร้องดินแดนคืน และขบวนการสร้างความยิ่งใหญ่ของประเทศไทยขึ้นในหมู่ของคนไทย ปัจจัยทั้งที่เป็นภายในและที่เป็นภายนอกเหล่านี้ ล้วนประกอบกันเป็นพลังสามารถเป็นสิ่งท้าทายสถานะทางการเมืองของทั้งประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศสในเอเชียให้สั่นคลอนได้ ก็จึงทำให้มหาอำนาจทั้งสองต้องยินยอมผ่อนปรนให้เป็นไปตามความต้องการของประเทศไทย

เบื้องแรกแค่ขอปรับดินแดนในแม่น้ำโขง

ในเบื้องแรก ประเทศไทยได้ความยินยอมจากประเทศฝรั่งเศสโดยมีข้อตกลงให้มีการปรับพรมแดนตามลำน้ำโขง โดยข้อตกลงนี้ปรากฏอยู่ในจดหมายลับที่แลกเปลี่ยนกันระหว่างเจ้าหน้าที่ไทยกับเจ้าหน้าฝรั่งเศสเมื่อมีการลงนามในสนธิสัญญาไม่รุกรานกันในวันที่ ๑๒ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๔๐ สาระสำคัญของจดหมายลับดังกล่าวมีข้อความยืนยันว่าฝรั่งเศสยินยอมที่จะปรับปรุงพรมแดนตามแม่น้ำโขงให้เป็นตามแนวร่องน้ำลึก(talweg)และให้การรับรองว่าดินแดนที่อยู่ทางตะวันตกของร่องน้ำลึก หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ บรรดาเกาะแก่งใดๆที่อยู่ใกล้ฝั่งของประเทศไทยก็ให้เป็นของประเทศไทยเพื่อความสะดวกในการบริหารแต่ทั้งนี้ประเทศไทยยังให้การรับรองว่าบรรดาเกาะใหญ่ๆทั้งหมดยังเป็นส่วนหนึ่งของอินโดจีนฝรั่งเศสอยู่ต่อไป

สถานการณ์เปลี่ยนและข้อเรียกร้องเปลี่ยนตาม

แต่พอฝรั่งเศสพ่ายแพ้สงครามในยุโรปในเดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๙๔๐ สถานการณ์การเรียกร้องดินแดนคืนในอินโดจีนเกิดการเปลี่ยนแปลงในทันที ผู้นำไทยของรัฐบาลจอมพล ป. ต้องการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศส โดยผู้นำไทยประกาศว่ายังไม่พอใจกับสิ่งที่ประเทศไทยจะพึงได้จากข้อตกลงในสนธิสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศส ข้อตกลงตลอดจนจดหมายลับที่ให้ไว้ต่อกันในวันลงนามในสนธิสัญญาให้คำมั่นที่จะให้ดินแดนแก่ประเทศไทยน้อยเกินไปสุดที่ขบวนการเรียกร้องดินแดนคืนจะยอมรับได้ ผู้นำไทยอ้างเหตุที่ญี่ปุ่นเคลื่อนทัพเข้ามาอยู่ในภาคเหนือของอินโดจีนเป็นข้ออ้างเพื่อขยายข้อเรียกร้องของฝ่ายประเทศไทย กล่าวคือทางรัฐบาลจอมพล ป. ต้องการประเทศกัมพูชาและประเทศลาวทั้งประเทศอันรวมถึงดินแดนส่วนต่างๆของดินแดนที่ฝรั่งเศสได้ไปจากประเทศไทยระหว่างปี ค.ศ. ๑๘๖๗ ถึง ค.ศ. ๑๙๐๗ ความต้องการของผู้นำไทยที่ต้องผนวกประเทศกัมพูชาและประเทศลาวนี้ก็เพราะถูกกระตุ้นจากความกลัวว่าประเทศไทยจะเกิดความขัดแย้งกับประเทศเวียดนามอีกครั้งหนึ่ง หรือเกิดจากความต้องการที่จะมิให้ประเทศเวียดนามหรือประเทศญี่ปุ่นเข้าครอบครองประเทศลาวและประเทศกัมพูชาอันจะนำไปสู่การคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศไทย ทัศนะของผู้นำในรัฐบาลจอมพล ป. สะท้อนให้เห็นการคำนึงถึงผลประโยชน์ทางด้านยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในอินโนจีนที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องยาวนานและถูกกระตุ้นจากประสบการณ์ที่ประเทศไทยเคยมีมาในอดีตทั้งกับประเทศเวียดนามและประเทศฝรั่งเศสในช่วงก่อนหน้านี้

ก่อนสงครามไม่ประกาศระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศส ความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ของผู้นำไทยที่จะดำเนินนโยบายเรียกร้องดินแดนคืนให้บรรลุผลจงได้นี้ได้นำไปสู่วิกฤตการณ์ตามพรมแดนอินโดจีนฝรั่งเศสและประเทศไทยและนำไปสู่สงครามระหว่างกันในช่วงเวลาสั้นๆอันส่งผลให้ประเทศไทยได้ดินแดนในลาวและกัมพูชาซึ่งประเทศไทยได้สูญเสียแก่ประเทศฝรั่งเศสในปี ค.ศ. ๑๙๐๔ และปี ค.ศ. ๑๙๐๗ จากเหตุการณ์ครั้งนี้แสดงให้เห็นเป็นครั้งแรกนับแต่ยุคล่าอาณานิยมของชาวตะวันตกว่าผู้นำไทยได้ใช้ทั้งการทูตและกำลังทหารเป็นเครื่องมือเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของนโยบายต่างประเทศ โดยในช่วงแรกรัฐบาลไทยภายใต้การนำของจอมพล ป.ได้ทำการเจรจากับประเทศฝรั่งเศสโดยตรง ครั้นประสบความล้มเหลวไม่สามารถชักนำให้ประเทศฝรั่งเศสยินยอมตามข้อเรียกร้องของฝ่ายไทยได้ รัฐบาลไทยก็ได้ใช้การทูตในเชิงรุกโดยการทูตเชิงรุกนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อดึงมหาอำนาจอื่นๆให้มาสนใจในข้อเรียกร้องของประเทศไทย มหาอำนาจเหล่านี้ได้แก่ ประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น ประเทศเยอรมนี และประเทศอิตาลี รัฐบาลไทยได้รับการตอบรับเชิงเห็นอกเห็นใจจากประเทศญี่ปุ่น ประเทศเยอรมนี และประเทศอิตาลีซึ่งฝ่ายประเทศไทยได้ใช้คานและดุลกับท่าทีที่ไม่เป็นมิตรและไม่เห็นด้วยของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษ ทั้งนี้ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษต้องการให้ดำรงสถานภาพเดิม(status quo)เอาไว้ในอินโดจีน กระนั้นก็ดีขณะที่สหรัฐอเมริกายืนหยัดในหลักการสถานภาพเดิมอย่างแข็งขัน แต่ประเทศอังกฤษกลับมีท่าทียืดหยุ่นในหลักการสถานภาพเดิม

การทูตเชิงรุกของประเทศไทย

ท่ามกลางสภาพแวดล้อมภายนอกที่อยู่ในลักษณะคานและดุลอำนาจดังกล่าว ผู้นำไทยในรัฐบาลของจอมพล ป. จึงได้โอกาสใช้กลยุทธ์ดึงมหาอำนาจหนึ่งมาคานและดุลอีกมหาอำนาจหนึ่งเพื่อผลประโยชน์ของประเทศไทย กลยุทธ์นี้ได้ถูกนำมาใช้อย่างเต็มรูปแบบเมื่อตอนที่รัฐบาลจอมพล ป. พิปูลสงครามส่งคณะผู้แทนของประเทศไทยที่เรียกว่าคณะทูตสันถวไมตรี (Special Goodwill Missions) ไปยังมหาอำนาจต่างๆที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการทูตของประเทศไทยในครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือคณะผู้แทนทูตสันถวไมตรี (Special Goodwill Mission) ที่เดินทางไปยังกรุงฮานอย และกรุงโตเกียว ที่นำคณะโดย พันเอก หลวงพรหมโยธี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมและผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ได้ปฏิบัติการการทูตเชิงรุกในครั้งนี้ แต่ผู้แทนคณะนี้ไม่ประสบความสำเร็จในการชักนำให้ประเทศฝรั่งเศสยอมรับข้อเสนอของประเทศไทยว่าประเทศไทยจะร่วมมือกับประเทศฝรั่งเศสต่อต้านการรุกรานของประเทศญี่ปุ่นในอินโดจีนเพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่ประเทศฝรั่งเศสจะยกดินแดนที่อยู่ทางหลวงพระบางและปากเซแก่ประเทศไทย เมื่อคณะทูตสันถวไมตรีคณะนี้เดินทางไปถึงกรุงโตเกียวในเดือนกันยายน ค.ศ. ๑๙๔๐ ได้สร้างความวิตกกังวลให้แก่รัฐบาลของประเทศอังกฤษเป็นอย่างมากเพราะเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างงประเทศอังกฤษมีความหวั่นเกรงว่าทางคณะผู้แทนไทยคณะนี้จะเจรจายินยอมรับข้อเรียกร้องทางการทหารของประเทศญี่ปุ่นที่ต้องการตั้งฐานทัพอากาศและฐานทัพเรือในดินแดนของประเทศไทย ทางประเทศอังกฤษจึงได้แสดงท่าทีออกมาว่ามีความเห็นชอบที่ทางประเทศไทยจะขอดินแดนที่อยู่ทางหลวงพระบางและปากเซจากประเทศฝรั่งเศส แม้ว่าประเทศไทยจะสามารถใช้ชั้นเชิงทางการทูตจนสามารถได้ความเห็นใจจากประเทศอังกฤษ แต่ประเทศไทยก็ไม่สามารถได้ดินแดนเหล่านี้โดยการเจรจาโดยตรงกับประเทศฝรั่งเศสได้ ทั้งประเทศอังกฤษก็ไม่สามารถช่วยประเทศไทยให้ได้ดินแดนเหล่านี้ได้ ในขณะเดียวกันนั้นทางประเทศไทยก็ยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงทัศนะที่แข็งขันและไม่ยืดหยุ่นของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ต้องการคงสถานภาพเดิมในอินโดจีนได้สำเร็จ ความเชื่อมโยงระหว่างการเมืองภายในกับนโยบายต่างประเทศ

เมื่อการทูตเชิงรุกของรัฐบาลของจอมพล ป. แสดงที ท่าว่าจะไม่ประสบความสำเร็จในนโยบายเรียกร้องดินแดนคืนจากประเทศฝรั่งเศสเช่นนี้เสียแล้ว ทางกองทัพบกและกองทัพเรือของไทยก็ได้แสดงออกถึงความไม่พอใจกับการดำเนินนโยบายต่างประเทศของจอมพล ป. และได้มีสิ่งบอกเหตุปรากฏออกมาว่าทางกองทัพบกและกองทัพเรือจะบีบบังคับให้จอมพล ป.ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งหากจอมพล ป.ต้องถูกบีบให้ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจริง ผู้ที่กองทัพบกและกองทัพเรือจะเลือกให้เข้ามารับตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีแทนจอมพล ป. ก็คือ พลเรือโท สินธุ์ สงครามชัย ผู้บัญชาการทหารเรือ หรือไม่ก็พระยาพหลพลพยุหเสนา อดีตนายกรัฐมนตรี ด้วยสถานการณ์บีบบังคับทางการเมืองภายในดังกล่าว จอมพล ป. ซึ่งต้องการอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป ก็ได้ตัดสินใจที่จะร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้น จอมพล ป. จึงได้ให้คำมั่นสัญญาด้วยวาจากับผู้ช่วยทูตทหารญี่ปุ่นประจำประเทศไทยเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๔๐ ว่าทางประเทศไทยจะไม่ดำเนินนโยบายเป็นกลาง(neutrality)แต่จะยอมให้ญี่ปุ่นใช้ดินแดนของประเทศไทยเพื่อเป็นทางผ่านไปโจมตีแหลมมลายูและพม่า ทั้งนี้ทางประเทศไทยขอให้ญี่ปุ่นช่วยเหลือสนับสนุนให้ประเทศไทยได้ดินแดนในอินโดจีนคืนจากฝรั่งเศส แต่เพื่อให้เกิดการคานและดุลอำนาจกับข้อตกลงทางวาจาที่ให้ไว้กับประเทศญี่ปุ่นดังกล่าว จอมพล ป. ได้พยายามที่จะใช้ประเทศอังกฤษเป็นมหาอำนาจคานและดุลประเทศญี่ปุ่น จากหลักฐานปรากฏว่า ในอีกหนึ่งสัปดาห์ต่อมา จอมพล ป. ได้ส่งพันเอก หลวงขาบกุญชร เป็นผู้แทนลับไปยังสิงคโปร์เพื่อแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ทางทหารของอังกฤษที่นั่นว่า ประเทศไทยจะทำการต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นหากประเทศญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศไทยไปโจมตีมลายาและพม่า

การใช้กำลังทหารผสานกับการทูต

เมื่อเชื่อว่าสามารถสร้างดุลอำนาจในชั้นนี้ได้สำเร็จแล้ว จอมพล ป. ซึ่งได้รับแรงหนุนจากการโฆษณาชวนเชื่อที่มีประสิทธิภาพภายในประเทศเรียบร้อยแล้ว ก็ได้ใช้กำลังทหารเป็นเครื่องมือของนโยบายเรียกร้องดินแดนคืนจากประเทศฝรั่งเศส ดังนั้นเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๔๐ สงครามไม่ประกาศ(undeclared war)ระหว่างประเทศไทยและอินโดจีนฝรั่งเศสก็ได้ระเบิดขึ้น ประเทศฝรั่งเศสเสียเปรียบในสงครามครั้งนี้เพราะไม่สามารถเสริมกำลังพลจากดินแดนส่วนอื่นของฝรั่งเศสมาได้ทัน ก่อนที่ประเทศญี่ปุ่นจะเข้าแทรกแซงทางการทูตเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ค.ศ. ๑๙๔๑ กองบัญชาการทหารสูงสุดไทยประกาศว่า กองทัพไทยสามารถยึดพื้นที่หลวงพระบางด้านประเทศลาวที่ประเทศไทยเคยสูญเสียแก่ฝรั่งเศสได้ทั้งหมดและพื้นที่ในกัมพูชาจากพรมแดนประเทศไทยลึกเข้าไปในกัมพูชาถึง ๔๐ กิโลเมตร เสื่อมวลชนไทยต่างประโคมข่าวรายงานว่า ดินแดนประเทศลาวและประเทศกัมพูชาทั้งประเทศจะถูกทหารไทยยึดได้ทั้งหมดหากประเทศญี่ปุ่นไม่มาแทรกแซงการรบในครั้งนี้เสียก่อน

อนุสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศส

ตามข้อตกลงใน อนุสัญญาสันติภาพระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศส(Franco-Thai Peace Convention) ฉบับวันที่ ๙ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๔๑ ประเทศไทยได้เพียงดินแดนส่วนหนึ่งในประเทศลาวและประเทศกัมพูชาน้อยกว่าที่ประเทศไทยเรียกร้องมาก และก็น้อยกว่าที่กองทัพไทยสามารถยึดได้เสียอีก ดินแดนที่ได้คืนมานั้นเป็นแค่ส่วนเสี้ยวของดินแดนที่ประเทศไทยเคยสูญเสียแก่ประเทศฝรั่งเศสในปี ค.ศ. ๑๙๐๔ และปี ค.ศ. ๑๙๐๗ ยิ่งไปกว่านั้นทางประเทศไทยยังตกลงที่จะจัดตั้งเขตปลอดทหารและจ่ายเงินชดเชยความเสียหายแก่ประเทศฝรั่งเศสเสียอีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงมีความรู้สึกไม่ดีเกิดขึ้นในหมู่ของผู้นำไทยว่าประเทศญี่ปุ่นเป็นศัตรูยิ่งกว่าจะเป็นมิตรของไทย ความรู้สึกนี้เกิดจากที่ผู้นำไทยไม่พอใจในบทบาทของประเทศญี่ปุ่นในฐานะเข้ามาเป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ยและต่อมาได้เริ่มเข้ามามีอิทธิพลเหนือประเทศไทยทั้งทางด้านการเมืองและทางด้านเศรษฐกิจ ผู้นำไทยพยายามดึงสหภาพโซเวียตมาสนใจประเทศไทย

จากการที่ผู้นำไทยในรัฐบาลจอมพล ป.ไม่พอใจบทบาทของญี่ปุ่นในช่วงไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทและการไม่ไว้ใจประเทศญี่ปุ่นที่เข้ามามีอิทธิพลบีบบังคับประเทศไทยในหลายด้านหลังสงครามอินโดจีนนี่เอง ได้นำไปสู่การรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยกับประเทศสหภาพโซเวียต ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างกันได้ถูกตัดขาดหลังจากฝ่ายคอมมิวนิสต์ทำการโค่นล้มพระเจ้าซาร์แห่งราชวงศ์โรมานอฟและประเทศสหภาพโซเวียตมีการปกครองตามระบอบคอมมิวนิสต์ ที่ผู้นำไทยริเริ่มทางการทูตครั้งนี้ก็เพราะมีความตั้งใจจะใช้ประเทศสหภาพโซเวียต(ร่วมกับประเทศอังกฤษ) เพื่อถ่วงดุลอำนาจของประเทศญี่ปุ่นในเอเชีย จากหลักฐานปรากฏว่า ขณะที่พันเอก ประยูร ภมรมนตรี หัวหน้าคณะทูตสันถวไมตรีที่ส่งไปเยือนประเทศต่างๆในยุโรปอยู่ในกรุงเบอร์ลินประเทศเยอรมี ก็ได้รับคำสั่งจากจอมพล ป. ให้รีบเดินทางไปที่กรุงมอสโกเพื่อเจรจาทำสนธิสัญญากับประเทศสหภาพโซเวียต ผลของการเจรจาในครั้งนี้ทำให้มีการประกาศการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางด้านการทูตและการค้าระหว่างประเทศไทยและประเทศสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๑๙๔๑ ซึ่งเป็นช่วงแค่หนึ่งวันหลังจากมีการลงนามข้อตกลงทางพรมแดนด้านอินโดจีนระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศสที่กรุงโตเกียว

4.1.3. ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2

ที่จะนำเสนอต่อไปนี้เป็นเรื่องของนโยบายต่างประเทศ ของประเทศไทยในช่วงสงครามแปซิฟิก(ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ) ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวอินโดจีนได้เปลี่ยนสถานะ จากที่เคยเป็นดินแดนแห่งการแสวงหาโอกาสทองของประเทศไทย กลับกลายมาเป็นดินแดนแห่งภัยคุกคามต่อเอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศไทยโยตรง ทั้งนี้เพราะประเทศญี่ปุ่นได้ดำเนินนโยบายบุกลงทางใต้(ของประเทศจีน และของอินโดจีนฝรั่งเศส) ส่งกองทัพญี่ปุ่นอันมีแสนยานุภาพอันเกรียงไกรมาประชิดพรมแดนไทยด้านอินโดจีน และในที่สุดก็ได้บุกประเทศไทย(พร้อมๆกับโจมตีเพิร์ล ฮาเบอร์ของสหรัฐอเมริกาในเวลาเดียวกัน) เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ค.ศ.๑๙๔๑ เพื่อเดินทัพต่อไปยังแหลมมลายูและพม่าอาณานิคมของประเทศอังกฤษ

ช่วงที่เอาใจเพื่อขอบคุณประเทศญี่ปุ่น

ในช่วงหลังการสิ้นสุดการขัดแย้งระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศสระหว่างเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๙๔๑ นโยบายต่างประเทศของประเทศไทยถูกกำหนดโดยความต้องการของผู้นำไทยภายใต้การบริหารของรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงครามที่จะแสดงความขอบคุณต่อประเทศญี่ปุ่นซึ่งเข้ามามีบทบาทเป็นผู้ไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทดินแดนอินโดจีนระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศสดังที่ผู้เขียนได้นำเสนอไปแล้ว เป้าหมายของนโยบายต่างประเทศของประเทศไทยในห้วงเวลาสั้นๆนี้มีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับผลประโยชน์ทางการเมืองของประเทศไทยในอินโดจีนฝรั่งเศส แม้ว่าผู้นำไทยจะไม่พอใจในบทบาทผู้ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศสของประเทศญี่ปุ่น แต่ผู้นำไทยก็ได้แสดงท่าทีของการตอบแทนบุญคุณประเทศญี่ปุ่นด้วยการส่งออกข้าว ดีบุกและยางพาราไปให้ แต่นโยบายโอนอ่อนและเอาใจประเทศญี่ปุ่นนี้ก็ได้ถูกระงับเมื่อการส่งมอบดินแดนในอินโดจีนที่ประเทศไทยได้จากประเทศฝรั่งเศสได้ดำเนินการเสร็จสิ้นอย่างสมบูรณ์ในปลายเดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๔๑

เริ่มถูกกดดันจากประเทศญี่ปุ่น

ในช่วงเวลาระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงปลายปี ค.ศ. ๑๙๔๑ การทูตและการต่างประเทศของประเทศไทยมีความละเอียดอ่อนเป็นอย่างยิ่ง ในช่วงเดือนกรกฎาคมภาพลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่นในประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงจากเดิมที่ผู้นำไทยเห็นว่าประเทศญี่ปุ่นเป็นมิตรผู้ใจบุญมีความเอื้ออารีได้กลับกลายเป็นศัตรูผู้เตรียมพร้อมที่จะตักตวงผลประโยชน์จากประเทศไทย ผู้นำของประเทศญี่ปุ่นได้พยายามบีบประเทศไทยให้เข้าร่วมในกลุ่มสกุลเงินเยน(Yen Block) และเขตไพบูลย์ร่วมกัน(The Co-Prosperity Sphere) ของประเทศญี่ปุ่น ความพยายามทางการทูตของประเทศญี่ปุ่นได้สร้างความหวาดหวั่นให้แก่ผู้นำไทยในรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นอย่างมาก เพราะเหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นพร้อมกับการถูกบีบบังคับทางด้านการทหารจากการที่ประเทศญี่ปุ่นได้เคลื่อนทัพซึ่งก่อนหน้าอยู่ทางอินโดจีนฝรั่งเศสตอนเหนือได้เคลื่อนลงทางใต้เข้ามายึดครองอินโดจีนทางด้านประเทศกัมพูชาติดกับพรมแดนของประเทศไทย

ดำเนินโยบายความเป็นกลางอย่างเคร่งครัด

ผู้นำของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวของประเทศญี่ปุ่นในอินโดจีนฝรั่งเศสด้วยจิตใจจดจ่อ พร้อมกับเกิดความวิตกกังวลอย่างใหญ่หลวง เพราะในห้วงเวลานี้อินโดจีนได้เปลี่ยนแปลงสถานะจากดินแดนที่เคยอำนวยโอกาสทองให้แก่ประเทศไทยแต่มาบัดนี้ได้กลายเป็นดินแดนเป็นที่มาของภัยคุกคามต่ออำนาจอธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศไทยไปเสียแล้ว ในท่ามกลางสภาพแวดล้อมภายนอกประเทศที่วิกฤตเป็นอย่างยิ่งนี้ การที่ประเทศไทยจะดำเนินนโยบายเป็นกล่างอย่างเคร่งครัด(Absolute Neutrality) ตามที่ได้ประกาศไว้ในช่วงก่อนหน้านี้โดยลำพังเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้โดยสิ้นเชิง แต่ที่ประเทศไทยประกาศอย่างแข็งขันว่าจะดำเนินการปกป้องนโยบายเป็นกลางอย่างเคร่งครัดนั้นก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชักนำทั้งประเทศอังกฤษและประเทศสหรัฐอเมริกาให้มาช่วยเหลือประเทศไทยในการต่อต้านการบุกของประเทศญี่ปุ่น แต่นโยบายชักนำของฝ่ายประเทศไทยมีแนวโน้มว่าจะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ เพราะว่าประเทศสหรัฐอเมริกาได้จัดประเทศไทยอยู่ในกลุ่มเดียวกับประเทศจีน กล่าวคือ การช่วยเหลือทางทหารที่สหรัฐอเมริกาจะให้แก่ประเทศไทยนั้นจะดำเนินการหลังจากประเทศญี่ปุ่นบุกประเทศไทยแล้วเท่านั้น

ทางด้านประเทศอังกฤษนั้น เมื่อผู้นำในรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงครามติดต่อไปก็ได้รับคำตอบกลับมาว่า ประเทศอังกฤษสามารถช่วยได้เฉพาะในเรื่องน้ำมันเท่านั้น ประเทศอังกฤษไม่สามารถให้ค่ำมันสัญญาใดๆแก่ประเทศไทยซึ่งจะส่งผลให้ประเทศอังกฤษต้องทำสงครามกับประเทศญี่ปุ่นได้ เว้นเสียแต่ว่าประเทศอังกฤษได้รับการสนับสนุนทางการทหารจากประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างเต็มที่เท่านั้น ความล้มเหลวของนโยบายเป็นกลาง

เมื่อผู้นำในรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงครามประสบความล้มเหลวในการดำเนินนโยบายทางการทูตเพื่อที่จะชักนำให้ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินนโยบายเป็นกลางอย่างเคร่งครัดเช่นนี้แล้ว ก็เกิดความผิดหวังกับท่าทีที่ไม่เอื้อประโยชน์แก่ประเทศไทยของฝ่ายประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจอมพล ป. พิบูลสงครามได้แสดงออกถึงความผิดหวังออกมาโดยทางเอกสารทางการทูตที่ติดต่อไปยังเจ้าหน้าที่ทางการทูตของประเทศอังกฤษในทำนองว่า ที่ประเทศไทยประกาศว่าจะดำเนินนโยบายเป็นกลางอย่างเคร่งครัดนั้นก็เพราะหวังว่าจะได้รับความช่วยเหลือทั้งจากประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษ เกิดความรู้สึกว่าประเทศไทยถูกลอยแพและถูกประเทศอังกฤษเอาเปรียบ

นอกจากจะมีความรู้สึกว่าประเทศไทยถูกประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษลอยแพให้เผชิญกับประเทศญี่ปุ่นแต่โดยลำพังแล้ว ผู้นำไทยในรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงครามก็ยังมีความเชื่อด้วยว่าทั้งประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อผลประโยชน์ของตนเองส่วนเดียวโดยไม่ยอมรับรู้ผลประโยชน์ของประเทศไทยเลย ทั้งนี้เพราะประเทศอังกฤษได้แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ทางการทูตของไทยในเวลาต่อมาว่า ประเทศอังกฤษจะช่วยประเทศไทยป้องกันคอคอดกระ(Kra Isthmus) และดินแดนด้านใต้ของคอคอดกระนี้จนถึงคาบสมุทรมลายาของประเทศอังกฤษเท่านั้น ซึ่งเป็นท่าทีที่จอมพล ป.พิบูลสงครามรับทราบแล้วไม่พอใจอย่างยิ่ง เพราะจอมพล ป. พิบูลสงครามต้องการให้ประเทศอังกฤษมาช่วยปกป้องประเทศไทยทั้งประเทศมิใช่แค่ปกป้องดินแดนตั้งแต่ใต้คอคอดกระไปจนถึงคาบสมุทรมลายาเท่านั้น ต้องการหลักประกันความมั่นคงจากอังกฤษและสหรัฐอเมริกา

เมื่อประสบความล้มเหลวทางด้านการทูตในการขอความช่วยเหลือทางด้านการทหารจากทั้งประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษแล้ว ผู้นำไทยในรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงครามก็ยังไม่ละความพยายามและได้ดำเนินการทางการทูตติดต่อกับอัครราชทูตของประเทศอังกฤษและอัครราชทูตของประเทศสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๑ เพื่อขอให้รัฐบาลของประเทศอังกฤษและรัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกาประกาศอย่างทันทีทันใดว่า “การรุกรานประเทศไทยโดยประเทศญี่ปุ่นถือว่าเป็นสงครามกับประเทศอังกฤษและประเทศสหรัฐอเมริกา”

ผู้นำไทยในรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้รับคำตอบจากอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยว่า คำประกาศเช่นนั้นรัฐบาลของสหรัฐอเมริกาไม่สามารถกระทำได้ เพราะจะเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ทางฝ่ายอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทยก็ได้ให้คำตอบแก่ผู้นำไทยว่า “เราไม่อาจให้คำมั่นสัญญายิ่งไปกว่าที่เราพร้อมที่จะปฏิบัติได้ หากเราทำการประกาศฝ่ายเดียวอย่างที่ดิเรก(นายดิเรก ชัยนาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ) ต้องการ สิ่งที่เราสามารถทำได้มากที่สุดที่จะช่วยเหลือประเทศไทย ก็คือ ป้องกันจังหวัดต่างๆทางตอนใต้ของประเทศไทยเท่านั้น” คำตอบที่อัครราชทูตของประเทศอังกฤษและอัครราชทูตของสหรัฐอเมริกาให้แก่ผู้นำไทยดังกล่าวข้างต้นเป็นคำตอบที่อัครราชทูตทั้งสองให้โดยที่ยังไม่ได้ปรึกษาขอความเห็นชอบไปทางกระทรวงการต่างประเทศของประเทศตนๆ เพราะจากหลักฐานปรากฏว่ากระทรวงการต่างประเทศของทั้งประเทศอังกฤษและประเทศสหรัฐอเมริกากำลังอยู่ในระหว่างปรึกษาหารือกันว่าจะทำประกาศอะไรสักอย่างเพื่อเป็นการปลอบขวัญแก่รัฐบาลของประเทศไทยและคำประกาศที่จะส่งถึงนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยจะมีลักษณะเป็นสาส์นส่วนตัวจากประธานาธิบดี รูสเวลท์ แห่งสหรัฐอเมริกา และจากนายกรัฐมนตรีเชอร์ชิลแห่งประเทศอังกฤษ

สาส์นของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

ในสาส์นของประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา(ลงวันที่ ๖ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๑)มีข้อความว่า “รัฐบาลสหรัฐอเมริกาจะถือว่าเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ หากว่าญี่ปุ่นรุกรานประเทศไทย มลายา พม่า หรือ อีสต์ อินดิส มีความเป็นไปได้ที่ญี่ปุ่นจะรุกรานประเทศของท่านอย่างฉับพลัน หากท่านถูกโจมตี ขอท่านป้องกันตนเองเถิด เราจะมาช่วยเหลือท่านอย่างเต็มความสามารถและจะปกป้องเอกราชของประเทศของท่าน เมื่อสันติภาพมาถึง ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในระหว่างนั้น เว้นเสียแต่ว่าชาวไทยช่วยเหลือชาวญี่ปุ่น ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอังกฤษจะทำงานร่วมกันเพื่อฟื้นฟูความเป็นเอกราชอธิปไตยของประเทศไทยให้กลับคืนมาได้อย่างสมบูรณ์”

สาส์นของนายกรัฐมนตรีของประเทศอังกฤษ

ส่วนในสาส์นของนายกรัฐมนตรีเชอร์ชิลของประเทศอังกฤษ(ลงวันที่ ๗ ธันวาคม ค.ศ. ๑๙๔๑)ที่ส่งถึงนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทยมีข้อความในทำนองเดียวกันว่า “มีความเป็นไปได้ที่ญี่ปุ่นจะรุกรานประเทศของท่านอย่างฉับพลัน หากว่าท่านถูกโจมตี ขอท่านจงป้องกันตนเองเถิด การปกป้องเอกราชและอธิปไตยอย่างสมบูรณ์ของประเทศไทยเป็นผลประโยชน์ของประเทศอังกฤษ และเราจะถือว่าการโจมตีท่านเป็นการโจมตีเรา” หลักประกันความมั่นคงจากประเทศสหรัฐอเมริกาละประเทศอังกฤษมาถึงช้า จากหลักฐานพบว่า สาส์นทั้งของประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกาและของนายกรัฐมนตรีของประเทศอังกฤษได้ยื่นให้แก่จอมพล ป.พิบูลสงครามในวันเดียวกับที่กองทัพประเทศญี่ปุ่นบุกประเทศไทย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสาส์นถูกยื่นให้แก่จอมพล ป. พิบูลสงครามภายหลังจากคณะรัฐมนตรีของประเทศไทยได้ตัดสินใจสั่งให้มีการหยุดยิงและยินยอมให้กองทัพของประเทศญี่ปุ่นเดินทัพผ่านประเทศไทยแล้ว

ดำเนินนโยบายอ้อลู่ลม

ด้วยเหตุนี้ ในห้วงเวลาก่อนที่กองทัพของญี่ปุ่นจะบุกประเทศไทย โดยเฉพาะในวันวิกฤติคือวันที่กองทัพของประเทศญี่ปุ่นบุกเข้าประเทศไทยพร้อมๆกับการโจมตีที่เพิร์ล ฮาเบอร์ ของสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ค.ศ. ค.ศ.๑๙๔๑ ผู้นำไทยในรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงครามมีความเชื่อว่าประเทศอังกฤษและประเทศสหรัฐอเมริกาจะไม่มาช่วยไทยในการปกป้องความเป็นกลางอย่างเคร่งครัดของประเทศไทย จึงได้ตกลงใจยุติการปกป้องนโยบายความเป็นกลางของประเทศไทยและได้หันไปดำเนินนโยบายพึ่งพาประเทศญี่ปุ่นที่เป็นมหาอำนาจครอบงำเพียงหนึ่งเดียวในภูมิภาคนี้ในห้วงเวลานั้น นโยบายที่รัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงครามดำเนินในห้วงเวลาต่อมา ก็คือ นโยบายอ้อลู่ลม(Bend with the wind) ซึ่งนโยบายนี้ตั้งอยู่บนฐานของหลักความเชื่อของคนไทยที่ว่า เมื่อเกิดลมพายุพัดมารุนแรง ต้นไผ่ ต้นอ้อและต้นแขมที่ลู่ไปตามกระแสลมแรงจะไม่หักโค่น ส่วนต้นไม้อื่นๆที่แข็งทื่อต้านกับแรงลมบนจะหักโค่น นโยบายอ้อลู่ลมนี้เคยถูกนำมาปฏิบัติโดยผู้นำไทยในหลายยุคหลายสมัย ดังนั้นในการดำเนินนโยบายนี้ หากว่าแรงกดดันและข้อเรียกร้องภายนอกมีความรุนแรงยากที่จะต้านทานด้วยตนเองและปราศจากการช่วยเหลือจากหมู่มิตรภายนอก ผู้ดำเนินนโยบายต่างประเทศของประเทศไทยไม่มีทางเลี่ยงอย่างอื่นหากแต่จะโอนอ่อนผ่อนตามแรงผลักดันและข้อเรียกร้องจากภายนอกนั้นๆเพื่อความอยู่รอดและเพื่อเอกราชของประเทศไทย

นโยบายอ้อลู่ลมที่ดำเนินโดยรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงครามไม่ใช่นโยบายที่คิดค้นขึ้นมาใหม่หากทว่าเป็นนโยบายที่ผู้นำไทยในสมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และแม้แต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้เคยดำเนินมาแล้ว โดยจะเห็นได้จากที่ผู้นำไทยได้ส่งเครื่องบรรณาการไปให้ประเทศจีนซึ่งเป็นมหาอำนาจครอบงำเพียงหนึ่งเดียวในภูมิภาคนี้ของยุคนั้น เพื่อแลกเปลี่ยนกับการไม่เข้าแทรกแซงในกิจการภายในและกิจการภายนอกของประเทศไทยจากประเทศจีน และนโยบายนี้ก็ยังได้ถูกนำมาใช้เมื่อผู้นำไทยต้องการติดต่อกับมหาอำนาจภายนอกภูมิภาคด้วย เช่น ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงยอมเปิดประเทศไทยในช่วงที่การแสวงหาอาณานิคมของประเทศตะวันตกอยู่ในระยะขั้นสูงสุด โดยทรงยินยอมเปิดประเทศ ยอมให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่ประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศส ตลอดจนยอมยกดินแดนบางส่วนของประเทศไทยให้แก่ประเทศล่าอาณานิยมทั้งสอง เมื่อได้ทรง ตระหนักว่ายุทธวิธีนำสองประเทศมหาอำนาจมาคานและดุลกันไม่ประสบความสำเร็จ

เป้าหมายของนโยบายอ้อลู่ลม

ในการดำเนินยุทธวิธีการเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นอันเป็นส่วนหนึ่งในนโยบายอ้อลู่ลมในช่วงเวลาต่อมาของรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีวัตถุประสงค์สำคัญก็เพื่อธำรงเอกราชของประเทศไทย และเพื่อต้องการดินแดนเพิ่มขึ้นในอินโดจีนฝรั่งเศสและอาณานิคมของประเทศอังกฤษ ยุทธวิธีพันธมิตรนี้สามารถช่วยดำรงเอกราชของประเทศไทยไว้ได้ และช่วยให้ประเทศไทยได้ดินแดนในอาณานิคมของประเทศอังกฤษทั้งในพม่าและในมลายา แต่ไม่สามารถเอื้อประโยชน์ให้ประเทศไทยได้ดินแดนเพิ่มขึ้นในอินโดจีนฝรั่งเศส

เตรียมหันกลับมาดำเนินนโยบายดุลอำนาจ

จากความผิดหวังที่ไม่ได้ดินแดนเพิ่มขึ้นในอินโดจีน จึงเป็นแรงกระตุ้นให้จอมพล ป. พิบูลสงครามหันหลังให้กับประเทศญี่ปุ่นและหันกลับมาใช้นโยบายดุลอำนาจ(Balance of power) อีกครั้งหนึ่งโดยจอมพล ป.พิบูลสงครามได้จัดตั้งองค์การเสรีไทยใต้ดินภายในประเทศเพื่อใช้ต่อต้านประเทศญี่ปุ่น และได้ส่งผู้แทนทางทหารของประเทศไทยที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในรัฐฉานในพม่า(ซึ่งถูกผนวกเข้ามาเป็นของประเทศไทยโดยความยินยอมของประเทศญี่ปุ่นในระหว่างสงคราม)ไปติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตรในประเทศจีน พร้อมกับมีการเตรียมการที่จะย้ายเมืองหลวงจากกรุงเทพฯไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์เพื่อใช้เป็นฐานปฏิบัติการต่อต้านกองทัพของประเทศญี่ปุ่น และในขณะเดียวก็มีโครงการสร้างพุทธมณฑลขึ้นที่จังหวัดสระบุรีเพื่อให้เป็นที่หลบภัยของชาวไทยเมื่อเกิดการปะทะกันระหว่างกองทัพของประเทศไทยกับกองทัพของประเทศญี่ปุ่น แต่ก็รัฐบาลของจอมพล ป.ต้องมาประสบกับปัญหาการเมืองภายใน ถูกลงมติไม่ไว้วางในรัฐสภา และจอมพล ป.พิบูลสงครามต้องลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรีเพื่อเปิดทางให้แก่นายควง อภัยวงศ์จัดตั้งรัฐบาล ที่อยู่ในกำกับของนายปรีดี พนมยงค์ หัวหน้าขบวนการเสรีไทยอีกสายหนึ่ง มาทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินนโยบายต่างประเทศในห้วงเวลาที่เหลือจนสงครามแปซิฟิกยุติลง

อ้างอิงโดย http://thailandsforeignpolicy.blogspot.com/2009/06/blog-post.html 4.1.2-4.1.3

4.1.4. ช่วงสงครามเย็น

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดภาวะสงครามเย็นอันเป็นผลมาจากการแข่งขันด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และกำลังอาวุธ ระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก โลกถูกแบ่งออกเป็น 2 ค่าย คือ ค่ายเสรี และค่ายคอมมิวนิสต์ มหาอำนาจทั้ง 2 ฝ่าย พยายามเข้ามาแทรกแซงการเมืองในภูมิภาคต่าง ๆ จนนำไปสู่วิกฤตการณ์การต่อสู้อันเนื่องมาจากความขัดแย้งเรื่องอุดมการณ์ทางการเมือง และเนื่องจากสหรัฐอเมริกาให้ความช่วยเหลือประเทศไทย จนเปลี่ยนสถานะเป็นผู้ชนะสงคราม ไทยจึงเลือกให้การสนับสนุนสหรัฐอเมริกาในสภาวะสงครามเย็น อันเป็นผลให้สหรัฐอเมริกาเข้ามามีอิทธิพลต่อไทยทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

การเข้าเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศ

ภายหลังจากที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์นำโดย โฮจิมินห์ได้รับชัยชนะในสงครามกอบกู้เอกราชของเวียดนาม ทำให้สงครามเย็นแผ่เข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อสหรัฐอเมริกาขยายบทบาททางทหารเข้ามาด้วยการจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Treaty Organization : SEATO ) โดยมีสมาชิก 8 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ไทย ฟิลิปปินส์ และ ปากีสถาน ต่อมาในช่วงที่สหรัฐอเมริกาเริ่มถอนตัวออกจากสงครามเวียดนาม ในขณะที่จีนยังให้การสนับสนุนคอมมิวนิสต์ในประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทยเกรงว่าจะเกิดช่องว่างอำนาจ จึงร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านก่อตั้งสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือสมาคมอาเซียนขึ้นใน พ.ศ.2510

ปัจจุบันไทยได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก นับว่าเป็นการเสริมสร้างบทบาทและปกป้องผลประโยชน์ของไทยในระดับนานาชาติ

นโยบายอยู่ร่วมกันอย่างสันติกับประเทศอินโดจีน

เมื่อคอมมิวนิสต์ประสบชัยชนะใน เวียดนาม ลาว และกัมพูชา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 ไทยต้องปรับเปลี่ยนนโยบายอยู่ร่วมกันอย่างสันติกับประเทศเพื่อนบ้านอินโดจีน ภายหลังที่เวียดนามรุกรานกัมพูชาโดยสนับสนุนให้ เฮง สัมริน ขึ้นปกครองกัมพูชา และขับไล่เขมรแดงหลบหนีมาอยู่ป่าตามแนวชายแดนไทยกัมพูชา ระยะนี้ไทยปรับตัวโดยร่วมมือกับอาเซียน เพื่อเรียกร้องและกดดันให้เวียดนามถอนทหารออกไปจากกัมพูชา โดยไทยและอาเซียนได้สร้างแนวร่วม กับประเทศมหาอำนาจ เช่น สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และยุโรปตะวันตก เพื่อสกัดกั้นการขยายอำนาจของเวียดนามที่ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต และประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก

นโยบายผูกมิตรกับประเทศตะวันตก ในยุคสงครามเย็นไทยได้ผูกมิตรกับประเทศตะวันตกโดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ นโยบายต่างประเทศของไทยในระยะนี้คือการต่อต้านคอมมิวนิสต์โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ต่อมาเมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างจีนกับรัสเซีย และจีนหันมาปรับความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา ไทยจำเป็นต้องปรับนโยบายโดยงดความใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกา และเรียกร้องให้สหรัฐอเมริกา ถอนฐานทัพจากไทย และหันไปสถาปนาความสัมพันธ์กับจีนและเริ่มให้ความสำคัญกับ สหภาพโซเวียต ขณะเดียวกันมีการสถาปนาความสัมพันธ์กับลาว กัมพูชา และเวียดนาม ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 การเมืองไทยได้ปรับเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ประชาชนและพรรคการเมืองได้เข้ามามีบทบาทในการบริหารประเทศ และได้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศของไทยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ระหว่างประเทศ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญคือ นายกรัฐมนตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2518 โดยหวังจะได้รับผลประโยชน์ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม และขณะเดียวกันความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา ก็เริ่มห่างเหินกันมากขึ้น

นโยบายการทูตเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ

หรือการทูตรอบทิศทาง ในปี พ.ศ. 2528 ประเทศไทยได้ปรับตัวโดยนำการทูตเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจชักชวนให้นักธุรกิจมาลงทุนในประเทศ และประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ชาวต่างประเทศมาท่องเที่ยว และลงทุนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนของญี่ปุ่น ขณะเดียวกันไทยได้เปรียบดุลการค้าจากสหรัฐอเมริกา จึงถูกสหรัฐอเมริกา ใช้มาตรการกีดกันการค้า

นโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า

หรือนโยบายอนุภูมิภาคนิยม (Sub-regionalism) ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต สงครามเย็นยุติลง ไทยหันมาร่วมมือกับประเทศอินโดจีน โดยประกาศนโยบาย “เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า” เพราะเห็นโอกาสที่จะพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ ในรูปของความร่วมมืออนุภูมิภาค หรือความร่วมมือ สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ทางภาคเหนือ มี ไทย พม่า จีน และลาว ต่อมาขยายเป็น ห้าเหลี่ยมเศรษฐกิจมี ไทย พม่า บังคลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา และหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ มี จีน พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ส่วนทางใต้คือความร่วมมือสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ มี ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ในขณะเดียวกัน ไทยพยายามจะใช้โอกาสในการเปิดประตูสู่อินโดจีน โดยมีเป้าหมายหลักคือ อินโดจีน พม่า และอาเซียนในปี พ.ศ. 2535 ไทยได้ผลักดันให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)

4.1.5. ช่วงหลังสงครามเย็น

หลังสงครามเย็นที่สหรัฐขึ้นมาเป็นอภิมหาอำนาจแต่เพียงผู้เดียว ทำให้เกิดความคิดเบื้องต้นว่าโลกน่าจะจัดระเบียบได้ง่ายขึ้น นั่นคือการก้าวสู่ระเบียบของทุนนิยมกันทั้งโลก ดังที่ ฟราสซิส ฟูกูยามา เสนอในหนังสือ “ปลายทางประวัติศาสตร์” (The End of History and the Last Man, 1992) แต่ว่าเหตุการณ์ดูจะกลับเป็นตรงข้าม เกิดภาวะที่แสดงถึงความไร้ระเบียบในที่ต่างๆ ดังที่ ซบิกเนฟ เบรซินสกี้ได้เขียนไว้ในหนังสือชื่อ “พ้นการควบคุม” (Out of Control: Global Turmoil on the Eve of the 21st Century, 1995)

4.1.5.1. เหตุการณ์ที่ควรกล่าวถึงในช่วงหลังสงครามเย็น

ในช่วงหลังสงครามเย็นมีเหตุการณ์ที่สำคัญควรกล่าวถึงได้แก่

1) การล่มสลายของจักรวรรดิสหภาพโซเวียต ซึ่งส่อเค้ามานานตั้งแต่การเคลื่อนไหวใหญ่ของสหภาพแรงงานโซลิดาริตี้ในประเทศโปแลนด์ตั้งแต่ ค.ศ.1985 จนกระทั่งถึงการทลายกำแพงเบอร์ลินใน ค.ศ.1989 อันถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดสงครามเย็น การสิ้นสุดสงครามเย็น ทำให้สหรัฐได้ก้าวมาเป็นอภิมหาอำนาจแต่เพียงผู้เดียว บางคนเรียกว่าเกิดโลกขั้วเดียวขึ้น แต่การเกิดสภาพเช่นนั้น กลับก่อผลกระทบด้านลบต่อสากลนิยมชนชั้นนายทุนที่มีสหรัฐเป็นผู้นำ ใน 2 ประเด็นใหญ่ด้วยกัน ได้แก่ ข้อแรก สหรัฐหมดข้ออ้างต่อประชาชนอเมริกันในการเข้าไปแทรกแซง อุดหนุนและบ่อนทำลาย ล้มล้าง รัฐบาลต่างๆ ทั่วโลก เนื่องจากภัยจากคอมมิวนิสต์ที่น่าหวาดกลัวได้หมดไปแล้ว ข้อที่สองยุโรปตะวันตกและญี่ปุ่นที่เคยต้องการร่มเงาอาวุธนิวเคลียร์และแสนยานุภาพของสหรัฐ เพื่อช่วยป้องกันการคุกคามจากสหภาพโซเวียต ก็หมดความจำเป็นนั้นไปด้วย ดังนั้น จึงพร้อมมากขึ้นที่จะดำเนินนโยบายเพื่อผลประโยชน์ของประเทศ แทนที่จะต้องโอนอ่อนไปตามความต้องการของสหรัฐเหมือนเดิม นอกจากนี้ ทั้งยุโรปตะวันตกและญี่ปุ่นต่างก็มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจขึ้นมาก

2) สงครามอ่าวเปอร์เซีย (มกราคม-กุมภาพันธ์ 1991) เกิดขึ้นหลังจากที่อิรักบุกเข้ายึดครองประเทศคูเวตในเดือนสิงหาคม 1990 สหรัฐโดยอาศัยมติจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และความร่วมมือจากพันธมิตรหลายฝ่าย ใช้อำนาจทางทหารเข้าขับไล่ทหารอิรักจากคูเวตสำเร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 1991 (พ.ศ.2534) สงครามอ่าวเปอร์เซีย หรือสงครามอ่าว มีจุดที่น่าสนใจ 4 ประเด็นด้วยกันได้แก่

(1) การพยายามฟื้นการจัดระเบียบโลกใหม่โดยอ้างเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ ทั้งที่สหรัฐก็ไม่ได้มีความสัมพันธ์อันดีกับองค์การนี้นัก โดยเฉพาะการลงคะแนนเสียงที่ฝืนมติของเกือบทุกประเทศทั่วโลก และใช้เสียงคัดค้านในคณะมนตรีความมั่นคง เช่น ในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเดือนธันวาคม ค.ศ.1989 ในประเด็นเกี่ยวกับการยุติข้อพิพาทระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มอาหรับด้วยวิธีการทางการทูต มีประเทศที่เห็นด้วย 151 ประเทศ มีที่คัดค้าน 3 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐ อิสราเอล และโดมินิกัน สำหรับการใช้เสียงคัดค้านหรือวีโต้ของสหรัฐในคณะมนตรีความมั่นคงนั้น นับจนถึงปี 1991 สูงเป็นอันดับหนึ่ง อังกฤษเป็นอันดับสอง รวมการวีโต้ของสหรัฐ-อังกฤษตกราวร้อยละ 80 ของทั้งหมด ดังนั้น พบว่าความพยายามของประธานาธิบดีบุชนี้ประสบความสำเร็จในช่วงสั้น นั่นคือ พันธมิตรสหรัฐต่างร่วมมือในการทำสงครามอ่าว เช่น ประเทศญี่ปุ่นออกเงินเป็นจำนวนมาก แต่หลังจากขับทหารอิรักไปจากคูเวตแล้ว ความเป็นปึกแผ่นนั้นก็จางลง นอกจากนี้ สหรัฐยังใช้การตีความกฎและมติตามความเห็นส่วนตน ในที่สุดคงเหลือแต่แกนอำนาจอังกฤษ-อเมริกาเท่านั้นที่ยังปิดล้อมและทิ้งระเบิดประเทศอิรักอยู่ต่อไป

(2) ความสำคัญขึ้นของภูมิศาสตร์เศรษฐกิจว่าด้วยน้ำมันในตะวันออกกลาง ซึ่งเมื่อควบคุมได้แล้ว จะก่อประโยชน์สำคัญ 3 ด้านต่อสหรัฐ ได้แก่ ก) เป็นการประกันแหล่งพลังงานราคาถูกและสม่ำเสมอแก่สหรัฐ (น้ำมันในสหรัฐผลิตได้ถึงจุดสูงสุดเมื่อต้นทศวรรษ 1970 หลังจากนั้น การผลิตลดลง ต้องสั่งน้ำมันจากภายนอกมาใช้) และใช้การเป็นผู้ค้ำประกันหรืออำนาจในการควบคุมนี้ มาเป็นข้ออ้างหรือเป็นเครื่องมือ ในการบีบให้ประเทศอื่นเห็นด้วยกับนโยบายของตน ข) สร้างกำไรมหาศาลให้แก่บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของสหรัฐ ค) เงินดอลลาร์น้ำมันจำนวนมหาศาลจากตะวันออกกลาง ส่วนหนึ่งนำมาซื้ออาวุธซึ่งสหรัฐเป็นผู้ขายรายใหญ่ที่สุด อีกส่วนหนึ่งมาลงทุนในสหรัฐ สร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ

(3) การใช้เทคโนโลยีทางทหารสมัยใหม่ ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น เช่นระเบิดฉลาด มีแนวโน้มพัฒนาไปสู่สงครามควบคุมจากทางไกลมากขึ้น ใช้ทหารหน่วยรบจริงลดลง

(4) การแพร่กระจายของการก่อการร้ายโดยมุ่งต่อสหรัฐมากขึ้น เนื่องจากการเข้าไปครอบงำโดยตรงมากขึ้นในภูมิภาค เช่นตั้งฐานทัพประจำในประเทศซาอุดีอาระเบีย ไม่ได้ถอนกลับไปหลังสิ้นสงคราม ก่อให้เกิดความไม่พอใจในกลุ่มชาวอาหรับ นอกจากนี้ หน่วยข่าวกรองของสหรัฐเองยังได้ช่วยฝึกฝนผู้คนจำนวนนับหมื่นเพื่อทำสงครามศักดิ์สิทธิ์ต่อต้านสหภาพโซเวียต ความไม่พอใจและความชำนาญในการรบแบบกองโจรและการก่อการร้ายนี้ ได้หวนคืนกลับมาสู่การก่อการร้ายต่อสหรัฐเอง เกิดความขัดแย้งระหว่างสหรัฐกับกลุ่มชาตินิยมอาหรับหัวรุนแรง ซึ่งกระทบต่ออำนาจของสหรัฐในภูมิภาคนี้ได้ จนต้องมีการจัดการศึกษาหาทางรับมือ มีรายงานลับฉบับหนึ่งของหน่วยบัญชาการยุทธศาสตร์สหรัฐ ชื่อหัวใจของการยับยั้งการก่อการร้ายหลังสงครามเย็น (The Essentials of Post-Cold War Deterrence) จัดทำขึ้นใน ค.ศ.1995 แต่เพิ่งนำมาเปิดเผยตามกฎหมายเสรีภาพทางข่าวสารในภายหลัง โนม ชอมสกี้ (1998) ได้ชี้ให้เห็นสิ่งที่น่าสนใจว่า รายงานนี้ได้ฟื้นชีพทฤษฎีคนบ้าของอดีตประธานาธิบดีนิกสัน (Nixon’s Madman Theory) ตามทฤษฎีนี้เสนอว่าสหรัฐควรแสร้งปฏิบัติเหมือนคนบ้า มีลักษณะไร้เหตุผลและอาฆาตต้องการแก้เผ็ด โดยทำให้เห็นว่ากลุ่มการนำอยู่นอกเหนือการควบคุม และพร้อมที่จะใช้อาวุธนิวเคลียร์ การทำทีเหมือนคนบ้านี้จะเกิดประโยชน์ในการสร้างและเพิ่มพูนความหวาดกลัว และความสงสัยลังเลในหมู่ปรปักษ์ทั้งที่จริงและไม่จริง การใช้ทฤษฎีคนบ้านี้ ในสมัยประธานาธิบดีบุชผู้พ่อและสมัยของคลินตัน ยังไม่ชัดเจนนักแต่ก็สังเกตเห็นได้ เช่น เมื่อมีผู้ลอบวางระเบิดเรือรบสหรัฐที่เยเมน ประธานาธิบดีคลินตันก็สั่งทิ้งระเบิดในหลายประเทศที่คิดว่าเกี่ยวข้องทันที โดยใช้ข้ออ้างที่ไม่มีเหตุผล สถานที่ที่ถูกทิ้งแห่งหนึ่งเป็นโรงงานผลิตยา แต่จากกรณีเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน 2544 การปฏิบัติของกลุ่มนำสหรัฐดูจะเข้ากับทฤษฎีคนบ้ามากทีเดียว เป็นการแสร้งกระทำที่ดูเหมือนจะทำให้ทั้งโลกตกเป็นเหมือนตัวประกันของสหรัฐ

3) สงครามโคโซโว ซึ่งสหรัฐและนาโตมีปฏิบัติการร่วมกันโดยไม่คำนึงถึงมติคณะมนตรีความมั่งคง แสดงถึงบทบาทที่ถดถอยลงมากขององค์การสหประชาติในฐานะที่เป็นองค์การโลกในการรักษาสันติภาพ

4) กรณีวินาศกรรม 11 กันยายน 2544 ซึ่งก่อความตื่นตะลึงไปทั่วโลก และมีการประเมินผลกระทบและแนวโน้มกันไปต่างๆ ที่ควรกล่าวถึงได้แก่ (1) บางท่าน เช่นสตีฟ สมิธ ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเวลส์ เห็นว่าเป็นการสิ้นสุดยุคชั่วขณะของการมีโลกขั้วเดียว (Unipolar Moment) ก้าวไปสู่อนาคตของระเบียบโลกใหม่ ซึ่งเขาเห็นว่าบทบาทของบุคคลและผู้นำน่าจะสูงมากในการสร้างระเบียบโลกอันเป็นที่มุ่งหวังของคนส่วนใหญ่ให้เป็นจริงขึ้น (2) ปรากฏการณ์ที่กลุ่มนำสหรัฐใช้วาทกรรม “สงครามต่อต้านการก่อการร้าย” เป็นข้ออ้างในการดำรงตำแหน่งตำรวจโลก หรือบางท่านเช่นนีล สมิธ ศาสตราจารย์ด้านมานุษยวิทยาและภูมิศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยในกรุงนิวยอร์ก เรียกว่าเพชฌฆาตโลก (Global Executioner) ซึ่งเขาเห็นว่ามีแนวโน้มที่จะสร้างโลกออกเป็น 2 ขั้ว ขั้วหนึ่งเป็นการก่อการร้ายตลาดเสรีโดยกลุ่มจำพวก บินลาดิน/อัลกออิดะห์ กับอีกขั้วหนึ่งเป็นการก่อการร้ายที่อุปถัมภ์โดยรัฐ อันเป็นความพยายามของรัฐบาลสหรัฐ อังกฤษ และรัฐพันธมิตรอื่นที่เข้าควบคุมทางภูมิศาสตร์-เศรษฐกิจ เหนือกำลังที่อาจจะคุกคามต่อภูมิภาคหรือเกิดการแตกตัวทางภูมิภาคออกไปจากลัทธิโลกาภิวัตน์ของบรรษัทข้ามชาติ ประธานาธิบดีบุชเองก็ได้ปราศรัยว่า ถ้าไม่อยู่ข้างเรา ก็เท่ากับอยู่กับฝ่ายผู้ก่อการร้าย (3) ปรากฏการณ์ของความไร้ระเบียบและความเป็นอนาธิปไตยที่เพิ่มขึ้น เช่นคาราห์ ลินน์ ออง ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและเผยแพร่ของมูลนิธิยุคนิวเคลียร์เพื่อสันติ ได้เขียนบทความชื่ออำนาจเหนือกฎหมาย (Force Above Law: The New International Disorder?, July 13, 2002) ที่เรียกร้องให้สหรัฐกลับมายึดหลักการปกครองโดยกฎหมาย ไม่ใช่โดยกำลัง มิฉะนั้น ความไร้ระเบียบทางสากลจะเกิดขึ้น (4) การคุกคามต่อสิทธิมนุษยชนทั้งในสหรัฐและประเทศอื่นภายใต้ข้ออ้างการต่อต้านการก่อการร้าย ระบอบประชาธิปไตยตกอยู่ในอันตราย

4.1.5.2. ประเทศไทยกับมหาอำนาจ นโยบายต่างประเทศของไทย ในช่วงสงครามเย็นนั้นฝักใฝ่กับโลกเสรีโดยมีสหรัฐเป็นมหามิตร เมื่อสิ้นสงครามเย็น พร้อมกับอำนาจสหรัฐที่ด้านหนึ่งดูไร้เทียมทาน แต่อีกด้านหนึ่งลดลง เปิดทางและบีบให้ประเทศไทย จำต้องสร้างนโยบายต่างประเทศของตน ที่เหมาะสมกับการพัฒนาในประเทศและการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์สากล โลกหลังวินาศกรรม 11 กันยายน 2544 มีแนวโน้มที่จะมีความไม่แน่นอน และเกิดลักษณะอนาธิปไตยสูงขึ้นได้ นโยบายต่างประเทศของไทยอาจต้องสร้างขึ้นหลายชุด เช่น ต่อมหาอำนาจต่างๆ ที่สำคัญได้แก่ สหรัฐ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มพันธมิตรตะวันตก 3 ชุด ต่อประเทศจีนและอินเดีย ซึ่งมีศักยภาพที่จะขึ้นมาเป็นมหาอำนาจโลกอีก 2 ชุด ต่อรัสเซียซึ่งเคยเป็นอภิมหาอำนาจ ต่อกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน ต่อกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย และต่อกลุ่มประเทศอื่นทั่วโลก รวมเป็นอย่างน้อย 4 ชุด และจากชุดต่างๆ ก็สังเคราะห์ขึ้นเป็นนโยบายต่างประเทศรวมของประเทศ ในปัจจุบันประเทศไทยมีงานรีบด่วนที่จะต้องทำหลายอย่าง แต่ว่างานหนึ่งซึ่งส่งผลกระทบต่อฐานะและความเป็นอยู่ของชาติที่จะต้องเร่งทำในอันดับต้นได้แก่งานการต่างประเทศ และความเห็นพ้องกันในระดับที่แน่นอนของการดำเนินนโยบายต่างประเทศที่เป็นเอกภาพ

คัดลอกจาก ประเทศไทยกับมหาอำนาจโลก: การแสวงหาความสัมพันธ์ใหม่ที่ซ่อนตัวอยู่โดย โครงการข่าวสารทิศทางประเทศไทย (TTMP)สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

4.2.นโยบายต่างประเทศของไทยแบ่งตามประเทศ

4.2.1.นโยบายต่างประเทศของไทยต่อสหรัฐอเมริกา

1. ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายในที่กำหนดนโยบายต่างประเทศที่สำคัญ คือ

1) การเมือง ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมารัฐบาลที่ทำการปกครองประเทศส่วนใหญ่เป็นรัฐบาลภายใต้ผู้นำทหารที่มาจากการปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งมีอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมและต่อต้านคอมมิวนิสต์คล้ายกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นมหาอำนาจเพียงประเทศเดียวที่ให้การสนับสนุนรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ที่มีนโยบายสอดคล้องกับตน เช่น ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (พ.ศ.2501 – พ.ศ. 2506) และรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร (พ.ศ. 2506 – พ.ศ. 256) ซึ่งจะปราบปรามกลุ่มผู้ต่อต้านอำนาจการปกครองของตนโดยยัดเยียดข้อหาว่ามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกันปฏิบัติการทางทหารในสงครามอินโดจีน เพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์อีกด้วย

การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายในประเทศเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 นอกจากจะเป็นการโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการทหารแล้ว ยังทำให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนในการตัดสินนโยบายต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีความรู้สึกชาตินิยมเห็นว่าการมีกองกำลังของสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย เป็นการเสียอำนาจอธิปไตยและเสื่อมเสียศักดิ์ศรีของชาติ ประกอบกับสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศซึ่งเปลี่ยนแปลงไป เช่น การผ่อนคลายความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตทำให้การเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกาอย่างแน่นแฟ้นในลักษณะเช่นที่เป็นมา ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ไทยอีกต่อไป กลุ่มนิสิตนักศึกษาจึงได้เดินขบวนประท้วงและขับไล่กองทัพสหรัฐอเมริกาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2518 ขณะเดียวกัน ม.ร.ว. ศึกฤกธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีขณะนั้นได้ยื่นคำขาดให้สหรัฐอเมริกาถอนทหารของตนออกจากประเทศไทยโดยเร็ว

การปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศในสมัยรัฐบาล ม.ร.ว.ศึกฤทธิ์ ปราโมช ในปี พ.ศ. 2518 และรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ในปี พ.ศ. 2519 ที่ต้องการปรับความสัมพันธ์กับประเทศสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ในอินโดจีนนั้น สืบเนื่องจากสถานการณ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปลี่ยนแปลงไป คือ สหรัฐอเมริกาถอนตัวออกจากสงครามอินโดจีน มีการปรับความสัมพันธ์อันดีระหว่างสหรัฐอเมริกาและสาธารณรับประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2515 ในขณะที่เขมร เวียดนามใต้ และลาวตกอยู่ภายใต้การยึดครองของคอมมิวนิสต์อย่างสิ้นเชิงในปี พ.ศ. 2518 ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลผลักดันให้ไทยต้องปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศ

2) การพัฒนาประเทศ เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ประเทศไทยตกอยู่ในสภาวะที่ต้องรับผลกระทบจากสงครามสหรัฐอเมริกาเป็นมหาอำนาจประเทศเดียวในขณะนั้นที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือฟื้นฟูแก่ประเทศไทย ด้วยเหตุนี้ การมุ่งแสวงหาความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาประเทศจึงเป็นปัจจัยที่ทำให้ไทยเห็นประโยชน์จากการมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดี เช่น การให้เงินช่วยเหลือเพื่อซ่อมแซมทางรถไฟ และจัดหาอุปกรณ์สำคัญในการสร้างระบบคมนาคมขนส่งต่าง ๆ ซึ่งถูกทำลายไปในระหว่างสงคราม รวมทั้งการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านการทหารให้แก่ไทย เพื่อต่อต้านทั้งการแทรกซึมบ่อนทำลายและการโจมตีจากฝ่ายคอมมิวนิสต์ในขณะเดียวกันทางด้านเศรษฐกิจและสังคมนั้น ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ผนวกความจำเป็นในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมเข้าเป็นส่วนหนึ่งควบคู่ไปกับการพัฒนาทางด้านการทหารของไทย สหรัฐอเมริกาจึงได้กลายเป็นประเทศที่ให้ความช่วยเหลือต่อไทยมากที่สุดนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างไรก็ตามหลังสิ้นสุดสงครามเวียดนาม ความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกาต่อไทยโดยเฉพาะความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ ได้ลดน้อยลงจนเป็นรองจากความช่วยเหลือที่ไทยได้จากประเทศญี่ปุ่น

2. ปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายนอกที่กำหนดนโยบายของไทยต่อสหรัฐอเมริกา คือ

1) การเมืองระหว่างประเทศ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผลสืบเนื่องมาจากปัจจัยภายนอกที่สำคัญ ได้แก่ ภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะจากจีน และสหภาพโซเวียต โดยที่ไทยและสหรัฐอเมริกา มีแนวความคิดสอดคล้องกันที่ต้องการต่อต้านและปิดล้อมการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ดังนั้น บรรยากาศการเผชิญหน้าระหว่างลัทธิคอมมิวนิสต์กับอุดมการณ์ประชาธิปไตยได้ทำให้สหรัฐอเมริกา ซึ่งเห็นว่าตนจะต้องเป็นผู้นำในการปกป้องลัทธิเสรีนิยมและอุดมการณ์ประชาธิปไตยจากการแพร่ขยายและการแทรกซึมของลัทธิคอมมิวนิสต์ในทุก ๆ แห่งของโลก จึงได้ให้ความสำคัญต่อประเทศไทยในฐานะประเทศพันธมิตรและเป็นประเทศที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ และเป็นตัวแทนของโลกเสรีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยก็ได้ดำเนินนโยบายที่สอดคล้องและที่ตอบสนองและสนับสนุนสหรัฐอเมริกาเช่นกัน การจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) และแถลงการณ์ร่วม ถนัด-รัสก์ (Thanat-Rusk Joint Communiqués) ได้สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์และความร่วมมือทางด้านความมั่นคงที่ใกล้ชิดระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา ตลอดระยะเวลาของสงครามเวียดนาม ไทยได้ให้ความร่วมมือกับสหรัฐอเมริกา อย่างมาก ในขณะเดียวกัน สหรัฐอเมริกา ก็ได้ให้ความช่วยเหลือทางด้านความมั่นคงเป็นจำนวนมากแก่ไทยเช่นกัน นับได้ว่าทั้งสองประเทศได้พึ่งพาอาศัยกันบนผลประโยชน์ร่วมกันมาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากการที่สหรัฐอเมริกาได้ถอนกำลังทางทหารออกจากเวียดนาม ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศได้เปลี่ยนมาเป็นความร่วมมือทางด้านการเมืองมากยิ่งขึ้น อาทิ ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหากัมพูชา โดยสหรัฐอเมริกาได้ให้ความสนับสนุนทางด้านการเมือง และความพยายามของประเทศอาเซียนในการแก้ไขปัญหาโดยวิถีทางการเมือง สำหรับความสัมพันธ์ทางด้านความมั่นคงและการทหารก็ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แต่มิได้อยู่ในระดับที่ใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกายังคงมองเห็นว่าไทยเป็นพันธมิตรทางทหารที่สำคัญ

ปัจจุบัน ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงระหว่างไทย – สหรัฐอเมริกา ยังเป็นไปโดยใกล้ชิด ทั้งความร่วมมือทางทหาร และความร่วมมือในกรอบการเมืองและความมั่นคงระหว่างประเทศโดยเฉพาะในเวที ARF (ASEAN Regional Forum) ซึ่งประเทศไทยมีปฏิสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา ด้วยดีเสมอมา นอกจากนี้ ความร่วมมือด้านการปราบปรามยาเสพติดยังถือเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญต่อความร่วมมือระหว่างกัน ภายหลังวันที่ 11 กันยายน 2544 เป็นต้นมา ความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายเป็นประเด็นใหม่ในนโยบายด้านการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา และเป็นปัจจัยสำคัญในการชี้วัดระดับความสัมพันธ์ในทุก ๆ ด้าน ระหว่างสหรัฐอเมริกากับประเทศต่าง ๆ ไทยได้ให้ความร่วมมือด้วยดีกับสหรัฐอเมริกา และนานาประเทศในการต่อต้านการก่อการร้าย โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัย การตรวจคนเข้าเมือง ตลอดจนการสกัดเส้นทางการเงินของผู้ก่อการร้าย รวมทั้งการเร่งเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศในการต่อต้านการก่อการร้ายต่าง ๆ ซึ่งสหรัฐอเมริกาพอใจในบทบาทที่สร้างสรรค์ต่อการแก้ไขปัญหาข้ามชาติต่าง ๆ รวมทั้งการป้องกันและการต่อต้านการก่อการร้ายอย่างแข็งขันของไทย

2) นโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาเข้ามามีบทบาทในภูมิภาคเอเชีย ภายหลังสมครามโลกครั้งที่ 2 ในสมัยประธานาธิบดีแฮรี่ เอส ทรูแมน ( Harry S. Truman) ซึ่งหลักการ ทรูแมน (Truman doctrine ) สิ่งให้คำมั่นสัญญาว่าสหรัฐอเมริกาจะช่วยเหลือทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการทหาร แก่ประเทศที่ถูกคุกคามด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์ และจะเทรกแซงในวิกฤตการณ์อันเกิดจากการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเชีย โดยมีความเชื่อในทฤษฎีโดมิโน (Domino theory) ว่าหากกลุ่มประเทศอินโนจีนเปลี่ยนระบอบการปกครองไปเป็นคอมมิวนิสต์แล้ว ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งประเทศตะวันออกกลางก็จะตกเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ไปด้วยในที่สุด ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเสถียรภาพและความปลอดภัยมั่นคงของยุโรป ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สหรัฐอเมริกาเข้ามามีบทบาทเต็มที่ในการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ให้เอเชีย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2511 ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงาครั้งยิ่งใหญ่ของสหรัฐอเมริกาในสงครามเวียดนาม

ในสงครามเวียดนามเนื่องจากความเบื่อหน่ายของชาวอเมริกันที่ไม่ทราบว่า สงครามเวียดนามจะสิ้นสุดลงเมื่อไร และไม่มีทีท่าว่าสหรัฐอเมริกาจะประสบชัยชนะ รวมทั้งไม่เห็นความสำคัญของเวียดนามต่อผลประโยชน์ของชาติสหรัฐอเมริกา ผนวกกับการเปลี่ยนแปลงในสภาพการเมืองระหว่างประชาชนจีน ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องถอนกำลังทหารออกจากเวียดนาม และนำนโยบายของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน (Richard M. Nixon) หรือที่รู้จักในนามของหลักการนิกสัน (Nixon Doctrine) หรือหลักการเกาะกวม (Guam Doctrine) มาใช้เป็นนโยบายของสหรัฐอเมริกากับภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ซึ่งสหรัฐอเมริกาจะคงรักษาพันธกรณีตามสนธิสัญญาทั้งมวลที่มีอยู่ และจะให้ความคุ้มครองแก่ประเทศใด ๆ ที่ถูกคุกคามจากประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ และการคุกคามดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของสหรัฐอเมริกาหรือต่อภูมิภาค หากมีการรุกรานในลักษณะอื่น สหรัฐอเมริกาจะให้ความช่วยเหลือทั้งทางทหารและเศรษฐกิจเท่าที่เห็นสมควร โดยให้ประเทศที่ถูกคุกคามโดยตรงเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการจัดหากำลังคนเพื่อป้องกันเอง

จากการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาครั้งนี้ ทำให้สหรัฐอเมริกาลดบทบาทของตนลง ในขณะที่ภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ต้องตกอยู่ภายใต้การแข่งขันอิทธิพลของสหภาพโซเวียดและสาธารณรัฐประชาชนจีน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ไทยต้องปรับนโยบายต่างประเทศใหม่ให้สอดคล้องกับสหรัฐอเมริกา ด้วยการเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน และเน้นการพึ่งตนเองมากขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือแก่ไทยทางด้านการเมือง เช่น สนับสนุนร่างข้อมติของไทยและอาเซียนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหากัมพูชาในที่ประชุมสหประชาชาติ การเพิ่มความช่วยเหลือทางด้านกำลังอาวุธ ช่วยเหลือในปัญหาผู้ลี้ภัย เป็นต้น รวมทั้งการให้คำยืนยันต่อรัฐบาลไทยที่จะให้ความช่วยเหลือเมื่อถูกคุกคาม

ปัจจุบันนโยบายต่างประเทศที่สหรัฐอเมริกาดำเนินกับไทยอย่างต่อเนื่องมีทั้งความร่วมมือทางทหารและความมั่นคงอย่างใกล้ชิด โดยใช้โครงการความช่วยเหลือทั้งด้านการค้า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การศึกษา สาธารณสุข เพื่อสานสัมพันธ์และเชื่อมโยงระดับสังคมและประชาชน นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมด้านการพัฒนาประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนอีกด้วย ขณะเดียวกันก็ได้ผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ ใช้นโยบายการเปิดตลาดการค้าเสรี โดยเฉพาะด้านการเงิน การธนาคาร และโทรคมนาคม ในขณะที่ประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาครวมทั้งญี่ปุ่นเห็นว่าการเปิดเสรีทางการค้าควรคำนึงถึงความพร้อมของแต่ละประเทศด้วย อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกาจะคงกดดันให้ประเทศไทยเร่งปรับปรุงมาตรฐานการค้า โดยเฉพาะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา แรงงาน และสิ่งแวดล้อม และมีความเป็นไปได้ที่จะใช้มาตรการทางภาษีและไม่ใช่ภาษี รวมทั้งการให้สิทธิประโยชน์ฝ่ายเดียวมาเป็นเครื่องมือ 3) ลักษณะนโยบายต่างประเทศของไทยต่อสหรัฐอเมริกา ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาเริ่มต้นอย่างเป็นทางการเมื่อสหรัฐอเมริกาส่งนายเอ็ดมันด์ รอเบิร์ต (Edmund Robert) ทูตอเมริกันคนแรกเข้ามาทำสนธิสัญญาฉบับแรกกับไทยในรัชสมัยรัชกาลที่ 3 จนถึงปัจจุบันนี้ อาจกล่าวได้ว่า ไทยและสหรัฐอเมริกามีความสัมพันธ์อันดีต่อกันมากกว่าจะมีความขัดแย้งกัน เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศตะวันตกอื่น ๆ เช่น อังกฤษหรือฝรั่งเศส ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าสหรัฐอเมริกาไม่ได้มีลักษณะคุกคามต่ออำนาจอธิปไตยของไทย นอกจากนั้น ชาวอเมริกันหลายคนได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินของไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 7 และได้มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือให้ไทยได้แก้ไขสนธิสัญญาไม่เสมอภาคที่ไทยทำกับประเทศมหาอำนาจตะวันตก เช่น นายฟรานซิส บี แซร์ (Francis B. Syre) ที่ปรึกษาชาวอเมริกันสมัยรัชกาลที่ 6 ที่ได้ช่วยเหลือในการปรับปรุงระบบราชการและกิจการบ้านเมืองอื่น ๆ อีกด้วย จากความสัมพันธ์ของไทยกับสหรัฐอเมริกาดังกล่าว จึงขอจำแนกลักษณะนโยบายต่างประเทศของไทยต่อสหรัฐอเมริกาออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้

1. ก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ลักษณะนโยบายต่างประเทศของไทยต่อสหรัฐอเมริกาช่วงที่เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2488 – 2516 ลักษณะนโยบายที่สำคัญในช่วงนี้ คือ การต่อต้านการครอบครองดินแดนไทยโดยมหาอำนาจหนึ่ง โดยไทยและสหรัฐอเมริกาได้ร่วมมือกันต่อต้านการขยายอิทธิพลของญี่ปุ่นเพื่อครอบครองดินแดนในเอเชียในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ. 2484 – พ.ศ.2488) มีการจัดตั้งขบวนการเสรีไทยขึ้นเพื่อต่อต้านญี่ปุ่น และหลังสงครามโลกครั้งที่สอง สหรัฐอเมริกาได้ช่วยให้ไทยรอดพ้นจากการถูกปฏิบัติเยี่ยงประเทศผู้แพ้สงครามจากประเทศมหาอำนาจพันธมิตร นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกันต่อต้านการคุกคามของประเทศใดประเทศหนึ่งต่อประเทศอื่น โดยเน้นการต่อต้านการคุกคามโดยการรักษาความมั่นคงป่ลอดภัยร่วมกันในระดับภูมิภาค เช่น การจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียอาคเนย์ พ.ศ. 2497 เป็นต้น และการสนับสนุนองค์การระดับโลก เช่น องค์การสหประชาชาติ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกันในกรณีปัญหาต่าง ๆ เช่น กรณีปัญหาเกาหลี (พ.ศ. 2493 – พ.ศ. 2496) ได้ส่งทหารเข้าร่วมกับทหารขององค์การสหประชาชาติ ซี่งนำโดยสหรัฐอเมริกาในสงครามเกาหลี และกรณีสงครามอินโดจีน (พ.ศ. 2497 – พ.ศ. 2516) เป็นต้น

สำหรับนโยบายการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ไทยให้ความช่วยเหลือสหรัฐอเมริกาในกรณีเวียดนาม คือ การยอมให้สหรัฐอเมริกาเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทยเพื่อปฏิบัติการในประเทศอินโดจีน เป็นต้น ในขณะเดียวกัน สหรัฐอเมริกาก็ได้ให้ความช่วยเหลือไทยทั้งทางด้านเศรษฐกิจ เทคนิควิทยาการ สังคม และทางทหาร เพื่อต่อต้านขบวนการคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย ต่อประเทศที่มีระบอบการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ให้เป็นไปในลักษณะเดียวกันกับนโยบายของสหรัฐอเมริกาต่อประเทศนั้น ๆ ด้วย โดยเฉพาะในกรณีความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน

2. หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ลักษณะนโยบายต่างประเทศของไทยต่อสหรัฐอเมริกาช่วงที่เริ่มขึ้นหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 - 2522 นโยบายของไทยต่อสหรัฐอเมริกาที่สำคัญในช่วงนี้คือ การที่ไทยขอให้สหรัฐอเมริกาถอนฐานทัพออกจากไทย ขณะเดียวกันได้เกิดกรณีปัญหาเรือมายาเกซ โดยสหรัฐอเมริกาได้ส่งทหารนาวิกโยธินผ่านประเทศไทยเพื่อยึดเรือมายาเกซซึ่งเป็นเรือของสหรัฐอเมริกาที่ถูกเขมรแดงยึดเอาไว้กลับคืน ซึ่งการกระทำของสหรัฐอเมริกาดังกล่าวไม่ได้ขออนุญาตหรือปรึกษารัฐบาลไทยแต่อย่างใด ซึ่งไทยถือว่าเป็นการล่วงละเมิดอธิปไตยของไทย ซึ่งมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ เวียดนาม กัมพูชา และลาว การกระทำดังกล่าวทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาตกต่ำมากที่สุดเท่าที่ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์กันมา

3. ลักษณะนโยบายต่างประเทศปัจจุบัน นับจากปี พ.ศ. 2522 จนกระทั่งปัจจุบัน ลักษณะนโยบายต่างประเทศของไทยต่อสหรัฐอเมริกา ในช่วงดังกล่าวกัมพูชาถูกเวียดนามรุกราน และโดยเฉพาะเมื่อเวียดนามบุกรุกดินแดนไทยในกรณีโนนหมากมุ่นในปี พ.ศ. 2523 ทำให้ไทยเห็นความจำเป็นในการป้องกันตนเองจากภัยคุกคามของเวียดนามซึ่งมีทหารยึดครองกัมพูชาอยู่ราว 200,000 คน สหรัฐอเมริกาได้ยืนยันถึงพันธกรณีและความช่วยเหลือที่จะให้ต่อไทยทางด้านความมั่นคง ซึ่งสอดคล้องกับผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคเอเชียที่ต่อต้านการแผ่ขยายอิทธิพลของสหภาพโซเวียตโดยผ่านเวียดนามในลาวและกัมพูชา นโยบายต่างประเทศของไทยต่อสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นนโยบายฝักใฝ่โลกเสรีที่เคยถูกกำหนดมาเป็นเวลามากกว่า 10 ปี ในช่วงสงครามเย็นระหว่างอภิมหาอำนาจค่ายโลกเสรีและค่ายคอมมิวนิสต์ได้ถึงจุดแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างเด็ดขาด ในยุคสิ้นสงครามเย็นในปี พ.ศ. 2533 เมื่อสหภาพโซเวียต ล่มสลาย ซึ่งนับเป็นยุคหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญอีกยุคหนึ่งของนโยบายของประเทศไทย ซึ่งไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นมิตรกับทุกฝ่าย หรือนโยบายรอบทิศทางด้วยการเป็นมิตรกับทุกค่ายและนานาประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยพิจารณาถึงสถานการณ์โลกในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การสิ้นสุดสงครามเย็นและการสร้างระเบียบโลกใหม่ ความเข้มข้นของสงครามการค้า การรวมกลุ่มเศรษฐกิจหลาย ๆ กลุ่มทั่วโลก การเปลี่ยนแปลงในอินโดจีน โดยให้ประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสำคัญเป็นอันดับแรก ตามด้วยประเทศคู่ค้าที่สำคัญคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ

ประชาคมยุโรป

ในส่วนของการดำเนินนโยบายการต่างประเทศของไทยนั้น ย่อมต้องคำนึงถึงผลประโยชน์แห่งชาติโดยรวมเป็นหลัก รวมทั้งต้องยอมสละประโยชน์รองเพื่อประโยชน์หลัก ทั้งนี้ การมีท่าทีที่แข็งกร้าวหรือแตกต่างจากสหรัฐอเมริกา ย่อมทำได้ หากมีการจำแนกดุลยภาพของผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง และการเมืองที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์การก่อการร้ายในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการวางกรอบนโยบายทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาโดยสหรัฐอเมริกาจะต้องคำนึงถึงความร่วมมือในกรอบความมั่นคงและการเมืองมากขึ้น บทบาทและท่าทีของประเทศต่าง ๆ ในการให้ความร่วมมือด้านการก่อการร้ายจะมีผลต่ออำนาจต่อรองกับสหรัฐอเมริกา ดังนั้น การกำหนดท่าทีในเรื่องนี้ของไทยจึงมีความสำคัญมาก เพราะจะมีประโยชน์โดยตรงต่อการเจรจาแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของไทยในระยะต่อไป สำหรับความร่วมมือระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาไปสู่ความสัมพันธ์ในลักษณะของหุ้นส่วนมากขึ้น ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศเล็ก แต่ก็มีความสำคัญในทางการเมือง เศรษฐกิจ และยุทธศาสตร์ในภูมิภาค ดังนั้น ไทยจึงโน้มน้าวให้สหรัฐอเมริกาตระหนักถึงความสำคัญและศักยภาพของไทยในด้านดังกล่าว โดยเฉพาะในการเป็นศูนย์กลางด้านการคมนาคม การศึกษา และเป็นแหล่งลงทุนที่สำคัญของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาค สิ่งที่พอจะสรุปได้ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกาคือ ความสัมพันธ์ทั้งสองประเทศ แม้ดูจะไม่ราบรื่นโดยตลอด แต่มีลักษณะเด่นที่ว่าความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ ตั้งอยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์อันดีต่อกัน แต่จะแน่นแฟ้นเพียงใด ขึ้นอยู่กับผลประโยชน์สอดคล้องต้องกันมากน้อยเพียงใด

3.ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยกับสหรัฐอเมริกา

ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยกับสหรัฐอเมริกา แบ่งออกได้ 4 ด้านดังนี้

1. ด้านการทหาร ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาทางด้านการทหารเริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2493 ด้วยนโยบายสกัดกั้นคอมมิวนิสต์ของสหรัฐอเมริกาที่มุ่งให้ความสำคัญแก่การก่อตั้งระบบความมั่นคงร่วมกันในการต่อต้านการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ และการขยายอิทธิพลของสหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้งนี้เพื่อตอบสนองต่อผลประโยชน์ทางด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของไทย ทั้งจากภัยคุกคามจากภายนอกคือการขยายอำนาจของประเทศอื่น และภัยจากภายในคือการแทรกแซงบ่อนทำลายพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ไทยและสหรัฐอเมริกาได้มีการทำสนธิสัญญาทางทหารระหว่างกันหลายฉบับ ซึ่งบางฉบับเปิดโอกาสให้สหรัฐอเมริกาสามารถเข้ามาตั้งฐานทัพในไทยได้ด้วย รวมทั้งการที่สหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือทางทหารในรูปอื่น ๆ เช่น การให้เงินช่วยเหลือทั้งในรูปของเงินกู้และเงินให้เปล่า เพื่อให้ไทยได้ใช้ซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ การจัดการฝึกอบรมทางด้านวิชาการทางทหาร และการฝึกผสมร่วมคอบบราโกลด์ (Cobra Gold) เป็นต้น

2. ด้านการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาทางด้านการเมืองนั้น เริ่มในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ จากการที่สหรัฐอเมริกาเข้ามาตั้งสถานกงสุลขึ้นในไทยครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2399 ทั้งสองประเทศได้มีการส่งทูตแลกเปลี่ยนกันตลอดเวลา รวมถึงการที่พระมหากษัตริย์ได้มีพระราชหัตถเลขาติดต่อกับประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และผู้นำของประเทศทั้งสองได้มีการเดินทางไปเยือนแต่ละฝ่ายเสมอมา ประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกาที่เดินทางมาเยือนไทย คือ นายพล ยูลิสซิส เอส. แกรนด์ (General Ulysses S. Grant) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 18 ของสหรัฐอเมริกาที่มาเยือนเมืองไทยในปี พ.ศ. 2422 ในรัชสมัยที่ 5 ส่วนพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เสด็จเยือนทำเนียบขาวเมื่อ พ.ศ. 2474 คือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยและสหรัฐอเมริกามีความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองอย่างแน่นแฟ้น หลายระดับ นับตั้งแต่การมีแถลงการณ์ ประกาศในเชิงเป็นมิตรต่อกัน การเยี่ยมเยือนระหว่างผู้นำประเทศและข้าราชการในหลายระดับ การสนับสนุนซึ่งกันและกันทางการเมืองในเวทีการเมืองระหว่างประเทศทุกระดับ ปัจจุบันความสัมพันธ์ด้านการเมืองระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาโดยรวมมีการร่วมมือกันด้วยดี มีลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัย แม้จะมีความเห็นไม่สอดคล้องกันบ้าง แต่ก็ไม่มีลักษณะของความขัดแย้ง ประเด็นที่สหรัฐอเมริกาให้ความสนใจ ได้แก่ ปัญหาการกักตัวนางอองซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านในพม่า ปัญหาสิทธิมนุษยชนและการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะเด็กและสตรีในไทย เป็นต้น

3. ด้านเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกาทางด้านเศรษฐกิจ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

1) ด้านเศรษฐกิจ สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ให้ความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจแก่ไทยมากที่สุด นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 เป็นต้นมา โดยมีจุดมุ่งหมายทางด้านการเมือง โดยเฉพาะการนำนโยบายสกัดกั้นการแผ่ขยายอิทธิพลของฝ่ายคอมมิวนิสต์ ของประธานาธิบดีทรูแมนมาใช้ในปี พ.ศ. 2490 โดยมุ่งให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนา โดยเน้นการนำความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมของสหรัฐอเมริกาเข้ามาช่วยให้มีความเจริญก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ เช่น การเกษตร สาธารณสุข คมนาคม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หลังสิ้นสุดสงครามเย็นความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกาได้ลดลง ในขณะที่ประเทศผู้ที่ให้ความช่วยเหลือไทยมากที่สุดกลายเป็นประเทศญี่ปุ่น

2) ด้านการค้า สหรัฐอเมริกาและไทยมีความสัมพันธ์ทางการค้าอย่างไม่เป็นทางการมาช้านานแล้ว แต่ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาทางการค้าอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2463 คือ สนธิสัญญาทางไมตรีการพาณิชย์และการเดินเรือระหว่างประเทศ ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 ต่อมาได้ยกเลิกและมีการทำสนธิสัญญาใหม่อีกหลายฉบับ นอกจากนี้ รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ตรารัฐบัญญัติปฏิรูปการค้า ซึ่งให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ประเทศต่าง ๆ ที่กำลังพัฒนาตามโครงการให้สิทธิ์พิเศษทางภาษีศุลากากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of preference. GSP) เพื่อช่วยเหลือแก่ประเทศที่กำลังพัฒนาในด้านการส่งออกโดยผ่อนคลาย หรือยกเลิกการกีดกันทางการค้าในรูปภาษีศุลกากร (Tariff barriers) เพื่อเปิดตลาดให้แก่สินค้าออกของประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งไทยได้รับสิทธิพิเศษนี้ในปี พ.ศ. 2519 รวมทั้งยังได้ลดหย่อนอัตราภาษีศุลกากรให้แก่ไทย ซึ่งเป็นประเทศภาคีของแกตต์ จากการประชุมรอบโตเกียว (Tokyo Round) ด้วย ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา การค้าและการลงทุนของสหรัฐอเมริกาในประเทศไทยเริ่มมีความสำคัญและขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ กลุ่มนักธุรกิจอเมริกันในประเทศไทยได้ร่วมกันก่อตั้งหอการค้าอเมริกันในประเทศไทยขึ้น ซึ่งได้ช่วยส่งเสริมธุรกิจการค้าระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกาได้เจริญเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 ไทยได้เจรจากับสหรัฐอเมริกาด้านการค้า รวมทั้งการจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย – สหรัฐอเมริกา และลงทุนในกรอบความตกลงด้านการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Framework Agreement TIFA) เพื่อการร่วมมือและประสานงานด้านการค้าและการลงทุน แก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน สำหรับการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับไทยนั้น ไทยเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญอันดับที่ 23 ของสหรัฐอเมริกา ขณะที่สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญอันดับ 1 ของไทย สินค้าหลักที่สหรัฐอเมริกา ส่งออกมาไทย ได้แก่ เส้นใยใช้ในการทอ เมล็ดพืชน้ำมัน เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องมือแพทย์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์โลหะ สินแร่โลหะ และเศษโลหะ เคมีภัณฑ์ ส่วนสินค้าหลักที่สหรัฐอเมริกานำเข้าจากไทย ได้แก่ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ ยางพารา เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ยาง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง แผงวงจรไฟฟ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ

3) ด้านการลงทุน สำหรับในด้านการลงทุนนั้น ชาวอเมริกันเข้ามาดำเนินการทางธุรกิจในประเทศไทยมากเป็นอันดับที่สองรองจากญี่ปุ่น อุตสาหกรรมที่ชาวอเมริกันนิยมมาลงทุนมาก ได้แก่ อุตสาหกรรมประเภทผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์จากการเกษตร เหมืองแร่ เครื่องกลและไฟฟ้า และเมื่อไทยได้กลายเป็นแหล่งที่มีน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ สหรัฐอเมริกาก็ได้มีบทบาทสำคัญในการเข้าร่วมลงทุนทางด้านนี้อีกด้วย โดยบริษัทน้ำมันของสหรัฐอเมริกา เช่น ยูเนี่ยนออยล์ เอ๊กซอน (หรือเอสโซ่) อาโมโก้ เท็กซัสแปซิฟิก ฟิลลิปปิโตรเลียม และอื่น ๆ ได้ลงทุนในการสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันในไทย เป็นต้น

(1) ด้านสาธารณสุข สหรัฐอเมริกาให้ความช่วยเหลือต่อไทยในรูปของมูลนิธิร๊อกกี้เฟลเลอร์ด้วยการสนับสนุนการดำเนินงานของคณะแพทยศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ราชแพทยาลัยเดิม) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นต้น จนสามารถผลิตแพทย์ที่มีคุณภาพออกไปช่วยพัฒนาประเทศด้านการสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการช่วยเหลือในด้านการปราบปรามโรคพยาธิปากขอ การพัฒนาระบบการประปาและศูนย์อนามัยตามเมืองต่าง ๆ อีกด้วย นอกจากนี้ยังได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านวิชาการแพทย์และสาธารณสุขอยู่ตลอดเวลาจนกระทั่งปัจจุบันนี้

(2) ด้านการศึกษา นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 เป็นต้นมา สหรัฐอเมริกาและไทยได้ลงนามเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ไทยในการพัฒนาการศึกษาด้านต่าง ๆ เช่น การพัฒนาอาชีวศึกษาระดับโรงเรียนมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา ฝึกหัดครู บริหารการศึกษา สังคมศาสตร์ ภาษาศาสตร์ เกษตรศาสตร์ การฝึกอบรมและวิจัยในเรื่องต่าง ๆ รวมตลอดไปจนถึงการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในชนบท นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษาอีก เช่น หน่วยสันติภาพ (The Pease Corps) มูลนิธิการศึกษามิตรภาพ (The Mitraparb Education Foundation) มูลนิธิฟลูไบรท์ หรือมูลนิธิการศึกษาไทยอเมริกัน นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา (The American University Alummi Lauguage Center : AUA) หรือเรียกกันทั่วไปว่า เอยูเอ. รวมทั้งโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษานานาชาติ เอ.เอฟ.เอส. (The American Field Service, AFS) จากความช่วยเหลือดังที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าสหรัฐอเมริกาได้มีส่วนอย่างมากในการให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการศึกษาแห่งประเทศไทย

(3) ด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ในปี พ.ศ. 2515 รัฐบาลทั้งสองได้ลงนามในสนธิสัญญาเพื่อความร่วมมือ โดยสหรัฐอเมริกาสนับสนุนเงินแก่ไทยในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดใน 3 ด้าน ได้แก่ การปราบปราม การปลูกพืชทดแทนและการพัฒนาชาวไทยภูเขา และการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดอาเซียน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไทยได้จับกุมผู้ค้ายาเสพติดที่สำคัญและส่งไปดำเนินคดีในสหรัฐอเมริกาหลายราย ในปี พ.ศ. 2546 ประเทศไทยโดยรัฐบาลมีนโยบายปราบปรามยาเสพติดอย่างรุนแรง ส่งผลให้ยาเสพติดลดจำนวนเป็นอย่างมาก

(4) ด้านปัญหาผู้อพยพอินโดจีนในประเทศไทย จากปัญหาการสู้รบในอินโดจีนก่อให้เกิดการอพยพลี้ภัยของชาวลาว กัมพูชา และเวียดนามออกนอกประเทศเป็นจำนวนนับแสนคน ซึ่งสร้างปัญหาแก่ประเทศเป็นอย่างมาก ไทยต้องแก้ปัญหาดังกล่าวโดยขอความร่วมมือจากประเทศต่าง ๆ ให้รับผู้อพยพลี้ภัยไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศนั้น ๆ โดยสหรัฐอเมริการับผู้อพยพอินโดจีนจากไทยไปมากที่สุด โดยมีสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เป็นผู้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้อพยพลี้ภัยดังกล่าว

(5) ด้านศิลปวัฒนธรรม ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาได้แลกเปลี่ยนทางศิลปวัฒนธรรมกันอยู่ตลอดเวลา นับตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา ตัวอย่างที่สำคัญคือ ความร่วมมือระหว่างสหรัฐอเมริกากับกรมศิลปากรในการขุดค้นศิลปวัตถุสมัยบ้านเชียงซึ่งพบว่าดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเป็นแหล่งอารยธรรมที่มีการใช้เครื่องโลหะและปั้นดินเผามาก่อนจีนและอินเดีย ซึ่งถือเป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ทีสุดในเอเชีย นอกจากนั้นการที่ไทยมีความสัมพันธ์อันดีต่อสหรัฐอเมริกาในทุกด้าน ทำให้ความสัมพันธ์ทางด้านสังคมและวัฒนธรรมเป็นไปอย่างกว้างขวาง ทำให้อิทธิพลของค่านิยมตะวันตกที่ลอกเลียนจากสหรัฐอเมริกาได้แทรกซึมอยู่ทั่วไปในสังคมไทย

3.ผลกระทบของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา นโยบายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยกับสหรัฐอเมริกาได้ส่งผลกระทบในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านการทหาร ความสัมพันธ์ด้านการทหารของทั้งสองประเทศก่อให้เกิดผลกระทบต่อไทยทั้งในด้านการเมืองและในด้านเศรษฐกิจ กล่าวคือ การช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกาด้านการทหารทำให้กองทัพไทยมีความเข้มแข็งมากที่สุดซึ่งส่งผลต่อความเข้มแข็งทางด้านการเมืองรวมทั้งเปิดโอกาสให้สถาบันทหารมีอิทธิพลด้านการเมืองด้วย นอกจากนี้การที่สหรัฐอเมริกาเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทยเพื่อทำสงครามในเวียดนามนั้น ทำให้ไทยเสื่อมเสียศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิ ขณะเดียวกันความช่วยเหลือทางทหารทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจเมื่อการช่วยเหลือแบบให้เปล่าถูกเปลี่ยนเป็นรูปแบบการให้สินเชื่อ ทำให้งบประมาณถูกใช้ในด้านการทหารมากกว่าด้านสาธารณสุข เกษตร และการศึกษา ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งและเป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ สำหรับแนวโน้มของความสัมพันธ์ในปัจจุบันจะเห็นการพึ่งพาตนเอง รวมทั้งเน้นการฝึกอบรมมากกว่าการเป็นพันธมิตรทางทหาราเช่นที่เป็นมา

2. ด้านการเมือง การมีความสัมพันธ์ทางการเมืองของไทยและสหรัฐอเมริกาอย่างแน่นแฟ้นในลักษณะที่ไทยมักจะมีนโยบายลู่ตามสหรัฐอเมริกาในอดีต ทำให้ดูเหมือนว่าไทยไม่มีความเป็นอิสระในการดำเนินนโยบายของตนเองเท่าที่ควร ต้องคอยปรับนโยบายทางการเมืองตามสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไทยได้ปรับนโยบายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโลก ทำให้ความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกาอยู่บนรากฐานของเหตุผลและผลประโยชน์ทางด้านอื่น ๆ มากกว่าอุดมการณ์เช่นที่ผ่านมา

3. ด้านเศรษฐกิจ ผลและแนวโน้มของความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจและด้านการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกานั้น แม้ว่าความช่วยเหลือดังกล่าวจะก่อให้เกิดการพัฒนาทางด้านต่าง ๆ รวมทั้งช่วยยกระดับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ประชาชาติของไทย แต่ก็ยังมีข้อจำกัดและส่งผลกระทบในทางลบต่อไทย กล่าวคือ สหรัฐอเมริกามักจะให้ความช่วยเหลือกับรัฐบาลที่มีอุดมการณ์สอดคล้องกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งมิได้มุ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเต็มที่และไม่ได้ลงไปสู่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศโดยตรง นอกจากนี้มักจะมุ่งเน้นการแก้ไขความไม่เท่าเทียมในส่วนภูมิภาค ซึ่งไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างเมืองและชนบท ระหว่างชนชั้นนำกับประชาชน สหรัฐอเมริกามักจะปฏิเสธโครงการขอความช่วยเหลือส่วนใหญ่ที่ฝ่ายไทยขอสนับสนุน ด้วยเหตุผลว่าไม่สอดคล้องกับนโยบายของตนและไม่มีงบประมาณ แต่ขณะเดียวกันจะเสนอโครงการให้ไทยดำเนินการ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก ส่วนความสัมพันธ์ด้านการค้านั้น ไทยต้องเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด เนื่องจากต้องนำเข้าสินค้าทุนและสินค้าอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงกว่าสินค้าที่สหรัฐอเมริกานำเข้าไปจากประเทศไทย โดยเฉพาะสินค้าการเกษตร นอกจากนี้การใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรที่ให้แก่ไทยไม่ได้เป็นประโยชน์แก่สินค้าที่ส่งออกของไทย ซึ่งส่วนใหญ่มักจะครอบคลุมถึงชนิดของสินค้าตามความพอใจของสหรัฐอเมริกาเอง และเนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ผลิตสินค้าการเกษตรรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยเฉพาะข้าวและข้าวโพด ทำให้ไม่มีความต้องการที่จะสั่งเข้าจากไทยโดยตรง และนับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2533 สหรัฐอเมริกามีนโยบายกีดกันทางการค้า เช่น การจำกัดโควต้า การตั้งกำแพงภาษีชลอการชำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อลดการขาดดุลการค้าและดุลการเงินกับประเทศที่สหรัฐอเมริกาเป็นผู้เสียเปรียบรายใหญ่ ทำให้ส่งผลกระทบต่อไทย และทำให้ไทยต้องทบทวนนโยบายด้านการค้าใหม่ ด้วยการแสวงหาตลาดการค้ากับประเทศนอกภูมิภาคห่างไกลออกไป เช่น ละตินอเมริกา แอฟริกาและกลุ่มประเทศที่มีอุดมการณ์แตกต่างไปจากไทย เพื่อทดแทนตลาดสินค้าในสหรัฐอเมริกาที่ไทยสูญเสียไป

4. ด้านสังคมและวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ของไทยกับสหรัฐอเมริกาในด้านสังคมและวัฒนธรรม ได้สร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกันและกัน ซึ่งส่งผลให้ความสัมพันธ์ด้านอื่น ๆ เป็นไปด้วยดี อย่างไรก็ตาม การที่คนไทยจำนวนมากไปศึกษาอบรมในด้านต่าง ๆ จากสหรัฐอเมริกาทำให้เกิดการเรียนแบบรูปแบบและวิธีการในเรื่องต่าง ๆ โดยไม่คำนึงถึงว่าเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพของสังคมไทยหรือไม่ ทำให้เกิดสภาพที่เรียกว่าการทำให้ทันสมัยโดยไม่ได้มีการพัฒนา รวมทั้งเกิดช่องว่างระหว่างผู้ที่ได้รับการศึกษาจากสหรัฐอเมริกากับคนส่วนใหญ่ในสังคมไทย การหลั่งไหลของวัฒนธรรมอเมริกันมีอิทธิพลในสังคมและวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างมาก ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมและทำลายค่านิยมอันดีของไทย เช่น ปัญหาโสเภณี ปัญหาวัยรุ่น ปัญหายาเสพติด แหล่งอบายมุขต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้คือผลพวงบางประการและความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรมของไทยและสหรัฐอเมริกาควรที่จะได้มีการให้ความสนใจ และรวมทั้งการหาวิธีการแก้ไขและป้องกันผลกระทบอันไม่พึงปรารถนาเหล่านี้ เพื่อที่จะทำให้ความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรมของประเทศทั้งสองเอื้ออำนวยประโยชน์สูงสุดต่อไทย

4.2.2.นโยบายต่างประเทศไทยต่อประเทศรัสเซีย นโยบายต่างประเทศของไทยต่อรัสเซีย การที่รัฐบาลไทยมีอุดมการณ์และผลประโยชน์สอดคล้องกับประเทศตะวันตก ทำให้ไทยต้องดำเนินนโยบายเป็นมิตรกับฝ่ายตะวันตก ขณะเดียวกันก็ขัดแย้งกับสหภาพโซเวียต เนื่องจากระบอบการปกครองที่แตกต่างกันและเมื่อคอมมิวนิสต์ขยายอิทธิพลไปยังประเทศจีน ยิ่งทำให้ไทยหวั่นเกรงการขยายอิทธิพลของคอมมิวนิสต์มากขึ้น จึงดำเนินนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ หรือต่อต้านสหภาพโซเวียตนั่นเอง ดังนั้น ไทยจึงไม่ได้มีนโยบายที่จะสร้างความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับสหภาพโซเวียต เพราะเกรงว่าสหภาพโซเวียตจะเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์เข้ามาในไทย

ภาวะสงครามเย็นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายโลกเสรี ทำให้ไทยต้องอยู่ข้างฝ่ายโลกเสรีและใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นพันธมิตรมหาอำนาจ ดังนั้น การดำเนินนโยบายของไทยต่อสหภาพโซเวียตจึงเป็นไปอย่างชาเย็น รวมทั้งความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศก็ไม่ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นแต่อย่างใด สาเหตุมาจากสหภาพโซเวียตดำเนินนโยบายที่ไม่เป็นมิตรต่อประเทศไทย เช่น การกล่าวหาว่ารัฐบาลไทยเข้าไปแทรกแซงเหตุการณ์ในประเทศลาว ซึ่งทำให้ฝ่ายไทยไม่พอใจ และได้ยื่นประท้วงอย่างเป็นทางการต่อรัฐบาลของสหภาพโซเวียต อย่างไรก็ตาม บางช่วงที่ผลประโยชน์ของทั้งสองประเทศสอดคล้องกัน ไทยก็ได้ปรับความสัมพันธ์ให้ดีขึ้น และจากการที่ไทยไม่ทำความตกลงในด้านการค้ากับสหภาพโซเวียต ทำให้เสียเปรียบประเทศเพื่อนบ้านที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์ในประเทศ แต่ยอมค้าขายโดยตรงกับสหภาพโซเวียต จึงเป็นเหตุผลทำให้ไทยต้องทำความตกลงทางการค้ากับสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2513 นับเป็นสัญญาการค้าฉบับแรกตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกันมา หลังจากไทยปรับนโยบายเป็นมิตรกับทุกประเทศในปี พ.ศ. 2518 ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัสเซียได้พัฒนาในทางที่ดีขึ้นเป็นลำดับ

ลักษณะความสัมพันธ์ของไทยกับรัสเซีย

ลักษณะความสัมพันธ์ของไทยกับสหพันธรัฐรัสเซีย แบ่งออกได้ดังนี้

1. ด้านการเมือง การปกครองระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ของรัสเซีย ทำให้ไทยทั้งในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และระบอบประชาธิปไตย ไม่ประสงค์ที่จะมีความสัมพันธ์ทางการทูตด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เจรจาเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตและการค้ากับสหภาพโซเวียตขึ้นใหม่ แต่ทั้งสองฝ่ายก็ยังไม่ได้มีสถานทูตเกิดขึ้นต่อมาประเทศไทยมีความจำเป็นจะต้องเข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ แต่การที่ประเทศไทยจะขอให้สหภาพโซเวียตสนับสนุนการเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติเป็นเรื่องยากมาก เพราะไทยมีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ และมิได้มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหภาพโซเวียต ดังนั้นไทยจึงพยายามเจรจากับผู้แทนสหภาพโซเวียตจนประสบผลสำเร็จ จนกระทั่งมีความสัมพันธ์ทางการทูตในระดับอัครราชทูตขึ้นในปี พ.ศ. 2490 ซึ่งนับว่าประเทศไทยเป็นประเทศประชาธิปไตยประเทศแรกในเอเซียอาคเนย์ที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหภาพโซเวียตที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ หลังจากรัสเซียเปลี่ยนระบอบการเมืองการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตยและมีระบบเศรษฐกิจแบบตลาด ในปี พ.ศ. 2536 แล้ว ความสัมพันธ์ของไทยกับรัสเซียมีความก้าวหน้าขึ้น มีการเยือนในระดับผู้นำสำคัญ ๆ หลายครั้ง ซึ่งล่าสุดประธานาธิบดีวลาดิมิร์ ปูติน (Vladimir putin) ได้เดินทางมาเยือนไทยในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเข้าร่วมประชุมเอเปคประจำปี พ.ศ.2546 ด้วย

2. ด้านเศรษฐกิจ เป็นเวลาเกือบ 25 ปี ที่ไทยมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหภาพโซเวียต จึงได้มีการตกลงทางการค้าขึ้นในปี พ.ศ. 2513 ซึ่งก่อนหน้านี้ทั้งสองประเทศได้ดำเนินการทางการค้าโดยผ่านตัวกลางคือ สิงคโปร์ แต่ตัวเลขทางการค้ามีอัตราน้อยมาก หลังจากมีการตกลงทางการค้าระหว่างกัน สภาวะการค้าของทั้งสองประเทศได้มีปริมาณเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ สิงค้าของสหภาพโซเวียตที่ส่งเข้ามาขายได้แก่ วัตถุดิบสำหรับการผลิตอุตสาหกรรม เช่น เซลลูโลส เครื่องเคมีภัณฑ์ กระดาษพิมพ์หนังสือพิมพ์ วัตถุดิบเวชภัณฑ์ รวมทั้งเครื่องจักรกลการเกษตร เช่น รถแทรกเตอร์ เครื่องยนต์ดีเซล เครื่องสูบน้ำ เครื่องตัดโลหะ ตลับลูกปืน อุปกรณ์การแพทย์ และสารเคมี เป็นต้น ส่วนสินค้าออกของไทย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เกษตร สิ่งทอ ดีบุก และสินค้าอื่น ๆ

3. ด้านสังคมและวัฒนธรรม หลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 โดยเฉพาะรัฐบาล ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ประเทศไทยได้ปรับเปลี่ยนนโยบายทั้งภายในและภายนอก โดยเฉพาะด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ได้มีการติดต่อกับประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์มากขึ้น โดยเฉพาะมีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน สำหรับสหภาพโซเวียตนอกจากได้มีการติดต่อด้านการค้าแล้ว นอกจากนี้ยังได้มีการเชิญนักเรียน นักหนังสือพิมพ์ นักวิชาการ และผู้นำทางศาสนา ไปเยือนสหภาพโซเวียตเพื่อการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน รวมทั้งการให้ทุนแก่นักเรียนนักศึกษาไทยไปศึกษาต่อในสหภาพโซเวียตด้วย

4.2.3.นโยบายต่างประเทศของไทยต่อจีน

1.ลักษณะนโยบาย ไทยและจีนมีการติดต่อสัมพันธ์กันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย การดำเนินความสัมพันธ์มีทั้งด้านบวกคือการไม่ขัดแย้งกัน และด้านลบคือการขัดแย้งกัน ในอดีตเมื่อจีนยังไม่ได้ปกครองประเทศด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์นั้น ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศดำเนินไปด้วยดีมาตลอดแต่เมื่อจีนเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบสาธารณรัฐ ในปี พ.ศ. 2454 ได้มีการปลุกระดมความเป็นชาตินิยมในหมู่ชาวจีนในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ผู้ทรงเป็นนักชาตินิยมได้ทัดทานบทบาทของชาวจีนในไทย ทำให้เกิดความไม่พึงพอใจระหว่างประเทศทั้งสอง และขยายตัวมากขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ขณะเดียวกันได้เกิดการปฏิวัติโดยพรรคคอมมิวนิสต์ในจีน ซึ่งไทยไม่ประสงค์ในสิทธิดังกล่าวจึงเกิดการต่อต้านชาวจีนมากขึ้น โดยเลือกมีสัมพันธภาพกับจีนไต้หวัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 สมัย ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้มีการปรับท่าทีและสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

2. ปัจจัยภายใน การเปลี่ยนแปลงในระบบระหว่างประเทศ นับตั้งแต่เกิดสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียต การลดบทบาทในอินโดจีนของสหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศอินโดจีนกลายเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ และสหภาพโซเวียตเข้ามามีอิทธิพบในอินโดจีน รวมทั้งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน ปัจจัยดังกล่าวมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศของไทยทั้งสิ้น เนื่องจากไทยเป็นประเทศเล็กจำเป็นต้องผูกพันกับประเทศใหญ่เพื่อเป็นเกราะป้องกันให้กับตนเอง ไทยจึงมีนโยบายคล้อยตามสหรัฐอเมริกา การกำหนดความสัมพันธ์ของไทยกับจีนนั้นมาจากปัจจัยภายในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1) ด้านผู้นำไทย ในอดีตช่วยปลายสมัยรัชกาลที่ 5 ชาวจีนที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้สร้างทัศนคติด้านลบแก่ผู้นำไทย ด้วยการก่อความไม่สงบขึ้น เช่น จัดตั้งสมาคมอั้งยี่ และการไม่ยอมรับอำนาจของศาลไทย รวมทั้งการครอบงำเศรษฐกิจของชาวจีน ทำให้เพิ่มความไม่พอใจให้กับผู้นำไทยมากยิ่งขึ้น เมื่อจีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ผู้นำไทยในช่วงปีพ.ศ. 2493-2513 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทหารมีนโยบายต่อต้านภัยจากคอมมิวนิสต์ ยิ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ไทยปฏิเสธความสัมพันธ์กับจีนมากขึ้น จนกระทั่งสถานการณ์การเมืองเปลี่ยนแปลงไปผู้นำไทยจึงหันมาสถาปนาความสัพมันธ์กับจีนในปี พ.ศ. 2518

2) ด้านการเมือง หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา กลุ่มที่มีบทบาททางการเมืองที่เข้ามาบริหารประเทศในฐานะรัฐบาลมีทั้งกลุ่มพลเรือนและกลุ่มทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงปี พ.ศ. 2500-2513 รัฐบาลเผด็จการทหารที่นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี มีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่าวงรุนแรง หากผู้ใดคณะใดมีความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนจะถือว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมาย แต่หลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ทัศนะต่าง ๆ ของประชาชนหลายกลุ่มต่อการเปิดความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนจึงได้รับการพิจารณามากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์การเมืองในอินโดจีนและลกเปลี่ยนไป

3) ด้านการทหาร แม้ว่าประเทศไทยจะทุ่มเทงบประมาณเพื่อพัฒนากองทัพให้เข้มแข็ง แต่หาเปรียบเทียบกับจีนแล้วไทยยังอยู่ในระดับต่ำกว่ามาก ไม่ว่าด้านกำลังพล อาวุธยุทโธปกรณ์ อย่างไรก็ตาม ศักยภาพด้านการทหารไม่ได้ส่งผลต่อการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากนัก

4) ด้านเศรษฐกิจ ช่วงปี พ.ศ. 2500-2518 ประเทศไทยใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-4 เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ โดยมุ่งสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรม เช่น สิงคโปร์ ไต้หวัน และเกาหลี ซึ่งประสบความสำเร็จแล้ว ผลจากการพัฒนาทำให้เขตเมืองมีการเจริญเติบโตอย่างมาก ทั้งนี้โดยอาศัยทรัพยากรทั้งทางธรรมชาติและแรงงานคนจากเขตชนบท ทำให้รายได้และมาตรฐานการครองชีพในเขตเมืองสูงขึ้น ขณะที่รายได้ของเขตชนบทต่ำแต่ค่าครองชีพสูงขึ้น ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Grose Demestic Product : GDP) สูงขึ้น ขณะเดียวกันจำนวนประชากรยากจนก็มีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 เป็นต้นมา นอกจากนี้ตัวเลขการขาดดุลของประเทศได้เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากไทยต้องอาศัยวิทยาการและเทคโนโลยีชั้นสูงจากต่างประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องซื้อหามาด้วยราคาที่แพงมาก รวมทั้งเงินกู้ต่างประเทศยังเพิ่มสูงขึ้นเป็นจำนวนมากจนกลายเป็นประเทศที่มีหนี้สินมากประเทศหนึ่ง

3. ปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายนอกที่มีส่วนสำคัญในการกำหนดนโยบายของไทยกับจีนมีดังนี้

1) สถานการณ์ภูมิภาค นับตั้งแต่มีการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อปี พ.ศ. 2492 เป็นต้นมาจนถึงปี พ.ศ. 2528 ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีนไม่ค่อยราบรื่นนัก เนื่องจากจีนให้ความช่วยเหลือเวียดนามเพื่อต่อสู้กับฝรั่งเศส รวมทั้งสหรัฐอเมริกา จนกระทั่งเกิดการรวมเป็นประเทศเวียดนามเดียวภายใต้ระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ในช่วงปี พ.ศ. 2518-2519 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ประสบชัยชนะในสงครามการเมืองในประเทศเพื่อนบ้านของไทย โดยเกิดการปฏิวัติขึ้นในลาวและกัมพูชา หลังจากนั้นเวียดนามได้พยายามเข้ามามีอิทธิพลทางการเมืองและการทหารเหนือกัมพูชาและลาว การกระทำของเวียดนามดังกล่าวทำให้เกิดข้อขัดแย้งอย่างรุนแรงกับจีน และจากปัญหาความขัดแย้งภายในของกัมพูชาซึ่งจีนให้การสนับสนุนอยู่ได้เป็นปัญหาสำคัญต่อความมั่นคงของไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากไทยให้ที่พักพิงแก่ฝ่ายรัฐบาลผสมเขมรสามฝ่ายต่อต้านรัฐบาลกัมพูชา ซึ่งจีนให้การสนับสนุนอาวุธแก่ฝ่ายต่อต้านด้วย ทำให้จีนและเวียดนามขัดแย้งกันจนเกิดการปะทะกันด้วยกำลัง จากบทบาทของจีนที่มีต่อประเทศเพื่อนบ้านของไทย ด้วยการสนับสนุนการขยายอำนาจของพรรคคอมมิวนิสต์อย่างเปิดเผย พฤติกรรมเช่นนี้ย่อมไม่เป็นที่พึงประสงค์ของผู้นำไทย ต่อมาจีนได้ปรับเปลี่ยนนโยบายและบทบาททางการเมืองระหว่างประเทศในภูมิภาคนี้ไปในทางต่อต้านกับภัยที่คุกคามไทย ความขัดแย้งระหว่างไทยกับจีนได้ลดลงถึงขั้นร่วมมือกันต่อต้านเวียดนาม

2) สถานการณ์โลก หลังจากสหรัฐอเมริกาถอนทหารออกจากเวียดนามในปี พ.ศ. 2512 ขณะเดียวกันก็ได้เริ่มปรับความสัมพันธ์ทางการฑูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2515 เนื่องจากทั้งสองฝ่ายต้องการเป็นพันธมิตรกัน เพื่อคานอำนาจและต่อต้านการขยายอิทธิพลสิทธิครองความเป็นเจ้าของสหภาพโซเวียตที่ให้การสนับสนุนเวียดนาม สำหรับประเทศไทยก็ได้ปรับท่าทีโดยหันมาเปิดความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างกันในปี พ.ศ. 2518

2. ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน

1) ด้านการเมือง นับตั้งแต่จีนเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ประเทศไทยซึ่งมีความผูกพันกับสหรัฐอเมริกาและมีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองมีความตึงเครียด เนื่องจากปัญหาด้านอุดมการณ์และความมั่นคง แต่หลังจากสถานการณ์ในภูมิภาคและโลกเปลี่ยนแปลงไป ประเทศไทยและจีนจึงปรับความสัมพันธ์ระหว่างกันในปี พ.ศ. 2518 สมัยรัฐบาลของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช สัมพันธภาพอันดีได้สะดุดลงชั่วขณะเมื่อเกิดการรัฐประหารในประเทศไทย โดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในปี พ.ศ. 2519 โดยมีนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนากรัฐมนตรี รัฐบาลชุดนี้มีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง ต่อมาสภาที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีชุดนี้ได้ทำการรัฐประหารโดยมีพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งมีนโยบายเป็นมิตรกับทุกประเทศ แม้จะมีอุดมการณ์ทางการเมืองและระบอบการปกครองแตกต่างกันก็ตาม และนับแต่นั้นเป็นต้นมา สัมพันธภาพทางการเมืองระหว่างไทยกับจีนก็ดำเนินมาด้วยดีโดยตลอด มีการเยี่ยมเยือนกันระหว่างผู้นำของทั้งสองประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้ทรงเสด็จเยือนประเทศจีนหลายครั้งซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของประเทศทั้งสอง

2) ด้านเศรษฐกิจ จากความสัมพันธ์ด้านการเมืองของไทยและจีนมีผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจของประเทศทั้งสอง เช่น การทำความตกลงทางการค้า การลงทุนร่วมกัน การซื้อ-ขายสินค้าระหว่างกัน เป็นต้น นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492-2514 นั้น เป็นระยะที่มีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง เพราะไทยได้กระทำรุนแรงทางด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะหลังปี พ.ศ. 2502 คือ การปฏิเสธการค้ากับจีน ห้ามการติดต่อค้าขายตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 53 ต่อมาได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ทางการเมือง จึงได้มีการติดต่อทางการค้า การค้าเสรีระหว่างเอกชนไทยกับรัฐบาลขึ้นได้เริ่มขึ้นนับตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างกันเป็นต้นมา ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศขยายตัวขึ้นมากทั้ง ๆ ที่จีนต้องการพัฒนาเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองให้มากที่สุด การเปลี่ยนเปลี่ยนทางการพัฒนาประเทศของจีนเมื่อปี พ.ศ. 2521 ด้วยการประกาศนโยบาย 4 ทันสมัย ซึ่งได้แก่ เร่งรัดความทันสมัยด้านการเกษตร อุตสาหกรรม การทหาร และเทคโนโลยี ได้สร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่ไทยพอสมควร เพราะเปิดโอกาสให้เอกชนไทยเข้าไปลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งมีระบบการบริหารแบบทุนนิยมผสมกับสังคมนิยมกลุ่มเศรษฐกิจไทยดังกล่าว ได้แก่กลุ่มเจียไต๋ ซึ่งลงทุนด้านโรงงานแปรรูปอาหารสัตว์และเลี้ยงไก่ที่เมืองเซิงเจิ้น ซานโถว (ซัวเถา) ซิหลิน เหลี่ยวหนิง เซี่ยงไฮ้และปักกิ่ง นอกจากนี้ยังมีกลุ่มอื่นที่ลงทุนด้านต่าง ๆ ได้แก่ การผลิตพรม โรงงานปุ๋ย โรงงานสร้างเรือยอร์ช สนามกอล์ฟ รถจักรยายนต์ กระจก และน้ำดื่ม เป็นต้น นอกจากนั้นได้มีการตกลงทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม สร้างข้อตกลงทางการค้า ขายสินค้าอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มีการส่งผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคไปช่วยเหลือกัน ยุติข้อกีดกันทางเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นความสัมพันธ์ที่ดีอย่างสูงสุด แม้ว่าไทยจะขาดดุลการค้ากับจีนก็ตาม

3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรมของไทยและจีนนั้นมีมานานแล้วก่อนการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูตในปี พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดความตึงเครียดระหว่างกัน โดยมีการเยี่ยมเยือนจีนของคณะต่าง ๆ ทางสังคมและวัฒนธรรม เช่น คณะบาสเกตบอล คณะผู้แทนกรรมกรไทย คณะผู้แทนศิลปินไทย สมาคมพุทธศาสนา คณะสงฆ์ รวมทั้งคณะนักหนังสือพิมพ์ เป็นต้น จากเหตุการณ์ด้านวัฒนธรรมและวิชาการ อันได้แก่ การติดต่อแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกัน การส่งเสริมการท่องเที่ยว การแลกเปลี่ยนผู้ทำงานด้านศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรม และงานด้านวิชาการ เป็นต้น จากเหตุการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับความสัมพันธ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2518 เป็นต้นมา ความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรมของไทยและจีนมีความร่วมมือกันอย่างแน่นแฟ้นจนถึงปัจจุบันนี้

4.2.4. นโยบายต่างประเทศของไทยต่อยุโรปตะวันออก ยุโรปตะวันออกมีพื้นที่อยู่ระหว่างละติจูดที่ 40 – 53 องศาเหนือ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวสลาฟ สภาพความเป็นอยู่เป็นแบบชนบท ประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปตะวันออกในอดีต ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ แต่ในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาเป็นประชาธิปไตยบ้างแล้ว ศาสนาที่นับถือส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้คือศาสนาคริสต์ ภาษาที่ใช้เป็นภาษากลุ่มโรมานซ์และกลุ่มสลาโวนิก ประเทศในกลุ่มยุโรปตะวันออก ได้แก่ ประเ่ทศ 1.เบลารุส 2.บัลแกเรีย 3.สาธารณรัฐเช็ก 4.ฮังการี 5.มอลโดวา 6.โปแลนด์ 7.โรมาเนีย 8.สหพันธรัฐรัสเซีย 9.สาธารณรัฐสโลวัก 10.ยูเครน นโยบายต่างประเทศของไทยต่อยุโรปตะวันออกเน้นไปทางด้านเศรษฐกิจ จากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่มีการแข่งขันกันสูงทั้งภายในประเทศและในเวทีโลก ประกอบกับวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจที่ประเทศต่างๆ ต้องเผชิญ ทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องเร่งหาตลาดใหม่เพื่อให้เอกชนเข้าไปทำการค้า ประเทศฮังการี โรมาเนีย บัลแกเรีย และโครเอเชีย นับเป็นประเทศในกลุ่มตลาดใหม่ในยุโรปตะวันออกที่น่าสนใจของไทย แต่ก็ยังมีผู้ส่งออกของไทยจำนวนมากที่คิดว่า ทั้งสี่ประเทศนี้เป็นตลาดที่มีขนาดเล็ก เนื่องจากมีประชากรเพียงแค่ 43.7 ล้านคน และจากมูลค่าการส่งออกของไทยไปยังทั้งสี่ประเทศก็มีสัดส่วนเพียงแค่ร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกไปยังประเทศในกลุ่มยุโรปตะวันออก แต่หากคำนึงถึงนักท่องเที่ยวและประเทศข้างเคียงก็ถือว่าเป็นตลาดที่น่าสนใจทีเดียว

ประเทศฮังการี

เนื่องจากฮังการีเป็นประเทศที่มีบริษัทต่างๆ เข้ามาลงทุนทำการผลิตเพื่อการส่งออกเป็นจำนวนมาก ดังนั้นสินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าในกลุ่มของอุปกรณ์และส่วนประกอบต่างๆ ที่มีราคาถูก เพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ส่วนสินค้าในกลุ่มเกษตรที่นำเข้าจากไทย ได้แก่ ยางพารา และผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำไปต่อยอดในอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ (บทความนี้มาจาก eThaiTrade.com)นอกจากนี้ยังมีความต้องการนำเข้าสินค้าอาหารจากไทยอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นอาหารทะเล พืชผักและผลไม้เมืองร้อน ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป เนื่องจากฮังการีไม่มีพรมแดนติดทะเล และผลิตภัณฑ์อาหารจากไทยก็มีคุณภาพดีเป็นที่ยอมรับ

ประเทศโครเอเชีย

โครเอเชียเป็นตลาดที่กำลังขยายตัว และมีภาวะเศรษฐกิจที่ดี อีกทั้งมีชายแดนติดทะเล แต่ก็ยังมีความต้องการนำเข้าสินค้าอาหารจากประเทศอื่นๆ ด้วย เนื่องจากการผลิตสินค้าอาหารใน โครเอเชียไม่เพียงพอที่จะรองรับธุรกิจท่องเที่ยวที่เป็นธุรกิจหลักของประเทศ

ประเทศโรมาเนีย

จากจำนวนประชากรที่มีมากถึง 20 ล้านคน และการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป ( EU ) อีกทั้งยังมีเมืองท่าที่สำคัญ คือ Port Constanta ที่ช่วยย่นระยะทางในการขนส่งจากเอเชียสู่ยุโรปได้ ทำให้โรมาเนียเป็นตลาดใหม่ที่น่าสนใจในการส่งออกสินค้าไปยังโรมาเนียเอง และไปยังประเทศใกล้เคียงรวมทั้งประเทศต่างๆ ในแถบยุโรป

ประเทศบัลแกเรีย

แม้ว่าบัลแกเรียจะเป็นประเทศที่มีขนาดเล็ก แต่ก็เป็นตลาดส่งออกที่สามารถขยายตัวได้อีกมากของไทย นอกจากนี้ ปัจจุบันก็ยังมีการลงทุนจากเยอรมนี อิตาลี ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา เข้าไปลงทุนมาก เพราะฉะนั้นจึงมีความต้องการสินค้าที่มีคุณภาพหลายอย่างจากประเทศไทย อีกทั้งยังสามารถส่งต่อสินค้าไปยังประเทศใกล้เคียง อย่างยูเครน และประเทศอื่นๆ ได้ ส่วนใหญ่แล้วประเทศเหล่านี้จะมีการทำการค้ากับประเทศในแถบยุโรปเป็นหลัก เนื่องจากมีปริมาณการค้าที่ไม่มากนัก แต่ปัจจุบันนี้ก็มีการทำการค้ากับประเทศอื่นๆ โดยตรงเพิ่มมากขึ้น อย่างเช่น ประเทศจีน เนื่องจากจีนมีสินค้าราคาถูก ทำให้ประเทศเหล่านี้สามารถลดต้นทุนในการผลิต และเพื่อการกระจายสินค้าที่กว้างขึ้นได้ ดังนั้น ตลาดใหม่ในยุโรปตะวันออกนี้จึงเป็นตลาดที่น่าสนใจ และสามารถเป็นตลาดส่งออกสินค้าที่มีคุณภาพของประเทศไทยได้

อ้างอิงโดย: http://www.ethaitrade.com/blog/59

4.2.4. นโยบายต่างประเทศของไทยต่อยุโรปตะวันตก

การกำหนดนโยบายและความสัมพันธ์ของไทยกับประเทศยุโรปตะวันตกมีปัจจัยสำคัญ ดังนี้

1. ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายในที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายต่างประเทศของไทยต่อประเทศยุโรปตะวันตก ประกอบด้วย

1) ด้านการปกครอง หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ระบอบการปกครองของไทยจะเป็นประชาธิปไตยสลับกับเผด็จการทหาร โดยรัฐบาลทหารภายใต้การปฏิวัติรัฐประหาร จะเน้นนโยบายความมั่นคงและมีความผูกพันกับสหรัฐอเมริกามากกว่ายุโรปตะวันตก

2) ด้านการเมือง ในอดีตคนไทยให้ความสนใจกับการเมืองน้อยมาก ส่วนใหญ่ไม่มีความกระตือรือร้นในด้านการเมือง ทั้งนี้เนื่องจากตกอยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการทหารเป็นเวลานาน แต่หลังจากเหตุการณ์ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2516 ประชาชนมีความตื่นตัวในทางการเมืองมากขึ้น อย่างไรก็ตาม รัฐบาลเผด็จการยังเน้นในนโยบายความมั่นคงผูกพันกับสหรัฐอเมริกา ทำให้ความสัมพันธ์กับยุโรปตะวันตกลดน้อยลง

3) ด้านอุดมการณ์ กลุ่มทหารเป็นกลุ่มที่มีบทบาททางการเมืองมากที่สุด ดังนั้นนโยบายต่างประเทศของไทยจึงถูกกำหนดโดยกลุ่มทหารมากกว่าพลเรือน ทำให้ปัจจัยด้านอุดมการณ์และแนวคิดของผู้นำทหารเป็นตัวกำหนดการดำเนินนโยบายต่างประเทศมาตลอด โดยเน้นการต่อต้านคอมมิวนิสต์และความมั่นคงทางการเมืองมากกว่าด้านเศรษฐกิจและการกระจายรายได้

4) ด้านประวัติศาสตร์ ประเทศไทยมีการคบค้ากับกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกมาเป็นเวลานานแล้วเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา และไทยได้ใช้วิธีการถ่วงดุลอำนาจหรือลู่ตามลม จึงทำให้สามารถหลุดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกได้ ความสำคัญทางประวัติศาสตร์นี้มีผลต่อการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยในด้านเศรษฐกิจและการค้ามาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ประสบการณ์จากการติดต่อกับประเทศเหล่านี้ทำให้ไทยเลือกเน้นความสัมพันธ์กับบางประเทศ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี เป็นต้น

5) ด้านเศรษฐกิจ ประเทศไทยจำเป็นต้องพึ่งพาต่างประเทศทั้งในด้านเงินทุนและเทคโนโลยี ตลอดจนการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา ยุโรปตะวันตก และญี่ปุ่น เพื่อเป็นแหล่งระบายออกสินค้าเกษตรและกึ่งอุตสาหกรรมบางประเภท ขณะเดียวกันก็ต้องพึงพาสินค้าทุนจากประเทศเหล่านี้ในอัตราที่สูงขึ้น นโยบายเศรษฐกิจจึงมีความสำคัญต่อการกำหนดนโยบายต่างประเทศกับกลุ่มประเทศยุโรป

2. ปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ มีดังนี้

1) การเมืองระหว่างประเทศ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มหาอำนาจของโลกถูกแบ่งเป็น 2 ค่าย โดยสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำค่ายเสรีนิยมทุนนิยม ส่วนสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำค่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ สำหรับประเทศไทยจำเป็นต้องร่วมมือกับฝ่ายเสรีนิยมเพื่อต่อต้านฝ่ายคอมมิวนิสต์ตามประเทศของสิทธิทรูแมน โดยมีการก่อตั้งองค์การซีโต้ (SEATO) ซึ่งเป็นองค์การความร่วมมือทางทหารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิกด้วย

2) การเสื่อมอำนาจของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก ผลจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้ประเทศมหาอำนาจในยุโรปตะวันตก เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส และฮอลแลนด์ ประสบกับปัญหาด้านเศรษฐกิจและการเมือง ส่งผลให้อิทธิพลและบทบาทในทางการเมืองระดับโลกถดถอยลง ทำให้ประเทศไทยมีทางเลือกน้อยจนต้องพึ่งพาสหรัฐอเมริกาทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจ ส่วนกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกนั้นมีเพียงความสัมพันธ์ในด้านการค้า เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมเป็นหลัก

3) สถานการณ์อินโดจีน จากการลงนามในสนธิสัญญาก่อตั้งองค์การซีโต้ (SEATO) เพื่อต่อต้านการขยายอิทธิพลของคอมมิวนิสต์ โดยมีอังกฤษและฝรั่งเศสร่วมเป็นสมาชิกด้วย ขณะเดียวกันทำให้ไทยมีส่วนเข้าไปมีความสัมพันธ์ทางการเมืองกับกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก

4) องค์การอาเซียน สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซีย (ASEAN) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน การพัฒนาประเทศและเพิ่มอำนาจต่อรองกับประเทศมหาอำนาจและประเทศอื่น ๆ ปัจจุบันมีสมาชิกรวม 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา จากการรวมตัวของประเทศสมาชิกดังกล่าว ทำให้ความสัมพันธ์ในทางเศรษฐกิจที่กลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศสมาชิกประชาคมยุโรปที่มีต่อกลุ่มประเทศอาเซียน มีลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มต่อกลุ่มคู่ขนานไปกับความสัมพันธ์ในลักษณะทวิภาคี

3. ลักษณะนโยบายต่างประเทศของไทย จากการที่ไทยเน้นนโยบายป้องกันประเทศ โดยยึดอุดมการณ์เสรีนิยมและทุนนิยมเป็นหลัก และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกา และให้ความสำคัญกับความร่วมมือในระดับอาเซียนจึงทำให้ลักษณะของการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยดังกล่าวส่งผลต่อนโยบายต่อประเทศไทยต่อกลุ่มยุโรปตะวันตก ดังนี้

1) การเน้นความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากความเสื่อมโทรมของบทบาททางการเมืองของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก ไทยจึงให้ความสำคัญด้านดังกล่าวกับสหรัฐอเมริกาในอันที่จะเป็นที่พึ่งของไทย เพื่อต่อสู้กับภัยคุกคามจากภายนอกได้ อย่างไรก็ตาม กลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกได้มีบทบาทด้านเศรษฐกิจและการค้าเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสหภาพยุโรป ทำให้นโยบายด้านเศรษฐกิจต่อกันทั้งในระดับทวิภาคีและพาหุภาคี ซึ่งมีประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมด้วย

2) การหาเสียงสนับสนุนทางการเมือง ในช่วงที่เกิดความรุนแรงในกลุ่มประเทศอินโดจีน ส่งผลให้มีผู้ลี้ภัยสงครามอพยพเข้ามาในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก รัฐบาลไทยจำเป็นต้องแสวงหาเสียงสนับสนุนเพื่อใช้เป็นแรงต่อรองหรือผลักดันให้เกิดมติมหาชนโลก เพื่อรับรองท่าทีหรือแนวนโยบายต่างประเทศ ประเทศไทยจึงให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกในเชิงการเมือง โดยเฉพาะปัญหาสถานการณ์กัมพูชาและปัญหาผู้ลี้ภัย ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับยุโรปตะวันตก ประเทศไทยมีความสัมพันธ์กับประเทศยุโรปตะวันตกในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับยุโรปตะวันตกด้านการเมืองนั้น เป็นความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งในอดีตความสัมพันธ์ส่วนใหญ่จะมีกับอังกฤษและฝรั่งเศสในฐานะที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาอินโดจีน ซึ่งประเทศทั้งสองเคยมีบทบาทสำคัญในดินแดนแห่งนี้ แต่หลังจากกลุ่มประเทศอินโดจีนเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์ ความสัมพันธ์ด้านการเมืองระหว่างไทยกับยุโรปตะวันตก โดยเฉพาะอังกฤษและฝรั่งเศสได้ค่อย ๆ ลดบทบาทลง อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกลุ่มยุโรปตะวันตกมีลักษณะเป็นไปด้วยดีมาโดยตลอด กล่าวคือ ปราศจากความขัดแย้งสำคัญ และให้การสนับสนุนนโยบายของไทยโดยเฉพาะเกี่ยวกับปัญหากัมพูชา

2. ด้านเศรษฐกิจ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ประเทศไทยได้เร่งฟื้นฟูประเทศด้วยการดำเนินนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้า และนับตั้งแต่ พ.ศ. 2504 ทำให้ความจำเป็นในการสั่งสินค้าเข้าจากต่างประเทศในรูปของสินค้าขั้นกลาง วัตถุดิบ และสินค้าประเภททุนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก จนถึงช่วงที่ประเทศไทยเริ่มหันมาเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้า การสั่งสินค้าประเภทดังกล่าวจึงลดลงนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เมื่อไทยหันมาเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมส่งออก จากเหตุผลดังกล่าวทำให้ไทยต้องพึ่งพาสินค้าจากประเทศที่พัฒนาเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ดุลการค้าระหว่างไทยกับยุโรปตะวันตกมีลักษณะขาดดุลโดยตลอด สินค้าที่ไทยนำเข้าประกอบด้วย เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ ยานยนต์ และอาหารประเภทนมครีม ส่วนสินค้าส่งออก ได้แก่ มันสำปะหรัง ยางพาราใบยาสูบ ดีบุก ข้าว และไม้สัก เป็นต้น แต่หลังจากปี พ.ศ. 2520 อัตราส่วนการค้าของไทยกับยุโรปตะวันตกได้ลดลง เนื่องจากไทยหันไปสั่งสินค้ากับประเทศอื่น ๆ นอกภูมิภาคยุโรปตะวันตก โดยเฉพาะญี่ปุ่นและกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันหรือโอเปค (OPEC)

สำหรับการลงทุนของประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มยุโรปตะวันตกในไทยนั้น มีปริมาณมากเป็นอันดับสองรองจากญี่ปุ่น โดยมีอังกฤษเข้ามาลงทุนมากที่สุด ตามด้วยเนเธอร์แลนด์ และเยอรมนี อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับยุโรปตะวันตกนั้น ยังมีลักษณะว่าประเทศเหล่านี้เป็นแหล่งสินค้าประเภททุนและสินค้าขั้นกลางของไทย และเป็นตลาดส่งออกของไทยในด้านสินค้าโภคภัณฑ์และสินค้ากึ่งอุตสาหกรรม สำหรับแนวโน้มด้านการค้าระหว่างไทยกับยุโรปตะวันตกคงจะไม่ขยายตัวมากนัก แต่ด้านการลงทุนในไทยโดยเฉพาะจากกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกน่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

3. ด้านสังคมและวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกลุ่มยุโรปตะวันตกในด้านสังคมและวัฒนธรรมนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการและเทคนิค รวมทั้งการให้ทุนการศึกษาฝึกอบรมและดูงาน ประเทศที่ให้ความช่วยเหลือมากที่สุด ได้แก่ เยอรมนี รองลงมาคือ อังกฤษและฝรั่งเศส นอกจากนี้ยังมีอิตาลี เบลเยี่ยม เดนมาร์ก นอร์เว สวีเดน และฟินแลนด์ อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกลุ่มยุโรปตะวันตกในอดีตเป็นลักษณะการให้ทุนการศึกษาและดูงาน ความช่วยเหลือในรูปโครงการส่วนใหญ่จะมุ่งไปในด้านการเกษตร ลักษณะความช่วยเหลือและปริมาณความช่วยเหลือดังกล่าวคงไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก

4.2.6.นโยบายต่างประเทศไทยของไทยต่อญี่ปุ่น

ความเป็นมาของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น

ไทยกับญี่ปุ่นเคยติดต่อค้าขายกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทันเป็นราชธานีแล้ว จนกระทั่งในสมัยของพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยา ในช่วงปี พ.ศ. 2172-2199 ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศได้ลดลง เนื่องจากฝ่ายไทยเกรงว่าชาวญี่ปุ่นจะเข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองไทยมากเกินไปจึงขับไล่ชาวญี่ปุ่นออกนอกประเทศ ประกอบกับฝ่ายญี่ปุ่นมีนโยบายปิดประเทศมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2178 จึงทำให้การติดต่อค้าขายได้ยุติลงอย่างเป็นทางการ ไทยกับญี่ปุ่นได้กลับมามีความสัมพันธ์กันอีกครั้งหนึ่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยมีการลงทุนในปฎิญญาว่าด้วยมิตรภาพและการค้าระหว่างกันในปี พ.ศ. 2430 ซึ่งไทยสนใจจะเปิดประเทศเพื่อพัฒนาตนเอง และญี่ปุ่นเองก็ถูกสหรัฐอเมริกาบังคับให้เปิดประเทศ ในปี พ.ศ. 2398 ความสัมพันธ์ของไทยและญี่ปุ่นเป็นไปในลักษณะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าทัดเทียมกับประเทศตะวันตก หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งขณะนั้นญี่ปุ่นได้พัฒนาประเทศไปมากแล้ว และฝ่ายไทยก็ต้องการพัฒนาประเทศโดยอาศัยญี่ปุ่นเป็นแนวทางการพัฒนา ผู้นำไทยขณะนั้นมีความนิยมชมชอบญี่ปุ่น เนื่องจากญี่ปุ่นสามารถพัฒนาประเทศได้รวดเร็ว ขณะเดียวกันญี่ปุ่นก็ต้องการมีความสัมพันธ์กับไทย เพราะต้องการขยายอิทธิพลของตนเข้ามาในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อแข่งขันกับมหาอำนาจตะวันตกซึ่งมีอิทธิพลในบริเวณนี้มาก่อนแล้ว ขณะที่ผู้นำของไทยก็หวังจะพึ่งพาญี่ปุ่นเพื่อต่อต้านตะวันตก จึงทำให้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับญี่ปุ่น

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นทำการรบได้ชัยชนะและยึดได้ดินแดนต่าง ๆ มากมาย ฝ่ายไทยคิดว่าญี่ปุ่นคงจะชนะสงครามจึงสนับสนุนญี่ปุ่น โดยเปิดทางให้ญี่ปุ่นยกทัพผ่านไปยังดินแดนอื่นพร้อมกับประกาศเข้าข้างญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ โดยทำสัญญาร่วมรบร่วมรุกกับญี่ปุ่นในปีพ.ศ. 2484 ต่อมาเมื่อคาดว่าญี่ปุ่นจะแพ้สงครามฝ่ายไทยจึงหันไปสนับสนุนขบวนการเสรีไทยเพื่อต่อต้านญี่ปุ่นแทน

ปัจจัยกำหนดความสัมพันธ์ของไทยกับญี่ปุ่น

การกำหนดความสัมพันธ์ของไทยกับญี่ปุ่นเกิดจากปัจจัยด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในด้านอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก สินค้าที่ผลิตต้องอาศัยทุนจำนวนมาก และเทคโนโลยีระดับสูงเป็นหลัก แต่ญี่ปุ่นกลับขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตรวมทั้งพลังงานได้แก่ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน จำเป็นต้องนำเข้าวัตถุดิบดังกล่าวเป็นจำนวนมากซึ่งไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาให้ญี่ปุ่นได้ แม้จะไม่ทั้งหมดก็ตามทำให้ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์กันขึ้นมา สำหรับไทยนั้นต้องการขายสินค้าเกษตรให้กับญี่ปุ่นเพื่อนำเงินมาพัฒนาประเทศ ซึ่งต้องใช้เงินจำนวนมากและญี่ปุ่นก็เป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญของไทย ขณะเดียวกันญี่ปุ่นก็ต้องการขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศ เนื่องจากค่าแรงในประเทศสูงมากและมีกฎระเบียบเข้มงวด ในขณะที่ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะรองรับได้ในทุกด้านดังกล่าว ประเทศไทยจึงเป็นแหล่งลงทุนและยังเป็นตลาดที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่นด้วย เมื่อสภาพเศรษฐกิจของทั้งสองฝ่ายต่างเกื้อกูลกัน จึงทำให้ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่นใกล้ชิดและผูกพันกัน แม้บางครั้งจะไม่ราบรื่นนัก แต่ต่างก็ประคับประคองกันได้เพื่อผลประโยชน์ของตน

2. ด้านจิตวิทยา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นเข้ายึดครองดินแดนต่าง ๆ ซึ่งประเทศเหล่านั้นยังไม่ลืมความรุนแรงโหดร้ายที่ถูกญี่ปุ่นรุกราน ปัจจุบันญี่ปุ่นมีความก้าวหน้าด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสูงมากจะเป็นรองก็แต่เพียงสหรัฐอเมริกาเท่านั้น นอกจากนี้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกที่ค้าขายกับญี่ปุ่นต่างเสียเปรียบดุลการค้าแก่ญี่ปุ่น รวมทั้งไทยด้วยจึงทำให้มีทัศนคติที่ไม่ดีกับญี่ปุ่น โดยมองว่าคนญี่ปุ่นไม่มีความจริงใจเอาเปรียบและกอบโกย แม้ญี่ปุ่นจะให้ความช่วยเหลือแก่ไทยเป็นจำนวนมากก็ตาม แต่คนไทยก็ยังเชื่อว่าญี่ปุ่นทำเพื่อประโยชน์ของตนเองมากกว่า กรณีดังกล่าวนี้นับเป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นในปัจจุบัน

3. ด้านภูมิศาสตร์ การที่ญี่ปุ่นขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมและอาหาร โดยเฉพาะน้ำมันซึ่งจำเป็นต่อเศรษฐกิจของญี่ปุ่นมากและต้องนำเข้าจากตะวันออกกลางโดยใช้เส้นทางผ่านช่องแคบมะละกา ชุนดา และลอมบ๊อค เส้นทางดังกล่าวนี้มีความปลอดภัยและมีความสำคัญต่อญี่ปุ่นมาก ซึ่งญี่ปุ่นต้องการให้ดินแดนแถบนี้มีความมั่นคง โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งเป็นประตูเข้าสู่ประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มอาเซียนที่มีความสำคัญต่อญี่ปุ่นด้วย ปัจจุบันสินค้าที่ญี่ปุ่นนำเข้าจากอาเซียน ได้แก่ น้ำมัน ยาง น้ำตาลดิบ ดีบุก ทองแดง และน้ำมันพืช ส่วนกลุ่มอาเซียนก็สั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ จากญี่ปุ่นเช่นกัน นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีความสำคัญต่อญี่ปุ่น คือ ญี่ปุ่นมีความหวังว่าประเทศไทยจะขุดคอคอดกระเพื่อเชื่อมระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งในอดีตญี่ปุ่นเคยสนับสนุนแนวคิดนี้อย่างเต็มที่และยินดีที่จะช่วยขุดให้ด้วย เนื่องจากญี่ปุ่นจะได้ประโยชน์จากการขุดนี้โดยเป็นการย่นระยะทางให้สั้นลง และทำให้ญี่ปุ่นมีความมั่นคงยิ่งขึ้น หากเกิดปัญหาขึ้นกับเส้นทางขนส่งวัตถุดิบในปัจจุบันก็ยังมีเส้นทางสำรองอีกเส้นทางหนึ่ง

4. ด้านการเมือง หลังสมครามโลกครั้งที่ 2 รัฐธรรมนูญกำหนดให้ญี่ปุ่นไม่มีกองทัพและไม่ให้ญี่ปุ่นยุ่งเกี่ยวกับการเมืองโลก จึงทำให้ญี่ปุ่นมุ่งพัฒนาด้านเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว โดยใช้นโยบายเศรษฐกิจนำหน้าการเมือง และแยกตัวเองออกจากความขัดแย้งระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น เมื่อสหรัฐอเมริกาต้องถอนทหารออกจากอินโดจีน สหรัฐอเมริกาต้องการให้ญี่ปุ่นเข้ารับบทบาทแทนในภูมิภาคนี้เพื่อปกป้องระบอบประชาธิปไตย ญี่ปุ่นซึ่งเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและมีผลประโยชน์กระจายอยู่ทั่วโลกได้แสดงบทบาทตนเองมากขึ้นในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนซึ่งอาจถูกกระทบกระเทือนได้ ขณะที่ไทยเองก็มีนโยบายผูกมิตรกับทุกประเทศ และต้องการให้ญี่ปุ่นเข้ามามีผลประโยชน์อยู่ในประเทศอย่างมาก เพื่อที่ญี่ปุ่นจะได้ไม่สนใจในประเทศเพื่อนบ้านของไทย สำหรับนโยบายของญี่ปุ่นที่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับไทยก็คือนโยบายของญี่ปุ่นที่มีต่ออาเซียนนั่นเอง

5. ด้านสังคมและวัฒนธรรม ไทยกับญี่ปุ่นมีลักษณะทางด้านสังคมและวัฒนธรรมคล้ายกันหลายอย่าง นับตั้งแต่เป็นชาวเอเชีย นับถือศาสนาพุทธ มีระบอบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งไทยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่วนญี่ปุ่นมีจักรพรรดิเป็นประมุข นอกจากนั้นวิวัฒนาการทางสังคมของประเทศทั้งสองยังคล้ายกันโดยมีพื้นฐานจากสังคมเกษตรกรรม ในสมัยเมจิของญี่ปุ่นได้พัฒนาตนเองจนกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรม ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ของไทยที่มีการปฏิรูปการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมเช่นกัน แต่ไทยไม่ก้าวหน้าเท่ากับญี่ปุ่น และยังเป็นประเทศเกษตรกรรมเช่นเดิม นอกจากนี้ทั้งสองประเทศต่างไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติมหาอำนาจใดเลย จึงทำให้ทั้งสองฝ่ายเคารพในเกียรติภูมิของกันและกัน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ประเทศทั้งสองมีความสัมพันธ์และเข้าใจกันดีมาโดยตลอด

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นชาติที่เจริญมากจึงมีความสัมพันธ์กับชาติที่เจริญแล้วเช่นกันมากกว่าที่จะคบค้าสมาคมกับชาติที่กำลังพัฒนาเช่นไทย ขณะเดียวกันคนญี่ปุ่นมักเกาะกลุ่มกันอย่างเหนียวแน่น ไม่คบคนชาติมากนัก ปัญหาสำคัญของคนญี่ปุ่นคือจะไม่พูดภาษาต่างประเทศ ทำให้เป็นอุปสรรคในการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับญี่ปุ่น แม้จะมีปัจจัยด้านต่าง ๆ ที่เอื้ออำนวยอยู่แล้ว ลักษณะนโยบายต่างประเทศของไทยต่อญี่ปุ่น

ความสัมพันธ์ของไทยกับญี่ปุ่นเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นระยะที่ประเทศไทยกำลังถูกคุกคามจากมหาอำนาจตะวันตก รวมทั้งญี่ปุ่นด้วย ต่างต้องอยู่ภายใต้สัญญาที่ไม่เท่าเทียมกันกับชาติตะวันตกเช่นกัน ทั้งสองฝ่ายต้องการหาพันธมิตร เมื่อมีนโยบายตรงกันทั้งไทยและญี่ปุ่นจึงทำความตกลงกันอย่างเป็นทางการโดยลงนามในปฏิญญาว่าด้วยมิตรภาพและการค้าระหว่างกันกับญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2430 ขณะเดียวกันไทยมีความขัดแย้งกับชาติตะวันตกจึงทำให้ไทยมีนโยบายที่จะกระชับความสัมพันธ์กับญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้น ไทยจึงได้เอาผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ เช่น กฎหมายและวิศวกรรมจากญี่ปุ่นมาช่วยราชการ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น และเมื่อสงครามยุติลง ไทยได้ให้ความร่วมมือกับสหประชาชาติในขณะที่ญี่ปุ่นถูกปกครองโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ความสัมพันธ์ของไทยกับญี่ปุ่นจึงยุติลง ต่อมาญี่ปุ่นพ้นจากการยึดครองของฝ่ายสัมพันธมิตร ความสัมพันธ์ของไทยกับญี่ปุ่นได้เปลี่ยนไปเป็นด้านเศรษฐกิจและการค้ามากกว่าด้านอื่น โดยไทยมีนโยบายส่งเสริมให้มีการค้ากับต่างประเทศ และให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศทำให้ชาวญี่ปุ่นเข้ามามีบทบาทในระบบเศรษฐกิจไทยมากขึ้น

ผลจากการติดต่อค้าขายระหว่างกัน ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้าต่อญี่ปุ่นมาตลอด แม้จะมีนโยบายแก้ไขปัญหานี้ รวมทั้งมีการต่อต้านสินค้าญี่ปุ่นเพื่อลดการขาดดุลการค้ากับญี่ปุ่นแต่ก็ไม่ได้ผลต่อมารัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเสนอให้มีการปรับโครงสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่น เพื่อลดการขาดดุลการค้าของไทย และไทยขอให้ญี่ปุ่นให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและวิชาการ เพื่อนำมาปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมไทยและพัฒนาการส่งออกของไทยให้มากขึ้น ส่วนด้านการเมืองนั้นไทยไม่ได้มีนโยบายด้านนี้แต่อย่างใด

ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น

ลักษณะความสัมพันธ์ของไทยกับญี่ปุ่นแบ่งออกเป็นด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านการเมือง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ไทยและญี่ปุ่นแทนจะไม่มีความสัมพันธ์ด้านการเมืองต่อกันเลย เพราะญี่ปุ่นเน้นนโยบายด้านเศรษฐกิจเป็นหลัก นโยบายด้านการเมืองที่มีผลกระทบต่อไทยก็คือ นโยบายของญี่ปุ่นที่มีต่ออาเซียนซึ่งเกี่ยวพันกับนโยบายต่างประเทศของไทย โดยหลังจากสหรัฐอเมริกาถอนทหารออกจากเวียดนามแล้ว สหรัฐได้ขอให้ญี่ปุ่นเข้ามามีบทบาทแทนตนในเขตภูมิภาคนี้ ขณะเดียวกันญี่ปุ่นก็เกรงว่าผลประโยชน์ของตนจะถูกกระทบกระเทือน เพราะญี่ปุ่นต้องอาศัยเส้นทางเดินเรือผ่านตอนใต้ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือ ช่องแคบมะละกา เพื่อลำเลียงวัตถุดิบไปยังญี่ปุ่นและคานอำนาจสหภาพโซเวียตที่เข้ามามีอิทธิพลในเวียดนาม ด้วยเหตุนี้ญี่ปุ่นจึงเข้ามามีบทบาทในภูมิภาค ซึ่งบทบาทที่สำคัญคือ การเป็นผู้ไกล่เกลี่ยปัญหาของภูมิภาค โดยญี่ปุ่นเข้าไปผูกพันกับเวียดนามเพื่อดึงเวียดนามออกจากการครอบงำของสหภาพโซเวียต ด้วยการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่เวียดนาม นอกจากนี้ยังเป็นผู้ไกล่เกลี่ยปัญหากัมพูชาเพื่อให้เกิดสันติภาพขึ้น โดยเฉพาะการเสนอให้เวียดนามถอนทหารออกจากบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งตรงกับข้อเสนอของไทยต่ออาเซียน อาจกล่าวได้ว่าความสัมพันธ์ของไทยและญี่ปุ่นด้านการเมืองดำเนินไปได้ด้วยดี นอกจากนี้ญี่ปุ่นยังรับภาระเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยในไทยด้วยการให้เงินช่วยเหลือในโครงการต่าง ๆ และช่วยเหลือผ่านทางหน่วยงานระหว่างประเทศ เช่น สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัย กาชาดสากลและยูนิเซฟ เป็นต้น ซึ่งอาจสรุปความสัมพันธ์ด้านการเมืองของไทยกับญี่ปุ่นว่าดำเนินไปด้วยดี เนื่องจากมีผลประโยชน์ตรงกัน คือ ต้องการรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงของดินแดนในภูมิภาคนี้ไว้ เพื่อให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมดำเนินต่อไปได้

2. ด้านเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ด้าน ดังนี้

1) ด้านการค้า ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นได้ยุติลงภายหลังสงครามโลกครั้งที่ เนื่องจากญี่ปุ่นแพ้สงครามและถูกฝ่ายสัมพันธมิตรยึดครองความสัมพันธ์ระหว่างไทยและญี่ปุ่นได้หวนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ เนื่องจากญี่ปุ่นได้สั่งซื้อข้าวจากไทย เพราะไม่สามารถผลิตข้าวได้เพียงพอกับการบริโภค ซึ่งไทยได้ส่งข้าวเป็นสินค้าหลักไปขายยังญี่ปุ่น โดยใช้เงินบาทในการแลกเปลี่ยนเพื่อไม่ให้เสียเปรียบดุลการค้ามากนัก ขณะเดียวกันญี่ปุ่นได้ส่งสินค้าอุตสาหกรรม เช่น เครื่องจัก เครื่องยนต์ เข้ามาขายในไทย และต่อมาในปี พ.ศ. 2499 การค้าขายได้เปลี่ยนแปลงการชำระเงินจากเดิมเป็นเงินบาทไปเป็นเงินตราสกุลอื่น ๆ เช่น ปอนด์ หรือดอลล่าร์ได้ นับแต่นั้นมาการค้าเริ่มมีการได้เปรียบเสียเปรียบกันมากขึ้น หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นยอมจ่ายค่าปฏิกรสงครามให้กับหลายๆ ประเทศรวมทั้งไทยด้วย โดยชำระเป็นเงินสดและเป็นสินค้าประเภททุนเครื่องจักร อุปกรณ์และบริการต่าง ๆ ทำให้สินค้าญี่ปุ่นหลั่งไหลเข้ามาจนครองตลาดเมืองไทยไปในที่สุด

2) ด้านการลงทุน หลังจากญี่ปุ่นจ่ายค่าปฏิกรสงครามแล้ว รัฐบาลไทยได้นำเงินที่ได้รับไปลงทุนด้านต่าง ๆ เช่น สร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าเขื่อนน้ำอุ่น สร้างโรงงานผลิตเครื่องนุ่งห่มทหาร เป็นต้น การลงทุนของญี่ปุ่นในไทยเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนญี่ปุ่นกลายเป็นต่างชาติที่มีการลงทุนสูงสุดในประเทศไทย ทั้งนี้เนื่องจากไทยต้องการให้มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมขึ้นในประเทศ จึงได้ออกกฎหมายเพื่อส่งเสริมทางด้านอุตสาหกรรม เช่น พ.ร.บ.ส่งเสริมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2497 พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรม พ.ศ. 2503 และประกาศคณะปฎิวัติฉบับที่ 227 เป็นต้น เพื่อให้ผู้เข้ามาลงทุนได้รับสิทธิพิเศษต่าง ๆ เช่น การลดหย่อนภาษีต่าง ๆ ซึ่งทำให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนมากขึ้น

3) ด้านการให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เนื่องจากไทยต้องการพัฒนาประเทศซึ่งต้องอาศัยเงินทุนจำนวนมาก ญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือโดยการให้เงินกู้เพื่อนำมาลงทุนพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ เช่น สาธารณูปโภคและการพลังงาน เป็นต้น โดยมีข้อผูกมัดว่าไทยต้องซื้อสินค้าและบริการจากญี่ปุ่นเท่านั้น ซึ่งต่อมาได้มีการแก้ไขข้อผูกมัดนี้ โดยไทยสามารถซื้อสินค้าจากประเทศอื่นได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สินค้าญี่ปุ่นทะลักเข้ามาและครอบครองตลาดเมืองไทยในที่สุดจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ญี่ปุ่นยังให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่า และให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิควิทยาการมากกว่าที่ไทยได้รับจากประเทศอื่น ๆ เช่น การส่งผู้เชี่ยวชาญมาช่วยฝึกงานให้กับคนไทย การให้ทุนการศึกษา หรือการฝึกอบรมดูงานในญี่ปุ่น เป็นต้น

3. ด้านสังคมและวัฒนธรรม ไทยและญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา จะเห็นได้จากมีชาวญี่ปุ่นอพยพเข้ามาตั้งรกรากอยู่ในอยุธยาเป็นจำนวนมาก จนเกิดหมู่บ้านญี่ปุ่นในอยุธยาจนถึงปัจจุบันแต่ไม่ปรากฏว่าไทยได้รับเอาอารยธรรมหรือวัฒนธรรมของญี่ปุ่นไว้นอกจากการค้าขาย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 มีชาวญี่ปุ่นเข้ามาอาศัยและประกอบอาชีพต่าง ๆ ทั้งด้านการค้าและการเกษตร ในช่วงที่ญี่ปุ่นเริ่มมีความก้าวหน้าด้านวิชาการและเทคโนโลยีมาก ไทยได้ส่งนักเรียนไปศึกษาด้านการทหาร การปั้นถ้วยชาม ช่างทอง ย้อมไหม และทอผ้า เป็นต้น ขณะเดียวกันก็มีผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นเข้ามารับราชการในไทย เช่น ที่ปรึกษาด้านยุติธรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงไหม ครูและแพทย์ เป็นต้น ต่อมาหลังจากไทยเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ไทยกับญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์กันมากขึ้น แต่เน้นไปทางด้านการทหารและเศรษฐกิจ ซึ่งความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรมได้รับการส่งเสริมหลังจากปี พ.ศ. 2480 เนื่องจากญี่ปุ่นต้องการเผยแพร่อิทธิพลของตนเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากที่ญี่ปุ่นแพ้สงคราม อิทธิพลของญี่ปุ่นในไทยได้ลดลง เนื่องจากถูกครองโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ปัจจุบันญี่ปุ่นให้ความสำคัญต่อเศรษฐกิจและการค้ามาก อิทธิพลด้านสังคมและวัฒนธรรมของญี่ปุ่นได้แพร่หลายเข้ามาในไทย เนื่องจากนโยบายด้านเศรษฐกิจ คนญี่ปุ่นที่เข้ามาอาศัยในเมืองไทยได้นำเอาวัฒนธรรมของตนมาเผยแพร่ด้วย เช่น การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น หรือการแสดงวัฒนธรรมญี่ปุ่นในไทย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อิทธิพลด้านวัฒนธรรมของญี่ปุ่นมีต่อวัฒนธรรมไทยมากในด้านการบริโภคและวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เห็นได้จากชีวิตประจำวันของคนไทยที่ใช้สินค้าทีผลิตโดยญี่ปุ่น และวัฒนธรรมด้านการบริโภคอิทธิพลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนี้ แท้จริงก็คือผลของการครอบงำด้านเศรษฐกิจซึ่งมีอิทธิพลต่อจิตใจคนไทยด้วย แต่วัฒนธรรมของญี่ปุ่นไม่ได้หยั่งลึกในสังคมไทย เนื่องจากคนญี่ปุ่นที่เข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองไทยมักเกาะกลุ่มกันเอง ไม่สนใจคบค้าสมาคมกับคนอื่น นอกจากนี้คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่พูดภาษาต่างประเทศ มีความเป็นชาตินิยมสูง จึงไม่อาจถ่ายทอดวัฒนธรรมของตนให้กับคนไทยได้โดยตรง อย่างไรก็ตาม ไทยกับญี่ปุ่นมักจะมีลักษณะเป็นความสัมพันธ์ทางเดียว กล่าวคือ ญี่ปุ่นต้องการให้คนไทยรู้จักญี่ปุ่นดีขึ้นในทุกด้าน เช่น โครงการเรือเยาวชนแห่งเอเชีย โดยให้เยาวชนไทยเข้าร่วมกับเยาวชนญี่ปุ่นรวมทั้งเยาวชนจากประเทศอาเซียนเพื่อเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เป็นต้น แต่ทั้งสองฝ่ายไม่ได้มีโครงการใด ๆ ที่จะให้คนญี่ปุ่นรู้เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมไทยแต่อย่างใด

4.2.7ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอาเซียน ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 5 ของสมาชิกผู้ก่อตั้งและเป็นจุดกำเนิดของอาเซียน หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีของ 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดจีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ต่อมาประเทศบรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ได้เข้ามาเป็นสมาชิกอาเซียนตามลำดับ รวมสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ไทยมีบทบาทอย่างแข็งขันในกิจกรรมของอาเซียนตลอดมา รวมทั้งยังมีส่วนผลักดันให้อาเซียนมีโครงการความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ที่ทันการณ์และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ระหว่างประเทศ อาทิ การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะเดียวกันอาเซียนก็มีความสำคัญต่อประเทศไทย โดยนอกจากจะสร้างพันธมิตรและความเป็นปึกแผ่น ตลอดจนเสถียรภาพและสันติภาพในภูมิภาคแล้ว ยังช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองในการเจรจาระหว่างประเทศ และร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาข้ามชาติ และการพัฒนาขั้นพื้นฐานต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนั้นความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมภายในอาเซียน ได้เปิดโอกาสให้มีการขยายตัวด้านการค้าและการลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งนำผลดีมาสู่เศรษฐกิจของประเทศไทยและของประเทศสมาชิกอาเซียนโดยส่วนรวม

ปัจจัยกำหนดความสัมพันธ์ของไทยกับอาเซียน

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอาเซียนมีปัจจัยที่กำหนดความสัมพันธ์ ดังนี้

1. ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายในที่กำหนดนโยบายของไทยต่ออาเซียน ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ ปัจจัยภายในที่กำหนดนโยบายต่อสมาคมอาเซียน และปัจจัยภายในที่กำหนดนโยบายแต่ละประเทศในอาเซียน สำหรับสมาคมอาเซียนนั้น รัฐได้นำปัจจัยภายในต่าง ๆ มาประกอบการพิจารณา ซึ่งได้แก่ การเสริมสร้างเสถียรภาพของรัฐบาล การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ การเมืองในประเทศ รวมทั้งการพัฒนาประเทศ เป็นต้น ส่วนปัจจัยภายในที่กำหนดนโยบายต่อแต่ละประเทศในอาเซียนนั้น บางอย่างคล้ายคลึงกัน บางอย่างแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิศาสตร์และผลประโยชน์ร่วมกัน

2. ปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายนอกที่กำหนดนโยบายของไทยต่ออาเซียน ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ประการเช่นเดียวกับปัจจัยภายใน ได้แก่ ปัจจัยภายนอกที่กำหนดต่อสมาคมอาเซียน และปัจจัยภายนอกที่กำหนดนโยบายต่อแต่ละประเทศในอาเซียน สำหรับสมาคมอาเซียนนั้น ได้แก่ การลดบทบาทของสหรัฐอเมริกา การแผ่ขยายสิทธิคอมมิวนิสต์ ชัยชนะของคอมมิวนิสต์ในอินโดจีน และการแข่งขันอิทธิพลของมหาอำนาจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนปัจจัยภายนอกที่กำหนดนโยบายของไทยต่อแต่ละประเทศในอาเซียนโดยทั่วไปแล้วเป็นสิ่งเดียวกัน เช่น การแข่งขันอิทธิพลของประเทศมหาอำนาจ ซึ่งทำให้ไทยจำเป็นจะต้องร่วมมือกับอาเซียนอย่างใกล้ชิด เป็นต้น ลักษณะความสัมพันธ์ของไทยกับอาเซียน ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศอาเซียน มีดังนี้

1. นโยบายต่างประเทศของไทย หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 นโยบายต่างประเทศของไทยต่ออาเซียนที่รัฐบาลไทยยึดถือปฏิบัติอยู่เป็นไปตามนโยบายที่สืบเนื่อง มาจากนโยบายสมัยรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเสริมสร้างความร่วมมือทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกนของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจะกระชับสัมพันธไมตรีกับบรรดาประเทศภาคีอาเซียนให้แน่นแฟ้นและใกล้ชิดยิ่งขึ้น ทั้งจะสนับสนุนมาตรการที่จะให้ภิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตสันติภาพ เสรีภาพและความเป็นกลาง ซึ่งต่อมาในสมัยรัฐบาล ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เน้นหลักการที่จะเป็นมิตรกับทุกประเทศที่มีเจตนาดีต่อประเทศไทย โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในอุดมการณ์ทางการเมือง และระบบการปกครอง แต่จะยึดหลักความยุติธรรมและความเสมอภาคเป็นสำคัญ ไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน จากนโยบายดังกล่าวเป็นผลนำไปสู่การเปิดความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างไทยกับจีน ในปี พ.ศ. 2518 และนับจากนั้นเป็นต้นมาทุกรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศ ก็ได้ยึดถือหลักการสำคัญของนโยบายต่างประเทศในอันที่จะสร้างความสัมพันธ์อันดีกับทุกประเทศทั่วโลก โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในลัทธิการเมือง และระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะได้เน้นการสร้างความสัมพันธ์ในลักษณะพิเศษกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดต่อกันและกลุ่มประเทศอาเซียน

2. ลักษณะความสัมพันธ์ของไทยกับแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียน ลักษณะความสัมพันธ์ ของไทยกับแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียน มีดังนี้

4.2.7.1.ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซีย ไทยกับมาเลเซียเป็นเพื่อนบ้านที่มีอาณาเขตติดต่อกัน และมีผลประโยชน์ร่วมกันหลายด้าน จึงทำให้ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด สามารถแยกความสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้

1) ด้านการเมือง ความร่วมมือทางการเมืองที่สำคัญ คือ การที่มาเลเซียมีความเข้าใจในนโยบายของไทยที่มีต่อชาวมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนไทยโดยพยายามป้องกันไม่ให้มีขบวนการโจรก่อการร้ายที่ปฏิบัติการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นำเอาปัญหาชาวไทยมุสลิมเข้าสู่ที่ประชุมกลุ่มประเทศมุสลิม ซึ่งอาจกลายเป็นปัญหาระหว่างประเทศ อันจะทำให้ปัญหาดังกล่าวรุนแรงเพิ่มขึ้น

2) ด้านเศรษฐกิจ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ การค้าขายระหว่างกัน ในกลุ่มประเทศอาเซียนนั้นมาเลเซียเป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทยรองจากสิงคโปร์ อดีตไทยเคยได้เปรียบดุลการค้ามาเลเซียโดยตลอด ปัจจุบันมาเลเซียกลับเป็นฝ่ายได้เปรียบ นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายได้ทำความตกลงจัดตั้งองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย เพื่อแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันในบริเวณเขตพัฒนาร่วม บริเวณไหล่ทวีปในอ่าวไทย ซึ่งเป็นบริเวณที่เหลื่อมล้ำกัน มีพื้นที่ประมาณ 6,900 ตารางกิโลเมตร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา ความร่วมมือนี้มีความก้าวหน้าตามลำดับ

3) ด้านการทหาร เนื่องจากทั้งสองประเทศมีพรมแดนติดต่อกัน จึงมีความร่วมมือกันเป็นพิเศษในด้านการทหาร เช่น การร่วมมือในอุตสาหกรรมผลิตอาวุธ การซ้อมรบร่วม การฝึกนักบินและเจ้าหน้าที่ประจำเครื่องบิน รวมทั้งการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างเรือรบและคณะทหารระหว่างกัน เป็นต้น

4.2.7.2.ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสิงคโปร์ สิงคโปร์เป็นประเทศเล็กมีนโยบายเป็นกลาง ไม่ผูกพันกับฝ่ายใด และมีความสัมพันธ์อันดีกับทุกประเทศ สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสิงคโปร์นั้น แยกออกเป็นด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้

1) ด้านการเมือง ไทยและสิงคโปร์ไม่เคยมีปัญหาด้านการเมืองที่จะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกันเลย ทั้งสองประเทศร่วมมือกันเป็นอย่างดีทั้งในระดับภูมิภาคและในสหประชาชาติ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนระหว่างกันของเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ตลอดจนผู้นำของประเทศอยู่เป็นประจำ ในอดีตสิงคโปร์ได้ให้การสนับสนุนไทยอย่างเต็มที่ในการแก้ไขปัญหากัมพูชา ซึ่งเป็นความร่วมมือทางการเมืองที่สำคัญ

2) ด้านเศรษฐกิจ สิงคโปร์แม้จะเป็นประเทศเล็ก ๆ แต่ก็เป็นประเทศคู่ค้าอันดับต้น ๆ ของไทย และได้เปลี่ยนตุลาการค้ากับไทยมาโดยตลอด นอกจากนี้สิงคโปร์ยังมีความร่วมมือด้านอื่น ๆ เช่น การเข้ามาลงทุนของชาวสิงคโปร์ในประเทศไทย การส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็นต้น

3) ด้านการทหาร ไทยและสิงคโปร์มีความร่วมมือกันในด้านการฝึกอบรมทางทหาร มีการแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ทางการทหาร และการแลกเปลี่ยนข่าวกรองระหว่างกัน รวมทั้งการฝึกปฏิบัติการทางทหารกันเป็นประจำ

4.2.7.3.ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย อินโดนีเซียดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างเป็นอิสระ วางตัวเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค ซึ่งไทยเป็นประเทศที่อินโดนีเซียให้ความสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากมีผลประโยชน์สอดคล้องกันโดยเฉพาะการต่อต้านลักทธิคอมมิวนิสต์ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกันอินโดนีเซีย แยกออกเป็นด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้

1) ด้านการเมือง เนื่องจากการเมืองระหว่างประเทศสอดคล้องกัน ไทยและอินโดนิเซียจึงร่วมมือกันเป็นอย่างดีทั้งในระดับภูมิภาคและในสหประชาชาติ ความร่วมมือทางการเมืองที่สำคัญ คือ การให้ความช่วยเหลือไทยในการป้องกันไม่ให้ขบวนการโจรก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้นำปัญหาคนไทยมุสลิมเข้าสู่ที่ประชุมของกลุ่มประเทศมุสลิม ซึ่งจากความช่วยเหลือของอินโดนีเซียและมาเลเซีย รวมทั้งการดำเนินงานของฝ่ายไทยได้สร้างความเข้าใจให้กับกลุ่มประเทศมุสลิม ทำให้การดำเนินงานของขบวนการโจรก่อการ้ายไม่ประสบความสำเร็จ

2) ด้านเศรษฐกิจ การค้าขายระหว่างไทยกับอินโดนิเซียในอดีต ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ามาตลอด เนื่องจากอินโดนิเซียต้องสั่งซื้อข้าวจากไทยเป็นจำนวนมาก ระยะต่อมาอินโดนิเซียสามารถผลิตข้าวได้เพียงพอกับความต้องการบริโภค ทำให้การส่งออกข้าวของไทยมีปริมาณลดลงขณะที่สินค้าที่ไทยต้องนำเข้ากับมีมูลค่าเพิ่มขึ้น จึงทำให้ไทยต้องเสียเปรียบดุลการค้าต่ออินโดนีเซีย

3) ด้านการทหาร ทั้งสองประเทศมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันของคณะทหาร รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข่าวกรองเช่นเดียวกับประเทศอาเซียนอื่น ๆ ตลอดจนการฝึกรบร่วมกันของทหารของทั้งสองประเทศ เช่น การฝึกประลองยุทธ์ระหว่างกองทัพอากาศไทยและอินโดนีเซีย เป็นต้น

4.2.7.3.ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์ ประเทศฟิลิปปินส์เป็นเกาะอยู่ห่างจากแผ่นดินใหญ่ การติดต่อระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์จึงไม่สะดวกนักต่างกับสิงคโปร์และมาเลเซีย อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์แยกออกเป็นด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้ ) ด้านการเมือง ไทยและฟิลิปปินส์อยู่ในกลุ่มประเทศโลกเสรี การดำเนินนโยบายต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายจึงสอดคล้องกัน รวมทั้งมีความร่วมมือทางด้านการเมืองมากขึ้น เมื่อไทย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซียร่วมกันจัดตั้งสมาคมอาสา (ASA) ขึ้นในปี พ.ศ. 2504 ด้วยจุดประสงค์เพื่อที่จะประสานความสัมพันธ์ของแต่ละประเทศเข้าด้วยกัน เพื่อความกินดีอยู่ดีของประชาชนและความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรมของภูมิภาคนี้ ต่อมาฟิลิปปินส์และมาเลเซียเกิดความขัดแย้งกันกรณีปัญหาซาบาห์ซึ่งไทยได้วางตัวเป็นกลางและหาทางให้ทั้งสองฝ่ายเกิดความเข้าใจต่อกัน

2) ด้านเศรษฐกิจ การค้าระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์ ฝ่ายไทยได้เปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด นอกจากการค้าแล้วยังมีความร่วมมือในด้านอื่น เช่น ความร่วมมือทางการเกษตรระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์ การทำอนุสัญญาเพื่อการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างไทย-ฟิลิปปินส์ และการทำความตกลงว่าด้วยการบริการการเดินอากาศ เป็นต้น

3) ด้านการทหาร ไทยและฟิลิปปินส์เป็นผู้ร่วมก่อตั้งองค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ สปอ. ซึ่งปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว ส่วนความร่วมมือด้านการทหารที่มีอยู่ ได้แก่ การฝึกการร่วมปฏิบัติการทางอากาศ การฝึกร่วมทางเรือ การแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันของคณะทหารของทั้งสองประเทศ

4.2.7.4.ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับบรูไน บรูไนเป็นเมืองเก่าแก่มีการปกครองโดยสุลต่าน ต่อมาได้ยอมเป็นรัฐอารักขาของอังกฤษ จนกระทั่งได้เอกราชสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2527 ไทยและบรูไนมีความสัมพันธ์กันมาก่อนที่จะได้รับเอกราช ซึ่งแยกความสัมพันธ์ในแต่ละด้านได้ดังนี้

1) ด้านการเมือง ไทยและบรูไนมีความร่วมมือด้านการเมืองโดยเน้นการเสริมสร้างความสัมพันธ์และการเจรจาหาลู่ทางส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าเป็นสำคัญ มีการแลกเปลี่ยนเอกอัครราชทูตระหว่างกัน มีการเยี่ยมเยือนของบุคคลระดับผู้นำของทั้งสองประเทศอยู่เป็นประจำ

2) ด้านการทหาร ไทยและบูรไนมีทัศนะทางด้านการทหารและความมั่นคงที่สอดคล้องกัน และมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างผู้นำกองทัพอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้บรูไนยังได้ส่งคณะนายทหารเข้าร่วมสังเกตการณ์การฝึกซ้อมรบคอบบราโกลด์อีกด้วย

3) ด้านเศรษฐกิจ การค้าระหว่างไทยกับบรูไน ฝ่ายไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ามาโดยตลอด เนื่องจากต้องนำเข้าน้ำมันดิบเป็นมูลค่าสูงและเพิ่มมากขึ้น สินค้าออกของไทยที่ส่งไปยังบรูไนค่อนข้างจำกัดทั้ง่ชนิด ปริมาณ และมูลค่า ซึ่งประกอบด้วย ข้าว ปูนซิเมนต์ น้ำตาลทราย อะไหล่และอุปกรณ์รถยนต์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์พลาสติก รองเท้าและชิ้นส่วน เคหะสิ่งทอ เส้นใยฝ้าย ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์เซรามิก อัญมณีและเครื่องประดับ หม้อแปลงไฟฟ้า และส่วนประกอบ ปลากระป๋อง เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน วัสดุก่อสร้าง ผลไม้สดแช่เย็นและแช่แข็ง แบไรท์ กระดาษ เยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์ และเครื่องดื่ม ส่วนสินค้านำเข้าจากบรูไน ได้แก่ น้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยม หนังดิบและหนังฟอก อย่างไรก็ตามการขยายตลาดการค้าในบรูไนยังมีโอกาสอีกมาก ) ด้านแรงงาน บรูไนเป็นหนึ่งในตลาดแรงงานที่สำคัญของไทย ส่วนใหญ่เป็นแรงงานใช้ฝีมือทำงานในกิจการก่อสร้าง อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อการส่งออก ธุรกิจบริการ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร ช่างซ่อมต่าง ๆ และภาคเกษตรกรรม แรงงานไทยส่วนใหญ่มีความซื้อสัตย์ อดทน ขยัน มีความรับผิดชอบ แต่ด้อยเรื่องภาษา

4.2.7.5.ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเวียดนาม ไทยและเวียดนามมีความสัมพันธ์กันมาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ต่อมาเวียดนามเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองหยุดชะงักไป และเมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลง เวียดนามได้เปิดประเทศและผูกมิตรกับประเทศในประชาคมโลกโดยเฉพาะอาเซียน ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเวียดนามอาจแยกเป็นด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้

1) ด้านการเมือง ในสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่เวียดนามได้ถอนกำลังทหารออกจากกัมพูชา รัฐบาลไทยขณะนั้นได้มีการปรับและสร้างเสริมความสัมพันธ์กับ 3 ประเทศอินโดจีน ซึ่งได้แก่ ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ซึ่งถือเป็นการเปิดประตูไปสู่ประเทศอินโดจีน ด้วยนโยบายแปรสนามรบให้เป็นตลาดการค้า นับตั้งแต่นั้นมาการไปมาหาสู่ระหว่างกัน โดยเฉพาะเวียดนามก็ได้เพิ่มขึ้น ซึ่งรัฐบาลต่อมาก็ได้สืบทอดและสานต่อนโยบายดังกล่าว ด้วยการแลกเปลี่ยนการเยือนของผู้นำทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเยือนในระดับสูงของพระราชวงศ์ นั่นคือ การเสร็จเยือนเวียดนามของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร อันหมายถึงความสัมพันธ์อันสูงสุดของความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ

2) ด้านเศรษฐกิจ ในด้านการค้าขายไทยและเวียดนามได้มีการลงนามในข้อตกลงทางเศรษฐกิจระหว่างกัน เช่น การตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ พิธีสารเกี่ยวกับการแก้ไขข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ข้อตกลงเกี่ยวกับเงินกู้เพื่อการค้าด้วยดอกเบี้ย ร้อยละ 3 ข้อตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและการคุ้มครองการลงทุน ข้อตกลงว่าด้วยการหลีกเลี่ยงภาษีซ้ำซ้อน เป็นต้น

4.2.7.6.ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาว ไทยและลาวถือเป็นประเทศบ้านพี่เมืองน้อง มีสิ่งต่าง ๆ ที่คล้ายคลึงและเหมือนกันมากนับตั้งแต่สังคม วัฒนธรรม โดยเฉพาะภาษาจึงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและลาวมีความแน่นแฟ้น แม้ลาวจะเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ก็ตาม สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างไทยและลาวอาจแยกออกเป็นด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้

1) ด้านการเมือง รัฐบาลในสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการปรับนโยบายต่อประเทศเพื่อนบ้านใหม่ เรียกว่า แปรสนามรบให้เป็นตลาดการค้า ซึ่งเป็นช่วงที่ลาวพร้อมที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวหน้าขึ้นไปภายใต้กลไก่ของเศรษฐกิจใหม่ ภายใต้นโยบายนี้ลาวเป็นประเทศแรกที่ผู้นำของไทยหวังจะให้เกิดการปฏิบัติเป็นรูปธรรม ซึ่งต่อมาไทยและลาวได้ออกแถลงการณ์ร่วมแสดงเจตจำนงร่วมกันที่จะร่วมมือทางด้านการค้าและธุรกิจระหว่างกันให้มากขึ้น ซึ่งฝ่ายไทยได้มีการผ่อนปรนยกเลิกข้อจำกัดบางประการในการทำการค้ากับลาว มีการเปิดจุดผ่านแดนถาวร มีการยกเลิกสินค้าควบคุมบางประเภทและสินค้ายุทธปัจจัย เป็นต้น การที่ไทยใช้เศรษฐกิจนำการเมืองระหว่างประเทศเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลาว นับว่าดำเนินไปด้วยดี มีความราบรื่น ถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างในด้านระบอบการเมืองการปกครองและระบบเศรษฐกิจการค้าก็ตาม และปัจจัยที่ช่วยเสริมกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นคือ การเสร็จเยือนลาวอย่างเป็นทางการของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในพิธีเปิดสะพานไทย ลาว ซึ่งผู้นำลาวก็ได้มาเยือนไทยเป็นการตอบแทน

2) ด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนในลาวมีข้อจำกัดบางประการ เนื่องจากลาวพึ่งเข้าสู่ระบบการค้าเสรี ระเบียบกฎเกณฑ์บางอย่างไม่เคยมีมาก่อนจึงเป็นปัญหาสำคัญสำหรับการดำเนินการด้านเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามนโยบายแปรสนามรบเป็นตลาดการค้า ได้ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งเมื่อการค้าระหว่างไทย ลาว เริ่มคึกคักขึ้นมูลค่าการค้าได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยดีขึ้นด้วย นอกจากนี้ไทยและลาวได้มีความตกลงร่วมมือกันในด้านต่าง ๆ เช่น สนธิสัญญามิตรภาพ และความร่วมมือไทยลาว ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ความร่วมมือในด้านการพัฒนาไฟฟ้าในลาว ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ความร่วมมือด้านการลงทุนระหว่างไทยและลาว การยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับหนังสือเดินทางทูต ความร่วมมือด้านการกีฬาและความตกลงว่าด้วยสะพานมิตรภาพ เป็นต้น นอกจากนี้ได้มีการขยายความสัมพันธ์กับต่างประเทศในรูปของสี่เหลี่ยมเรขาคณิตแบบต่าง ๆ ซึ่งช่วยเสริมความสัมพันธ์ไทยและลาวมากขึ้น เช่น ความร่วมมือในด้านสี่เหลี่ยม หกเหลี่ยมเศรษฐกิจ โดยการสร้างถนนเชื่อมโยง 4 ประเทศ ระหว่างไทย พม่า ลาว และจีน ความร่วมมือในการโยงการคมนาคมทางบก ทางอากาศ ในภาคลุ่มน้ำโขง 6 ประเทศ รวมทั้งความร่วมมือด้านการเดินเรือตามลุ่มน้ำโขงตอนบน 4 ประเทศ เป็นต้น จากความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจการค้าของไทย ทำให้ลาวหันมาสนใจค้าขายกับไทย จนทำให้ไทยเป็นคู่ค้าที่สำคัญที่สุดของลาวในปัจจุบัน

4.2.7.7.ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซีย ไทยและพม่าเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดต่อกันด้านทิศเหนือและตะวันตกของไทยยาวกว่า 2,000 กิโลเมตร พม่าเป็นประเทศเก่าแก่มีอารยธรรมเจริญรุ่งเรืองเป็นเวลานาน แต่จากการปรับตัวที่ล่าช้าทางเทคโนโลยีและการดำเนินนโยบายต่างประเทศที่แข็งกร้าว ทำให้ต้องตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษถึง 62 ปี ไทยและพม่าได้สถาปนาความสัมพันธ์กันเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2491 พม่าเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนเป็นประเทศที่ 9 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 โดยมีความสัมพันธ์ด้านต่าง ๆ ดังนี้

1) ด้านการเมือง เนื่องจากปกครองด้วยระบอบเผด็จทหาร ทำให้ทัศนคติทางการเมืองแตกต่างกัน นอกจากนี้ปัญหาการเมืองภายในพม่าและชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดน ความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันอันเป็นผลมาจากภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าในประเทศอาจเกิดความขัดแย้งและบาดหมางกันได้ตลอดเวลา เช่น เหตุการณ์ยึดสถานเอกอัครราชทูตพม่าในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2542 การปะทะกันตามแนวชายแดนและการทำสงครามจิตวิทยาโจมตีซึ่งกันและกันอย่างรุนแรง ในปี พ.ศ. 2544 และการพิมพ์บทความจาบจ้วงสถาบันรพระมหากษัตริย์ไทยของรัฐบาลพม่า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2544 ได้มีการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ในเชิงสร้างสรรค์ระหว่างไทยและพม่า เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะปัญหายาเสพติด แรงงานผิดกฎหมาย ผู้หลบหนีภัยการสู้รบ โดยมีการเยือนในระดับผู้นำระหว่างกันของทั้งสองประเทศ ซึ่งส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่ากลับคืนสู่สภาวะปกติอีกครั้งหนึ่ง

2) ด้านเศรษฐกิจ การค้าระหว่างไทยกับพม่ามีทั้งรูปแบบการค้าปกติและการค้าชายแดน โดยฝ่ายไทยได้เปรียบดุลการค้ามาตลอด อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 2544 ไทยเสียเปรียบดุลการค้าต่อพม่า เนื่องจากการชำระค่าก๊าซธรรมชาติที่จัดซื้อจากพม่า นอกจากนี้ไทยกับพม่ามีความตกลงการค้าระหว่ากัน ได้แก่ ความตกลงทางการค้าไทย – พม่า บันทึกความเข้าใจเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย – พม่า และความตกลงการค้าชายแดน สำหรับการลงทุนของไทยนั้นมีมูลค่าการลงทุนเป็นอันดับ 3 รองจากสิงคโปร์และอังกฤษ ส่วนใหญ่อยู่ในสาขาการผลิต ธุรกิจการโรงแรมและการท่องเที่ยว การประมง และเหมืองแร่

3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม ในปี พ.ศ. 2542 ไทยและพม่าได้ลงนามความตกลงทางวัฒนธรรมไทย – พม่า โดยมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกัน รวมทั้งคณะนาฏศิลป์ของทั้งสองฝ่าย มีการร่วมมือในการบูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถานและโบราณวัตถุในพม่า นอกจากนี้ไทยยังให้ความร่วมมือทางวิชาการแก่พม่าในด้านการเกษตร การศึกษา และสาธารณสุข รวมทั้งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปศุสัตว์และการประมง การคมนาคม การท่องเที่ยว วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการบินพลเรือนด้วย

4.2.7.8.ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชา ไทยและกัมพูชาเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกับทิศตะวันออกเฉียงใต้ของไทยและทิศใต้ของไทย โดยครอบคลุม 7 จังหวัดของไทย ได้แก่ ตราด จันทบุรี สระแก้ว สุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ และอุบลราชธานี กัมพูชาตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 ไทยและกัมพูชาได้สถาปนาความสัมพันธ์กันเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2493 และเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนลำดับที่ 10 อันเป็นประเทศสุดท้ายเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2541 โดยมีความสัมพันธ์ด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านการเมือง กัมพูชามีการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข สภาพการเมืองกัมพูชาในปัจจุบันถือว่ามีเสถียรภาพมากขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชา ในปัจจุบันอยู่ในระดับดีมาก มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ เช่น คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย – กัมพูชา คณะกรรมการชายแดนระดับภูมิภาคไทย – กัมพูชา รวมทั้งการจัดทำกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย – กัมพูชา เพื่อใช้เป็นแผนแม่บทในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างทั้งสองประเทศ

2. ด้านเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับกัมพูชาดำเนินไปด้วยดี มีสถิติการค้าเพิ่มขึ้น โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า ด้านการลงทุนไทยลงทุนมากเป็นลำดับที่ 8 ในกิจการสาขาโทรคมนาคม โรงแรม การท่องเที่ยว และธุรกิจด้านบริการต่าง ๆ นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายได้มีการร่วมมือกัน เช่น คณะกรรมการร่วมด้านการค้าไทย – กัมพูชา สมาคมนักธุรกิจไทยในกัมพูชา และความร่วมมือระหว่างหอการค้าของทั้ง 2 ประเทศ เพื่อให้ความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน การบริการและการท่องเที่ยวระหว่างกัน นอกจากนั้นยังมีความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย – กัมพูชาระหว่างรัฐบาลทั้งสองเพื่อศึกษาศักยภาพของประเทศทั้งสองด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน โดยจะพัฒนาพื้นที่ชายแดน 7 จังหวัดของไทยและกัมพูชา ตามแนวคิด ”เสี้ยววงเดือนแห่งโอกาส” โดยสาขาการท่องเที่ยวการค้า อุตสาหกรรมและการเกษตร

3. ด้านสังคมและวัฒนธรรม ไทยและกัมพูชามีสังคมและวัฒนธรรมคล้ายคลึงกันและมีการแลกเปลี่ยนกันอย่างสม่ำเสมอ เช่น การแลกเปลี่ยนคณะนาฏศิลป์ เป็นต้น นอกจากนี้ภาษาไทยก็เป็นภาษาต่างประเทศที่ได้รับความสนใจที่จะศึกษาจากนักเรียนกัมพูชา โดยรัฐบาลได้ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทยขึ้นในประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งการร่วมมือทางวิชาการเพื่อช่วยกัมพูชาให้ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศให้สูงขึ้น เช่น การพัฒนาฝีมือแรงงานกัมพูชา – ไทย การพัฒนาห้องฝ่าตัดที่โรงพยาบาลพระสีหนุ กรุงพนมเปญ เป็นต้น สำหรับความร่วมมือด้านวัฒนธรรมได้ส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว เช่น การท่องเที่ยวในเส้นทางสายวัฒนธรรมขอม รวมทั้งความร่วมมือระดับพหุภาคีเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ในลาวและเวียดนามด้วย เช่น โครงการสิ่งมหัศจรรย์สุวรรณภูมิ เป็นต้น

อ้างอิงโดย http://megaclever.blogspot.com/2008/07/blog-post_2651.html


องค์กรระหว่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศ[แก้ไข]

5.1. หน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ

5.1.1.จัดประชุมปรึกษาหารือระหว่าง "รัฐ"

5.1.2. วางกฎเกณฑ์ต่างเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง "รัฐ"

5.1.3. จัดสรรทรัพยากร (resource allocation)

5.1.4. เสนอการใช้วิธีป้องกันร่วมกัน (collective defence)

5.1.5. เสนอการใช้วิธีปฏิบัติการรักษาสันติภาพ

5.1.6. ส่งเสริมความร่วมมือเฉพาะด้านในด้านต่าง ๆ

5.2. ความร่วมมือกับประเทศต่างๆ

5.2.1. ความร่วมมือแบบทวิภาคี

ก.ความร่วมมือทวิภาคี

ความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น

รัฐบาลญี่ปุ่นการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศไทยในโครงการด้านต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามสาขาการพัฒนา Development Issues ดังกล่าวข้างต้น เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม การพัฒนาเพื่อสังคมที่ยั่งยืน การจัดการภัยพิบัติ การจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นต้น รูปแบบการดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือแบบทวิภาคี ในปัจจุบันประกอบด้วย ความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น

๑. โครงการความร่วมมือทางวิชาการ

๒. โครงการร่วมมือทางวิชาการเพื่อการวางแผนพัฒนาที่ผ่านมาความร่วมมือระหว่างไทย–ฝรั่งเศสในกรอบทวิภาคี มีกว่า ๓๐ โครงการ ซึ่งเป็นโครงการด้านเกษตร การพัฒนาพื้นที่ดิน สาธารณสุข การศึกษา วัฒนธรรม การโยธา เทคโนโลยี/นวัตกรรม เป็นต้น ปัจจุบันมีโครงการที่ on–going กว่า ๑๐ โครงการ โดยแต่ละโครงการจะมีลักษณะการร่วมดำเนินงานของหน่วยงาน/สถาบันศึกษาของไทย เช่น ม.มหิดล ม.เกษตร จุฬาฯ สถาบันพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ม.เชียงใหม่ โดยมี Institute of Research for Development (IRD) สำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ (EFEO) สถาบัน CIRAD เป็น implementing ฝ่ายฝรั่งเศส ซึ่งในแต่ละโครงการหน่วยงานไทยจะร่วมสมทบงบประมาณด้วย และหลายโครงการที่ สพร.จะร่วมสบทบงบประมาณด้วยเช่นกัน ความร่วมมือไทย-ฝรั่งเศส

๑. Impact Assessment of Planting Rubber–trees

๒. Optimization of HIV prevention and treatment ในปี ๒๕๔๔ (๒๐๐๑) รัฐบาลเยอรมันได้ปรับนโยบายและกลยุทธ์ความร่วมมือกับไทย โดยได้พัฒนาไปเป็นรูปของแผนงาน (Programme Approach) ซึ่งเน้นการดำเนินงานในลักษณะหุ้นส่วนความร่วมมือ (Partnership) และเน้นในสาขาหลัก คือ การปฏิรูปเศรษฐกิจและการพัฒนาระบบเศรษฐกิจแบบตลาด โดยอยู่ภายใต้กรอบแผนงานส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Enhancing the Competitiveness of SMEs by Improving the Sector of Business Development Services and Introducing Eco-efficiency in Industry) หรือเรียกโดยย่อว่า Programme for Enterprise Competitiveness (PEC) ความร่วมมือไทย-เยอรมนี ลำดับ โครงการ DICP โครงการ IMEE โครงการ SCP4LCE

รัฐบาลเดนมาร์กโดย DANIDA ภายใต้กระทรวงการต่างประเทศได้ให้ความช่วยเหลือไทยในการดำเนินโครงการด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ตั้งแต่ปี ๒๕๓๗ แต่เมื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของไทยดีขึ้น จำนวนโครงการความช่วยเหลือได้ลดลงตามลำดับ รัฐบาลเดนมาร์กได้ยุติความร่วมมือทวิภาคีด้านสิ่งแวดล้อมทั้งหมดนับแต่ปี ๒๕๕๒ โดยทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันพัฒนารูปแบบความร่วมมือไปสู่ความร่วมมือแบบไตรภาคี (Trilateral Cooperation) เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ

ความร่วมมือไทย-เดนมาร์ก

ความร่วมมือภายใต้กรอบอาเซียน (ASEAN Project) เป็นโครงการความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมของอาเซียนซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเยอรมันภายใต้ German Support of the ASEAN Initiative for Environmentally Sustainable Cities ซึ่ง BMZ ได้มอบหมายให้ GIZ (เปลี่ยนชื่อจาก GTZ เป็น GIZ ตั้งแต่เดือน ม.ค. ๒๕๕๔) เป็นหน่วยงานดำเนินงานโครงการประกอบด้วย ๒ โครงการ ได้แก่ ความร่วมมือในกรอบอาเซียน

1. Clean Air for Smaller Cities in the ASEAN Region

2. Sustainable Port Development in the ASEAN Region ปัจจุบันเดนมาร์กได้ยุติการให้ความช่วยเหลือในกรอบทวิภาคีแก่ไทยแล้ว และทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันพัฒนารูปแบบความร่วมมือไปสู่ความร่วมมือแบบไตรภาคี (Trilateral Cooperation) เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ

5.2.2. ความร่วมมือแบบพหุภาคี ก.ความร่วมมือไตรภาคี

ญี่ปุ่น

ปัจจุบันประเทศไทยมีระดับการพัฒนาที่สูงขึ้น ความต้องการในเชิงวิชาการจากประเทศญี่ปุ่นลดน้อยลง และไทยมีศักยภาพที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ได้มากขึ้นจึงได้เริ่มดำเนินงานความร่วมมือแบบหุ้นส่วนกับญี่ปุ่นในแบบไตรภาคี ในการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ อาทิ การจัดหลักสูตรฝึกอบรมประเทศที่สาม (Third Country Training Programme – TCTP) ในประเทศไทยให้แก่ผู้รับทุนจากประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ ในเอเชียและแอฟริกา โดยไทยและญี่ปุ่นร่วมกันสนับสนุนงบประมาณ และดำเนินการจัดการฝึกอบรมโดยหน่วยงานไทย มี จำนวนปีละ ๘ หลักสูตร ในสาขาสาธารณสุข ส่งเสริมการปลูกป่า การพัฒนาระบบไฟฟ้า การป้องกันการค้ามนุษย์และฟื้นฟูผู้ตกเป็นเหยื่อ การจัดการสิ่งแวดล้อม/ทรัพยากรน้ำ การแปรรูปอาหาร มาตรวิทยา สาธารณสุขในการป้องกันโรคมาลาเรีย และการป้องกัน HIV/AIDS

ความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น

๑. โครงการ Programme Concerning the Mitigation and Relief Efforts

๒. โครงการ Non-Project Grant Aid (NPGA)

สาธารณรัฐฝรั่งเศส

ไทย และฝรั่งเศสได้ลงนามแผนปฏิบัติการร่วมเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๗ เพื่อกระชับความสัมพันธ์และขยายความร่วมมือ รวมถึงความร่วมมือไตรภาคีเพื่อการพัฒนาในระดับภูมิภาค โดยเฉพาะอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ในเบื้องต้นทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะร่วมมือกันใน ๓ สาขา คือ กาศึกษา/อาชีวศึกษา เกษตร และสาธารณสุข (เน้น HIV/AIDS มาลาเรีย วัณโรค โรคติดต่ออื่น ๆ) และอาจรวมถึงการคมนาคม เทคโนโลยีดาวเทียม/อวกาศ ยาเสพติด สินเชื่อขนาดย่อม ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ ได้มีการลงนามในแผนปฏิบัติการร่วมฯ ฉบับที่ ๒ (ปี ๒๕๕๓ – ๒๕๕๗) ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และกิจการยุโรปฝรั่งเศส

เยอรมนี

ความร่วมมือไตรภาคีที่สองประเทศจะร่วมมือกันเพื่อให้ความร่วมมือแก่ประเทศที่สามโดยเน้นประเทศเพื่อนบ้านของไทย โดยได้มีการลงนามใน Memorandum of Understanding between the Ministry of Foreign Affairs of the Kingdom of Thailand and the Federal Ministry for Economic Cooperation and Development of the Federal Republic of Germany regarding Joint Development Cooperation with Third Countries through a “Partnership Programme” เพื่อดำเนินงานร่วมกันในลักษณะความเป็นหุ้นส่วน

ความร่วมมือไทย-เยอรมนี

ไทย-เยอรมนี-สปป.ลาว ความร่วมมือไตรภาคี

ไทย-เยอรมนี-กัมพูชา ความร่วมมือไตรภาคี ไ ทย-เยอรมนี-เวียดนาม

๑. Strengthening National Good Agicutural Practices(GAP) E-Book Community-Managed Livelihood Improvement Project (Rural Sanitation Improvement and Hygiene Promotion Project) Advanced Technical Services for SME in Selected Industrial Sectors of Vietnam Project

๒. 2.1 Nam Xong Sub-River Basin Management Project

2.2 Nam Xong Sub-River Basin Managemet Project (Discovery)-1

2.3 Nam Xong Sub-River Basin Management Project (Discovery)-2 Strengthening Cooperatives andSMEs in Central Vietnam


ข.ความร่วมมือหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนากับองค์การระหว่างประเทศ

๑. ความร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ

๒. ความร่วมมือกับธนาคารพัฒนาเอเซีย (Asian Development Bank: ADB)

ความร่วมมือกับสำนักเลขาธิการเเผนโคลัมโบ (The Colombo Plan Secretariat: CPS)

ความร่วมมือกับสำนักเลขาธิการเเผนโคลัมโบ (The Colombo Plan Secretariat: CPS) สำนักเลขาธิการเเผนโคลัมโบได้ขอความร่วมมือรัฐบาลไทย จัดหลักสูตรฝึกอบรมด้านสิ่งเเวดล้อมให้ เเก่ประเทศสมาชิกเเผนโคลัมโบ ดังนั้น ในปี ๒๕๕๒กระทรวงการต่างประเทศ โดย สพร. จึงได้จัดสรรทุนฝึกอบรมระยะสั้น จำนวน ๒ หลักสูตร ณ มหาวิทยาลัยมหิดลโดยสำนักเลขาธิการเเผนโคลัมโบรับผิดชอบค่าเดินทางระหว่างประเทศให้เเก่ผู้รับทุน ส่วน สพร. รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดฝึกอบรมเเละค่าใช้จ่ายของผู้รับทุน

ค.ความร่วมมือด้านอาสาสมัคร

ความร่วมมือด้านอาสาสมัคร

ความร่วมมือด้านอาสาสมัครมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในระดับรากหญ้าระหว่างอาสาสมัครและผู้ร่วมงานไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือในลักษณะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลหรือองค์กรต่างประเทศ สพร. ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานกลางในการประสานและบริหารความร่วมมือด้านอาสาสมัครต่างประเทศต่อเนื่องมาเป็นเวลาถึง ๔๐ ปี นับตั้งแต่หน่วยอาสาสมัครอังกฤษได้เริ่มเข้ามาปฏิบัติงานเป็นหน่วยงานแรกใน พ.ศ. ๒๕๐๔ นอกจากนี้ยังมีโครงการอาสาสมัครสหประชาชาติ หน่วยอาสาสมัครออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ เเละอาสาสมัครอเมริกัน อาสาสมัครญี่ปุ่น อาสาสมัครเกาหลี อาสาสมัครเยอรมัน


การค้าระหว่างประเทศกับประเทศไทย[แก้ไข]

6.1. กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ

6.1.1. ไทย-สหรัฐอเมริกา

เขตการค้าเสรีระหว่างประเทศ

กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ :

ไทย-สหรัฐฯ

ได้ลงนามกรอบความตกลงด้านการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Framework Agreement : TIFA) เมื่อเดือนตุลาคม 2545 ซึ่งกรอบความตกลงนี้จะเป็นเวทีในการแก้ไขปัญหาการค้าและการลงทุน ตลอดจนการให้ความร่วมมือช่วยเหลือและเมื่อมีความคืบหน้าก็จะเป็นหนทางไปสู่การจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างกัน ในการร่วมคณะนายกรัฐมนตรีเยือนสหรัฐฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้หารือกับ USTR เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2546 ณ สำนักงาน USTR โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงความคืบหน้าในการดำเนินงานภายใต้ TIFA เพื่อเตรียมพร้อมให้ผู้นำไทยและสหรัฐฯ แถลงความเป็นไปได้ในการเจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ในระหว่างการประชุมผู้นำเอเปคในเดือนตุลาคม 2546 โดยสหรัฐฯ ได้ระบุประเด็นที่ต้องการให้ไทยแก้ไข คือการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และศุลกากร (Customs Valuations) ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะร่วมกันเตรียมการ เพื่อปูทางสู่การเจรจา FTA ต่อไป โดยจะมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างเจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่าย และคาดว่าจะสามารถเริ่มการเจรจาได้ประมาณเดือนเมษายน 2547 ทั้งนี้ สหรัฐฯ ได้เสนอแผนงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาและด้านศุลกากรให้ฝ่ายไทยพิจารณา เพื่อปูทางสู่การเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯ และทั้งสองฝ่ายได้ตกลงให้มีการหารือผ่าน VDO Conference ในเรื่องดังกล่าวด้วย

6.1.2.ไทย-อินเดีย

เขตการค้าเสรีระหว่างประเทศ

กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ :

การจัดทำเขตการค้าเสรีไทย – อินเดีย

ความเป็นมา

1.ประเทศไทยและอินเดียมีความพยายามในการสร้างความร่วมมือทางการค้าและการ ลงทุนโดยทางประเทศไทยได้มีการเยือนอินเดียอย่างเป็นทางการหลายครั้ง ได้แก่ การเยี่ยมเยียนอย่างเป็นทางการของรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2544 และการเยี่ยมเยียนอย่างเป็นทางการของ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2544 และเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 หลังจากนั้นได้มีการริเริ่มให้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีในเดือนเมษายน พ.ศ. 2545 ได้มีการประชุมคณะทำงานร่วมครั้งที่ 1 ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย ในระหว่างการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าอินเดีย-ไทย (Joint Trade Committee: JTC) ครั้งที่ 10 ที่จัดขึ้นวันที่ 10 - 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ที่ประชุมลงความเห็นให้มีการจัดทำรายงานการศึกษาโดยคณะทำงานร่วม เพื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างอินเดีย-ไทย

2.ผลการศึกษาการจัดทำเขตการค้าเสรีไทย – อินเดีย สรุปได้ ดังนี้

2.1.อุตสาหกรรมที่คาดว่าไทยจะเข้าตลาดอินเดียได้มากขึ้นภายหลังการจัด ทำเขตการค้าเสรี ได้แก่ น้ำตาล สิ่งทอ เครื่องหนัง เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติกและยางพารา ยานยนต์และส่วนประกอบ และอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

2.2.อุตสาหกรรมที่คาดว่าอินเดียจะเข้าตลาดไทยได้มากขึ้นภายหลังการจัด ทำเขตการค้าเสรี ได้แก่ สินแร่ เครื่องนุ่งห่ม ผลิตภัณฑ์โลหะ และผลิตภัณฑ์อาหารทะเล

2.3.การจัดทำเขตการค้าเสรีไทย – อินเดีย จะก่อให้เกิดประโยชน์ในการ ขยายความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนเพิ่มขึ้นทั้งสองฝ่ายและควรให้เริ่มเจรจาจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีไทย - อินเดียต่อไป

ข้อมูลพื้นฐาน

1. ปริมาณการค้ารวม ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา (2541 - 2545) การค้ารวมมีมูลค่าเฉลี่ย 994 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2545 มีมูลค่าการค้ารวม 1,184.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2544 ร้อยละ 2.6 โดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้า 357.4 ล้านเหรียญสหรัฐ การค้าระหว่างไทยและอินเดียมีปริมาณไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับศักยภาพ

2. การส่งออก ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา (2541 - 2545) การส่งออกมีมูลค่าเฉลี่ย 406.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2545 มีมูลค่า 413.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากปี 2544 ร้อยละ 14.3 โดยส่วนใหญ่ส่งออกสินค้าที่ใช้ในอุตสาหกรรมไปยังอินเดีย ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องยนต์ สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องจักรกล ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ สิ่งทออื่นๆ

3. การนำเข้า ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา (2541 - 2545) การนำเข้ามีมูลค่าเฉลี่ย 587.9 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2545 มีมูลค่า 771.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2544 ร้อยละ 14.9 โดยส่วนใหญ่ไทยนำเข้าวัตถุดิบและสินค้ากึ่งสำเร็จรูป ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่ง ทองคำ เคมีภัณฑ์ สินแร่โลหะ เหล็กและเหล็กกล้า กากน้ำมันพืช กุ้งสด น้ำมันสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เครื่องจักรในอุตสาหกรรม เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ

4. โอกาสในการขยายการค้า

4.1 จำนวนประชากรในอินเดียกว่า 1,000 ล้านคนเมื่อเทียบกับมูลค่าการค้ารวมของ สองประเทศน้อยมากคือประมาณ 1,100 ล้านเหรียญสหรัฐ อีกทั้งรสนิยมของตลาดระดับกลางและระดับ สูงซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของไทยต้องการสินค้าที่มีคุณภาพซึ่งอินเดียไม่มีขีดความสามารถในการผลิตปัจจุบันกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวนิยมซื้อของผ่าน modern retail mall ที่เริ่มมีแล้วในอินเดีย

4.2 อินเดียดำเนินนโยบายปฏิรูปทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2534 โดยหันมาใช้ระบบเศรษฐกิจการตลาดแทนและพยายามเปิดเสรีมากขึ้นเรื่อยๆ โดยการลดภาษีนำเข้าและยกเลิกระบบจำกัดการนำเข้าตามพันธกรณีของ WTO รัฐบาลอินเดียได้ประกาศ พ.ร.บ. งบประมาณฉบับใหม่ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน 2546 ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจไทยมากขึ้นโดยการลดอัตราภาษีนำเข้ากลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไทยมีศักยภาพในการส่งออก เช่น น้ำหอม เครื่องหอม สบู่ ขนมหวาน น้ำอัดลม และวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมบางสาขา เช่น อุปกรณ์และส่วนประกอบยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ กระดาษ คอมพิวเตอร์ การลดภาษีศุลกากรลดลงจากเดิมเฉลี่ยที่ร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 25 อีกทั้ง ยังลดภาษีสรรพสามิตลงทำให้ความต้องการภายในประเทศเพิ่มขึ้น

4.3 จากการคาดการณ์ของกระทรวงการคลังอินเดียในปีงบประมาณ 2002 – 2003 จะมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 6.3 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.4 ในปีก่อน การดำเนินการของ กศ.

1. การร่วมพิจารณากลุ่มสินค้าที่จะนำมาพิจารณาลดภาษีในสิ่งที่จะต้องเริ่มดำเนินการก่อน (Early Harvest) โดยมีแนวทางว่าสินค้าที่ไทยจะเสนอปรับลดอัตราอากรใน Early Harvest จะต้องเป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการแข่งขันทางการค้ากับประเทศอินเดียและไทยจะต้องได้รับประโยชน์ในการปรับลดอัตราอากรของสินค้าเหล่านั้นในปัจจุบันหรือมีแนวโน้มในอนาคต

2.การร่วมพิจารณารูปแบบการปรับลดภาษีใน Early Harvest โดยมีจุดยืนที่ว่ากรอบระยะเวลาไม่ควรเกิน 3 ปี และลดลงเหลือร้อยละ 0 ทั้งสองฝ่ายเมื่อถึงเวลาที่กำหนด

3. การร่วมพิจารณาเรื่องกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าซึ่งในภาพรวมภาคอุตสาหกรรมไทยรับได้ในหลักการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ (1) Wholly Obtained (2) Local Content ร้อยละ 40 (3) Substantial Transformation พิกัดศุลกากร 6 หลัก

ข้อคิดเห็น

1. การส่งออกสินค้าไทยไปยังอินเดียในปัจจุบันเผชิญปัญหาการส่งออกในเรื่องการตั้งกำแพงภาษีที่สูงและมาตรการที่มิใช่ภาษีของอินเดีย ซึ่งการทำ FTA จะทำให้อัตราภาษีการนำเข้าและมาตรการที่มิใช่ภาษีของอินเดียลดน้อยลง จะทำให้สินค้าจากไทยเข้าสู่ตลาดอินเดียได้มากขึ้น

2. การขาดข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับอินเดีย กฎระเบียบ และช่องทางการตลาด ซึ่งแต่เดิมภาคอุตสาหกรรมขาดข้อมูลที่ถูกต้องจึงไม่กล้าที่จะเข้าไปลงทุนในตลาดอินเดีย แต่เมื่อมี FTA ไทย – อินเดีย จะสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างภาครัฐและเอกชนทั้งสองฝ่าย เกิดการสร้างเครือข่ายข้อมูลทั้งทางด้านการค้า การลงทุน รวมทั้งรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร การตลาด และกฎระเบียบต่างๆ มากขึ้น

3. หากพิจารณาอุตสาหกรรมในภาพรวมแล้ว พบว่า ถึงแม้ว่าอินเดียมีวัตถุดิบในประเทศ จำนวนมาก แต่หากพิจารณาการได้เปรียบในด้านราคาแล้ว ไทยอาจจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่าในการผลิตสินค้าในชั้นนี้อันเนื่องมาจากไทยมีเทคโนโลยีที่สูงกว่า คุณภาพของฝีมือแรงงาน ตลอดจนการประหยัดต่อสัดส่วน (Economy of Scale) แต่เมื่อมีการทำ FTA ของสองฝ่ายแล้วจะก่อให้เกิดการเกื้อกูลกันในทางการค้าและการใช้ทรัพยากรร่วมกันอันส่งผลประโยชน์ทั้งสองประเทศ

4. การพิจารณาเรื่องกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าภายหลังการลงนามของนายกรัฐมนตรีทั้งสองฝ่าย จะมีการพิจารณาในรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงการจำแนกพิกัดของในแต่ละสินค้าในพิกัด 4 หลัก และร้อยละ Local Content ที่มีแหล่งกำเนิดร่วมกัน ซึ่งหากขาดความละเอียดรอบคอบในการพิจารณาอาจจะกลายเป็นอุปสรรคทางการค้าซึ่งกันและกัน จึงจำเป็นที่ภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกิดการขยายการค้าตรงตามเป้าประสงค์ในการจัดทำ FTA ที่แท้จริง

สถานะปัจจุบัน

การประชุม JNG ได้จัดการประชุมไปแล้วทั้งสิ้น 6 ครั้ง โดยล่าสุดเป็นการประชุมครั้งที่ 6 จัดขึ้นที่โรงแรมอโนมา กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 30 กันยายน – 1 ตุลาคม 2546 และสามารถสรุปผลสำเร็จในประเด็นที่คั่งค้างได้ทุกประเด็น อาทิ รายการสินค้าใน Early Harvest รูปแบบการปรับลดภาษี และกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin : ROO) ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

1.รายการสินค้าใน Early Harvest ทั้งสองฝ่ายมีการหารือถึงรายการสินค้าและ ได้เห็นชอบร่วมกันในการลดสินค้า (Common List) จำนวน 83 รายการ ครอบคลุมรายการสินค้าผลไม้ อลูมิเนียม เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ ชิ้นส่วนยานยนต์ และเครื่องจักรกล โดยมีมูลค่าการค้ารวมประมาณร้อยละ 7 ของมูลค่าการค้ารวม

2. รูปแบบการลดภาษี (Tariff Reduction Modality) ในรายการ Early Harvest เห็นควรให้มีการเริ่มการลดภาษีจริงในวันที่ 1 มีนาคม 2547 และสิ้นสุดในวันที่ 1 มีนาคม 2549 ใช้รูปแบบ Margin of Preference (MOP) ซึ่งจะเป็นการลดภาษีในรูปแบบ percentage โดยแบ่งเป็นร้อยละ 50 75 และ 100 ในวันที่ 1 มีนาคม 2547 1 มีนาคม 2548 และ 1 มีนาคม 2549 ตามลำดับ และในที่สุดแล้วจะลดลงเหลือร้อยละ 0 ตามกรอบเวลาที่กำหนด

3. กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin : ROO)

แนวทางของ ROO มีดังนี้

3.1 สินค้าที่ผลิตขึ้นโดยใช้วัตถุดิบภายในประเทศทั้งหมด (Wholly Obtained)

3.2. สินค้าที่ผลิตหรือชิ้นส่วนนำเข้าโดยผ่านการแปรสภาพที่มากเพียงพอ (Substantial Transformation) คือการใช้เกณฑ์การผลิตที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการจำแนกประเภทพิกัด 4 หลักตามข้อเสนอของฝ่ายอินเดีย และใช้เกณฑ์อัตราส่วนวัสดุที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศคู่ค้า (Local Content) ให้ถือสัดส่วนร้อยละ 40 ของราคา FOB ของสินค้า และ Operations Defined and Substantial Manufacturing Defined ขึ้นมาเพื่อป้องกันการลักลอบสินค้าจากประเทศที่ 3 โดยอินเดียแจ้งว่าอุตสาหกรรมอินเดียสามารถทำตามแนวทาง ROO ได้ทั้งสิ้น แต่ได้เปิดช่องว่าหากอุตสาหกรรมหนึ่งอุตสาหกรรมใดของไทยไม่สามารถทำตาม ROO ข้างต้นได้ให้ส่งรายละเอียดมาให้อินเดียภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2546 เพื่ออินเดียจะพิจารณาลดหย่อน ROO ให้สอดคล้องกับอุตสาหกรรมนั้นๆ ของไทย ซึ่งจะมีการประชุม ROO Expert Group ในเรื่องดังกล่าวในเดือนพฤศจิกายน 2546 ณ ประเทศอินเดีย

4. ได้มีการลงนาม FTA Thai – India ของทั้งสองฝ่ายเรียบร้อยแล้ว

6.1.3. ไทย-จีน

เขตการค้าเสรีระหว่างประเทศ

กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ :

การจัดทำเขตการค้าเสรีไทย-จีน

ภูมิหลัง

1. การเจรจาจัดตั้งเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2002 โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 กรอบ คือ 1) กรอบภูมิภาค ซึ่งอยู่ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน โดยมีไทยเป็นหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายอาเซียน ครอบคลุมการเปิดเสรีสินค้า บริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ 2) กรอบทวิภาคี เขตการค้าเสรีไทย-จีน ซึ่งดำเนินการภายใต้กรอบการค้าเสรี อาเซียน-จีน โดยเร่งให้มีผลการเปิดเสรีที่เร็วกว่ากรอบ อาเซียน-จีน ทั้งนี้ การเจรจาของทั้ง 2 กรอบดำเนินการในลักษณะคู่ขนานกันไป เขตการค้าเสรี ไทย-จีน

2.ในโอกาสการเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนระหว่างวันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2546 ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้หารือกับนายจู หรงจี เกี่ยวกับการเร่งเปิดเสรีการค้าระหว่าง ไทย-จีน โดยฝ่ายไทยได้ขอทราบท่าทีของจีนต่อข้อเสนอของไทยที่น่าจะมีกาารดำเนินการด้านการค้าเสรีในส่วนของไทยกับจีนขึ้นมาก่อน เนื่องจากมีความพร้อมสูงกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค โดยอาจเริ่มจากผัก ผลไม้ ก่อน แล้วค่อยๆ ขยายไปสู่สินค้าอื่นๆ ที่ทั้งสองฝ่ายมีความพร้อมร่วมกันต่อไป ซึ่งฝ่ายจีนโดยนายกรัฐมนตรีจู หรงจี ให้ทัศนะว่า ยังมีอาเซียนหลายประเทศที่ยังหวาดระแวงต่อท่าทีของจีนเกรงว่าหากจีนกับไทยดำเนินการกันในกรอบทวิภาคี ยิ่งจะทำให้จีนถูกประเทศเพื่อนบ้านหวาดระแวงมากขึ้น เพื่อความสบายใจของทุกฝ่ายจึงขอให้นำการลดภาษีศุลกากรระหว่างกันเหลือร้อยละ 0 สำหรับสินค้าผักและผลไม้บรรจุเข้าใน Early Harvest ภายใต้กรอบใหญ่ของเขตการค้าเสรี อาเซียน-จีน

3.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ซึ่งได้ร่วมเดินทางไปเยือนจีน ได้หารือกับนาย Wei Jianguo รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการค้าต่างประเทศและความร่วมมือทางเศรษฐกิจของจีน(MOFTEC) เกี่ยวกับแนวทางดำเนินการตามที่ผู้นำสองฝ่ายตกลงกัน และได้มอบหมายให้หน้าที่ระดับสูงเจรจาในรายละเอียดต่อไป

4.เมื่อวันที่ 25-28 กุมภาพันธ์ 2546 กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอร่างความตกลงยกเลิกภาษีสินค้าผักและ ผลไม้ ซึ่งเป็นความตกลงพิเศษเฉพาะระหว่างไทยกับจีน แต่อยู่ภายใต้กรอบการทำ FTA อาเซียน-จีน (ตาม Framework Agreement ที่ผู้นำประเทศอาเซียนได้ลงนามกันเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 และในปี 2546/2547 ได้มีการเจรจาในรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดตั้ง FTA) ให้ฝ่ายจีนพิจารณา ซึ่งจีนไม่ขัดข้องในหลักการ แต่เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าว จีนอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนคณะผู้บริหาร จึงขอเวลาเพื่อพิจารณาตอบกลับ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้มีหนังสือเร่งรัดฝ่ายจีนไปด้วยแล้ว

5.กระทรวงพาณิชย์ได้จัดประชุมคณะกรรมการเตรียมความพร้อมเขตการค้าเสรี เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2546 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน ซึ่งในส่วนของการเตรียมความพร้อมสำรับการเปิดเสรี ผัก-ผลไม้ ที่ประชุมมีมติให้ตั้งคณะทำงานและให้ภาคเอกชนเป็นแกนนำหรือร่วมกันกับหน่วยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการตลาดและการส่งเสริมการส่งออกสู่ตลาดจีน สถานะปัจจุบัน

ขณะนี้อยู่ในการพิจารณาในเรื่อง Modality ในการลดภาษีภายใต้ Normal Track ซึ่งในท่าทีของประเทศไทยเห็นควรให้ใช้รายการสินค้า 60% โดยหากมีรายการใดที่คิดว่าเป็น Sensitive Products ให้ย้ายไปอยู่ใน Sensitive List ส่วนรายการใน Sensitive List เห็นควรเป็นรายการสินค้า 40% ที่ยังไม่ได้ปรับลดเป็น 0% แต่หากมีรายการใดไม่จำเป็นต้องจัดไว้ใน Sensitive List ให้ย้ายไปอยู่ใน Normal List

6.อัตราภาษีในแต่ละกลุ่มและระยะเวลาในการปรับลดภาษีที่เป็นท่าทีของฝ่ายไทย

ประเภท อัตราสุดท้าย ระยะเวลาการดำเนินงาน

Early Harvest 0% 3 ปี

Normal Track 0 – 5% 7 – 10 ปี

Sensitive 5 – 30% 10 ปี

7.ในท่าทีของ อก. ควรยืนยันท่าทีดังข้อ 8 – 9 และควรพิจารณาเพิ่มเติมมาตรกันกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs) รวมทั้งเตรียมความพร้อมในด้านการกำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรมเพื่อการป้องกันสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานจากจีนเข้ามาทะลักในประเทศไทย

8.การประชุม ASEAN – China ครั้งต่อไปจะเป็นครั้งที่ 8 แต่ยังไม่มีกำหนดการที่แน่นอน โดยจะคุยถึงเรื่อง Modality การปรับลดอัตราภาษีของสินค้าใน Normal Track


6.1.4.ไทย-บาห์เรน

เขตการค้าเสรีระหว่างประเทศ

การจัดทำเขตการค้าเสรีไทย – บาห์เรน

ภูมิหลัง

1. วัตถุประสงค์ในการจัดทำ CEP กับบาห์เรน คือ การใช้บาห์เรนเป็น Gateway ในการกระจายสินค้าของประเทศไทยเข้าสู่กลุ่มประเทศคณะมนตรีความมั่นคงอาหรับ (Gulf Cooperation Council - GCC) อันประกอบด้วย บาห์เรน คูเวต โอมาน กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ นอกจากนี้ ไทยยังได้เปรียบในการเปิดตลาดบริการกับบาห์เรนและการลงทุนในการจัดตั้ง Islamic Bank

2. กรอบความตกลงการเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจ (Framework Agreement) ไทยและบาห์เรน ได้มีการลงนามร่วมกันใน Framework Agreement โดยมีใจความครอบคลุมเนื้อหาอย่างกว้างขวางในเรื่องการลดภาษีสินค้า การเปิดเสรีการค้าบริการและการลงทุน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจสาขาต่างๆ เช่น สาขาพลังงาน การเงิน การธนาคาร การผลิต การประกันภัย การประมง ตลอดจนการยอมรับร่วมในมาตรฐานสินค้าระหว่างกัน ซึ่ง Framework Agreement ฉบับนี้ได้รับความเห็นชอบใน ครม. ของฝ่ายไทยแล้ว และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2545 โดยผู้ลงนามฝ่ายไทยคือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ดร.อดิศัย โพธารามิก) และฝ่ายบาห์เรนคือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและเศรษฐกิจแห่งชาติ (อับดุลลา ฮัสซัน ซาอิฟ) ความคืบหน้า ได้มีการประชุมคณะทำงานด้านเทคนิค ไทย – บาห์เรน ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 18 – 20 กุมภาพันธ์ 2546 ณ กรุงมานามาร์ ประเทศบาห์เรน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

(1) ฝ่ายไทยและบาห์เรนได้เห็นชอบร่วมกันในการปรับลดอัตราภาษีจำนวน 626 รายการ (รหัสศุลกากร 6 หลัก) โดยปรับลดให้เหลือร้อยละ 0 จำนวน 419 รายการ และร้อยละ 3 จำนวน 207 รายการ โดยสินค้า 626 รายการ (เอกสารแนบ 2) มีมูลค่าการค้ารวมของทั้งสองประเทศ 2,696 ล้านบาท (64.2 ล้านเหรียญสหรัฐ) (คิดเป็นร้อยละ 71.4) ในจำนวนนี้มูลค่าที่ไทยส่งออกไปยังบาห์เรน 1,109 ล้านบาท (26.4 ล้านเหรียญสหรัฐ) และไทยนำเข้าจากบาห์เรน 1,587 ล้านบาท (37.8 ล้านเหรียญสหรัฐ)

(2) เรื่องกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin) ได้เห็นชอบที่จะใช้ Rules of Origin เดียวกับ AFTA ตามที่ฝ่ายไทยเสนอคือใช้ Local Content ร้อยละ 40 อย่างไรก็ตาม ฝ่ายบาห์เรนขอไปพิจารณาเพิ่มเติมในขั้นตอนการออกใบรับรอง FORM D ให้กับสินค้าไทยที่จะส่งไปยังบาห์เรน และจะแจ้งให้ฝ่ายไทยทราบต่อไป

สถานะปัจจุบัน ได้มีการลงนามใน CEP ของทั้งสองประเทศแล้ว

6.1.5. ไทย-เปรู

ไทย-เปรู

ทั้งสองฝ่ายจะจัดทำกรอบความตกลงเพื่อเป็นพื้นฐานในการจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-เปรู โดยครอบคลุมในเรื่องการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน รวมทั้งความร่วมมือด้านอื่นๆ ได้แก่การขนส่ง และการท่องเที่ยว ซึ่ง 1) ได้มีการหารือระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสไทย-เปรู รวม 2 ครั้ง 2) การศึกษาเบื้องต้น กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้ศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำ FTA ระหว่างไทย-เปรู โดยเปรียบเทียบภาพรวมทางเศรษฐกิจ การค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน การขนส่ง และเขตการค้าเสรี ของทั้งสองประเทศ สรุปได้ว่าการเปิดเสรีจะไม่ทำให้ไทยเสียประโยชน์ และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบในทุกสาขาที่ศึกษา 3) การจัดทำกรอบความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น มีสาระสำคัญ ดังนี้ 3.1) วัตถุประสงค์เพื่อเปิดเสรีและส่งเสริมการค้าสินค้า บริการ รวมทั้งการลงทุนระหว่างประเทศ และอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการระหว่างเขตแดนของทั้งสองประเทศ 3.2) ทั้งสองฝ่ายจะลดหรือยกเลิกภาษีศุลกากร และลดอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีสำหรับสินค้าภายในปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) 3.3) จะเปิดเสรีการค้าบริการ อำนวยความสะดวกด้านการลงทุนและให้ความคุ้มครองการลงทุนระหว่างกัน 3.4) ขยายความร่วมมือในสาขาอื่นๆ โดยเริ่มจากความตกลงที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน เช่น ในด้านการท่องเที่ยว และการขนส่ง เป็นต้น 3.5) ให้มีความโปร่งใสของข้อมูลทั้งกฎหมาย กฎระเบียบและข้อมูลทางเศรษฐกิจ 3.6) จัดตั้งคณะกรรมการเจรจาเปรู-ไทย (Peru-Thailand Negotiation Committee) 3.7) เริ่มเจรจารายละเอียดการเปิดเสรีภายในมกราคม ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547) เป็นอย่างช้าและให้เสร็จสิ้นในปี 2005 4) ทั้งสองฝ่ายตกลงรับร่างกรอบความตกลงฯ กันได้แล้ว และจะมีการลงนามความตกลงฯระหว่างการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกที่เมืองแคนคูน ประเทศเม็กซิโก ในเดือนกันยายน 2546

6.1.6.ไทย-ญี่ปุ่น

กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดไทย-ญี่ปุ่น

Japan-Thailand Closer Economic Partnership (JTEP)

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงอุตสาหกรรม

ภูมิหลัง

1. ในการเยือนไทยของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเมื่อเดือนมกราคม 2545 ผู้นำไทยและญี่ปุ่นได้ย้ำ ความเห็นชอบเรื่องการส่งเสริมความร่วมมือหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดไทย-ญี่ปุ่น (Closer Economic Partnership : CEP) ภายใต้กรอบความร่วมมือหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดไทย-ญี่ปุ่น เพื่อผลักดันความร่วมมือที่ครอบคลุมรอบด้าน ทั้งด้านการค้า การลงทุน อุตสาหกรรม และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์รวมทั้งการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรี (FTA)

2. เดือนกุมภาพันธ์ 2546 นายMakio Miyagawa ผู้อำนวยการกองนโยบายภูมิภาค กระทรวง ต่างประเทศญี่ปุ่นเดินทางมาเยือนไทยและเสนอให้ไทยพิจารณาใช้เอกสารข้อตกลงที่ญี่ปุ่นจัดทำกับประเทศสิงคโปร์เพื่อส่งเสริมการค้าเสรี (Agreement between Japan and the Republic of Singapore for New – Age Economic Partnership) เป็นตัวอย่างในการจัดทำ CEP ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น โดยขอให้มีความครอบคลุมในทุกเรื่อง ไม่เฉพาะด้านการค้าเท่านั้น

3. เมื่อ 12 เมษายน 2546 นายกรัฐมนตรีไทยกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้หารือระหว่างการเข้าร่วมการประชุม Boaao Forum for Asia ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน และย้ำความเห็นชอบในการจัดตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อศึกษาความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดไทย-ญี่ปุ่น โดยขอให้นำเอาความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจระหว่างญี่ปุ่นกับสิงคโปร์ (Japan-Singapore New – Age Economic Partnership : JSEPA) เป็นตัวอย่างในการจัดทำข้อตกลงระหว่างไทยกับญี่ปุ่น โดยอาจพิจารณาสาขาที่เป็นปัญหาน้อยที่สุดก่อน

4. ที่ประชุมหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 9 ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือนกรกฎาคม 2545 เห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำความตกลง CEP ไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Closer Partnership : JTEP) เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างพันธมิตรทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-ญี่ปุ่น

5. คณะทำงาน JTEP มีนาย Makio Miyagawa ผู้อำนวยการกองนโยบายภูมิภาค กระทรวง ต่างประเทศญี่ปุ่นเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนญี่ปุ่น และนายพิศาล มาณวพัฒน์ เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงการต่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะผู้แทนทั้งสองฝ่าย

6. คณะทำงานฯ ได้ดำเนินงานเพื่อจัดเตรียม substantive groundwork สำหรับการเจรจาจัดทำความตกลง JTEP รวมทั้งการจัดตั้งเขตการค้าเสรี (FTA) ที่จะมีการเจรจาอย่างเป็นทางการต่อไป โดยญี่ปุ่นมุ่งหวังที่จะให้การเจรจามีผลเป็นการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกันในระดับที่ใกล้เคียงกับที่ญี่ปุ่นได้ทำความตกลงกับสิงคโปร์และขยายความร่วมมือกับเศรษฐกิจไทยในทุกด้าน ทั้งนี้ทั้งสองฝ่ายเห็นต้องกันว่าการดำเนินงานควรอยู่บนพื้นฐานการปฏิบัติต่างตอบแทนและผลประโยชน์ร่วมกัน การดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงอุตสาหกรรม

7. สาระสำคัญของความตกลง JSEPA ประกอบด้วยบทต่างๆ รวม 22 บท และกระทรวงอุตสาหกรรมได้รับมอบหมายเกี่ยวกับความร่วมมืออุตสาหกรรมด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และความร่วมมือด้านการยอมรับร่วม(MRA) โดยได้ดำเนินงานพิจารณายกร่างเนื้อหาสาระทั้งสองสาขาความร่วมมือที่จะบรรจุไว้ในความตกลง JTEP ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เป็น หน่วยงานหลักในการจัดประชุมและเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือและยกร่างเนื้อหา อาทิ ข้อบท (Chapter) และมาตราต่างๆ ตามสาขาที่รับผิดชอบ

8. สศอ. ดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดเตรียมแนวทางในการเจรจากับประเทศญี่ปุ่นตามแนวร่างข้อตกลง JSEPA ตามที่ฝ่ายญี่ปุ่นเสนอ โดยได้มีการพิจารณาเปลี่ยนแปลง แก้ไข และเพิ่มเติมส่วนของ Article โดยดำเนินการบนพื้นฐานปฏิบัติการต่างตอบแทนและการรับผลประโยชน์ร่วม (Mutual Benefit)

9. ความร่วมมือด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สศอ. ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมไทย-ญี่ปุ่นด้าน SMEs (Joint Committee on SMEs) ซึ่งญี่ปุ่นเห็นด้วยตามข้อเสนอดังกล่าว โดยทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันพิจารณาความ ร่วมมือและกิจกรรมหลักด้าน SMES ที่จะบรรจุไว้ในข้อตกลงเพื่อการปฏิบัติ (Implementing Agreement) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานร่วมกันต่อไป

10. ความร่วมมือด้านการยอมรับร่วม (Mutual Recognition/Standard and Conformance) สศอ. ร่วมกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเสนอให้ญี่ปุ่นพิจารณายอมรับมาตรฐานร่วมกันในการตรวจสอบสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (MRA on Testing Report) ซึ่งญี่ปุ่นมีข้อกังวลเกี่ยวกับกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานของไทย แต่เห็นชอบในหลักการที่จะดำเนินความ ร่วมมือดังกล่าว โดยทั้งสองประเทศต้องร่วมกันศึกษาในรายละเอียดและขั้นตอนการดำเนินงานต่อไป โดยฝ่ายญี่ปุ่นเห็นถึงความสำคัญในการดำเนินความร่วมมือด้าน MRA กับไทย แต่เนื่องจากความแตกต่างเรื่องระบบ วิธีการรับรองและความสามารถของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงทำให้ญี่ปุ่นยังไม่สามารถจัดทำ MRA กับไทยในลักษณะเดียวกับที่ทำกับประเทศสิงคโปร์ภายใต้กรอบ JSEPA ได้

11. คณะทำงาน JTEP จัดประชุมรวมทั้งสิ้น 5 ครั้ง ครั้งสุดท้ายประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดขึ้น เมื่อวันที่ 19-21 พฤษภาคม 2546 ณ กระทรวงการต่างประเทศ โดยทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันจัดทำสรุปผล การประชุมคณะทำงานฯ เพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศ โดยในวันที่ 4-7 มิถุนายน 2546 ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร มีกำหนดเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่น ซึ่งอาจเป็นโอกาสที่นายก รัฐมนตรีทั้งสองจะประกาศเปิดเจรจาอย่างเป็นทางการ และอาจกำหนดให้การเจรจาทำความตกลงเสร็จสิ้นภายในเดือนธันวาคม ศกนี้ ข้อสังเกต

12. แม้ว่าคณะทำงาน JTEP ดำเนินการคืบหน้าไปมากในการเตรียมการเจรจาและกระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่นได้พยายามผลักดันให้มีการเปิดเจรจากับไทยอย่างเต็มที่ แต่การเปิดเจรจาจัดทำความตกลง JTEP ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นยังประสบปัญหา เนื่องจากกระทรวงเกษตรและประมงของญี่ปุ่นยังคัดค้านเนื่องจากการจัดทำความตกลงกับไทยจะทำให้ญี่ปุ่นต้องเปิดตลาดสินค้าเกษตร ซึ่งจะทำให้ญี่ปุ่นต้อง ลดภาษีสินค้าเกษตรบางส่วนสู่ระดับ 0% ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ไม่ต้องการให้มีผลกระทบใดๆ ต่อภาคเกษตรของญี่ปุ่น จึงพยายามชะลอการเปิดเจรจากับไทย

13. กระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่นซึ่งพยายามผลักดันให้มีการเปิดเจรจากับไทยโดยเร็วนั้น เห็นว่าเนื่องจากกระทรวงเกษตรฯ ญี่ปุ่นได้ระบุว่าในการค้าสินค้ากับไทย สินค้าเกษตรที่สำคัญและเป็นสินค้า อ่อนไหวมี 4 รายการได้แก่ ข้าว น้ำตาล เนื้อไก่ และแป้งสตาร์ช โดยข้าวเป็นสินค้าที่มีความอ่อนไหว ทางการเมืองมากที่สุด จึงเสนออย่างไม่เป็นทางการเพื่อหาทางออกเพื่อให้มีการเปิดเจรจาว่าขอให้ฝ่ายไทย ตกลงว่าจะไม่เรียกร้องให้ญี่ปุ่นลด/เลิกภาษีศุลกากรที่เก็บจากการนำเข้าสินค้า 4 รายการดังกล่าวเพื่อเป็นทางออกให้กระทรวงเกษตรฯ ญี่ปุ่น ยอมรับได้

14. ข้อเสนอดังกล่าวถือเป็นการตั้งเงื่อนไขสำหรับการเปิดเจรจาจัดทำความตกลง JTEP กับไทยโดยเป็นการขอให้ไทยสละผลประโยชน์บางส่วนที่ควรได้รับจากญี่ปุ่น โดยมูลค่าการส่งออกสินค้า 4 รายการในปี 2545 รวมทั้งสิ้น 602.5 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 21.95% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรไทยไปญี่ปุ่น หรือ 6.02% ของมูลค่าการส่งออกรวมของไทยไปญี่ปุ่น

ความคืบหน้า

15. หลังจากการพบและหารือกันของนายกรัฐมนตรีไทยและนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2546 ณ ประเทศญี่ปุ่น ทั้งสองฝ่ายไม่ได้ประกาศเริ่มต้นกระบวนการเจรจาอย่างเป็นทางการ โดยฝ่ายญี่ปุ่นเสนอให้มีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นผลกระทบในสินค้าเกษตร และทั้งสองฝ่ายเห็นชอบในการจัดตั้งคณะเฉพาะกิจความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement: JTEPA Task Force) ซึ่งมีองค์ประกอบของผู้เข้าร่วมการประชุมที่กว้างขวางมากยิ่งขึ้น เช่น นักวิชาการ แนวร่วมภาคการเกษตร และภาคเอกชน เพื่อหารือในการจัดทำความตกลงไทย-ญี่ปุ่นต่อไป

16. การประชุม JTEPA Task Force ครั้งที่ 1 มีขึ้นระหว่างวันที่ 22-24 กรกฎาคม 2546 ณ ประเทศญี่ปุ่น และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 24 – 27 สิงหาคม 2546 ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันต่อ ในประเด็นความร่วมมืออุตสาหกรรม โดยได้หารือในรายละเอียดและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือด้าน MRA โดยฝ่ายไทยพยายามผลักดันให้ภาครัฐของญี่ปุ่นเข้ามามีบทบาทในการดำเนินความร่วมมือด้าน MRA ให้มากยิ่งขึ้น และได้เสนอการใช้มาตรฐานระหว่างประเทศ ซึ่งได้แก่ ISO/IEC 17025 เป็นมาตรฐานกลางในการดำเนินความร่วมมือ ซึ่งญี่ปุ่นเห็นชอบด้วยในหลักการในเบื้องต้น และจะนำข้อเสนอดังกล่าวกลับไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

17. หลังจากการประชุมดังกล่าว ญี่ปุ่นได้ประสานส่ง Non-Paper ชี้แจงถึงระเบียบและขั้นตอนของญี่ปุ่นในการนำเข้าสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเสนอขอให้ไทยยอมรับรูปแบบการจัดทำ Test Report ตามมาตรฐานของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวเป็นแนวทางปกติที่ภาคเอกชนไทยดำเนินการอยู่โดยไม่ต้องทำความตกลง JTEP ก็ได้ หากไทยยอมรับข้อเสนอดังกล่าว จะทำให้ไทยต้องแก้กฎหมาย ภายใน เพื่อรองรับผลประโยชน์ของญี่ปุ่นเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งความพยามยามของไทยในการผลักดันให้มีการใช้มาตรฐานระหว่างประเทศนั้น จะทำให้ทั้งสองประเทศมีสถานะอยู่ในระดับที่เท่าเทียมและบรรลุผลประโยชน์ร่วมกัน (Mutual Benefit)

18. การประชุม JTEPA Task Force ครั้งที่ 3 มีขึ้นระหว่างวันที่ 4-6 พฤศจิกายน 2546 ที่จังหวัดฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น การประชุมครั้งนี้ฝ่ายญี่ปุ่นไม่ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญด้าน MRA เข้าร่วมด้วย อย่างไรก็ดีหลังการประชุมฝ่ายไทยได้ประสานส่งข้อมูลเพิ่มเติ่มเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกในการยอมรับ Test Report ตามรูปแบบที่ไทยเสนอ ส่วนความตกลงเรื่อง SMEs เนื่องจากสามารถตกลงเรื่องการจัดตั้ง Joint Committee on Smes ได้แล้ว จึงหารือเกี่ยวกับการจัดทำรายงานผลการประชุมเพื่อส่งเรื่องสู่กระบวนการเจรจาต่อไป

19. นอกจากความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมใน 2 ประเด็นข้างต้นแล้ว กระทรวงอุตสาหกรรมยังเข้าร่วมหารือในเรื่องกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rule of Origin) ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ให้ความเห็นชอบกับหลักเกณฑ์การแบ่งกลุ่มสินค้าในการพิจารณาแหล่งกำเนิด 3 ประเภท ได้แก่สินค้าที่กำเนิดหรือผลิตโดยใช้วัตถุดิบในประเทศทั้งหมด (Wholly Obtain) สินค้าที่ผลิตโดยใช้วัตถุดิบนำเข้าที่มีการเปลี่ยนแปลง/แปรรูปอย่างมีนัยสำคัญ (Substantial Transformation/Chang in Tariff Clarification-CTC) และหลักการใช้มูลค่าเพิ่ม (value Added) โดยภายใต้การได้แหล่งกำเนิดสินค้าแบบ Substantial Transformation/Chang in Tariff Clarification-CTC นั้น ไทยเสนอให้ใช้ Harmonized Code ในระดับ 6 หลักเป็นเกณฑ์ในการเปลี่ยนแปลง/แปรรูปอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อให้ได้แหล่งกำเนิดสินค้าตามหลักเกณฑ์ขององค์การศุลากรโลก ในขณะที่ญี่ปุ่นเสนอการใช้ Harmonized Code ระดับ 4 หลัก ส่วนเรื่องการกำหนดสัดส่วนมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ที่เกิดจากกระบวนการผลิตที่จะทำให้ได้รับการรับรองแหล่งกำเนิดสินค้านั้น ไทยเสนอการใช้สัดส่วนวัตถุดิบที่ผลิตในประเทศ 40% ของราคา F.O.B ส่วนญี่ปุ่นเสนอที่ 60% วึ่งข้อถกเถียงดังกล่าวจะนำไปหารือในขั้นตอนการเจรจา (Negotiation Phase) ต่อไป

20. การประชุม JTEPA Task Force ครั้งที่ 3 นี้คาดว่าจะเป็นการประชุมครั้งสุดท้ายก่อนที่ทั้งสองประเทศจะเริ่มขั้นตอนการเจรจาอย่างเป็นทางการในต้นปีหน้าต่อไป กองเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

6.1.7.ไทย-บังกลาเทศ

การลดภาษีศุลกากรให้แก่บังกลาเทศ

ภูมิหลัง

1. ในการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีของไทยกับบังกลาเทศ เมื่อวันที่ 8 – 10 กรกฎาคม 2545 นายก รัฐมนตรีของบังกลาเทศขอให้ฝ่ายไทยพิจารณา Duty Free Access กับสินค้าบังกลาเทศที่ส่งมาขายในไทยจำนวน 231 รายการ ได้แก่ ปอกระเจาและผลิตภัณฑ์ปอ หนังและผลิตภัณฑ์หนัง อาหารแช่เย็นและแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์เวชกรรม และพืช ผัก ผลไม้แปรรูป เป็นต้น

2. มีการหารือในรายการสินค้าดังกล่าวกับภาคราชการและเอกชนที่เกี่ยวข้องในการพิจารณารายการสินค้า 231 รายการข้างต้น และผลการพิจารณาว่าสามารถลดอัตราภาษีให้กับบังกลาเทศได้ จำนวน 128 รายการ โดยได้นำเสนอ ครม. เพื่อมอบหมายให้กระทรวงการคลังออกประกาศลดภาษีให้แก่บังกลาเทศ เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2546

3. กระทรวงการคลังได้ตรวจสอบรายการสินค้าทั้ง 128 รายการพบว่า มีจำนวน 41 รายการ ได้แก่ ปอกระเจา อาหารทะเลแช่เย็นและแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม จึงไม้เห็นควรที่จะปรับลดอัตราภาษีจำนวน 41 รายการดังกล่าว ต่อมากระทรวงพาณิชย์ได้แจ้งข้อเท็จจริงว่าสินค้าจำนวน 41 รายการนั้น มีการนำเข้าจากบังกลาเทศเฉพาะกุ้งแช่เย็นแช่แข็ง มูลค่าเพียง 9.7 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี และเป็นวัตถุดิบที่นำเข้ามาเพื่อการผลิตและการส่งออกจึงไม่น่าจะมีผลกระทบกับผู้ประกอบการไทย และเห็นควรให้ลดภาษีจำนวน 128 รายการให้แกบังกลาเทศตามที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้แจ้งแก่ประธานาธิบดีบังกลาเทศแล้ว สถานะขณะนั้น

คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในการปรับลดภาษีให้บังกลาเทศไปแล้วเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2546 จำนวน 128 รายการ และถูกจัดว่าเป็น First Phase

สถานะปัจจุบัน อยู่ขณะการพิจารณาลดภาษีศุลกากรให้แก่สินค้าบังกลาเทศใน Second Phase ซึ่งครอบคลุม 10 ประเภทสินค้า ได้แก่ รองเท้า สายไฟ เครื่องสำอาง อาหารปรุงแต่ง เฟอร์นิเจอร์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก หม้อแปลงไฟฟ้า เคหะสิ่งทอ ชา และ Zipper ซึ่งท่าทีของ สศอ. คือสามารถปรับลดภาษีให้ได้ทั้งหมดโดยปรับให้ลดลงเหลือร้อยละ 5 เท่ากับ AFTA แต่ข้อตั้งข้อสังเกตุในเรื่อง 1. ความปลอดภัยของผู้บริโภค 2. กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า

6.2. กรอบความร่วมมือของ ASEAN กับประเทศคู่เจรจาต่าง ๆ

6.2.1.อาเซียน-จีน

อาเซียน-จีน

กรอบความร่วมมือนี้ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2546 ทั้งนี้ในด้านการค้าสินค้า (Trade in Goods) มีการลดภาษีแบ่งเป็น 3 ประเภท โดยใช้ Applied MFN ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2546 เป็นเกณฑ์ดังนี้

1. การลดภาษีสินค้ากลุ่มแรก (Early Harvest Programme for Trade in Goods) ครอบคลุมสินค้าเกษตรในตอนที่ 01-08 มีกรอบระยะเวลา 3 ปี สำหรับสมาชิกเดิม 6 ประเทศและจีน ดังนี้

ปี 2547 ปี 2548 ปี 2549

อัตราภาษีมากกว่า 15% 10% 5% 0%

อัตราภาษี 5%-15% 5% 0% 0%

อัตราภาษีน้อยกว่า 5% 0% 0% 0%

2. การลดภาษีปกติ (Normal Track) กำหนดกรอบให้เริ่มลดภาษีตั้งแต่ 1 มกราคม 2548 จนถึง 2553 สำหรับอาเซียนเดิม 6 ประเทศและจีน ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำแนวทางการลดภาษี (Modality) โดยให้ระยะเวลาเพื่อเจรจาจัดทำจนถึง 30 มิถุนายน 2547

3. การลดภาษีสินค้าอ่อนไหว (Sensitive Track) กำลังอยู่ระหว่างการเจรจากำหนดแนวทางการลดภาษี นอกจากนี้ ได้มีการลงนามในความตกลงเร่งลดภาษีสินค้าผักและผลไม้ระหว่างไทย-จีน เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2546 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีสาระสำคัญครอบคลุมเรื่องการลดภาษีสินค้าผักและผลไม้ทุกรายการตามพิกัดศุลกากร ตอนที่ 07-08 (116 รายการ ตามพิกัดศุลกากร 6 หลัก) ให้เหลือ 0% ภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2546 ผลจากการลงนาม ช่วยให้เกิดการขยายการค้าในสินค้าพืช ผัก และผลไม้ ระหว่างกัน และวางแนวทางสำหรับการเปิดเสรีในสินค้าอื่น ๆ ระหว่างไทยและจีน โดยต่อไปทั้งสองฝ่ายสามารถจะเจรจาเพื่อขยายขอบเขตของสินค้าที่จะนำมาเร่งลดภาษีสู่การจัดทำเขตการค้าเสรี ไทย-จีนอย่างสมบูรณ์ในที่สุด ซึ่งเป็นนโยบายด้านการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญของรัฐบาลไทย สถานะล่าสุด

1. การลดภาษีสินค้ากลุ่มอื่น อยู่ระหว่างการเจรจา โดยในขณะนี้อาเซียนเดิม 6 ประเทศกับจีน สามารถตกลงในเบื้องต้นต่อรูปแบบการลดภาษี (Modality) ที่จะเป็นกรอบการลดภาษีสินค้า Normal Track สำหรับ Sensitive Track อาเซียนและจีนอยู่ระหว่างการแลกเปลี่ยนรายการสินค้าและจำกัดไม่ให้มีรายการสินค้ามากเกินไป โดยกำหนดเจรจาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2547

2. การค้าบริการ อยู่ระหว่างเจรจาในส่วนของ Early Harvest Programme ด้านการค้าบริการ การจัดทำร่างความตกลงฯ และรูปแบบการเจรจาเปิดตลาดการค้าบริการ โดยกำหนดให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2547

3. การลงทุน อยู่ระหว่างหารือหลักการ ทั่วไปของความตกลงด้านการลงทุนและการแลกเปลี่ยน Negative List ระหว่างอาเซียน-จีน

4. แหล่งกำเนิดสินค้า (Rule of Origin ) อยู่ระหว่างการหารือเรื่องการกำหนดสัดส่วนวัตถุดิบภายในประเทศ และการพิจารณาข้อเสนอเกี่ยวกับวิธีพิจารณาแหล่งกำเนิดสินค้าบางรายการ ทั้งนี้ คณะเจรจาอาเซียน-จีน จะรายงานผล

การเจรจาเสนอผู้นำอาเซียน-จีน ในเดือนตุลาคม 2546 นี้

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทย

1. ผลกระทบในระยะสั้น : AFTA อาจทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้ส่วนหนึ่งจากอัตราภาษีนำเข้าที่ลดลงและทำให้อุตสาหกรรมที่มีความสามารถในการผลิตต่ำและไม่มีความสามารถในเชิงแข่งขันได้รับผลกระทบ อาทิ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่เพิ่มเริ่มก่อตั้ง อาจเสียเปรียบในการแข่งขันกับสิงคโปร์ซึ่งประกอบการมานานแล้ว นอกจากนี้ อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ไทยเสียเปรียบด้านวัตถุดิบจะมีปัญหาการแข่งขันกับมาเลเซียและอินโดนีเซีย รวมทั้งสินค้าสำเร็จรูปที่มีการลดภาษีใน AFTA แล้วแต่เป็นสินค้าที่ต้องอาศัยวัตถุดิบนำเข้าจากนอกอาเซียน ซึ่งไทยมีอัตราภาษีนำเข้าในระดับสูง เช่น วัตถุดิบของเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วัสดุสำหรับผลิตเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น

2. ผลประโยชน์ในระยะยาว : AFTA จะส่งประโยชน์ต่อประเทศไทยดังนี้

- การลดภาษีของอาเซียนจะทำให้สินค้าที่ไทยส่งออกไปอาเซียนมีราคาถูกและสามารถแข่งขันกับประเทศนอกกลุ่มได้

- การลดภาษีของไทยจะทำให้มีการนำเข้าวัตถุดิบ และสินค้ากึ่งสำเร็จรูปจากอาเซียนในราคาถูก ซึ่งจะมีผลต่อการลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออก

- ผู้บริโภคสามารถบริโภคสินค้าอุปโภค บริโภค ในราคาถูกลง

- การขยายฐานตลาดจะทำให้อาเซียนเกิดการประหยัดต่อขนาด (Economics of scale) และได้รับประโยชน์จากหลักการได้เปรียบอันเป็นปัจจัยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ

- การแข่งขันกันภายในอาเซียนจะทำให้เกิดการปรับปรุงประสิทธิภาพและพัฒนาเทคโนโลยี

- การขยายการนำเข้าและการส่งออกภายในอาเซียน จะทำให้ประเทศไทยลดการพึ่งพาการค้ากับกลุ่มอื่นลดลง

ทั้งนี้ เมื่อมองภาพเศรษฐกิจโดยรวมแล้ว ไทยและอาเซียนต่างก็จะได้รับประโยชน์จาก AFTA แต่จะมากน้อยกว่ากันนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัวของภาครัฐและภาคเอกชนในแต่ละประเทศ ทั้งนี้ นับแต่มีการก่อตั้ง AFTA เป็นต้นมา การค้าระหว่างไทยและอาเซียนขยายตัวขึ้นมากและมูลค่าการส่งออกสินค้าจากไทยไปยังอาเซียนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

6.2.2. อาเซียน-อินเดีย

อาเซียน-อินเดีย

คณะทำงานว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนและอินเดีย (ASEAN-India Economic Linkages Task Force) อยู่ระหว่างการพิจารณาจัดทำ Draft Framework Agreement on Economic Cooperation between ASEAN and India ซึ่งรวมทั้ง Early Harvest Package ประกอบด้วยสินค้าที่จะตกลงกันลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2549 และจะนำ Draft Framework Agreement ดังกล่าวส่งให้ที่ประชุม SEOM-India พิจารณาก่อนเสนอต่อที่ประชุม AEM-India ครั้งที่ 2 เพื่อพิจารณา และนำเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ 2 เพื่อให้ผู้นำลงนามภายในสิ้นปี 2546 การศึกษาถึงแนวทางในการเชื่อมโยงอินเดียเข้ากับเขตการค้าเสรีอาเซียน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญ ของทั้งสองฝ่ายกำลังดำเนินการศึกษาอยู่นั้น สามารถใช้เป็นแนวทางในการขยายความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างกันได้ต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ ความพยายามที่จะจัดทำความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอินเดียกับสิงคโปร์ที่มุ่งจะก้าวไปสู่การค้าเสรี ระหว่างอินเดีย - สิงคโปร์ จะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ต้องหันไปกระชับความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดียมากยิ่งขึ้น ปัจจุบัน ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และอินเดีย มีฉันทามติในการลดภาษีสินค้า จำนวน 116 รายการ ส่วนเรื่อง Rules of Origin และ Modality ในการปรับลดภาษียังไม่มีการตกลงกัน

6.2.3. อาเซียน-ญี่ปุ่น

อาเซียน-ญี่ปุ่น

ผู้นำอาเซียนและญี่ปุ่นได้ลงนามใน Joint Declaration on ASEAN-Japan Comprehensive Economic Partnership : AJCEP (ตามแนวทางข้อเสนอแนะของ Expert Group) ในการประชุมผู้นำอาเซียน-ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2545 ณ กรุงพนมเปญ และเห็นชอบให้มีการตั้งคณะกรรมการความร่วมมือพันธมิตรทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Committee on Comprehensive Economic Partnership : AJCCEP) เพื่อจัดทำ Comprehensive Economic Partnership Framework และนำเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ในเดือนตุลาคม 2546 เพื่อให้ผู้นำลงนามใน CEP Framework ปัจจุบันคณะกรรมการฯ อยู่ระหว่างการพิจารณาร่าง Framework ที่ฝ่ายอาเซียนและญี่ปุ่นได้เสนอ ซึ่งมีสาระสำคัญ อาทิ แนวทางการจัดตั้ง AJCEP ขอบเขตการเปิดเสรี และความร่วมมือในด้านต่างๆรวมทั้งความเชื่อมโยงระหว่าง FTA ภายใต้ AJCEP นี้ กับระดับทวิภาคี (ไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ เริ่มเจรจาหารือกับญี่ปุ่น)

6.2.4. อาเซียน-สหรัฐอเมริกา

อาเซียน-สหรัฐอเมริกา

ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 34 ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี 2543 จึงได้เสนอให้รื้อฟื้นการประชุมหารือระหว่างรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับผู้แทนการค้าของสหรัฐฯ (AEM-USTR Consultations) ขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นผลให้ได้มีการประชุม AEM-USTR Consultations อีกครั้งหนึ่ง ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนเมษายน 2545 โดยทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องที่จะจัดทำแผนงานความร่วมมือระหว่างกันที่ครอบคลุมถึงการค้า การลงทุน การเกษตร การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการเสริมสร้างขีดความสามารถ การอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน ทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานสินค้า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ศุลกากร วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น

ปริมาณการค้า ในปี 2543 สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าจากอาเซียน 87,945 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเท่ากับร้อยละ 7.2 ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมดของสหรัฐฯ และส่งออกสินค้าไปยังอาเซียน 47,139 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเท่ากับร้อยละ 6.3 ของปริมาณการส่งออก ทั้งหมดของสหรัฐฯ โดยอาเซียนเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด (แนวโน้มการได้เปรียบดุลการค้าของอาเซียนลดลง โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2544 สหรัฐฯ นำเข้าจากอาเซียนลดลง แต่ส่งออกไปยังอาเซียนเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา) สินค้าที่สหรัฐฯ นำเข้าจากอาเซียน ได้แก่ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้สำนักงาน และเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เป็นต้น ส่วนสินค้าที่สหรัฐฯ ส่งออกไปยังอาเซียน ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องบินและส่วนประกอบ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เครื่องใช้สำนักงาน เป็นต้น ปริมาณการลงทุน ในปี 2543 ในส่วนของอาเซียน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ไทยและมาเลเซียเป็นแหล่งลงทุน 4 อันดับแรกของสหรัฐฯ ด้วยมูลค่า 2,690, 1,182, 539 และ 260 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ ในระหว่างการประชุม AEM-USTR Consultations ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2545 USABC ได้ริเริ่มที่จะให้มีการศึกษาถึงความเหมาะสมของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีสหรัฐฯ-อาเซียน สถานะล่าสุด

การหารือระหว่างประธานาธิบดีสหรัฐฯ กับผู้นำอาเซียน 7 ประเทศ ได้มีขึ้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2545 สหรัฐฯ พร้อมที่จะร่วมมือทางเศรษฐกิจกับอาเซียนภายใต้ข้อเสนอ Enterprise for ASEAN Initiative (EAI) อันมีเป้าหมายที่จะนำไปสู่การจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างสหรัฐฯ กับสมาชิกอาเซียนเป็นรายประเทศต่อไป สรุปความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐฯ

ความสัมพันธ์คู่เจรจาอาเซียน-สหรัฐฯ ในอดีตที่ผ่านมามีความราบรื่น แต่โครงการ ความร่วมมือเพื่อการพัฒนายังมีอยู่ค่อนข้างน้อย โดยสหรัฐฯ เน้นความร่วมมือและความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาในระดับทวิภาคีมากกว่าที่จะร่วมมือกับอาเซียนในฐานะกลุ่มประเทศ อย่างไรก็ตาม ภายหลังเหตุการณ์ก่อการร้ายในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 สหรัฐฯ ได้แสดงให้เห็นถึงความสนใจที่ให้แก่ภูมิภาคนี้เพิ่มมากขึ้น ทั้งในด้านความร่วมมือเพื่อการต่อต้านการก่อการร้ายและความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจอื่นๆ

6.2.5. อาเซียน-ออสเตรเลีย

อาเซียน-ออสเตรเลีย

ออสเตรเลียเป็นประเทศแรกที่สถาปนาความสัมพันธ์กับอาเซียนในปี 2517(1974) โดยมีความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ มีมูลค่าการค้าระหว่างอาเซียนและออสเตรเลียขยายตัวอย่างรวดเร็วหลังจากทั้งสองฝ่ายลงนามใน MOU on ASEAN-Australia Trade Cooperation เมื่อปี 2519 การขยายตัวด้านการค้ายังส่งผลให้การลงทุนของทั้งสองฝ่ายขยายตัวอย่างมาก อย่างไรก็ดี อาเซียนยังมีอุปสรรคเกี่ยวกับมาตรการกีดกันการค้าที่มิใช่มาตรการด้านภาษีศุลการกรของออสเตรเลีย อาทิ การต่อต้านการทุ่มตลาด มาตรฐานสินค้าที่ยังแตกต่างกัน และปัญหาด้านสุขอนามัยของสินค้า (SPS) อาเซียนและออสเตรเลียมีความร่วมมือในกรอบ AFTA-CER ซึ่งกำลังพัฒนาให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้นคือ AFTA-CER Closer Economic Partnership : CEP ซึ่งที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ จะลงนาม Ministerial Declaration on the AFTA-CER Closer Economic Partnership ในเดือนกันยายน 2545 ที่บรูไนฯ ความร่วมมือในกรอบ AFTA-CER CEP จะเน้น 5 ด้านคือ (1) Trade and Investment facilitation (2) Capacity Building (3) Trade and Investment Promotion (4) New Economy และ (5) ด้านอื่นๆ ที่สามารถร่วมมือกันได้ในอนาคต อาเซียนและออสเตรเลียมีความร่วมมือด้านการเงินการคลังในกรอบ Manila Framework Groupซึ่งเริ่มในปี 2540 และมีการประชุมแล้วรวม 7 ครั้ง และในกรอบ Executive Meeting of East Asia -Pacific Central Banks (EMEAP)

สถานะปัจจุบัน

ในช่วงกลางปี 2001 อาเซียนและออสเตรเลียเกิดการขัดแย้งในเรื่องคุณสมบัติการรับเงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา (ODA) โดยออสเตรเลียต้องการใช้หลักการของ OECD ซึ่งทำให้สิงคโปร์และบรูไนฯ ไม่ได้รับความช่วยเหลืออย่างเต็มรูปแบบในโครงการ AADCP ในขณะที่ฝ่ายอาเซียนยืนยันหลักการไม่เลือกประติบัติ (Non-Discrimination) ผลจากความขัดแย้งดังกล่าวทำให้ต้องยุติกิจกรรมต่าง ๆ ในขั้นเตรียมการของโครงการ AADCP ไปก่อนจนกว่าจะหาทางออกในเรื่องดังกล่าวได้

จากการหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างทั้งสองฝ่ายในการประชุม Joint Planning Committee (JPC) สำหรับโครงการ AAECP ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 7-8 มิถุนายน 2001 ที่กรุงแคนเบอร์รา มีข้อเสนอให้มีการร่วมรับภาระเฉพาะในส่วนของการเดินทางมาร่วมกิจกรรมในโครงการต่างๆ ในสัดส่วนออสเตรเลีย 80: อาเซียน 20 ซึ่งต่อมาสามารถตกลงกันได้ในรายละเอียดตามหลักการนี้

6.2.6. อาเซียน-แคนาดา

อาเซียน-แคนาดา ความสัมพันธ์อาเซียน-แคนาดา ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 2520 มีความร่วมมือดำเนินไปอย่างใกล้ชิดทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และความร่วมมือด้านการพัฒนา ในปี 2524 ทั้งสองฝ่ายลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ (ASEAN -Canada Economic Cooperation Agreement) อาเซียนและแคนาดาจึงได้ตกลงปรับปรุงความตกลงดังกล่าวขึ้นในปี ๒๕๓๖ โดยให้มีการก่อตั้งสภาธุรกิจอาเซียน-แคนาดา (ASEAN-Canada Business Council : ACBC) ขึ้นมาเพื่อเป็นกลไกส่งเสริมและหาลู่ทางในการขยายความสัมพันธ์ระหว่างภาคเอกชนของทั้งสองฝ่าย

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน

แคนาดาได้ให้ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจอย่างแข็งขันต่อข้อเรียกร้องของประเทศสมาชิกอาเซียนในกรอบกลุ่มความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจในเอเชียและแปซิฟิก (APEC) และองค์การการค้าโลก (WTO) ตลอดมา การค้าระหว่างอาเซียนกับแคนาดา ปริมาณการค้าขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มูลค่าการค้าดังกล่าวยังเป็นสัดส่วนที่น้อย มีมูลค่าไม่ถึงร้อยละ 1 (0.7) เมื่อเทียบกับมูลค่าการค้าที่อาเซียนมีกับทั่วโลก (ลดลงร้อยละ 0.11 จากปีก่อนหน้านี้) นอกจากนี้ ความพยายามที่จะขยายการค้าระหว่างกันให้มากขึ้นยังไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากแคนาดาได้อ้างอุปสรรคทางการค้าที่มีต่อกันว่า อาเซียนมีระบบภาษีที่ซ้ำซ้อนและยุ่งยากและมีปัญหาแรงงานบ่อย ส่วนอาเซียนเห็นว่าแคนาดามีกฎระเบียบที่เข้มงวดเกินไปเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดสินค้า อนามัยของสินค้า ประเภทอาหาร การเข้าตลาด และการให้สิทธิพิเศษทางการค้าที่แตกต่างกันแก่ประเทศกำลังพัฒนา

สถานะล่าสุด

อาเซียนและแคนาดาจัดการประชุมคณะทำงานอาเซียน-แคนาดา ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 5-7 มีนาคม 2545 ที่กรุงพนมเปญ โดยเป็นผลมาจากการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน-แคนาดา ครั้งที่ 33 ที่กรุงเทพฯ เมื่อปี 2543 ซึ่งเห็นพ้องให้มีการหารือระดับสูงอย่างไม่เป็นทางการระหว่างอาเซียน-แคนาดา เพื่อพิจารณาหาทางรื้อฟื้นการประชุม ACJCC โดยมีผลการประชุมว่าทั้งสองฝ่ายตกลงกันได้ในประเด็นเดียวคือ เห็นชอบในหลักการแนวทางความร่วมมือในอนาคตในลักษณะหุ้นส่วนที่ให้อาเซียนมีส่วนร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการความร่วมมือในอนาคตไม่เกินร้อยละ 20 โดยรวมถึง in kind contribution ด้วย โดยฝ่ายแคนาดาจะจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding – MOU) ฉบับใหม่สำหรับโครงการความร่วมมือในภูมิภาค (Regional Training Program – RTP) บนพื้นฐานของหลักการข้างต้น แล้วเสนอให้อาเซียนพิจารณาให้ข้อคิดเห็น และเห็นชอบให้จัดการประชุม ACJCC ครั้งที่ 12 หลังจากที่การจัดทำ MOU ข้างต้นแล้วเสร็จ โดยรูปแบบการจัดการประชุมและกลไกการดำเนินการประชุมที่เหมาะสมจะต้องได้รับความเห็นชอบจากทั้งสองฝ่ายก่อนด้วย

6.2.7. อาเซียน-สหภาพยุโรป

ความสัมพันธ์อาเซียน-สหภาพยุโรป

นโยบายของอาเซียนในการดำเนินความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับสหภาพฯจะคล้ายคลึงกับนโยบายที่ดำเนินกับประเทศคู่เจรจาที่สำคัญอื่นๆ เช่น สหรัฐฯและญี่ปุ่น คือ เพื่อปรับปรุงการเข้าสู่ตลาดสหภาพฯสำหรับสินค้าจากอาเซียน และเพื่อดึงดูดการลงทุนจากสหภาพฯ มายังอาเซียน ส่วนนโยบายของสหภาพฯในการดำเนินความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอาเซียนเป็นไปตามมติของคณะมนตรียุโรปว่าด้วยความร่วมมือทางการเงินและเศรษฐกิจกับประเทศกำลังพัฒนา ในเอเชียและละตินอเมริกาปี 2535 ซึ่งกำหนดวัตถุประสงค์ของความร่วมมือทางเศรษฐกิจ 3 ประการ คือ 1) เพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน 2) เพื่อใช้ประโยชน์จากความเจริญเติบโตของการค้าระหว่างกัน และ 3) เสริมสร้างบทบาทของนักธุรกิจและเทคโนโลยี

ในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนนั้น สหภาพฯ ได้ให้ความช่วยเหลือแก่อาเซียนในโครงการที่สำคัญ คือ ASEAN-EC Industrial Standards and Quality Assurance Programme และ ASEAN-EC Patents and Trademarks Programme ส่วนการส่งเสริมบทบาทของนักธุรกิจและเทคโนโลยีนั้น สหภาพฯ ได้ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีของสหภาพฯ โดยผ่านศูนย์ภูมิภาคต่าง ๆ รวมทั้ง Business Information Centres สำหรับโครงการที่สำคัญเพื่อช่วยส่งเสริมการค้าและการลงทุน ได้แก่ Asia-Invest, ASEAN-EU Partenariat นอกจากนั้นสหภาพฯ ยังได้ จัดตั้ง European Community Investment Partners (ECIP) เพื่อให้เงินกู้สำหรับโครงการในอาเซียน ที่เป็นลักษณะร่วมลงทุนระหว่างนักลงทุนของภูมิภาคทั้งสอง และการให้เงินกู้สำหรับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ผ่าน European Investment Bank (EIB) ซึ่งที่ผ่านมา สหภาพฯ ได้ให้เงินกู้สำหรับโครงการก๊าซธรรมชาติในไทย อินโดนีเซีย และโครงการขยายสนามบินในฟิลิปปินส์

โดยรวมแล้วนับว่าสหภาพยุโรปได้ให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา แก่อาเซียนเป็นจำนวนมาก โดยแต่เดิมฝ่ายสหภาพฯ จะออกค่าใช้จ่ายสนับสนุนโครงการเกือบทั้งหมด แต่ในปัจจุบัน สหภาพฯ กำหนดให้อาเซียนร่วมออกค่าใช้จ่ายด้วยในสัดส่วน 20% ทั้งนี้ โครงการความร่วมมือส่วนหนึ่งเป็นการดำเนินการในระดับภูมิภาค อาทิ โครงการฝึกอบรมหรือการจัดตั้งศูนย์ความร่วมมือเฉพาะสาขาที่ประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถเข้าร่วมได้ทุกประเทศ แต่โครงการบางส่วนเป็นการดำเนินงานกับอาเซียนเป็นรายประเทศตามความสมัครใจ และยังมีโครงการอีกส่วนหนึ่งที่ สหภาพฯ ให้ความช่วยเหลือในกรอบ EU-Asia ที่รวมถึงอาเซียนด้วย โดยที่อาเซียนมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่ายเริ่มเปลี่ยนจากลักษณะ "ผู้ให้-ผู้รับ" (donor-recipient) มาเป็น "หุ้นส่วนเพื่อความ ก้าวหน้า" (partnership for progress) เน้นความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (economic cooperation) มากขึ้น

ความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุน สหภาพยุโรปยังคงเป็นคู่ค้าที่สำคัญของอาเซียน และจัดอยู่ในลำดับ 3 รองลงจากญี่ปุ่นและสหรัฐฯ การให้ สิทธิพิเศษทางการค้า (GSP) ของสหภาพฯ เป็นมาตรการสำคัญในการส่งเสริมการค้า

ในด้านการลงทุน สหภาพฯ ลงทุนในอาเซียนมากเป็นอันดับที่ 3 รองจากญี่ปุ่นและฮ่องกง โดยในปี 2539 สหภาพฯ ได้ลงทุนในอาเซียนเป็นมูลค่า 6.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แล้วลดลงในช่วงที่อาเซียนประสบกับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี 2540-2541 จากนั้นได้เริ่มเพิ่มการ ลงทุนในอาเซียนอีกเป็นมูลค่า 4.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2542 และในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 สหภาพฯ ลงทุนในอาเซียนเพียง 252 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

6.2.8. อาเซียน-นิวซีแลนด์

อาเซียน-นิวซีแลนด์

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียน-นิวซีแลนด์ความสัมพันธ์ดำเนินไปด้วยดี มีการลดกฎระเบียบและข้อกีดกันทางการค้า อาเซียน พยายามเพิ่มลู่ทางการเข้าสู่ตลาดนิวซีแลนด์ของสินค้าส่งออกจากอาเซียนให้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากถึงแม้นิวซีแลนด์จะเป็นตลาดที่ไม่ใหญ่นัก แต่เมื่อรวมกำลังซื้อกับออสเตรเลียก็จะเป็นตลาดที่น่าสนใจ สำหรับดุลการค้า นิวซีแลนด์เป็นฝ่ายได้ดุลการค้าในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (2540-2544) ยกเว้นในปี 2542 ซึ่งนิวซีแลนด์ขาดดุลการค้ากับอาเซียน 55 ล้านเหรียฐสหรัฐ สินค้าที่นิวซีแลนด์ นำเข้าจากอาเซียนประกอบด้วย น้ำมันดิบ โทรทัศน์สี วิทยุ เครื่องเล่นเทปและวิดีโอ ส่วนสินค้าที่นิวซีแลนด์ส่งออกมายังอาเซียนคือ ผลิตภัณฑ์นม กระดาษและเยื่อกระดาษ เนื้อแช่แข็งและผัก อุปสรรคการค้าที่สำคัญคือ มาตรฐานด้านสุขอนามัย (SPS) สำหรับการนำเข้าสินค้าพืชและสัตว์ ซึ่งนิวซีแลนด์กำหนดสูงกว่ามาตรฐาน

นอกจากนั้น ยังมีความพยายามที่จะเชื่อมโยง ASEAN Free Trade Area (AFTA) กับ Closer Economic Relations (CER) ของออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์ ซึ่งมีความคืบหน้าด้วยดี โดยปัจจุบันกำลังมีการศึกษาแนวทางการจัดทำความร่วมมือระหว่าง ASEAN-CER ในรูปแบบ Closer Economic Partnership: CEP แทนการจัดตั้งเขตการค้าเสรี ความร่วมมือในกรอบ AFTA-CER CEP จะเน้น 5 ด้านคือ (1) Trade and Investment facilitation (2) Capacity Building (3) Trade and Investment Promotion (4) New Economy และ (5) ด้านอื่นๆ ที่สามารถร่วมมือกันได้ในอนาคต

6.2.9. อาเซียน-ปากีสถาน

อาเซียน-ปากีสถาน

ความสัมพันธ์คู่เจรจาเฉพาะด้านอาเซียน-ปากีสถาน (ASEAN-Pakistan Sectoral Dialogue) ได้มีผลอย่างสมบูรณ์ตามหนังสือแลกเปลี่ยน ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศปากีสถานและเลขาธิการอาเซียน เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม และ 27 มิถุนายน 2540(1997) ตามลำดับ ประกอบด้วย 8 สาขาความร่วมมือ คือ การค้า อุตสาหกรรม ลงทุน สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ยาเสพติด การท่องเที่ยวและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยในฝ่ายอาเซียนมีสำนักเลขาธิการอาเซียนเป็นผู้ประสานงาน ประเทศสมาชิกอาเซียน สำนักเลขาธิการ และหน่วยงานต่าง ๆ ของอาเซียน รวมทั้ง SEOM และ COST มิได้แสดงความสนใจในศักยภาพทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของปากีสถาน ด้วยเหตุนี้ อาเซียนจึงไม่มีความกระตือรือร้นที่จะริเริ่มความร่วมมือเพื่อการพัฒนากับปากีสถาน สำหรับการที่ ปากีสถานประสงค์จะขอยกสถานะขึ้นเป็นคู่เจรจาเต็มรูปแบบนั้น อาเซียนเห็นควรคงสถานะปัจจุบันไว้อีกระยะหนึ่ง จนกว่าทั้งสองฝ่ายจะมีกิจกรรมความร่วมมือระหว่างกันมากกว่านี้ และเห็นว่า ยังไม่ควรรับปากีสถานเข้าเป็นสมาชิก (ASEAN Regional Forum: ARF) เนื่องจากเกรงว่า จะมีการนำเอาปัญหาในเอเชียใต้เข้ามาสู่ ARF ในส่วนของ SEOM นับแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการระหว่างอาเซียนกับปากีสถาน ยังมิได้เคยหารือกันถึงลู่ทางในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับปากีสถาน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการไม่ให้ ความสำคัญต่อตลาดปากีสถานและความไม่กระตือรือร้นของ SEOM ในการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้ากับปากีสถานได้เคลื่อนไหวสถาปนาความสัมพันธ์อย่างจริงจังกับอาเซียน ภายหลังจากที่ผู้นำอาเซียนเห็นชอบให้อินเดียเป็นประเทศคู่เจรจาเต็มรูปแบบของอาเซียนเมื่อปี 2538 ซึ่งส่งผลให้อินเดียได้รับเชิญให้เข้าร่วมประชุม (Post Ministerial Conferences: PMCs) และ ARF โดยในทันทีหลังจากได้รับสถานะคู่เจรจาเฉพาะด้าน ปากีสถานได้พยายามเร่งเร้าอาเซียนในทุกวิถีทางเพื่อให้ยกสถานะขึ้นเป็นคู่เจรจาเต็มรูปแบบในโอกาสแรก ซึ่งเรื่องนี้เป็นที่เข้าใจว่า เป้าหมายหลักของปากีสถานอยู่ที่การเข้าเป็นสมาชิก ARF เช่นเดียวกับอินเดีย

6.2.10. อาเซียน-รัสเซีย

อาเซียน-รัสเซีย

อาเซียน-รัสเซียมีความสัมพันธ์ ด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน ปริมาณการค้าระหว่างอาเซียนกับรัสเซียยังมีปริมาณน้อย (ประมาณร้อยละ 0.3 ของปริมาณการส่งออกรวมของ อาเซียน) ในชั้นนี้ อาเซียนโดย Senior Economic Officials Meeting (SEOM) ได้เห็นชอบร่าง TOR เพื่อจัดตั้งคณะทำงาน อาเซียน -รัสเซีย ว่าด้วยความร่วมมือด้านการค้าและเศรษฐกิจ ซึ่งฝ่ายรัสเซียเสนอที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งแรก ณ กรุงมอสโก ระหว่างวันที่ 19-20 เดือนกันยายน 2545

สถานะล่าสุด

ที่ประชุม JPMC ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2544(2001) ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันยกร่างแผนงานเพื่อเป็นกรอบการดำเนินความร่วมมือระหว่างกัน ทั้งนี้ แผนงานดังกล่าว มุ่งเน้นความร่วมมือด้านการค้าและเศรษฐกิจโดยกำหนดให้มีการรับรอง TOR จัดตั้งคณะทำงานฯ และดำเนินการจัดประชุมครั้งแรกขึ้นในปี 2545(2002) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะมุ่งเน้นโครงการขนาดเล็กที่เสนอโดยสำนักเลขาธิการอาเซียน ด้านการศึกษาจะเน้นโครงการจัดสัมมนาอธิการบดีมหาวิทยาลัยอาเซียน-รัสเซีย ด้านคมนาคมจะเน้นการศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายและปรับปรุงเส้นทางคมนาคมที่มีอยู่เพื่อเชื่อมสองภูมิภาคเข้าด้วยกัน รวมทั้งการศึกษาถึงรูปแบบและแหล่งเงินที่จะใช้สนับสนุนโครงการความร่วมมือระหว่างกัน ที่ประชุมอาเซียน-รัสเซีย SOM ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 4-5 เมษายน 2545 ณ กรุงมอสโก ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบที่จะร่วมกันพิจารณาจัดทำร่าง Pacific Concord และร่วมกันเสนอให้ที่ประชุม ARF พิจารณาต่อไป


ความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ[แก้ไข]

7.1. ประเทศเพื่อนบ้าน

กัมพูชา : กรณีเขาพระวิหาร

ความสัมพันธ์และความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา

ในที่นี้จะกล่าวถึงประเด็นทั้งความสัมพันธ์และความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา เนื่องจากมีความเกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งจะทำให้เห็นภาพของความขัดแย้งได้อย่างชัดเจน และแม้ว่าทั้งไทยและกัมพูชาจะมีความขัดแย้งกัน แต่ก็สามารถจัดการกับความขัดแย้งได้โดยอาศัยกรอบความร่วมมือต่าง ๆ เป็นพลังขับเคลื่อนความสัมพันธ์ระหว่างกัน

การวิเคราะห์ความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา

ความสัมพันธ์และความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชาบนพื้นฐานทางประวัติศาสตร์และลัทธิชาตินิยม

ปัญหาความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชาในปัจจุบันนั้นมีรากฐานเกิดมาจากความเป็นมาทางประวัติศาสตร์และลัทธิชาตินิยมเป็นหลัก ปัญหาประการแรกของประเทศทั้งสองนั้นเกิดจากการขีดแบ่งเส้นแดนโดยจักรวรรดินิยม ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมระหว่างไทยอีสานใต้และกัมพูชาแล้ว จะเห็นได้ว่าดินแดนทั้งสองต่างก็เป็นดินแดนที่มีวัฒนธรรมแบบเดียวกัน มีลักษณะทางชาติพันธุ์เป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน แต่ดินแดนทั้งสองส่วนต้องแยกจากกันเพราะวิธีคิดการแบ่งเขตแดนแบบรัฐชาติ (Nation State) สมัยใหม่ตามแบบที่จักรวรรดินิยมตะวันตกพึงปรารถนาให้เป็น หรือกล่าวได้ว่าเป็นการแบ่งเขตแดนเพื่อการจัดการผลประโยชน์เหนือดินแดนของจักรวรรดินิยมตะวันตกนั่นเอง

ทั้งนี้ เมื่อมองย้อนไปในอดีตก็จะเห็นถึงความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างไทยอีสานใต้และกัมพูชาบนพื้นที่ความขัดแย้งในปัจจุบัน คือ พื้นที่บริเวณปราสาทเขาพระวิหาร ปราสาทเขาพระวิหารซึ่งพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 แห่งอาณาจักรขอมได้สร้างเทวสถานบนเทือกเขาพนมดงรัก (เพี๊ยะนมดงเร็ก) เพื่อให้ชาวเขมรสูง (อีสานใต้) และชาวเขมรต่ำ (กัมพูชา) ได้สักการะเทวสถานแห่งนี้ร่วมกัน อันแสดงให้เห็นถึงความเป็นกลุ่มชนเดียวกัน และความผูกพันทั้งในอดีตและปัจจุบันของดินแดนทั้งสอง ซึ่งในปัจจุบันดินแดนดังกล่าวกลับเป็นกรณีพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชาที่ต่างฝ่ายต่างยึดถือเขตแดนและกฎเกณฑ์ที่ตะวันตกได้กำหนดเอาไว้ มิได้มองถึงวัตถุประสงค์ของผู้สร้างปราสาทเขาพระวิหารที่มีเจตนาให้ดินแดนเขมรทั้งสองฝั่งได้ใช้ประโยชน์ (การสักการบูชาร่วมกัน) อีกทั้งรัฐไทยและรัฐกัมพูชาสมัยใหม่ยังมองข้ามบริบททางวัฒนธรรมที่เป็นวัฒนธรรมชุดเดียวกันของดินแดนทั้งสอง ทำให้ทั้งสองฝ่ายยึดถือแต่ผลประโยชน์แห่งชาติ(National Interest) บนเส้นแบ่งเขตแดนตามแบบชุมชนในจินตนาการ (Imagine Community) ส่งผลให้ความขัดแย้งระหว่างกันเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ปัญหาอีกประการ คือ การศึกษาประวัติศาสตร์ของไทยได้ถูกหล่อหลอมจากกระบวนการ ตำรา และแบบเรียนภายใต้อุดมการณ์แบบชาตินิยมที่ประกอบสร้างให้เราเกลียดพม่า กลัวญวน และดูหมิ่นเขมรซึ่งหากหันไปมองประวัติศาสตร์ก็จะเห็นได้ว่าสยามในอดีตนั้นก็เป็นเพียงดินแดนของคนเถื่อนเท่านั้นในขณะที่ขอมเป็นดินแดนอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังจะเห็นได้จากภาพแกะสลักนูนต่ำ "เสียมกุก" หรือ นี่เหล่าคนสยาม (กองทัพสยาม) บริเวณระเบียงรายรอบปราสาทนครวัด ซึ่งเป็นภาพที่บรรยายถึงในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ได้เกณฑ์ไพร่พลในดินแดนรัฐบรรณาการของพระองค์ที่หนึ่งในนั้น คือ เสียม สยำ หรือ สยาม นั่นเอง จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ข้างต้นแสดงให้เห็นว่าแบบเรียนที่เน้นศักดิ์ศรีและยิ่งใหญ่ของชาติเกินความเป็นจริงโดยไม่ย้อนไปมองบริบททางประวัติศาสตร์ ย่อมจะเกิดผลเชิงลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในปัจจุบัน ต้องไม่ลืมนึกถึงกฎเกณฑ์วัฏจักรทางประวัติศาสตร์ที่อาณาจักรใดก็ตามมีจุดสูงสุดก็ย่อมจะต้องตกต่ำลงเป็นธรรมดา ปัจจุบันเราอาจจะเหนือกว่าเขาแต่ในอดีตเขาก็เคยเหนือกว่าเราเช่นกัน

ปัญหาอีกส่วนหนึ่งของความเป็นชาตินิยมแบบคลั่งชาติภายใต้กระบวนการสร้างแบบคู่ตรงข้าม (Binary Opposition) ทำให้ชาติของเราดูดีงาม และเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณธรรมแต่ในขณะเดียวกันก็สร้างภาพให้ชาติอื่นกลายเป็นศัตรูถาวรที่มีแต่ความเลวร้ายหรือต่ำต้อยกว่าเรา ดังจะเห็นได้จากรัฐไทยนั้นติดอยู่กับบ่วงวาทะกรรมว่าอยุธยานั้นถูกหงสาวดีเป็นศัตรูถาวรที่รุกรานเผาบ้านเมืองและปล้นสะดมนานหลายร้อยปี แต่หากมองดูที่ประวัติศาสตร์ระหว่างไทยกับกัมพูชา จะเห็นได้ว่าช่วงความรุ่งเรืองของอยุธยานั้นเป็นช่วงที่กัมพูชาหรือกัมโพชเสื่อมถอยลง เมื่ออยุธยามีอำนาจที่เข้มแข็งก็ได้มีการขยายอำนาจรุกรานดินแดนที่อ่อนแอกว่าเช่นกัน ดังเห็นจากการขยายอำนาจครั้งสำคัญในรัชสมัยของพระบรมราชาที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา แห่งอาณาจักรอยุธยา ซึ่งการขยายขอบขัณฑสีมารุกรานกัมพูชาในครั้งนั้นอยุธยาได้ทำการเผาและปล้นสะดมอาณาจักรกัมพูชา เช่นเดียวกับที่อยุธยาถูกหงสาวดีกระทำในกาลต่อมา หรือจะเป็นเมื่อครั้งพระนเรศวร ที่พระองค์ทรงพักจากศึกหงสาวดีแล้วไปทำสงครามสั่งสอนกัมพูชา โดยในสงครามครั้งนั้นอยุธยาได้ทำการเทครัวและกวาดต้อนชาวเขมรเพื่อไปเป็นแรงงานให้แก่อยุธยาเป็นจำนวนมาก หรือจะเป็นในรัชสมัยของพระเจ้าตากสินหลังจากการปราบดาภิเษกเถลิงราชสมบัติเป็นการสำเร็จ พระองค์ก็มีพระราชประสงค์ที่จะเผยแพร่บุญโพธิสมภารไปสู่ราชอาณาจักรกัมพูชา ขณะเดียวกันก็ทรงหาหนทางที่จะต้องการนำตัวกษัตริย์กัมพูชามาลงโทษ เนื่องมาจากการปฏิเสธที่จะส่งบรรณาการสู่ธนบุรี ทำให้พระเจ้าตากสินได้ยกทัพเข้าตีกัมพูชาหลายต่อหลายครั้ง จนในปี พ.ศ. 2315 กองทัพสยามได้เผากรุงพนมเปญ และได้สถาปนานักองค์เองให้เป็นกษัตริย์หุ่นเชิดของธนบุรีหลังจากนั้นอีกเจ็ดปี

ในขณะที่ไทยมองกัมพูชาในฐานะที่ต่ำต้อยกว่าและตกเป็นเบี้ยล่างมาโดยตลอด กัมพูชาเองก็ประกอบสร้างให้ไทยเป็นศัตรูถาวรของกัมพูชาเช่นกัน อันเป็นผลมาจากเมื่อสยามในอดีตมีความเข้มแข็งเป็นปึกแผ่นขึ้นมาคราใด สยามก็จะต้องรุกรานกัมพูชาทุกครั้งเช่นกัน เห็นได้ว่าการรุกรานขยายอาณาดินแดนของรัฐจารีต ในอดีตนั้นเป็นกฎของสัจนิยม (Realism) ที่ว่าสถานะของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐนั้นเป็นสภาวะอนาธิปไตย (Anarchy) ที่ไม่มีกฎเกณฑ์อันใดมาควบคุมพฤติการณ์ระหว่างรัฐ นอกจากนี้ สงครามยังคงเป็นความชอบธรรมที่แต่ละรัฐสามารถนำมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองโดยไม่ขัดกับหลักประเพณีระหว่างประเทศในอดีต หากไทยและกัมพูชาเข้าใจถึงเกณฑ์ความสัมพันธ์ของรัฐจารีตดั้งเดิมและไม่ใช้ประวัติศาสตร์มาเป็นเครื่องมือสร้างกระแสชาตินิยมของประเทศทั้งสองความขัดแย้งของทั้งสองประเทศ คงจะไม่ทวีความรุนแรงอย่างในปัจจุบัน

ถึงแม้ว่าข้อดีของการใช้ความเป็นชาตินิยมสร้างชาติอื่นให้เป็นศัตรูถาวรจะมีอยู่ที่เป็นการสร้างอุดมการณ์ต่อต้านศัตรูเพื่อสร้างความสามัคคีในชาติได้ แต่หากพิจารณาถึงบริบทของการเมืองระหว่างประเทศในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า สงครามที่เป็นการรบมิใช่สงครามหลักในเวทีระหว่างประเทศอีกต่อไป สงครามเศรษฐกิจกลับเข้ามามีบทบาทหลักที่ผลักให้เกิดนโยบายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศขึ้น ประกอบกับเขตแดนของรัฐแบบเวสต์ฟาเลีย (Westfalia) ที่ชาติตะวันตกเคยแบ่งเขตแดนให้กับทั่วโลก เริ่มจะมีผลสะเทือนจากโลกาภิวัตน์ (Globalization) ที่ตะวันตกสร้างนี้ได้ลดทอนคุณค่าทางเขตแดนแบบรัฐชาติลง นอกจากนี้ ตะวันตกก็ยังผลักกระแสการบูรณาการ (Integration) ระหว่างประเทศที่มีต้นแบบจากสหภาพยุโรป (European Union: EU) กลายมาเป็นสงครามในการรวมกลุ่มประเทศที่เป้าหมายในการรวมกลุ่มประเทศให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งเชิงลึกและเชิงกว้าง ทั้งนี้ เพื่อเป้าหมายการต่อสู้ในสงครามทางเศรษฐกิจระหว่างแต่ละกลุ่มประเทศ ซึ่งลักษณะของการบูรณาการในภูมิภาคนั้นจะมีลักษณะที่สร้างความเป็นหนึ่งเดียวในภูมิภาคโดยมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานอย่างเสรี จะเห็นได้ว่าสหภาพยุโรปนั้นมีลักษณะเป็นองค์กรเหนือรัฐ (Supranational Organization) ที่มีความเข้มแข็งมีทั้งสภาแห่งยุโรป (European Parliament) ศาลแห่งยุโรป (European Court) สกุลเงินยุโรป (EURO) และธนาคารกลางแห่งยุโรป (Central Bank of European) โดยมีนโยบายเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปที่เป็นเอกภาพ และในอนาคตสหภาพยุโรปก็กำลังดำเนินการสร้างความเป็นเอกภาพทางการเมืองเช่นกัน กล่าวได้ว่าแนวทางการบูรณาการภายในกลุ่มระหว่างประเทศนั้นเป็นการลดทอนอธิปไตย เขตแดน และความเป็นรัฐชาติลงนั่นเอง

ในกรณีของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชานั้นทั้งสองประเทศต่างก็เป็นสมาชิกของอาเซียน (ASEAN) ที่กำลังเดินหน้าตามตัวแบบอย่างสหภาพยุโรปโดยที่ในปี พ.ศ. 2558 อาเซียนต้องก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งก็หมายความว่าไทย กัมพูชา และอาเซียนก็กำลังตามกระแสของสงครามทางเศรษฐกิจและการบูรณาการระหว่างประเทศ ดังนั้น เป้าหมายของอาเซียนในอนาคต คือ ไปสู่การสร้างความเป็นเอกภาพของประชาคมอย่างแท้จริง ที่อธิปไตยเขตแดน และความเป็นชาติย่อมจะถูกลดทอนลง เมื่อสถานการณ์ของการเมืองระหว่างประเทศเริ่มเปลี่ยนไป อัตลักษณ์ภายในภาคีของอาเซียนเองก็จะต้องตรียมพร้อมเพื่อไปสู่ความร่วมมือที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ด้วยการลดข้อจำกัดในการสร้างความเป็นศัตรูถาวรภายใต้กระแสชาตินิยม เมื่อใดก็ตามที่ต่างฝ่ายต่างเดินหน้าใช้ประโยชน์จากประวัติศาสตร์ และความล้าหลังคลั่งชาติก็ย่อมจะสร้างความขัดแย้งระหว่างกันและกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

เมื่อความเป็นหนึ่งเดียวแบบประชาคมกำลังจะเกิดขึ้นในอาเซียน คำถามก็คือ การสร้างกระแสชาตินิยมบนพื้นฐานความแค้นในเชิงประวัติศาสตร์มีความจำเป็นอยู่ไหม ทั้งนี้ ไทยและกัมพูชาต้องทบทวนว่าทั้งสองประเทศจะยินยอมติดอยู่กับกับดักของลัทธิชาตินิยมและประวัติศาสตร์อยู่หรือไม่ หรือจะเลือกเดินไปสู่หนทางของความร่วมมือที่จะเกื้อกูลกันเพื่อต่อสู้ในสงครามทางเศรษฐกิจบนเวทีระหว่างประเทศที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบันความสัมพันธ์และความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชาภายใต้ผลประโยชน์แห่งชาติและการเมืองระหว่างประเทศ

สำหรับการเมืองในประเทศไทยนั้น หลายปีที่ผ่านมามีความปั่นป่วนและขาดเสถียรภาพอยู่พอสมควรอันมาจาก Colors Politics หากมองถึงปมแห่งปัญหาของการเมืองของไทยนั้นเกิดจากที่ประชาธิปไตยแบบตะวันออกของไทยยังให้ความสำคัญตลอดมาว่าการเลือกตั้ง คือ หัวใจสำคัญของประชาธิปไตย แต่แท้จริงแล้วการเลือกตั้งนั้นเป็นเพียงกระบวนการสรรหาตัวแทนในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น ประกอบกับการเลือกตั้งในไทยยังยึดโยงอยู่กับทุน และระบบอุปถัมภ์ ซึ่งโดยแท้จริงแล้วเราต้อง มีความเข้าใจว่าประชาธิปไตยต้องไม่ใช่แค่เพียงการเลือกตั้ง แต่ต้องเป็นประชาธิปไตยโดยวิถีชีวิตที่ต้องยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น และรับฟังเสียงจากคนส่วนน้อย ซึ่งสังคมประชาธิปไตยที่พึงปรารถนาต้องเป็นสังคมประชาธิปไตยแบบถกแถลง (Deliberate Democracy) ที่อยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและการแลกเปลี่ยนความคิดกันกันอย่างสร้างสรรค์ กล่าวได้ว่าประชาธิปไตยไทยในปัจจุบันจึงเป็นประชาธิปไตยแบบอัตตาธิปไตยผสานกับธนาธิปไตยที่ขับเคลื่อนไปด้วยอวิชชาและมิจฉาทิฐิ

แม้ว่าเสถียรภาพทางการเมืองของกัมพูชาจะมีอยู่สูง เนื่องมาจากรัฐบาลพรรคประชาชนกัมพูชาที่นำโดยนายกรัฐมนตรีฮุนเซนสามารถกุมเสียงส่วนใหญ่ในการเลือกตั้งของกัมพูชาได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พรรคประชาชนกัมพูชาได้เข้าสู่การเป็นพรรคการเมืองที่มีลักษณะโดดเด่นเพียงพรรคเดียว (One Dominant Party System) โดยมีพรรคฟุนซินเปคและพรรคสมรังสีเป็นพรรคฝ่ายค้านที่ได้รับการเลือกตั้งเพียงไม่กี่ที่นั่ง กล่าวได้ว่านายกรัฐมนตรีฮุนเซนสามารถใช้อำนาจและกลไกของรัฐผสานกับการใช้กุศโลบายทางเศรษฐกิจ ในการควบคุมฐานเสียงและการลงคะแนนเลือกตั้งได้อย่างมีประสิทธิภาพเสมอมา หากมองลักษณะทางการเมืองของกัมพูชาถึงแม้ว่ากัมพูชานั้นจะมีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยก็ตาม แต่จากการควบคุมจากรัฐบาลทุกองคาพยพ ไม่ว่าจะเป็น พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ NGO และสื่อมวลชน ย่อมสะท้อนให้เห็นถึง ความเป็นประชาธิปไตยแบบอำนาจนิยม (Authoritarian Democracy) ของกัมพูชา

จากลักษณะของการเมืองภายในของประเทศทั้งสองเห็นได้ว่า ทั้งไทยและกัมพูชาต่างก็เป็นประเทศประชาธิปไตย (แบบเอเชีย) เคยมีคำกล่าวของฝ่ายเสรีนิยม (Liberalism) ว่าประเทศในระบอบประชาธิปไตยจะไม่ทำสงครามกัน แต่ในกรณีของความสัมพันธ์ไทยและกัมพูชานั้นทั้งสองต่างก็ตั้งผลประโยชน์หลักแห่งชาติ (National Interest) ไว้ที่เป้าหมายเดียวกัน การนิยามถึงผลประโยชน์หลักแห่งชาติหรือผลประโยชน์ที่จะสูญเสียไปไม่ได้ไว้ที่ตำแหน่งเดียวกัน อาจส่งผลต่อความขัดแย้งหากการเจรจาประนีประนอมนั้นดำเนินการมิได้ ย่อมอาจนำไปสู่ความรุนแรงและสงครามในที่สุด ซึ่งผลประโยชน์หลักของทั้งไทยและกัมพูชาก็คือ ปัญหาปราสาทพระวิหารและพื้นที่ทับซ้อนกับปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล แต่ปัญหาที่ทำให้ความขัดแย้งระหว่างประเทศทั้งสองลุกลามจนไม่มีทีท่าว่าความขัดแย้งดังกล่าวจะยุติลงได้ ก็คือปัญหาปราสาทเขาพระวิหาร ที่รัฐบาลทั้งสองฝ่ายให้คุณค่าว่าเป็นผลประโยชน์หลักที่จะสูญเสียไปไม่ได้

หากมองไปที่คำตัดสินศาลโลก (International Court of Justice) ที่ทั้งไทยและกัมพูชาต่างก็มีความยินยอม (Consent) เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมระหว่างประเทศ ดังนั้น คำพิพากษาที่มีความชัดเจนอยู่ว่า ตัวปราสาทพระวิหารตกเป็นดินแดนอธิปไตยของกัมพูชาแน่นอน และพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตรบนเขาพระวิหารก็เป็นดินแดนของไทยอย่างแน่นอนเช่นกัน ซึ่งประเด็นปัญหา เขาพระวิหารจะไม่สามารถสร้างความขัดแย้งอย่างในปัจจุบันได้หากทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายกัมพูชา ไม่นำการเมืองภายในประเทศไปเกี่ยวโยงกับการเมืองระหว่างประเทศ โดยทั้งสองฝ่ายได้ใช้ประเด็นปราสาทเขาพระวิหารมาสร้างผลประโยชน์แก่การเมืองภายในประเทศ ซึ่งฝ่ายไทยนั้นเห็นได้จากกรณีที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ใช้กรณีเขาพระวิหารมาปลุกกระแสชาตินิยมเพื่อปลุกระดมมวลชนในการเข้าร่วมต่อต้านรัฐบาลพรรคพลังประชาชนในขณะนั้น โดยพันธมิตรได้ใช้การรณรงค์ที่ว่า "ทวงคืนปราสาทเขาพระวิหาร" แทนที่จะเป็น "รักษาดินแดน 4.6 ตารางกิโลเมตรบริเวณเขาพระวิหาร" อาจเป็นไปได้ว่าคำว่าทวงคืนปราสาทเขาพระวิหารนั้นง่ายกว่าการสื่อสารกับมวลชนในที่ชุมนุม แต่ก็เป็นการมิควรเป็นอย่างยิ่งที่จะยัดเยียดข้อมูลที่ไม่ถูกต้องแก่ประชาชน เพราะการให้ข้อมูลในลักษณะดังกล่าวนอกจากจะมีปัญหาด้านข้อเท็จจริงแล้ว ปัญหาที่สำคัญที่สุดก็คือการสร้างความชิงชังให้แก่ประชาชนชาวไทยที่มีต่อประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา ซ้ำเติมความชิงชังแบบคลั่งชาติให้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น

สำหรับในกรณีของกัมพูชาภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีฮุนเซนนั้น มีความใกล้ชิดกับเวียดนามเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 ได้รับเลือกจากเวียดนามเพื่อเป็นผู้นำกองทัพปฏิวัติต่อต้านเขมรแดง จนสามารถยึดกรุงพนมเปญได้ในปี พ.ศ. 2522 และสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาขึ้น โดยมีเวียดนามหนุนหลัง ซึ่งในตอนนั้นฮุนเซนได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ประกอบกับภรรยาของฮุนเซนมีเชื้อสายเวียดนาม ยิ่งทำให้ฮุนเซนมีความแนบแน่นกับเวียดนามยิ่งขึ้น ดั้งนั้น จะเห็นได้ว่า ครั้งใดที่ฮุนเซนต้องการใช้กระแสชาตินิยมเพื่อสร้างความนิยมทางการเมือง เขาจะใช้ประเด็นชาตินิยมสร้างไทยให้เป็นศัตรูถาวรขึ้นมาทุกครั้ง ทั้งที่จากประวัติศาสตร์นั้นกัมพูชาก็ถูกเวียดนามรุกรานไม่น้อยไปกว่าไทยหรือสยามในอดีต เห็นได้จากกรณีของกบ สุวนันท์ ที่ทั้งรัฐบาลกัมพูชาและสื่อมวลชนที่ถูกควบคุมโดยรัฐ ได้โหมกระพือกระแสชาตินิยมว่า นักแสดงไทยกล่าวคำ ดูถูกชาวกัมพูชาจนเกิดความเกลียดชังชาวไทยจนเกิดการเผาสถานเอกอัครทูตไทยในกรุงพนมเปญ ที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องมาจากฮุนเซนและพรรคประชาชนกัมพูชากำลังลงสู่สนามเลือกตั้งทั่วไปของกัมพูชา จึงต้องใช้กระแสชาตินิยมสร้างไทยในภาพของศัตรูถาวรเพื่อต้องการเสียงสนับสนุนฮุนเซนและพรรคประชาชนกัมพูชา

ในประเด็นของเขาพระวิหารที่กลายมาเป็นประเด็นความขัดแย้งอย่างรุนแรงในปัจจุบัน ก็มีเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนการพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชา กล่าวคือ บริเวณชายแดนกัมพูชา-เวียดนาม แถบจังหวัดสวายเรียงของกัมพูชา เวียดนามได้ปักหลักเขตแดนล้ำเข้ามาในเขตแดนของกัมพูชาโดยนายสม รังสี ผู้นำพรรคฝ่ายค้านกัมพูชาได้เปิดโปงกรณีดังกล่าว จนนายกรัฐมนตรีฮุนเซนต้องเบี่ยงเบนประเด็นความขัดแย้งกับเวียดนามมาสู่ความต้องการรักษาอธิปไตยเหนือเขตแดนเขาพระวิหารจากไทย พร้อมกับเคลื่อนกองทัพสู่ชายแดน ส่งผลให้กองทัพไทยต้องเพิ่มกำลังพลตรึงชายแดนบริเวณเขาพระวิหารเช่นกัน ทำให้เกิดสภาวะล่อแหลม (Dilemma) ระหว่างไทยและกัมพูชา จนความขัดแย้งบนพื้นฐานความคลั่งชาติของประเทศทั้งสองได้ขยายตัวไปสู่ประชาชนทุกระดับ

กรณีเขาพระวิหารนั้นหากทั้งสองประเทศไม่นำประเด็นการเมืองภายใน ประเทศเชื่อมโยงกับการเมืองระหว่างประเทศที่ขับเคลื่อนไปด้วยความเป็นชาตินิยม แล้วหันมามองถึงผลประโยชน์ของชาติร่วมกันบนพื้นฐานของความร่วมมือของประเทศทั้งสอง ก็จะทำให้ปัญหาเขาพระวิหารจะแปรสภาพจากวิกฤตกลายเป็นโอกาสของทั้งสองฝ่าย เพราะทั้งสองฝ่ายจะได้ผลประโยชน์ร่วมกันจากการจัดสรรผลประโยชน์ร่วมกันในบริเวณเขาพระวิหาร ต้องไม่ลืมว่าทางกัมพูชานั้นได้ครอบครองเพียงแค่ตัวปราสาท แต่บริเวณโดยรอบที่ประกอบไปด้วย เทวสถาน ปรางค์คู่ บันไดนาค และสระคราวนั้น อยู่ภายใต้การครอบครองไทย เหมือนกับที่ศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ได้กล่าวว่า "ปราสาทพระวิหารที่ไร้องค์ประกอบโดยรอบ ก็เหมือนกับโครงกระดูกที่ไร้เนื้อหนัง"[1] นอกจากนี้หากมองไปที่ทรัพยากรทางประวัติศาสตร์และสังคมวัฒนธรรมที่ทั้งสองประเทศมีร่วมกัน ไทยมีปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินพนมรุ้ง ฯลฯ กัมพูชามีพระนคร นครวัด ฯลฯ โดยทั้งสองประเทศได้มีส่วนร่วมในการการจัดการมรดกโลกเขา พระวิหารร่วมกัน หากทั้งสองฝ่ายผลักดันความร่วมมือดังกล่าวให้เกิดขึ้นได้ ทั้งไทยและกัมพูชาจะมี Package การท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมขอมโบราณที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวเป็นอย่างยิ่ง กลายเป็นผลประโยชน์บนความร่วมมือระหว่างกันที่ประเมินค่ามิได้ ทั้งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและผลประโยชน์จากการขจัดความขัดแย้งระหว่างกัน เมื่อมองไปที่ความขัดแย้งของไทยและกัมพูชานั้น ส่วนหนึ่งต้องมองไปที่บทบาทและท่าทีของเวียดนามที่พยามช่วงชิงความเป็นเจ้าในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป (Mainland Southeast Asia) จากไทยโดยการดำเนินนโยบายต่างประเทศของเวียดนามในระดับภูมิภาค ถึงแม้ว่าบทบาทในองค์การภูมิภาค อาทิเช่น อาเซียน ของเวียดนามจะมีบทบาทที่โดดเด่นไม่เท่ากับไทย แต่หากมองแยกไปเฉพาะส่วนย่อยในภูมิภาคอย่างอินโดจีน ก็จะเห็นถึงบทบาทความเป็นผู้นำที่ชัดเจนของเวียดนามที่มีเหนือลาวและกัมพูชา ซึ่งตรงจุดนี้ก็ต้องยอมรับว่าบทบาทการนำของเวียดนามคือผู้นำของอินโดจีนอย่างแท้จริงที่เป็นเช่นนี้ก็เป็นเพราะสายสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับลาวและกัมพูชาอันมีมาตั้งแต่สมัยสงครามเย็น กล่าวได้ว่าเวียดนามได้ดำเนินนโยบายสร้างตนให้เป็น แกนล้อ (Hub) และสร้างให้กัมพูชากับลาวเป็นซี่ล้อ (Spokes) ได้อย่างต่อเนื่องและยาวนาน ประกอบด้วยความใกล้ชิดและสายสัมพันธ์อันดีของฮุนเซนกับเวียดนามยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชาและเวียดนามนับวันก็ยิ่งจะมีความแนบแน่นยิ่งขึ้น ซึ่งหมายถึงว่าในทางกลับกันความสัมพันธ์ระหว่างกัมพูชาและไทยก็ย่อมจะถดถอยลงจากยุทธศาสตร์การครองความเป็นเจ้าในอินโดจีนของเวียดนาม

ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชา

ปัจจุบัน ไทย-กัมพูชาแม้จะมีความขัดแย้งกัน แต่ความสัมพันธ์ยังคงดำเนินไปบนพื้นฐานของความเข้าอก เข้าใจกัน โดยมีกรอบความร่วมมือต่าง ๆ เป็นพลังขับเคลื่อนความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน ทั้งนี้ ไทยและกัมพูชามีความสัมพันธ์ทวิภาคีหลายฉบับ ได้แก่

คณะกรรมการว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-กัมพูชา (Joint Commission: JC) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วมทำหน้าที่ดูแลความสัมพันธ์ ทวิภาคีในภาพรวม มีการประชุมประจำปี

คณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee: GBC) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วม ทำหน้าที่ดูแลส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงบริเวณชายแดนของทั้งสองประเทศ

คณะกรรมการรักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดน (Border Keeping Committee: BPKC) มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม ทำหน้าที่กำกับการปฏิบัติให้เป็นตามนโยบายของคณะกรรมการชายแดนทั่วไป

คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (Joint Boundary Committee: JBC) ที่ปรึกษาว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานฝ่ายไทย และทำหน้าที่ระดับสูง ตัวแทนนายกรัฐมนตรีกัมพูชาเป็นประธานฝ่ายกัมพูชา ทำหน้าที่กำกับดูแลภารกิจ การสำรวจ ปักปัน และแก้ปัญหาเขตแดนทางบก

คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (Regional Border Committee: RBC) มีแม่ทัพภาคในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วม เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและแก้ปัญหาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดน และความร่วมมือระดับท้องถิ่นทั้งสองฝ่าย มีการประชุมปกติปีละ 2 ครั้ง

คณะกรรมการการค้าร่วม (Joint Trade Committee: JCT) มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วม ทำหน้าที่ส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือทางการค้าระหว่างกัน

นอกจากนี้ ไทยกับกัมพูชามีการตกลงร่วมภายใต้กรอบความร่วมมือทางการค้าและการลงทุน คือ กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี – เจ้าพระยา - แม่โขง (ACMECS) โดยได้มีการดำเนินโครงการทวิภาคีที่มีโครงการร่วมในสาขาการอำนวยความสะดวกทางด้านการค้าและการลงทุนจำนวนทั้งสิ้น 18 โครงการ เช่น การศึกษาการจัดตั้งตลาดกลางเพื่อค้าส่งและส่งออกในกัมพูชา การจัดงานแสดงสินค้า ความตกลงการอำนวยความสะดวกทางการค้าโดยให้บริการเบ็ดเสร็จที่ด่านชายแดนไทย-กัมพูชา เป็นต้น นอกจากนี้ จากยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ACMECS ยังมีแผนปฏิบัติการอื่น ๆ อาทิ โครงการ Contract Farming โดยจังหวัดนำร่องในการจัดทำ Contract Farming ได้แก่ จันทบุรี-พระตะบอง/ไพลิน และยังมีโครงการเมืองคู่แฝด (Sister Cities) ซึ่งเป็นการดำเนินงานเพื่อพัฒนาพื้นที่ระหว่างไทยกับเพื่อนบ้านให้เป็นเมืองเชื่อมโยงระหว่างกัน เป็นรากฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรม การค้า การท่องเที่ยว สนับสนุนการย้ายฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรมจากไทยไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน

สำหรับกรอบความร่วมมือ GMS (Greater Mekong Subregion) ไทยกับกัมพูชาได้ดำเนินโครงการร่วมกัน ได้แก่ การพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor) เชื่อมโยงไทย กัมพูชาและเวียดนาม การอำนวยความสะดวกการผ่านแดนของคนและสินค้าระหว่างไทย-กัมพูชา ส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูป Package Tour โดยจะเน้นตามแนวพื้นที่เศรษฐกิจ ตลอดจนดำเนินการ GMS Single Visa เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวทั้งนี้ จะเห็นได้ว่ามูลค่าการค้าของการส่งออกสินค้าจากไทยไปยังกัมพูชามีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าการนำสินค้าเข้าของไทย ซึ่งการส่งออกสินค้าจากไทยไปยังกัมพูชาส่วนใหญ่จะใช้การขนส่งทางถนนเป็นหลัก ทำให้ภาครัฐทั้งไทย-กัมพูชาได้ให้การสนับสนุนการขนส่งทางถนนเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับการพัฒนาการขนส่งรูปแบบอื่น โดยมีแนวคิดที่ว่าระบบถนนเป็นบริการขนส่งพื้นฐานที่ให้ความสะดวกรวดเร็วและเป็นการขนส่งให้ถึงจุดหมายปลายทางโดยตรง อีกทั้งการขนส่งทางถนนเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการขนส่งในช่วงสั้น ๆ อย่างไรก็ดี จากกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดน (ASEAN Frame work Agreement for the facilitation of Inter-State Transport) และความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Great Mekong Subregion Cross-Border Transport Agreement) ทำให้ภาครัฐทั้งไทยและกัมพูชาได้ประสานงานและร่วมมือกันในการลดอุปสรรคต่างๆ และลดค่าใช้จ่าย ในการขนส่งสินค้าผ่านเส้นทางผ่านแดน และให้ความสำคัญอย่างจริงจังในการทำงานร่วมกับสมาคมที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางถนน แก้ไขปัญหาเรื่องรถวิ่งเที่ยวเปล่าเพื่อลดต้นทุนการขนส่งของสินค้า

อ้างอิงโดย http://122.155.9.68/talad/index.php/cambodia/overview-kh/social/173-2010-09

๗.๒. ประเทศมหาอำนาจ

ความขัดแย้งไทย-อเมริกาหลัง คสช. มาเป็นรัฐบาล

นายเกล็น ทาวน์เซนด์ เดวีส์ อดีตผู้แทนพิเศษด้านนโยบายเกาหลีเหนือระหว่างพ.ศ.2555–2557ผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยได้เข้าให้คำแถลงต่อคณะกรรมาธิการฝ่ายกิจการต่างประเทศของวุฒิสภา

คำแถลงนี้ถูกเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยผู้ถูกเสนอชื่อเข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตฯกล่าวถึงประเทศไทยว่า

“ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาธำรงมิตรภาพร่วมกันมายาวนาน,ไทยเป็นหนึ่งในพันธมิตรคู่สนธิสัญญาที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐอเมริกาในเอเชีย” “แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องจำกัดความสัมพันธ์บางด้านกับไทยหลังเหตุการณ์รัฐประหารโดยทหารเมื่อเดือนพ.ค.2557ความสัมพันธ์ทวิภาคีนี้ยังคงกว้างขวางและก่อประโยชน์อย่างยิ่งแก่ทั้งสองประเทศอย่างที่ความสัมพันธ์อื่นน้อยนักจะเทียบเคียงได้” ซึ่งนายเดวีส์ชี้ว่าการระงับความช่วยเหลือบางประการนี้จะดำเนินต่อไปจนกว่าไทยจะมีการบริหารประเทศโดยรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยเมื่อเป็นเช่นนั้นจึงจะนำไปสู่ความสัมพันธ์อย่างเต็มรูปแบบ

“ตลอดทศวรรษที่ผ่านมาความแตกแยกทางการเมืองภายในประเทศไทยถลำลึกลงไปอย่างมาก,นำไปสู่การแบ่งขั้วไม่เพียงระดับการเมืองเท่านั้นแต่ยังแผ่ขยายไปถึงสังคมไทยโดยรวมอีกด้วย” พร้อมเน้นย้ำว่าสหรัฐฯยึดมั่นสนับสนุนหลักประชาธิปไตยและไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดในความขัดแย้งนี้

“การที่สหรัฐฯเรียกร้องให้ไทยกลับไปมีรัฐบาลพลเรือนคืนสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยและเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจังซึ่งรวมถึงเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบนั้นมิได้หมายความว่าสหรัฐฯมุ่งเจาะจงสนับสนุนพิมพ์เขียวรัฐธรรมนูญหรือการเมืองประเด็นใดโดยเฉพาะ,สิ่งเหล่านั้นเป็นคำถามที่คนไทยต้องตัดสินใจโดยผ่านกระบวนการทางการเมืองที่ครอบคลุมอันเอื้อต่อการอภิปรายที่เปิดกว้างและตรงไปตรงมาเกี่ยวกับอนาคตทางการเมืองของประเทศหากผมได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการให้ดำรงตำแหน่งผมจะดำเนินงานสานต่อในการสนับสนุนปณิธานด้านประชาธิปไตยของประชาชนชาวไทย” นายเดวีส์ระบุว่านับตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประหาร สหรัฐฯเน้นย้ำผ่านทั้งเวทีสาธารณะและการเจรจาส่วนตัวถึงข้อกังวล “เกี่ยวกับการที่การปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทยได้หยุดชะงักลง”รวมถึงการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบของพลเมือง

ด้านความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพสหรัฐฯและกองทัพไทยนั้นนายเดวี่ส์ชี้สหรัฐฯยังคงยึดมั่นในการรักษาพันธมิตรด้านความมั่นคง“ด้วยตระหนักถึงผลประโยชน์เชิงยุทธศาสตร์ในระยะยาวของเรา”และประวัติศาสตร์การต่อสู้ร่วมกันของสองประเทศไม่ว่าจะในสงครามเวียดนามและสงครามเกาหลีทั้งการฝึกซ้อมกิจกรรมความร่วมมือต่างๆอาทิการฝึกคอบร้าโกลด์ที่ถือเป็นการฝึกซ้อมทางทหารระดับพหุภาคีที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย อดีตผู้แทนพิเศษด้านนโยบายเกาหลีเหนือแถลงถึงความสัมพันธ์หลากหลายด้านของสองประเทศไม่ว่าจะเป็นการค้า,วัฒนธรรม,กิจการมนุษยธรรม,และความร่วมมือผ่านองค์กรพหุภาคีต่าง ๆ ในภูมิภาค ก่อนทิ้งท้ายว่า “เราก็หวังจะเห็นไทยหวนคืนสู่ระบอบประชาธิปไตยเพื่อความพยายามร่วมกันระหว่างประเทศเราทั้งสองจะดำเนินก้าวหน้าได้อย่างเต็มวิสัยสหรัฐฯเชื่อว่าราชอาณาจักรไทยจะสามารถสร้างความปรองดอง สถาปนาประชาธิปไตย และเติมเต็มโชคชะตาบนหน้าประวัติศาสตร์ในฐานะชาติที่ยิ่งใหญ่และเสรี” โดยหลังจากสิ้นสุดการแถลงดังกล่าวแล้วคณะกรรมาธิการฯจำเป็นต้องกำหนดวันลงมติรับรองตำแหน่งก่อนส่งเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาสหรัฐอเมริกา ซึ่งยังไม่ทราบกำหนดเวลาแน่ชัด

อ้างอิงโดย:http://thainewstip.blogspot.com/2015/06/blog-post_24.html


ความมั่นคงในยุคสมัยใหม่[แก้ไข]

8.1. Traditional Threat ภายใต้ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน อาจเป็นที่สงสัยหรือยังไม่เป็นที่เข้าใจกันลึกซึ้งนักกับคำว่า "ความมั่นคงของชาติ” ในตอนนี้จะขอให้ความรู้ความเข้าใจถึงความหมายของคำนี้ ซึ่งก็มีความหมายเดียวกับ "ความมั่นคงของรัฐ” โดยที่รัฐ (State) ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ ประชากร ดินแดน รัฐบาล และอำนาจอธิปไตย หากองค์ประกอบใดไม่เข้มแข็งเพียงพอชาติก็จะขาดความมั่นคง

ในอดีต ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงของชาติมักให้ความสนใจที่ภัยคุกคามจากภายนอก โดยเฉพาะภัยคุกคามทางทหาร ด้วยเหตุนี้เมื่อกล่าวถึงความมั่นคงของชาติ ส่วนมากจึงเป็นที่เข้าใจว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทหารหรือการสงครามโดยตรง ซึ่งอาจเป็นความจริงในอดีตมากกว่าในปัจจุบัน จากการสำรวจความหมายของความมั่นคงของชาติแบบดั้งเดิมสรุปได้ว่า หมายถึงสภาวการณ์ของชาติภายใต้การนำของรัฐบาลที่มีอำนาจอธิปไตยในการปกครองดินแดนดังกล่าวด้วยตนเอง อยู่ในสภาพที่มีความปลอดภัยจากภัยคุกคามทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นการเสี่ยงใด ๆ ความเกรงกลัว ความกังวล และความสงสัย อีกทั้งมีเสรีต่อแรงกดดันต่าง ๆ ซึ่งจะประกันให้เกิดอำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนภายในชาติดำเนินไปได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ ยังต้องมีความแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลงไปโดยง่าย มีความอดทนต่อแรงกดดันต่าง ๆ ที่มากระทบ และมีขีดความสามารถที่จะพร้อมเผชิญต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

การให้ความหมายของคำว่า "ความมั่นคงแห่งชาติ” ในแต่ละช่วงเวลาของแต่ละกลุ่มบุคคลในสังคมที่มีอุดมการณ์ครอบงำอยู่ อาจมีความหมายและองค์ประกอบที่แตกต่างกันออกไป และให้ความสำคัญต่อความมั่นคงแห่งชาติมากน้อยต่างกันไป ซึ่งโดยทั่วไปรัฐหรือชาติต้องการดำรงความเป็นอยู่ ต้องการมีเสรีภาพ (liberty) คือมีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนของตน มีอิสระต่อแรงกดดันต่าง ๆ มีความมั่นคงปลอดภัย (security) และมีความผาสุกสมบูรณ์ (wealth) การที่จะมีสิ่งเหล่านี้ได้รัฐต้องมีพลังอำนาจของชาติ (national power) ที่เข้มแข็ง หรือมีศักยภาพในหลายด้านด้วยกัน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในปกป้องผลประโยชน์ของชาติ (national interests) การสิ้นสุดของสงครามเย็นมีผลต่อแนวความคิดในการพิจารณาปัญหาความมั่นคงของชาติ จาก "สภาพแวดล้อมใหม่” ที่ความขัดแย้งในเชิงอุดมการณ์เลือนหายไป แต่กลับมีความขัดแย้งในผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของชาติ การศึกษาความมั่นคงภายใต้สถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

หากให้ความสำคัญเฉพาะเรื่องของการสงครามและการทหารเพียงอย่างเดียวจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างคับแคบและอยู่ในวงจำกัด เรื่องของความมั่นคงจึงขยายวงกว้างขวางขึ้นโดยมีมิติอื่น ๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม จิตวิทยา การเมือง เพิ่มเข้ามา จึงพบว่าปัญหาสิ่งแวดล้อม ผู้ลี้ภัยที่ไม่พึงประสงค์ ภาวะโลกร้อน ฯลฯ ล้วนแต่เป็นประเด็นที่อาจส่งผลทางตรงต่อความขัดแย้ง โดยผ่านกลไกการเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจ และความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง

เมื่อจำแนกความมั่นคงออกเป็นมิติต่าง ๆ กล่าวได้ว่าประกอบด้วย ความมั่นคงทางทหาร หมายถึง ความพร้อมทางทหารเพื่อป้องกันการรุกราน ความมั่นคงทางด้านการเมือง หมายถึง การมีระบบการเมืองที่มั่นคง มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หมายถึง การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูง มีอัตราการส่งออกสูง ประชาชนมีรายได้ต่อหัวสูง และความมั่นคงทางสังคม หมายถึง คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน โดยได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง มีระบบสาธารณะสุขที่ดี ปลอดโรคภัยไข้เจ็บ และมีความอยู่ดีกินดี เป็นต้น อ้างอิงโดย http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=3166&filename=index

8.2. Non-Traditional Threat

ประเด็นความมั่นคงแบบ “non-traditional” ซึ่งเน้นในเรื่องความมั่นคงของมนุษย์นับว่ามีความสำคัญยิ่ง และได้รับความสนใจจากรัฐบาลต่างๆมากขึ้นดังสะท้อนให้เห็นจากการกล่าวถึงประเด็นนี้ในสุนทรพจน์ของผู้นำต่างๆโดยเฉพาะในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ที่แต่ละประเทศมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันที่นอกเหนือไปจากประเด็นดั้งเดิม (traditional) ความมั่งคงแบบ non-traditional นี้หมายรวมถึง ปัญหาที่เกิดจากด้านสาธารณสุข การย้ายถิ่น สิ่งแวดล้อมการแข่งขันเพื่อแย่งชิงทรัพยากร อาชญากรรมข้ามชาติปัญหาโจรสลัดและปัญหาการก่อการร้ายปัญหาเหล่านี้ได้ท้าทายบทบาทของรัฐในการให้ความคุ้มกันต่อความปลอดภัยของประชาชนให้สามารถมีชีวิตอยู่อย่างปกติสุขขณะที่มีส่วนในการสร้างความตื่นตัวในกลุ่มประชาชนต่อภัยในรูปแบบใหม่นี้ซึ่งมักถูก “overshadowed” โดยภัยในรูปแบบเดิมๆ เช่น ภัยจากทางทหารภัยจากการรุกรานของต่างชาติ เป็นต้น สถาบันความมั่นคงและยุทธศาสตร์ศึกษา (IDSS) ของสิงคโปร์ ร่วมกับ The Ford Foundation ได้จัดการสัมมนาเรื่อง “Non-Traditional Security in Asia” ระหว่างวันที่ 2-3 มีนาคม2549 โดยได้เชิญวิทยากรจากภูมิภาคต่างๆ จำนวน 23 คนมาร่วมเป็นวิทยากร ซึ่งได้อธิบายในรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบของภัยแบบ non-traditional ว่าอาจได้แก่ 1) ภัยจากการก่อการร้ายซึ่งได้มีความรุนแรงขึ้นนับตั้งแต่เหตุการณ์ 9/11 2) ภัยจากสิ่งแวดล้อมได้แก่ มลภาวะเป็นพิษและความล้มเหลวในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 3) ภัยทางด้านเศรษฐกิจ เช่น วิกฤตการณ์ทางการเงิน 4) ภัยทางด้านวัฒนธรรม เช่นการรุกรานของวัฒนธรรมต่างชาติ 5) ภัยที่เกิดจากการขาดข้อมูลที่จำเป็นในสังคม 6) ภัยจากด้านการสาธารณสุข เช่นการขาดแคลนน้ำ โรคระบาด ฯลฯ 7) ภัยข้ามชาติอื่นๆ ได้แก่การลักลอบค้ายาเสพติด หรือการย้ายถิ่นของคนจำนวนมาก

อ้างอิง http://news.thaieurope.net/content/view/980/141/


กฎหมายระหว่างประเทศกับประเทศไทย[แก้ไข]

9.1.ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายภายในกับระหว่างประเทศ และกฎหมายระหว่างประเทศ

9.1.1.ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในของรัฐ (Relations Between International Law and Municipal Law)

ความเบื้องต้นใน การศึกษากฎหมายระหว่างประเทศนั้น หากละเลยไม่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและกฎหมายระว่างประเทศและ กฎหมายภายในของรัฐแล้ว จะทำให้ขาดความเข้าใจถึงลักษณะและบทบาทที่แท้จริงของกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งนี้ เพราะกฎหมายระหว่างประเทศมิใช่เพียงแต่วางกฎเกณฑ์เพื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างบุคลต่างๆ ในกฎหมายระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็นรัฐ หรือองค์การระหว่างประเทศ หรือองค์ภาวะ (entity ) อื่นใดที่ถือว่าสภาพบุคคล (personality) หรือมีสถานะ (status) บาง ประการตามกฎหมายระหว่างประเทศเท่านั้น แต่กฎหมายระหว่างประเทศยังเข้าไปเกี่ยวข้องกับระบบกฎหมายภายในของรัฐต่างๆ อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสนธิสัญญาระหว่างประเทศซึ่งนับว่าเป็นบ่อเกิดของกฎหมาย ระหว่างประเทศที่มีอิทธิพลและบทบาทต่อกฎหมายภายในของรัฐมากขึ้นทุกขณะ

อย่าง ไรก็ดี ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในของรัฐนั้น ถูกนักกฎหมายระหว่างประเทศมองไปในแง่มุมต่างๆ กัน เช่น มองว่ากฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายในของรัฐนั้นเป็นกฎหมายคนละระบบกันและ แยกต่างหากจากกันโดยไม่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งเป็นทัศนะของกลุ่มนักกฎหมายที่สนับสนุนนทฤษีทวินิยม ( Dualism) หรือ กลุ่มนักกฎหมายที่ถือว่ากฎหมายระหว่างประทศและกฎหมายภายในเป็นระบบเดียวกัน ไม่อาจแยกออกจากกันได้ ซึ่งเป็นทัศนะของกลุ่มนักกฎหมายที่สนับสนุนทฤษฎีเอกนิยม (Monism) หรือแม้กระทั่งกลุ่มนักกฎหมายที่มิได้สนับสนุนทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งดังกล่าวข้างดต้นหากแต่ต้องการประสานทฤษฎีทั้งสองเข้าด้วยกัน ทฤษฎี ดังกล่าวข้างต้นนี้ต่างก็ได้รับอิทธิพลจากปรัชญากฎหมายที่แตกต่างกันโดยที่ ไม่อาจหาข้อสรุปที่แน่นอนได้ว่าทฤษฎีใดถูกทั้งหมดหรือผิดโดยสิ้นเชิง เช่นทฤษฎีทวินิยมที่แยกกฎหมายระหว่างประเทศกุบกฎหมายภายในของรับออกจากกันก็ ได้รับอิทธิพลจากปรัชญากฎหมายของสำนักกฎหมายบ้านเมือง ( Positivism) ที่ถือว่ากฎหมายไม่ว่าจะเป็นบ่อเกิดโดยรูปแบบ (formal Sources) หรือโดยเนื้อกา (material sources) มาจากเจตจำนง (will) ของ รัฐ และระบบกฎหมายระหว่างประเทศย่อมไม่สามารถเข้าไปเกี่ยวข้องกับระบบกฎหมายภาย ในของรัฐและผูกพันรัฐได้หากรัฐไม่แสดงเจตจำนงให้ความยินยอม( (consent)

ในกรณีของทฤษฎีเอกนิยมโดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายที่ถือว่ากำหมายระหว่างประเทศมีลำดับศักดิ์( hierarchy) สูงกว่ากฎหมายภายในของรัฐนั้นได้รับอิทธิพลจากปรัชญากำหมายของสำนักกำหมายธรรมชาติ (natural law) ซึ่ง ถือว่ากฎหมายภายในของรัฐไม่สามารถแยกออกจากกฎหมายระหว่างประเทศได้ และในทางกลับกันกฎหมายภายในของรัฐซึ่งเกิดจากเจตจำนงของรัฐซึ่งเป็นกฎหมาย ที่มนุษย์สร้างขึ้นก็จะต้องตกอยู่ในบังคุบของกฎหมายธรรมชาติ มิใช่แยกตัวออกจากกำหมายธรรมชาติไม่ วาจะเป็นทฤษฎีใดดังกล่าวข้างต้นก็ตามต่างก็ไม่สามารถที่จะตอบคำถามาเกี่ยว กับแนวทางซึ่งรัฐต่างๆ ถือปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายเกี่ยวกับแนวทางซึ่งรัฐต่างๆ ถือปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายระหว่างประเทศและ กฎหมายภายในของรัฐได้หมด เช่นเดียวกับที่ปรัชญากฎหมายซึ่งอยู่เบื้องหลังทฤษฎีดังกล่าวก็ไม่สามารถตอบ คำถามเกี่ยวกับปรัชญาพื้นฐานกฎหมายได้ทุกคำถาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การศึกษาถึงทฤษฎีดังกล่าวข้างต้นมีความจำเป็นในการทำความเข้าใจกำหมาย ระหว่างประเทศและความสัมพันธ์ที่กฎหมายระหว่างประทศมีต่อกฎหมายภายในของรัฐ ในทำนองเดียวกันกับที่การศึกษาปรัชญากฎหมายของสำนักความคิดต่างๆ มีความเข้าใจกฎหมายโดยภาพรวม

ประเทศไทยได้รับอิทธิพลทางกฎหมายจากประเทศที่ใช้ระบบ civil law และ มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ไม่ปรากฏว่ามีรัฐธรรมนูญของประเทศไทยฉบับใดกล่าวถึงสถานะของกฎหมายจารีต ประเพณีระหว่างประเทศเลยว่ากฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศจะเข้ามามีบทบาท ในฐานะที่เป็นกฎหมายภายในของประเทศได้อย่างไร ซึ่งแตกต่างจากกรณีของกฎหมายรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศสหรือของเยอรมนีซึ่งกล่าว ถึงกฎเกณฑ์แห่งกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น จึงทำให้เกิดคำถามว่า กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศจะเข้ามามีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายภายในของ ประเทศไทยได้หรือไม่ ในเมื่อไม่มีการกล่าวถึงจารีตประเพณีระหว่างประเทศไว้ในรัฐธรรมนูญของประเทศ ไทยฉบับใดเลย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ศาลไทยจะยอมบังคับตามกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศหรือไม่ หากมีการกล่าวอ้างกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ เช่น ในกรณีที่กงสุลของรัฐอื่นกระทำความผิดอาญาในประเทศไทยและอ้างความคุ้มกันจาก เขตอำนาจของศาลไทยตามหลักกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ศาลไทยจำเป็นที่จะต้องบังคับตามกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ เช่นว่านั้นหรือไม่ กล่าวคือ ยอมรับการอ้างความคุ้มกันของกงสุลของรัฐอื่นเช่นว่านั้น เพราะไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายภายในของประเทศไทยบัญญัติถึงความคุ้มกันของกงสุล เหมือนกับกรณีความคุ้มกันทางทูต พ.ศ. 2527 รับรอง อยู่ หรือศาลไทยจะไม่ยอมรับการอ้างความคุ้มกันของกงสุลของรัฐอื่นและดำเนินคดีต่อ กงสุลของรัฐอื่นซึ่งกระทำความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย

ใน กรณีดังกล่าวข้างต้นนี้ หากศาลไทยดำเนินคดีต่อกงสุลของรัฐอื่นเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายอาญาโดยไม่ ยอมรับฟังข้ออ้างในเรื่องความคุ้มกันของกงสุลตามกฎหมายจารีตประเพณีระหว่าง ประเทศ ก็ดูจะไม่มีปัญหาสำหรับศาลซึ่งใช้บังคับกฎหมายที่มีอยู่ แต่ในขณะเดียวกันประเทศไทยอาจต้องรับผิดต่อรัฐผู้ส่งกงสุลเช่นว่านั้นในฐานะ ที่ประเทศไทยฝ่าฝืนพันธกรณีในทางระหว่างประเทศอันเกิดจากกฎหมายจารีตประเพณี ที่ว่ากงสุลจะได้รับความคุ้มกันจากเขตอำนาจทางตุลาการและทางบริหารของรัฐผู้ รับ ถึงแม้ความคุ้มกันของกงสุลจะไม่เท่ากับความคุ้มกันของตัวแทนทางทูตก็ตาม

ใน ทางกลับกัน หากศาลไทยยอมให้กงสุลของรัฐอื่นเช่นว่านั้นอ้างความคุ้มกันจากเขตอำนาจศาล ไทยได้ ศาลไทยคงจะต้องอธิบายและให้เหตุผลว่ากงสุขของรัฐอื่นเช่นว่านั้น สามารถอ้างความคุ้มกันจากเขตอำนาจศาลไทยได้อย่างไร ในเมื่อไม่มีกฎหมายภายในของประเทศไทยบัญญัติรับรองไว้ เหมือนกับกรณีความคุ้มกันของตัวแทนทางทูต ซึ่งมีพระราชบัญญัติว่าด้วยเอกสิทธิและความคุ้มกันทางทูต พ.ศ. 2527 รับรอง อยู่ ซึ่งคงจะเป็นการยากที่ศาลไทยจะอธิบายได้ เพราะเรื่องความคุ้มกันของกงสุลนั้นไมมีกฎหมายภายในของประเทศไทยบัญญัติ รับรองไว้ นอกจากกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ซึ่งศาลก็ต้องอธิบายต่อไปว่าศาลไทยสามารถนำกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ เช่นว่านั้นมาปรับแก้ข้อเท็จจริงในคดีดังกล่าวนี้ได้อย่างไร

ในเมื่อระบบกฎหมายของไทยและกฎหมายรัฐธรรมนูญของไทยไม่เปิดช่องว่างให้ศาลไทยนำ กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศมาใช้บังคับได้โดยตรงศาลไทยจึงไม่มีอำนาจ ตามกฎหมายใดๆ ที่จะนำกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศมาปรับใช้แก่คดีได้ เพราะศาลในระบบ civil law เช่นศาลไทยนี้มีหน้าที่ใช้บังคับกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติเท่านั้น ศาลไทยไม่อาจสร้างหลักกฎหมายได้เองเหมือนกับศาลในระบบ common law ดัง นั้น หากจะย้อนไปพิจารณาปัญหาเรื่องความคุ้มกันของกงสุลของรัฐอื่นข้างต้น ศาลไทยคงไม่มีทางเลือกเป็นอื่นนอกจากวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายอาญาตามปกติ ส่วนความรับผิดในทางระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีต่อรัฐผู้ส่งกงสุลเช่นว่า นั้น ก็เป็นอีกกรณีหนึ่ง

ภายในhttp://tayucases.blogspot.com/2011/03/blog-post_04.htmlเป็นเนื้อหา

9.2.กฎหมายระหว่างประเทศที่คนไทยควรรู้

ในปัจจุบันความเจริญของโลกทำให้คนสามารถเดินทางติดต่อสื่อสารกันได้โดยง่ายและเป็นประจำ ทำให้รัฐต้องติดตามไปควบคุมและคุ้มครองพลเมือง ซึ่งได้แก่ ผู้มีสัญชาติของรัฐเมื่ออยู่ในต่างแดน เป็นผลให้รัฐต่างๆต้องเริ่มติดต่อกัน โดยการติดต่อได้ขยายขอบเขตไปถึงเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสังคม จึงทำให้สาระของการติดต่อครอบคลุมมากมายหลากหลายเรื่องขึ้น

นอกจากนี้ รัฐยังได้ร่วมมือกันทำกิจกรรมต่างๆ ที่ไม่อาจทำได้ตามลำพัง ทำให้เกิดสมาคมหรือองค์การระหว่างประเทศขึ้นและมีบทบาทสำคัญในการช่วยรักษาความเรียบร้อย รวมทั้งพัฒนาและส่งเสริมความก้าวหน้าแก่ภูมิภาคต่างๆ ในโลกเป็นอย่างมาก ดังนั้น รัฐและองค์การที่จัดตั้งขึ้นจึงต้องตั้งกติกาเพื่อเป็นแนวทางในการติดต่อสัมพันธ์กันขึ้นมา ซึ่งได้แก่ กฎหมายระหว่างประเทศ

กฎหมายระหว่างประเทศเกิดจาการตกลงกันหรือจากยอมรับปฏิบัติกันโดยรัฐ และพัฒนาต่อมาโดยองค์การระหว่างประเทศทั้งหลาย

ปัจจุบันกฎหมายระหว่างประเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อสังคมโลกเป็นอย่างมากซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศในบางเรื่องส่งผลต่อประเทศไทยด้วย ดังนั้น ในฐานะพลเมืองที่ดีของประเทศชาติและสังคมโลก เราจึงจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศในสาขาที่มีความสำคัญไว้บ้าง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศดังกล่าว โดยกฎหมายระหว่างประเทศที่ควรรู้ มีดังนี้

อ้างอิง https://sites.google.com/site/30885naphasfeem/home/page2


9.2.1. กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ เป็นสาขาหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศจากเดิมเรียกกันว่า“กฎหมายระหว่างประเทศยามสงคราม หรือ กฎหมายสงคราม” กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศมีจุดประสงค์ที่มุ่งส่งเสริมคุณค่า อันเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับกฎหมายสิทธิมนุษยชน

กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเริ่มต้นจากความพยายามของนายอังรีดูนังต์และคณะที่จะหาทางลดภาวะทุกข์ทรมารอันหน้าสะพรึงกลัวที่เกิดกับทหารและพลเรือน จากการาสู้รบระหว่างคู่สงคราม พวกเขาได้รณรงค์เป็นเวลานานจนรัฐต่างๆ เห็นความสำคัญของปัญหาทำให้สาระสำคัญของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศจึงเกี่ยวข้องกับเรื่องของการปกป้องคุ้มครอง และดูแลพลเรือนของประเทศคู่สงคราม เช่น ห้ามการใช้อาวุธและวิธีการสู้รบซึ่งมีลักษณะการทำลายล้างอย่างมหาศาล ก็ให้เกิดความสูญเสียโดยไม่จำเป็นหรือความทุกข์ทรมารเกินไป เช่น การใช้อาวุธเคมี การใช้อาวุธชีวภาพ อาวุธนิวเคลียร์ ห้ามกระทำการรุนแรงหรือคุมคามว่าจะทำการรุนแรงเพื่อให้ประชาชนหวากกลัว เป็นต้น

กล่าวได้ว่ากฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเป็นตัวอย่างกฎหมายที่เกิดจากการตกลงร่วมกันของมนุษย์ เพื่อคุ้มครองประโยชน์และการปลอดภัยของมนุษย์จากเงื้อมมือของมนุษย์ด้วยกันอย่างแท้จริง

กฎหมายนี้มีความมุ่งหมาย คือ การเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ โดยพัฒนาการของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศมีผลทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนของนานาประเทศ ในการสอดส่องดูแลเพื่อให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายเรื่องนี้สำหรับประเทศไทยเคยมีกฎหมายที่สอดคล้องกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ เช่น พระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม พุทธศักราช 2488พระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม พุทธศักราช 2488 พ.ศ. 2510 ประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา 48 เป็นต้น

9.2.2.กฎหมายเกี่ยวกับการค้ามนุษย์

ปัญหาการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะการค้าผู้หญิงและเด็กได้รับการตระหนักจะประชาคมโลกว่าเป็นอาชญากรรมที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เพราะเป็นการแสวงหาประโยชน์จากเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน โดยผู้เสียหายไม่ได้สมัครใจ และได้กระทำการอย่างกว้างขว้าง จนเป็นกระบวนการเชื่อมโยงทั้งในประเทศระต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นภัยต่อความสงบสุขของโลกอย่างมาก

ในอดีตประเทศไทยเคยมีกฎหมายเพื่อเอาผิดและลงโทษการกระทำซึ่งเกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดทางเพศแก่ผู้หญิงและเด็กในลักษณะที่เป็นการค้าประเวณี กฎหมายว่าด้วยการค้าหญิงและเด็กหญิง กฎหมายสถานบริการ แต่ยังมีขอบเขตจำกัด

ต่อมาประเทศไทยได้ร่วมลงนามอนุสัญญาสหประเทศเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร พ.ศ. 2543 และพิธีสารเพื่อป้องกันปราบปรามและลงโทษการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะผู้หญิงและเด็ก พ.ศ. 2543 เพิ่มเติมอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร และได้ตรากฎหมายพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ขึ้นต่อมาตามลำดับ

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้กำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ขึ้น เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศ ตลอดจนการให้ความร่วมมือและประสาน งานกับต่างประเทศเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และกำหนดให้มีคณะกรรมการประสานและกำกับการดำเดินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ มีหน้าที่ติดตามและจัดทำรายงานเกี่ยวกับการดำเนินการตามพัทธกรณีระหว่างประเทศและให้ความร่วมมือและประสานงานกับต่างประเทศเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เพื่อให้การบังคับใช้การหมายเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และสอดคล้องกับกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องและพัทธกรณีระหว่างประเทศ

9.2.3.กฎหมายว่าด้วยผู้ลี้ภัย

ปัญหาผู้ลี้ภัยเป็นประเด็นทางมนุษยธรรมที่มีกฎหมายระหว่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะถึงแม้จะมีการรับรองว่าสิทธิแสวงหาที่ลี้ภัยเป็นสิทธิมนุษยชน แต่รัฐต่างๆ ก็ยังลำบากใจเมื่อต้องกลายเป็นรัฐผู้ลี้ภัย โดยการลี้ภัยสามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ

1.การลี้ภัยทางดินแดน (territorial asylum) หมายถึง การของลี้ภัยเพื่อเข้าไปอยู่ในดินแดนของรัฐผู้ลี้ภัย ซึ่งขึ้นกับการตัดสินใจของรัฐดินแดนว่าจะให้ลี้ภัยหรือไม่โดยพิจารณาจากพัทธกรณีในข้อตกลงระหว่างประเทศและกฎหมายภายในของรัฐนั้น

2.การลี้ภัยทางทูต (diplomatic asylum) การลี้ภัยที่ผู้ขอลี้ภัยเข้าไปอยู่ในสถานทูตของรัฐผู้ให้ลี้ภัย ซึ่งตั้งอยู่ในดินแดนของรัฐผู้ให้ลี้ภัย ซึ่งตั้งอยู่ในดินแดนของรัฐที่ต้องการตัวผู้ขอลี้ภัยเอง

ปัจจุบันสมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้จัดตั้งสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติขึ้น เพื่อคุ้มครองและแก้ปัญหาของผู้ลี้ภัยทั่วโลก รวมทั้งปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ลี้ภัย โดยเฉพาะสิทธิที่จะอาศัยอยู่อย่างปลอดภัยในประเทศอื่น เพื่อเตรียมพร้อมที่ส่งกับประเทศต้นทางตามที่ผู้ลี้ภัยต้องการ หรือเพื่อที่จะส่งไปยังประเทศที่สาม

ในส่วนของประเทศไทยนั้น ก็ได้ให้ความสนับสนุนช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับผู้อพยพหนีภัยเข้ามาในดินแดนไทยอย่างต่อเนื่อง ตามหลักมนุษยธรรมด้วยดีดดยให้ความคุ้นครองต่อผู้อพยพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ อาทิ การฝึกทักษาอาชีพและการศึกษาเพื่อเขาจะสามารถดำเนินชีวิตระหว่างอยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวอย่างปลอดภัย อ้างอิง https://sites.google.com/site/30885naphasfeem/home/page2

9.2.4.กฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ

เป็นสาขาหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศที่ใช้ควบคุมการดำเนินกิจกรรมของรัฐและปัจจเจกบุคคลที่อยู่ได้อำนาจรัฐ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครอง อนุรักษ์ และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เกิดขึ้เนื่องจากความกังวลของปัญหาของนานาประเทศเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และได้มีการพัฒนาการมาอย่างต่เนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515

สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ เกิดขึ้นจากการทำข้อตกลงกันระหว่างรัฐต่างๆจึงให้มีรานละเอียดเป็นจำนวนมากและครอบคลุมในเรื่องต่างๆ เช่น เรื่องมลพิษทางอากาศ การลดลงของโอโชน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก เป็นต้น

แต่หลักการสำคัญของกฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศนั้น คือ สิ่งแวดล้อมถือเป็นสมบัติส่วนรวมของมนุษยชาติ ที่ต้องร่วมกันปกป้องและรักษา รวมทั้งต้องให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมตามกำลังความสามารถของแต่ละรัฐ

กฎหมายระหว่างประเทศเป็นกฎหมายที่ใช้ในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในเบื้องต้น ปัจจุบันได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเพิ่มรายละเอียดของเนื้อหามากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการร่วมกันทำกิจกรรมระหว่างรัฐ ผ่านทางองค์การหรือสมาคมระหว่างรัฐต่างๆ ดังนั้น ในฐานะพลเมืองที่ดีของประเทศและพลโลกจึงต้องศึกษาและเรียนรู้ เพื่อทำความเข้าใจกฎหมายต่างๆ เหล่านี้ เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเดินชีวิตและแนวทางการพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานของโลกต่อไป

กล่าวโดยสรุปได้ว่า กฎหมาย คือ กฎกติกาที่สังคมตั้งขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือควบคุมหรือจัดการระเบียบทางสังคม โดยกฎหมายได้วางแนวทางสำหรับการอยู่ร่วมกันและได้กำหนดบทบาท สิทธิ และทำหน้าที่ของแต่ละคนในสังคมไว้ ตั้งเกิดจนตาย ซึ่งในฐานะสมาชิกของสังคมจึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกฎหมาย ยิ่งโดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยงข้องกับตนเองและครอบครัว กฎหมายหมายแพ่งที่เกี่ยวกับนิติกรรมสัญญา กฎหมายอาญาตลอดจนกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและมีผลกระทบต่อส่วนรวมและควรรู้ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการรับราชการทหาร กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอาการ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค กฎหมายระหว่างประเทศในเรื่องต่างๆ เป็นต้น เพราะการศึกษากฎหมายดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อตนเอง สังคม ชุมชน และสังคมโลก

อ้างอิง https://sites.google.com/site/30885naphasfeem/7-kdhmay-rahwang-prathes-thi-khwr-ru/page3/page4