DJ-Menu

โครงการ MPE

โครงการ MPE

               โครงการปริญญาโทสาขาการเมืองและการจัดการ สำหรับนักบริหาร (MPE) เริ่มจัดการเรียนการสอนครั้งแรก ณ จังหวัดลำปางเมื่อปี พ.ศ. 2535 โดยเป็นโครงการแรกของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่มุ่งกระจายความรู้สู่ภูมิภาค เพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษาให้แก่ผู้บริหาร ทั้งภาครัฐและเอกชน ณ บริเวณภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางตอนบน อย่างไรก็ตาม หลังดำเนินการมาครบ 10 ปี ทางคณะพบว่า หลักสูตร MPE เป็นหลักสูตรที่ได้รับความนิยม และสมควรนำมาพัฒนาต่อยอด จึงมีการย้ายการเรียนการสอนของโครงการมายังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

              โครงการ MPE มีบทบาทสำคัญในการผลิตมหาบัณฑิตด้านการเมืองการปกครองเพื่อเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศชาติ โครงการมุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณภาพ ทันต่อโลก และสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในงานของแต่ละบุคคล ศิษย์เก่าของโครงการมาจากสาขาอาชีพ และตำแหน่งที่หลากหลายมาก อาทิ รัฐมนตรี วุฒิสมาชิก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หัวหน้าพรรคการเมือง นายทหาร นายตำรวจ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรี นักธุรกิจ แพทย์ พยาบาล ฯลฯ

 

รายละเอียดหลักสูตร


 

วันเวลาจัดการเรียนการสอน:

ทุกวันเสาร์ เวลา 9.00 - 18.00 (ช่วง 15.00 - 18.00 เป็นวิชาภาษาอังกฤษ ยกเว้นกรณีสอบผ่าน TU-GET) และวันอาทิตย์ เวลา 9.00 - 15.00

สถานที่เรียน:

ชั้น 4 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ระยะเวลาการศึกษา:

นักศึกษาสามารถจบการศึกษาได้ภายในปีครึ่ง

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร:

ประมาณ 163,920 บาท โดยจ่ายเป็นรายภาคการศึกษา

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาต้องเป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2561 หมวดที่ 4 การรับเข้าศึกษา และมีคุณสมบัติ ดังนี้

1. เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่า ไม่จำกัดสาขา จากมหาวิทยาลัยที่สภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ
2. ต้องมีคุณสมบัติ ตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

2.1 มีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า2 ปี
2.2 เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกรัฐสภา ผู้บริหาร สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน
2.3 เป็นบุคคลที่หน่วยงานคัดเลือกส่งเข้าศึกษา
2.4 เป็นผู้มีศักยภาพและมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในการเป็นผู้นำ ทั้งนี้เป็นไปตามการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารโครงการ

ระยะเวลาในการรับสมัครและสอบคัดเลือก:

ขายใบสมัครและรับสมัคร ประมาณเดือนมกราคม – เมษายน ของทุกปี
การสอบคัดเลือกเข้าศึกษา ประมาณเดือนพฤษภาคมของทุกปี (คัดเลือกโดยการสอบข้อเขียน และสอบสัมภาษณ์)

 

โครงสร้างหลักสูตร


 

นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนศึกษารายวิชารวมไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต โดยศึกษารายวิชาต่าง ๆ ครบตามโครงสร้างองค์ประกอบและข้อกำหนดของหลักสูตร ดังนี้

                        แผน ก แบบ ก 2 (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)                    

                                                1) หมวดวิชาบังคับ 18 หน่วยกิต       

                                                2) หมวดวิชาเลือก 6 หน่วยกิต  

                                                3) วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต          

                                                จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต          

                        แผน ข (ไม่ทำวิทยานิพนธ์)                    

                                                1) หมวดวิชาบังคับ 18 หน่วยกิต       

                                                2) หมวดวิชาเลือก 12 หน่วยกิต  

                                                3) การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต          

                                                จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต

                        วิชาบังคับ            นักศึกษาแผน ก แบบ ก2 และ แผน ข จะต้องศึกษาวิชาบังคับ 6 วิชา จำนวน 18 หน่วยกิต ดังนี้

                                                - รม.611 หลากหลายรูปแบบของกระบวนการทางความคิด

                                                - รม.612 การค้นคว้าและวิจัยทางการเมืองและการจัดการ            

                                                - รม.621 การเมืองการปกครองไทย

                                                - รม.632 การจัดการทางการเมืองในนโยบายสาธารณะและการจัดการปกครอง

                                                - รม.641 พลวัตรทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม

                                                - รม.642 การเมืองโลกกับภูมิรัฐศาสตร์มหาชน

                        วิชาเลือก            1) นักศึกษา แผน ก แบบ ก2 ให้เลือกศึกษาวิชาเลือก 2 วิชา จำนวน 6 หน่วยกิต

                                                2) นักศึกษาแผน ข ให้เลือกศึกษาวิชาเลือก 4 วิชา จำนวน 12 หน่วยกิต

                                                - รม.618 ทักษะและเครื่องมือในการจัดการ

                                                - รม.620 การออกแบบโครงสร้างและสถาบันทางการเมือง            

                                                - รม.624 การเมือง กฎหมายมหาชน และการบริหารกิจการสาธารณะ

                                                - รม.626 สัมมนาการสื่อสารและการรณรงค์ทางการเมือง

                                                - รม.627 การเมืองการปกครองท้องถิ่น

                                                - รม.628 พฤติกรรมทางการเมืองและความคิดเห็นสาธารณะ

                                                - รม.637 การเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อม

                                                - รม.638 การสร้างศักยภาพความเป็นผู้นำ

                                                - รม.639 ศิลปะและปฏิบัติการเป็นผู้นำ

                                                - รม.644 เศรษฐกิจการเมืองโลก

                                                - รม.647 พลวัตรเชิงอำนาจในอินโด-แปซิฟิก

                                                - รม.649 สัมมนาการเมืองการปกครองท้องถิ่นในมุมมองระดับโลก

                                                - รม.653 สัมมนาประเด็นเฉพาะทางการเมืองการปกครองไทย

                                                - รม.664 การบริหารจัดการท้องถิ่นแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

                                                - รม.667 สัมมนาการบริหารจัดการงานเมืองที่ยั่งยืน

                                                                                 ฯลฯ

                        การค้นคว้าอิสระ (สำหรับนักศึกษา แผน ข)   

                                                - รม.701 การค้นคว้าอิสระ 1

                                                - รม.702 การค้นคว้าอิสระ 2

                        วิทยานิพนธ์ (สำหรับนักศึกษาแผน ก แบบ ก2)   

                                                - รม.800 วิทยานิพนธ์

 

เอกสารเผยแพร่


 

  • ประกาศรับสมัครนักศึกษาใหม่
  • กำหนดการเปิดรับสมัครและสอบคัดเลือกเข้าศึกษา
  • ใบสมัครนักศึกษาใหม่
  • ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม


     

  • คำร้องทั่วไปนักศึกษาปริญญาโท
  • แบบฟอร์มลาพักการศึกษา
  • แบบฟอร์มรักษาสถานภาพการศึกษา
  • แบบฟอร์มคำร้องขอสอบการค้นคว้าอิสระ
  • ข้อมูลการติดต่อ


     

    โครงการปริญญาโท สาขาวิชาการเมืองและการจัดการ สำหรับนักบริหาร (MPE) คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

    หมายเลขโทรศัพท์ : 02-613-2335

    อีเมล์: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

     

    ภาพกิจกรรมที่น่าสนใจ


     

    • โครงการจัดทัศนศึกษา ณ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 3–5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
    • โครงการจัดทัศนศึกษา ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 6-10 มีนาคม พ.ศ. 2556
    • บรรยากาศการเรียนนอกสถานที่ ณ จังหวัดชลบุรี ระหว่างวันที่ 7-8 กันยายน พ.ศ. 2556
    • นักศึกษาไปดูงานที่เมืองซีอาน สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อปลายปี พ.ศ. 2556
    • โครงการ MPE พานักศึกษาไปเยี่ยมชมนครวัดของประเทศกัมพูชา
    • กิจกรรมการรดน้ำดำหัวอาจารย์เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ไทย
    • กิจกรรมรับน้องส่งพี่ประจำปี 2555 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
    • คุณชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ (MPE รุ่น 15) รับการบูมจากน้องนักศึกษาในงานวันรับปริญญา

     

    โครงการ EPA

    โครงการปริญญาโทสาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ สำหรับนักบริหาร  (EPA)

                ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นักบริหารที่ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องทำงานเชิงรุกและแสวงหาข้อมูลให้ทันกับสถานการณ์เสมอ การมีความรู้ด้านการบริหารจัดการจึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง เพราะมันทำให้นักบริหารสามารถปรับตัวและแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                  โครงการปริญญาโทสาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ สำหรับนักบริหาร (EPA) มุ่งตอบสนองความจำเป็นที่เกิดขึ้นตามข้างต้น มุ่งพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาให้เป็นผู้นำในยุคโลกาภิวัตน์ที่รอบรู้ศาสตร์การบริหาร และบริบทของสังคมยุคปัจจุบัน ซึ่งมีความสลับซับซ้อน และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ลักษณะการเรียนการสอนของโครงการจะเป็นการผสมผสานระหว่างการบรรยาย กับการจัดกลุ่มอภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ช่วยให้นักศึกษาได้มีความรู้ทั้งในทางทฤษฎี และในทางปฏิบัติ แต่ละวิชามีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญมาบรรยายให้ความรู้อย่างใกล้ชิด ด้วยลักษณะของการเรียนการสอนเช่นนี้ โครงการจึงได้รับความนิยมอย่างสูง ดังเห็นได้จากจำนวนมหาบัณฑิตกว่า 1,000 คนที่สำเร็จการศึกษาไปจากโครงการฯ มหาบัณฑิตเหล่านี้มาจากหลากหลายสาขาอาชีพ มีตั้งแต่รัฐมนตรี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ นักการเมือง สื่อมวลชน นายธนาคาร นักธุรกิจ ตลอดจนผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ

     

    รายละเอียดหลักสูตร


     

    วันเวลาจัดการเรียนการสอน:

    วันศุกร์ เวลา 17.00 - 20.00 และวันเสาร์ เวลา 09.00 - 16.00 (วิชาภาษาอังกฤษจะเรียนวันเสาร์ เวลา 17.00 - 20.00 ยกเว้นผู้ที่สอบ TU-GET ผ่าน)

    ระยะเวลาการศึกษา:

    โครงการฯ จัดการสอนปีการศึกษาละ 40 สัปดาห์ โดยคาดว่านักศึกษาจะสำเร็จการศึกษาได้ภายใน 2 ปี

    ภาคการศึกษา:

    ภาคเรียนที่ 1        สิงหาคม - ธันวาคม
    ภาคเรียนที่ 2        มกราคม - เมษายน
    ภาคฤดูร้อน          พฤษภาคม - มิถุนายน

    การศึกษาดูงาน:

    การศึกษาดูงานเป็นการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ของนักศึกษาจากสถานที่และเหตุการณ์จริง นำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่ดียิ่งขึ้น

    จำนวนนักศึกษาแต่ละรุ่น:

    ประมาณ 50 - 60 คน

    ค่าใช้จ่าย:

    ประมาณ 85,000 บาทต่อปีการศึกษา หรือประมาณ 170,000 บาทตลอดหลักสูตร

    กำหนดการรับสมัคร:

    เดือนกุมภาพันธ์ - เมษายนของแต่ละปี

    การสอบคัดเลือก:

    การสอบข้อเขียนเพื่อทดสอบความสามารถในการใช้เหตุผล และการสอบสัมภาษณ์

    คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษา:

    สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชา มีประสบการณ์การทำงานไม่น้อยกว่า 1 ปี (กรณีเป็น หรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ผู้บริหารสภาท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่น ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์) เป็นผู้มีคุณสมบัติตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    หลักฐานการสมัคร:

    รูปถ่ายสี ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 3 รูป
    ประวัติของผู้สมัครเข้าศึกษา และหนังสือให้คำรับรอง (ดาวน์โหลดได้จากเอกสารเผยแพร่ด้านล่าง)
    ค่าธรรมเนียมการสมัครสอบ 500 บาท

     

    โครงสร้างหลักสูตร


     

    นักศึกษาจะต้องลงทะเบียนศึกษารายวิชารวมไม่น้อยกว่า 39 หน่วยกิต โดยศึกษารายวิชาต่าง ๆ ครบตามโครงสร้างองค์ประกอบและข้อกำหนดของหลักสูตร ดังนี้

                            แผน ก แบบ ก 2 (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)                    

                                                    1) หมวดวิชาบังคับ 21 หน่วยกิต       

                                                    2) หมวดวิชาเลือก 6 หน่วยกิต  

                                                    3) วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต          

                                                    จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 39 หน่วยกิต          

                            แผน ข (ไม่ทำวิทยานิพนธ์)                    

                                                    1) หมวดวิชาบังคับ 21 หน่วยกิต       

                                                    2) หมวดวิชาเลือก 15 หน่วยกิต  

                                                    3) การค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิต          

                                                    จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 39 หน่วยกิต

                            วิชาบังคับ            นักศึกษาทั้งสองแผนการศึกษา ต้องศึกษาวิชาบังคับ 7 วิชา  21 หน่วยกิต ดังนี้

                                                    - รบ.640 การวิจัยสำหรับนักบริหาร

                                                    - รบ.641 การออกแบบการบริหารจัดการยุทธศาสตร์ ความเสี่ยง และโครงการ            

                                                    - รบ.642 ขอบข่ายและพลวัตการบริหารรัฐกิจ

                                                    - รบ.650 การบริหารองค์การสาธารณะ

                                                    - รบ.651 การจัดการและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

                                                    - รบ.652 นโยบายสาธารณะและการจัดการปกครอง

                                                    - รบ.660 การบริหารการคลังและงบประมาณ

                            วิชาเลือก            1) นักศึกษา แผน ก แบบ ก2 ให้เลือกศึกษาวิชาเลือก 2 วิชา รวม 6 หน่วยกิต

                                                    2) นักศึกษาแผน ข ให้เลือกศึกษา 5 วิชา รวม 15 หน่วยกิต

                                                    - รบ.644 สัมมนาภาวะผู้นำและจริยธรรม

                                                    - รบ.646 สัมมนาการบริหารจัดการงานเมืองและองค์กรปกครองท้องถิ่น            

                                                    - รบ.647 การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและความเสี่ยงภัยพิบัติ

                                                    - รบ.648 กฎหมายมหาชนสำหรับนักบริหาร

                                                    - รบ.653 สัมมนาประเด็นร่วมสมัยการเปลี่ยนแปลงในบริบทโลกและการบริหารจัดการประเทศไทย

                                                    - รบ.663 นวัตกรรมการบริหารภาครัฐและกิจการสาธารณะ

                                                    - รบ.664 เครื่องมือการจัดการข้อมูลยุคดิจิตอล

                            การค้นคว้าอิสระ (สำหรับนักศึกษา แผน ข)   

                                                    - รบ.700 การค้นคว้าอิสระ

                            วิทยานิพนธ์ (สำหรับนักศึกษาแผน ก แบบ ก2)   

                                                    - รบ.800 วิทยานิพนธ์

     

    เอกสารเผยแพร่


     

  • ใบสมัครเข้าศึกษา
  • หนังสือให้คำรับรองผู้สมัครเข้าศึกษา
  • คณะกรรมการบริหารโครงการฯ
  • แบบฟอร์มคำร้องนักศึกษาโครงการ EPA
  •  

    ข้อมูลการติดต่อ


     

    โครงการปริญญาโท สำหรับนักบริหาร (EPA) คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ พระนคร กรุงเทพฯ 10200

    หมายเลขโทรศัพท์: 02-613-2325, 02-613-2343

    อีเมล์: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

    Facebook: www.facebook.com/Epa.PolSc.TU

     

    ภาพกิจกรรมที่น่าสนใจ


     

    • epa1
    • ศ.(พิเศษ) นรนิติ เศรษฐบุตร วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
    • นักศึกษาของโครงการเดินทางไปศึกษาดูงาน
    • วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกมาให้ความรู้แก่นักศึกษา
    • บรรยากาศการเรียนการสอนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
    • การจัดสัมมนาวิชาการในวิชาของนักศึกษา
    • ศ.(พิเศษ) วุฒิสาร ตันไชย วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
    • งานถ่ายรูปหมู่ของมหาบัณฑิต EPA

    ปริญญาเอก (2)

    ปริญญาเอก

              คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พยายามตอบสนองต่อความต้องการในการแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ๆ ด้วยการเปิดหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก) เมื่อปี พ.ศ. 2546 โดยวัตถุประสงค์หลักของหลักสูตรคือ การฝึกนักศึกษาให้มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ สามารถสร้างสรรค์งานวิจัยที่ได้มาตรฐานด้วยตนเอง นอกจากนี้ หลักสูตรยังมุ่งสอนให้นักศึกษามีจรรยาบรรณของการเป็นนักวิชาการที่ดี สามารถถ่ายทอดความรู้ และแนวคิดเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม

                 ด้วยการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง และคณาจารย์ผู้มากประสบการณ์จากนานาสาขาวิชา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตของคณะรัฐศาสตร์ได้กลายเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในวงวิชาการไทย ตลอดร่วม 10 ปีที่ผ่านมา ทางหลักสูตรได้ผลิตศิษย์เก่าที่มีคุณภาพออกไปเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่ ศิษย์เก่าเหล่านี้จะไปประกอบอาชีพเป็นนักวิชาการ นักวิจัย และอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยต่างๆ

    รับสมัครนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2566 (ปริญญาเอก) คลิกที่นี่

     

    รายละเอียดหลักสูตร


     

    การเรียนการสอน:

    เป็นหลักสูตรภาคปกติ จัดการเรียนการสอนเต็มเวลา โดยนักศึกษาต้องใช้เวลาศึกษาไม่เกิน 6 ปีการศึกษา (12 ภาคการศึกษาปกติ)

    สถานที่เรียน:

    คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

    ระบบการศึกษา:

    หลักสูตรมีการเรียนการสอนเป็นรายวิชา ควบคู่ไปกับการเขียนวิทยานิพนธ์

    ค่าใช้จ่ายในการศึกษา:

    เหมาจ่ายเทอมละ 19,800 บาท

    การสำเร็จการศึกษา:

    นักศึกษาต้องศึกษารายวิชาครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในหลักสูตร โดยมีค่าระดับเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 นอกจากนี้ ยังต้องสอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิขอทำวิทยานิพนธ์ และเสนอวิทยานิพนธ์
    ในส่วนวิทยานิพนธ์จะมีการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่ทางคณะแต่งตั้ง และผลงานวิทยานิพนธ์จะต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยดำเนินการให้ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่มีกรรมการกลั่นกรอง (Peer Review)

    จำนวนนักศึกษา:

    ปีละไม่เกิน 5 คน

    คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษา:

    ผู้เข้าศึกษาในแผนการศึกษาแบบ 1.1

    1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาโทสาขารัฐศาสตร์ ทั้งในหรือต่างประเทศจากสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ
    2. มีค่าระดับเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาโทไม่ต่ำกว่า 3.25 และจบการศึกษาด้วยการทำวิทยานิพนธ์
    3. เป็นผู้มีวิชาชีพเกี่ยวข้องกับงานวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์ และมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพด้านนี้ไม่น้อยกว่า 10 ปี นับถึงวันที่สมัคร
    4. มีผลงานวิจัยหรือผลงานที่สามารถเทียบเคียงได้ ไม่น้อยกว่า 3 ชิ้นงานในช่วงเวลา
    5. 5 ปีก่อนวันประกาศรับสมัคร ซึ่งจะต้องผ่านการประเมินผลงานได้ระดับดีมากขึ้นไป (ระดับ A ลบ หรือเทียบเท่า) จากผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับดุษฎีบัณฑิตไม่น้อยกว่า 2 ท่าน
    6. มีผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษ TU-GET (Paper-based) 550 คะแนนขึ้นไป, TU-GET (Computer-based) 79 คะแนนขึ้นไป, TOEFL (Internet – based)  79 คะแนนขึ้นไป หรือ IELTS ระดับ 6.5 ขึ้นไป
    7. มีจดหมายรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษาและ/หรือผู้บังคับบัญชา 3 ฉบับ
    8. เงื่อนไขอื่น ๆ ให้เป็นไปตามประกาศรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ/หรือคณะรัฐศาสตร์กำหนด และการพิจารณาผลสอบคัดเลือกให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะรัฐศาสตร์

    ผู้เข้าศึกษาในแผนการศึกษาแบบ 2.1

    1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาโท ได้รับคุณวุฒิระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโททางด้านสังคมศาสตร์ และ/หรือมนุษย์ศาสตร์ ทั้งในหรือต่างประเทศ จากสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ
    2. มีค่าระดับเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาโท ไม่น้อยกว่า 3.25
    3. ผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิตของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 และศึกษารายวิชาบังคับร่วม วิชาบังคับสาขา และวิชาเลือก โดยมีหน่วยกิตสะสมไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิตค่าระดับเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาโท ไม่น้อยกว่า 3.25
    4. สามารถยื่นหนังสือแสดงความจำนงเข้าศึกษาต่อหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต โดยกระบวนการสมัครเข้าศึกษาจะต้องดำเนินการผ่านระบบการรับสมัครของมหาวิทยาลัย และผ่านกระบวนการรับเข้าตามที่หลักสูตรกำหนด
    5. มีผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษ TU-GET (Paper-based) 550 คะแนนขึ้นไป, TU-GET (Computer-based) 79 คะแนนขึ้นไป, TOEFL (Internet – based) 79 คะแนนขึ้นไป หรือ IELTS ระดับ 6.5 ขึ้นไป
    6. เงื่อนไขอื่น ๆ ให้เป็นไปตามประกาศรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ/หรือคณะรัฐศาสตร์กำหนด และการพิจารณาผลสอบคัดเลือกให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะรัฐศาสตร์

    ผู้เข้าศึกษาในแผนการศึกษาแบบ 2.2

    1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีทางด้านรัฐศาสตร์ ทั้งในหรือต่างประเทศจากสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ มีผลการศึกษาดีมาก ค่าระดับเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาตรี ไม่น้อยกว่า 3.50
    2. มีผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษ TU-GET (Paper-based) 550 คะแนนขึ้นไป, TU-GET (Computer-based) 79 คะแนนขึ้นไป, TOEFL (Internet – based)  79 คะแนนขึ้นไปหรือ  IELTS ระดับ 6.5 ขึ้นไป
    3. เงื่อนไขอื่น ๆ ให้เป็นไปตามประกาศรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ/หรือคณะรัฐศาสตร์กำหนด และการพิจารณาผลสอบคัดเลือกให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะรัฐศาสตร์

    วิธีการคัดเลือก:

    สอบสัมภาษณ์

    กรอบเวลากระบวนการรับสมัคร:

       ระยะเวลาการสมัครและสอบคัดเลือก
    จำหน่ายใบสมัครและรับสมัคร ประมาณเดือนมกราคม - มีนาคม
    สอบสัมภาษณ์ ประมาณเดือนเมษายน
    เปิดการศึกษาภาคฤดูร้อน ประมาณเดือนมิถุนายน
    เปิดการศึกษาที่ 1 ประมาณเดือนสิงหาคม

     

    เอกสารสำหรับการรับสมัครและเผยแพร่


     

  • รายละเอียดของหลักสูตรการศึกษา (มคอ.2)
  • หนังสือให้คำรับรองเกี่ยวกับผู้สมัครเข้าศึกษา
  • แผ่นพับประชาสัมพันธ์หลักสูตรปริญญาเอก
  • ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม


     

  • คำร้องทั่วไปนักศึกษาปริญญาโท/เอก
  • คำร้องขอสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์/สอบวิทยานิพนธ์
  • ใบสมัครสอบวัดคุณสมบัติ
  • ใบสมัครสอบวัดคุณสมบัติปากเปล่า แผน 1.1
  • แบบฟอร์มรักษาสถานภาพการศึกษา
  • แบบฟอร์มลาพักการศึกษา
  • ข้อมูลการติดต่อ


     

    งานวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    หมายเลขโทรศัพท์: 02-613-2303

    ปริญญาโท (2)

    ปริญญาโท

                   หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (Master of Political Science) ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มุ่งเน้นการสร้างมหาบัณฑิตที่มีความรอบรู้ด้านการเมืองการปกครอง การระหว่างประเทศ และการบริหารรัฐกิจ ให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับแนวความคิด ทฤษฎี กระบวนการ และการบริหารจัดการต่างๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศ และการต่อยอดทางวิชาการอย่างมีคุณภาพ

                    นับตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2514 ทางหลักสูตรฯ พัฒนาการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง มีการเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกเข้ามาให้ความรู้ และมีการปรับปรุงสาธารณูปโภคทางวิชาการสำหรับนักศึกษา แต่ละปีจะมีมหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาไปราว 30 คน ศิษย์เก่าเหล่านี้ได้มีโอกาสประกอบอาชีพในสาขาที่หลากหลาย มีทั้งที่เป็นข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ สื่อสารมวลชน สมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานระหว่างประเทศ

    รับสมัครนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2566 (ปริญญาโท) คลิกที่นี่

     

    รายละเอียดหลักสูตร


     

    วันเวลาจัดการเรียนการสอน:

    หลักสูตรเต็มเวลา จัดการเรียนการสอนเต็มเวลา เรียนในเวลาราชการ

    วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 9.00 - 12.00 น. และ 13.00 - 16.00 น. วันเสาร์ เวลา 09.00 - 16.00 น.

    สถานที่เรียน:

    คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

    แผนการเรียน:

    แผน ก. แบบ ก 2 (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)

    ระยะเวลาการศึกษา:

    ประมาณ 2 ปีในการสำเร็จการศึกษา

    จำนวนรับนักศึกษา:

    รับสาขาละไม่เกิน 10 คนต่อแต่ละปีการศึกษา

    ค่าใช้จ่าย:

    เหมาจ่ายเทอมละ 16,500 บาท

    คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษา:

    สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รับรองวิทยฐานะ หากเป็นกรณีนักศึกษาที่จบการศึกษาในปีที่สมัครจะต้องจบการศึกษาในภาค 1 หรือภาค 2 ของปีการศึกษาที่สมัครสอบเท่านั้น

    วิธีการคัดเลือกผู้เข้าศึกษา:

    1. ผู้สมัครสอบจะต้องผ่านการสอบ TU-GET หรือ TOEFL หรือ IELTS ก่อน โดยได้ผลคะแนนอย่างน้อยดังนี้

    ผลคะแนน TU-GET ไม่น้อยกว่า 400 คะแนน

    ผลคะแนน TOEFL(iBT) ไม่น้อยกว่า 60 คะแนน

    ผลคะแนน IELTS ไม่น้อยกว่า 4.5 คะแนน

    * ทั้งนี้ผลคะแนนจะต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสมัคร
    2. สอบข้อเขียน ดังนี้
              - ความสามารถในการวิเคราะห์และการใช้เหตุผลในการจับประเด็นและวิชาเฉพาะสาขา
    3. สอบสัมภาษณ์

    กรอบเวลากระบวนการรับสมัคร:

       ระยะเวลาการสมัครและสอบคัดเลือก
    จำหน่ายใบสมัครและรับสมัคร ประมาณเดือนมกราคม - มีนาคม
    สอบข้อเขียน ประมาณเดือนมีนาคม
    สอบสัมภาษณ์ ประมาณเดือนเมษายน
    เปิดการศึกษาภาคฤดูร้อน ประมาณเดือนมิถุนายน
    เปิดการศึกษาที่ 1 ประมาณเดือนสิงหาคม

     

    ตัวอย่างหัวข้อวิทยานิพนธ์ในอดีต:

    1. ประชาธิปไตยมองต่างมุม: การมองการเลือกตั้งของชนชั้นกลางกับชนชั้นล่างไทย (น.ส.เกวลี ศรีหะมงคล)
    2. การสร้างความหมายของท้องถิ่นในสังคมไทย: พ.ศ. 2535 - 2544 (นายธีรพงษ์ พรหมวิชัย)
    3. พัฒนาการของรัฐธรรมนูญไทย: กรณีศึกษาศาลรัฐธรรมนูญ (นายธนัย เกตุวงกต)
    4. อิทธิพลของแนวคิดเสรีนิยมใหม่ (Neoliberalism) กับมหาวิทยาลัยในกำกับ (รัฐ) (น.ส.กฤติกมา อินทะกูล)
    5. การก้าวขึ้นสู่ฐานะมหาอำนาจใหม่ของอินเดีย (น.ส.นพรัตน์ ทองอุไร)
    6. การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 9 ของประเทศญี่ปุ่น (น.ส.รุ่งลาวรรณ รุ่งวัฒนภัทร)
    7. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสถานะเงินกองทุนประกันสังคมของประเทศไทย (น.ส.ศรีสัจจา เนียมสุวรรณ)
    8. กระบวนการกำหนดนโยบายเด็กในสังคมไทย: การก่อตัวและพัฒนาการ (น.ส.อลิศรา พรหมโชติชัย)

     

    เอกสารเผยแพร่


     

  • รายละเอียดของหลักสูตรการศึกษา (มคอ. 2)
  • แผ่นพับประชาสัมพันธ์โครงการปริญญาโท
  • ข้อมูลอาจารย์ประจำหลักสูตร
  • ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม


     

  • คำร้องทั่วไปนักศึกษาปริญญาโท/เอก
  • คำร้องขอสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์/สอบวิทยานิพนธ์
  • แบบฟอร์มเสนอหัวข้อวิชา ร.700
  • แบบฟอร์มรักษาสถานภาพการศึกษา
  • แบบฟอร์มลาพักการศึกษา
  • ข้อมูลการติดต่อ


     

    งานวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    หมายเลขโทรศัพท์: 02-613-2303

    โครงการ MIR

    โครงการปริญญาโทสาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หลักสูตรภาษาอังกฤษ (MIR)

    "Gaining Broader Perspective of the World Today"

                     คงเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจความเป็นไปทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคมของประเทศเรา หากเราไม่ทราบว่าประเทศเรามีฐานะและบทบาทเช่นไรในระบบระหว่างประเทศยุคปัจจุบัน ตลอดเวลาที่ผ่านมา ความเชื่อมโยงระดับโลกได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนนับไม่ถ้วนอย่างไม่อาจคาดเดาได้ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะช่วยให้เราเข้าใจการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อนำความรู้ไปพัฒนาตนเอง ประเทศชาติ ตลอดจนสังคมโลก

                     คณะรัฐศาสตร์ก่อตั้งโครงการปริญญาโท สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หลักสูตรภาษาอังกฤษ (MIR) เมื่อปี พ.ศ. 2541 โดยเป็นหลักสูตรแรกในประเทศที่เปิดสอนสาขาวิชานี้เป็นภาษาอังกฤษ โครงการฯ เปิดรับบัณฑิตจากทุกสาขาวิชา และมุ่งสอนให้นักศึกษาเข้าใจ และมีความพร้อมที่จะรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ จากการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ ทั้งในระดับภูมิภาค และในระดับโลก

                      โครงการฯ เปิดสอนในวันเสาร์และอาทิตย์ เพื่อให้โอกาสทั้งบัณฑิตจบใหม่ และคนที่ทำงานอยู่แล้ว ได้เข้ามาเรียน เป้าหมายหลักคือการผลิตมหาบัณฑิตที่ความพร้อมด้านวิชาการและด้านปฏิบัติการเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อตอบสนองตลาดแรงงาน ให้เป็นคลื่นลูกใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญ สามารถเอาความรู้ไปประยุกต์ใช้กับเส้นทางอาชีพของตน รวมทั้งมีจิตสำนึก และความสามารถในการเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีในประชาคมโลก

                  ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา มีมหาบัณฑิตที่จบจากโครงการฯ ร่วม 300 คน บุคคลเหล่านี้ทำงานอยู่ในหลายสาขาอาชีพ อาทิ นักการทูต อาจารย์ เจ้าหน้าที่องค์กรระหว่างประเทศ/สถานทูต นักวิจัย สื่อสารมวลชน พนักงานในบรรษัทข้ามชาติ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ด้านวิเทศสัมพันธ์ เป็นต้น

     

    รายละเอียดหลักสูตร


     

    หลักสูตร:

    เป็นการศึกษานอกเวลาราชการ จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตรรวม 36 หน่วยกิต

    วันเวลาเรียน:

    วันเสาร์ และวันอาทิตย์ เวลา 9.00-  16.00

    สถานที่จัดการเรียนการสอน:

    คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

    ระยะเวลาในการศึกษา:

    นักศึกษาสามารถสำเร็จการศึกษาได้เร็วที่สุดภายในเวลา 2 ปี (4 ภาคการศึกษาปกติ) และช้าที่สุดภายในเวลา 7 ปี (14 ภาคการศึกษาปกติ) โดยทั่วไป นักศึกษาของโครงการฯ จะใช้เวลาราว 3 ปีในการสำเร็จการศึกษา

    ภาคการศึกษา (แบบทวิภาค):

    ภาคเรียนที่ 1           สิงหาคม - ธันวาคม
    ภาคเรียนที่ 2           มกราคม - พฤษภาคม
    ภาคฤดูร้อน             มิถุนายน - กรกฎาคม

    จำนวนนักศึกษา:

    25 คนต่อปีการศึกษา

    คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

    ผู้มีสิทธิสมัครต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ ไม่ว่าใน หรือนอกประเทศไทย และมีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 หมวดที่ 4

    ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (โดยประมาณ):

    นักศึกษาไทย 240,000 บาท
    นักศึกษาต่างชาติ 310,000 บาท

    กำหนดการรับสมัครในแต่ละปี:

       เวลารับสมัคร
    รับสมัคร กลางเดือนธันวาคม - ต้นเดือนกุมภาพันธ์
    สอบข้อเขียน มีนาคม
    สอบสัมภาษณ์ เมษายน
    ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา ปลายเดือนเมษายน
    เรียนปรับพื้นฐานภาคฤดูร้อน มิถุนายน

     

    โครงสร้างหลักสูตร


     

    แผน ก. (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)

    หมวดวิชาบังคับ                                                      12        หน่วยกิต

    หมวดวิชาเลือก                                                        12         หน่วยกิต

    วิทยานิพนธ์                                                           12        หน่วยกิต

    รวม                                                                      36        หน่วยกิต

    แผน ข. (ศึกษารายวิชาและทำการค้นคว้าอิสระ)

    หมวดวิชาบังคับ                                                      12         หน่วยกิต

    หมวดวิชาเลือก                                                       18         หน่วยกิต

    การค้นคว้าอิสระ                                                      6          หน่วยกิต

    รวม                                                                      36         หน่วยกิต

     

    เอกสารเผยแพร่


     

  • หลักสูตรการศึกษาโครงการ MIR
  •  

    ข้อมูลการติดต่อ


     

    โครงการปริญญาโท สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ภาคภาษาอังกฤษ (MIR) คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

    หมายเลขโทรศัพท์: 02-613-2311, 02-623-5157

    หมายเลขโทรสาร: 02-623-5323

    อีเมล์: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. , This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

    เว็บไซต์: www.polsci.tu.ac.th/mir/

     

    ภาพกิจกรรมที่น่าสนใจ


     

    • นักศึกษาดูงาน ณ ประเทศเมียนมาร์ และเข้าพบเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงย่างกุ้ง
    • นักศึกษา MIR พบปะกับผู้แทนขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM)
    • นักศึกษา MIR เยี่ยมชมบ้านพักของออง ซาน ซูจี ผู้นำประชาธิปไตยของเมียนมาร์
    • นักศึกษา MIR ดูงานที่สถานทูตไทย ณ กรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย
    • นักศึกษา MIR เข้าชม Universitas Katolik Parahyangan ประเทศอินโดนีเซีย
    • บรรยากาศงานปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ของโครงการ MIR ประจำปีการศึกษา 2556
    • คณาจารย์บรรยายเรื่องเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศ
    • นักศึกษารวมกลุ่มกันบริเวณหน้าคณะเพื่อศึกษาเพิ่มเติมหลังเลิกเรียน