Direk 's talk Direk 's talk
 
“การวิจัย: จากการแสวงหาองค์ความรู้ สู่การใช้ประโยชน์”

โดย นิรินธร มีทรัพย์นิคม 7 พฤศจิกายน 2557

“การวิจัย” คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นเรื่องไกลตัว ทำแล้วก็ขึ้นหิ้ง นำไปใช้ประโยชน์จริงได้น้อย ฯลฯ ที่เป็นแบบนั้น เพราะสมัยก่อนเน้นการทำวิจัยเพื่อมุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงปฏิบัติให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนมากนัก แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไป การทำวิจัยปัจจุบันมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์ได้จริงมากขึ้น เห็นได้จากนโยบายและยุทธศาสตร์วิจัยของชาติ พ.ศ. 2555-2559 ที่ไม่เพียงมียุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพของงานวิจัย แต่ยังมียุทธศาสตร์เน้นการขับเคลื่อนการวิจัยสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม การสร้างเสริมการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่างๆ การปรับปรุงและพัฒนากฎหมายเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้บังเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาระบบการติดตามประเมินผลและสร้างดัชนีชี้วัดความสำเร็จของงานวิจัยในทุกระดับ เป็นต้น

           ปัจจุบัน หน่วยงานสนับสนุนการวิจัยของประเทศไทย เช่น สำนักงานสนับสนุนกองทุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติหรือสภาวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้มุ่งเน้นให้ทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศมากขึ้น โดยนักวิจัยที่ประสงค์ขอทุนกับหน่วยงานเหล่านี้จะต้องระบุผลรับ (Output) ผลบังเกิด (Outcome) และผลกระทบ (Impact) ของงานวิจัยนั้นๆในข้อเสนอโครงการอย่างชัดเจน รวมถึงต้องระบุถึงวิธีการสร้างความร่วมมือระหว่างผู้เกี่ยวข้อง และต้องเขียนรายงานผลการวิจัยถ่ายทอดถึงมือผู้ใช้ เรียกได้ว่า ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคของ การปฏิรูประบบวิจัย อย่างใหญ่หลวง ซึ่งเป็นนิมิตหมายที่ดีเป็นอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาประเทศให้ก้าวทันประเทศพัฒนาอื่นๆ เพราะประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี จีน ล้วนแต่ใช้องค์ความรู้ที่ได้จากการทำวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศทั้งสิ้น

            นอกจากนี้ การทำงานวิจัยขององค์กรปัจจุบัน ยังเน้นการทำ "วิจัยเชิงสถาบัน" ซึ่งหมายถึงการทำวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาวิธีแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในหน่วยงานและสามารถนำผลการวิจัยมาพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เห็นได้ชัดเจนว่าการทำวิจัยกำลังเปลี่ยนแปลงจากการทำวิจัยเพื่อเน้นการสร้างองค์ความรู้ ความเป็นเลิศทางวิชาการ สู่การนำองค์ความรู้นั้น ให้ผู้ปฏิบัตินำไปประยุกต์ใช้ สู่การแก้ปัญหาในทุกมิติได้มากขึ้น ดังนั้น การทำวิจัยจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เพราะผลของการวิจัยหากก่อให้เกิดผลกระทบในทางดีก็จะเป็นประโยชน์กับประชาชนทั่วไปจำนวนมาก 

            รอคอยความหวังจากรัฐบาล ที่จะหันมาเพิ่มงบประมาณการสนับสนุนการทำวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศให้มากกว่าที่ผ่านมา ส่งเสริมให้การวิจัยเข้าไปอยู่ในระบบการศึกษาให้มากขึ้น และการพัฒนานักวิจัยให้มีมากขึ้นในประเทศ

 
 
บทความอื่น ๆ ในหมวด
"ทิศทางการเมืองโลก การเมืองไทย และนโยบายสาธารณะ"
"Reimaging Thailand: ฟื้นฟู ปูฐาน ทะยานเดิน"
งานวิจัย “ข้ามชาติ” กับ งานวิจัยเชิง “บูรณาการ”
"การวิจัย คืออะไร?"
“รู้จักศูนย์วิจัย ดิเรก ชัยนาม”
 

จำนวนคนอ่าน 2488 คน จำนวนคนโหวต 3 คน
 
คุณคิดอย่างไรกับการนำเสนอบทความนี้
ควรปรับปรุง ดีมาก
  1 2 3 4 5  
1 2 3 4 5
 


 
 
จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม นับตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2555