สิ่งพิมพ์ สิ่งพิมพ์
 
โหวตเพื่อใคร: ตามใจ ตามพรรค หรือ ตามฝ่าย

16 กรกฎาคม 2561

           หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นมาด้วยจุดประสงค์สองอย่าง หนึ่ง เพื่อเพิ่มผลงานการศึกษาในเชิงวิชาการที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ซึ่งยังขาดแคลนและขาดความต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนไม่ได้มุ่งกล่าวว่าการศึกษาในประเด็นนี้จะไม่มีเลยในแวดวงรัฐศาสตร์ไทย แต่สิ่งที่ผู้เขียนได้สำรวจพบจากการสำรวจวรรณกรรมคือ การศึกษาหรืองานเขียนส่วนใหญ่เกี่ยวกับรัฐสภาหรือพฤติกรรมของ ส.ส. ส่วนใหญ่เป็นงานที่ผลิตออกมาในเชิงบรรยาย (Descriptive) ระบบการทำงานของรัฐสภา (แนวหนังสือคู่มือการเรียน) หรือการปรับปรุงองค์กร รวมถึงการปรับปรุงระบบการทำงานภายในรัฐสภาหรือจริยธรรมของการเป็น ส.ส. การอธิบายพฤติกรรมในเชิงมหภาคมากกว่าที่จะเป็นงานการศึกษาในเชิงการตั้งคำถามแล้วหาคำตอบในเชิงประจักษ์ (Empirical Study)
           จุดประสงค์ข้อที่สองของหนังสือเล่มนี้ เกิดจากข้อสงสัยที่ว่า ในขณะที่คนไทยจำนวนหนึ่งชอบที่จะตั้งคำถามกับการทำงานในหน้าที่ของ ส.ส. ที่เป็นหน้าที่ “นอกสภา” อันได้แก่ การลงพื้นที่ การไปร่วมงานศพ งานบวช งานบุญ งานแต่ง รวมทั้งการวิ่งเต้นช่วยเหลือ อำนวยความสะดวก ตามความปราถนาของประชาชนในพื้นที่ มากกว่าการตั้งคำถามในการทำหน้าที่ “ในสภา” ซึ่งก็คือ การทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติตามหลักการแบ่งอำนาจและโครงสร้างทางการปกครองของประเทศ เช่นนี้แล้วจึงไม่เป็นที่น่าประหลาดใจว่า เมื่อถึงฤดูการเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งหลายคนตัดสินใจว่าจะกากบาทเลือกผู้สมัครคนใดให้ไปทำหน้าที่เป็นผู้แทนฯ ในสภา จากความถี่ของการเห็นหน้าในพื้นที่มากกว่าการจะดูว่า ส.ส. นั้นมีความถี่ในการออกหรือโหวตผ่านกฎหมายที่ตรงกับจุดยืนของตนหรือไม่ ผลที่ได้คือ การเลือก ส.ส. และ การมี ส.ส. ไว้ทำหน้าที่ผู้แทนฯ จึงเป็นเรื่องที่ตรงกันข้ามกันในฐานความคิดของคนเลือกและคนถูกเลือก ที่สำคัญ ส.ส. ไทย ทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติแบบทำๆไป โดยไม่ได้เอาใจใส่ถึงแก่นแท้ของหน้าที่ เพราะคนที่เลือกเขาเข้ามาทำหน้าที่ ส.ส. นั้น ไม่ได้ใส่ใจในจุดนี้เช่นเดียวกัน
            หนังสือเล่มนี้ถูกพัฒนามาจากงานวิจัยเรื่อง  “โหวตเพื่อใคร: พฤติกรรมการลงคะแนนสียงของสมาชิกผู้แทนราษฎรไทย” ที่ได้รับการสนับสนุนการวิจัยจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)




 
 
บทความอื่น ๆ ในหมวด
ทบทวนแนวโน้มสถานการณ์ความมั่นคงของโลก สิ่งที่ไทยควรตระหนักและเตรียมการรับมือ
สายรุ้งที่ฉันฝันหา: ขบวนการนักศึกษา Rhodes Must Fall ที่แอฟริกาใต้
ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมในวาทกรรม “โง่ จน เจ็บ” ต่อผู้เลือกตั้งชนบท
Digital Transformation กับนวัตกรรมการจัดบริการสาธารณะ : บทเรียนจากเอสโตเนีย เกาหลีใต้ และสหราชอาณาจักร
ปฏิบัติการไร้ความรุนแรง รัฐ และขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองร่วมสมัย
 

จำนวนคนอ่าน 3219 คน จำนวนคนโหวต 2 คน
 
คุณคิดอย่างไรกับการนำเสนอบทความนี้
ควรปรับปรุง ดีมาก
  1 2 3 4 5  
1 2 3 4 5
 


 
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม นับตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2555